
ซีรี่ส์ “เรื่องดี ๆ” ตอนที่ 6 วันนี้เสนอเรื่อง “ว่ายน้ำอย่างไรให้เป็นกุศล” ภาคแรก ค่ะ ช่วงนี้อากาศร้อน เรามาเปลี่ยนกิจกรรมฤดูร้อนธรรมดา ๆ ให้เป็นเรื่อง “ไม่ธรรมดา” กันดีไหมคะ มีอยู่หลายวิธีทีเดียวค่ะ
วิธีแรก ว่ายแบบ “อานาปาณสติ” หรือการตามดูลมหายใจค่ะ อานาปาณสตินั้นเป็นหนึ่งใน “สมถกรรมฐาน” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ใจสงบและมีสมาธิค่ะ เทคนิคการทำสมถกรรมฐานนั้นมีถึง 40 วิธีด้วยกัน แต่วิธีที่เหม...าะที่สุดสำหรับการว่ายน้ำนั้นน่าจะเป็นการตามดูลมหายใจ หรือ อานาปาณสติ นี่ล่ะค่ะ
วิธีทำก็คือในขณะที่คุณว่ายน้ำอยู่นั้นก็ให้คุณมีสติตามดูตามรู้อยู่กับลมหายใจเข้าออกของคุณตามธรรมชาติตามจังหวะการว่ายน้ำปกติของคุณ ไม่ต้องพยายามไปบังคับหรือเร่งจังหวะการหายใจนะคะ
คุณอาจจะแปลกใจที่พบว่าใจของคุณแว่บออกไปจากลมหายใจของคุณบ่อยมาก และบางครั้งก็แว่บออกไปจากการว่ายน้ำเสียด้วยซ้ำไป! ไม่ต้องกังวลหรอกค่ะ นั่นเป็นธรรมชาติของใจเขา แต่ถ้ามันแว่บบ่อยเกินไปก็ขอแนะนำให้คุณใช้คำบริกรรมช่วยจะทำให้คุณมีสมาธิจดจ่อได้ดีขึ้นนะคะ อาจจะเป็นคำง่าย ๆ เช่น เข้า-ออก หรือว่านับเลขรอบที่กำลังว่ายอยู่ในใจในขณะที่เอาใจไปจดจ่ออยู่กับลมหายใจก็ได้ค่ะ
เพียงแค่นี้คุณก็จะได้สร้างกุศลในทุก ๆ ลมหายใจและได้ของแถมเป็นใจที่สงบเป็นสมาธิที่มาพร้อมกับร่างกายที่แข็งแรงค่ะ และคุณจะประหลาดใจด้วยว่าเวลาที่คุณว่ายน้ำด้วยสมาธิที่จดจ่อไม่แว่บออกไปคิดเรื่องนู้นเรื่องนี้เรื่อยเปื่อยนั้นคุณจะเหนื่อยน้อยลงและว่ายได้อึดขึ้นค่ะ ทั้งนี้เพราะความคิดที่เรื่อยเปื่อยไม่มีสติเข้าไปคุมนั้นใช้พลังงานมากค่ะ ลองดูนะคะ
วิธีที่ 2 เป็นวิธีที่จะทำให้คุณรู้สึกดี ๆ ค่ะ นั่นก็คือการว่ายแบบ “เมตตาภาวนา” ซึ่งความจริงก็เป็นหนึ่งในสมถกรรมฐานเช่นกันค่ะ ปกติแล้วในคอร์สปฏิบัติธรรมมักจะให้ฝึกเจริญเมตตาภาวนาเป็นลำดับขั้นไปโดยการส่งความเมตตาปรารถนาดีให้ตนเองก่อน แล้วจึงส่งไปให้คนที่คุณเคารพรัก เพื่อน คนแปลกหน้า หรือแม้แต่ศัตรู ทีนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณจะว่ายอึดแค่ไหนแล้วล่ะค่ะ ถ้าคุณสามารถว่ายได้นานติดต่อกันเป็นชั่วโมงคุณจะไล่ให้ครบทั้ง 5 หมวดก็ได้ แต่ถ้าว่ายเล่น ๆ สักเพียงไม่กี่รอบล่ะก็ ขอแนะนำให้เลือกกลุ่มเป้าหมายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะจะได้ผลดีกว่าค่ะ
แต่ก็มีครูบาอาจารย์บางท่านเชื่อว่า ในกิจกรรมที่ต้องมีการเคลื่อนไหวร่างกายนั้น การเจริญเมตตา “แบบไม่มีประมาณ” หรืออีกนัยหนึ่ง ให้สรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงทั่วทั้งจักรวาลโดยไม่เฉพาะเจาะจงนั้นเหมาะสมที่สุดค่ะ ไหน ๆ คุณก็กำลังว่ายน้ำอยู่แล้วก็ลองนึกภาพว่าความรักความเมตตาความปรารถนาดีของคุณเปรียบเสมือนน้ำใสเย็นอยู่ในภาชนะใหญ่ที่คุณจะสาดออกไปทั่ว ๆ เพื่อคลายร้อนให้กับทุก ๆ คน ทุก ๆ สรรพสิ่งดูก็ได้นะคะ คุณจะรู้สึกดี ๆ ขึ้นมาภายในใจและภายในร่างกายของคุณเลยค่ะถ้าคุณเจริญเมตตาภาวนาได้ถูกวิธี
วิธีเจริญเมตตาภาวนานั้นให้คุณใช้คำบริกรรมเป็นวลีสั้น ๆ ในภาษาของคุณเองที่คุณรู้สึกว่าเป็นธรรมชาติสำหรับคุณนะคะ และนึกทบทวนวลีนั้นซ้ำ ๆ อย่างอ่อนโยนพร้อมรอยยิ้มน้อย ๆ ในใจในระหว่างที่คุณกำลังว่ายไปว่ายมา ถ้านึกไม่ออกว่าจะใช้คำว่าอะไรดี ก็ใช้คำมาตรฐานง่าย ๆ นี้ก็ได้ค่ะว่า “ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงเป็นสุข ๆ เถิด” ไม่ต้องรีบท่องนะคะ ค่อย ๆ นึกเป็นจังหวะพร้อมกับการว่ายก็ได้ ปรับคำพูดตามใจชอบเลยค่ะ ผู้เขียนมักจะแถมเลขจำนวนรอบที่ว่ายเข้าไปท้ายวลีด้วยเป็นการกันลืมค่ะว่าว่ายไปกี่รอบแล้ว
อ้อ ข้อสำคัญนะคะ ให้คุณใช้คำในแง่บวกนะคะ เช่น “ขอให้คุณ.../สรรพสัตว์ทั้งหลาย มีความสุขมาก ๆ นะ” แทนที่จะไปใช้คำว่า “ขอให้คุณ...อย่าเป็นทุกข์ เศร้า เหงา หดหู่ เลย” เลี่ยงคำในแง่ลบกันนะคะ จิตใต้สำนึกเขาจะทำงานกันอย่างกระปรี้กระเปร่าและเข้าใจได้ดีกว่ากับคำในแง่บวกค่ะ
นอกจากนี้การว่ายแบบเจริญเมตตาภาวนายังช่วยให้คุณไม่อารมณ์เสียเวลามีคนไม่มีสติมาว่ายตัดหน้า หรือว่าว่ายชนคุณด้วยค่ะ คุณจะอารมณ์ดีและเข้าใจว่าเขาขาดสติและทำทุกอย่างลงไปเพราะมีตัวทุกข์มาบีบคั้น คุณจะให้อภัยเขาง่ายขึ้นค่ะ
ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ทางสมองได้พิสูจน์แล้วว่าการเจริญเมตตาภาวนาเป็นประจำจะส่งผลดีต่อสมองมากค่ะเพราะจะไปเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานของระบบประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับสุขสภาวะให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น หรือถ้าจะกล่าวอีกในนัยหนึ่งก็คือ ยิ่งคุณเป็นผู้ “ให้” ความเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่นมากเท่าใด คุณก็จะ “ได้รับ” สิ่งดี ๆ กลับคืนมาอย่างเป็นรูปธรรมจับต้องได้ในสมองของคุณมากเท่านั้นค่ะ นี่ยังไม่นับจิตที่เป็นกุศลตั้งไม่รู้จะกี่ขณะจิตเลยนะคะ คุ้มแสนคุ้มจริง ๆ ค่ะ
เรื่องดี ๆ ตอน “ว่ายน้ำอย่างไรให้เป็นกุศล” ยังมีต่อภาค 2 ซึ่งเป็นภาคจบอีกในอาทิตย์หน้าค่ะ ระหว่างนี้ลองหัดวิธีเหล่านี้ไปพลาง ๆ กันก่อนนะคะ ได้ผลอย่างไรแวะมาเล่าให้ผู้เขียนฟังบ้างนะคะ
วิธีแรก ว่ายแบบ “อานาปาณสติ” หรือการตามดูลมหายใจค่ะ อานาปาณสตินั้นเป็นหนึ่งใน “สมถกรรมฐาน” ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ใ
วิธีทำก็คือในขณะที่คุณว่าย
คุณอาจจะแปลกใจที่พบว่าใจขอ
เพียงแค่นี้คุณก็จะได้สร้าง
วิธีที่ 2 เป็นวิธีที่จะทำให้คุณรู้สึ
แต่ก็มีครูบาอาจารย์บางท่าน
วิธีเจริญเมตตาภาวนานั้นให้
อ้อ ข้อสำคัญนะคะ ให้คุณใช้คำในแง่บวกนะคะ เช่น “ขอให้คุณ.../
นอกจากนี้การว่ายแบบเจริญเม
ทุกวันนี้นักวิทยาศาสตร์ทาง
เรื่องดี ๆ ตอน “ว่ายน้ำอย่างไรให้เป็นกุศล

ซีรี่ส์ “เรื่องดี ๆ จาก ดร.ณัชร” ตอนที่ 7 วันนี้เป็นเรื่อง “ว่ายน้ำอย่างไรให้เป็นกุศล” ภาคจบค่ะ โดยในตอนที่แล้วเราได้คุยกันถึงการว่ายน้ำแบบอานาปาณสติ หรือ การตามดูลมหายใจ และการว่ายน้ำแบบเมตตาภาวนาไปแล้ว โดยการว่ายทั้งสองแบบนั้นจัดอยู่ในหมวด สมถกรรมฐาน นะคะ
การว่ายแบบสมถกรรมฐานนั้นทำให้ใจสงบและมีสมาธิได้ก็จริง แต่ท่านอาจพบว่าทำให้ท่านว่ายน้ำช้าลงเพราะทั้งร่างกายและจิตใจของท่านจะรู้สึกผ่อนคลายมาก...ค่ะ วันนี้จึงขอนำเสนอการว่ายน้ำให้ได้กุศลอีกเทคนิคหนึ่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบความเร็วนะคะ นั่นก็คือ การว่ายน้ำแบบเจริญสติภาวนา เพราะการเจริญสตินั้นคือการให้กำหนด “เท่าทันปัจจุบัน” ค่ะ ว่ายเร็วแค่ไหนก็กำหนดเร็วแค่นั้น แต่ถ้าท่านเกิดติดใจความรู้สึกดี ๆ จากการว่ายแบบเมตตาภาวนาไปแล้วท่านก็ยังสามารถเก็บไว้ประกอบการว่ายช้า ๆ ในรอบปิดท้ายคือในการ cool down ได้อยู่นะคะ
การเจริญสติ หรือเรียกอีกอย่างว่า วิปัสสนา นั้น คือการเอาสติไป “กำหนดรู้” ความเป็นไปของกายและใจในปัจจุบันขณะ โดยกำหนดทีละหนึ่งอย่าง ทีละขณะ และทำไปอย่างจดจ่อ ต่อเนื่อง มีพลังค่ะ
การ “กำหนดรู้” ต้องประกอบไปด้วย 3 สิ่งค่ะ คือ
1) กายเคลื่อน หรือ เกิดสิ่งใดขึ้นที่ใจ หรือ ประสาทสัมผัสรับรู้อาการใด ๆ ขึ้นมา 1 อย่างในปัจจุบันขณะ
2) มีใจเข้าไปรับรู้ในอาการนั้น ๆ และ
3) มีคำบริกรรมกำกับค่ะ เช่น ยก(แขน)หนอ เหยียดหนอ ว่ายหนอ พลิก(ตัว)หนอ เตะ(ขา)หนอ (หายใจ)เข้าหนอ ออกหนอ แตะ(ริมสระ)หนอ ม้วน(ตัว)หนอ ถีบหนอ พุ่งหนอ เห็นหนอ ถูกหนอ (เวลาน้ำถูกตัว) เย็นหนอ สบายหนอ ชอบหนอ เหนื่อยหนอ คิดหนอ อยากพักหนอ ยืนหนอ ฯลฯ
ถ้าเรียกชื่ออาการนั้น ๆ ไม่ถูกก็ให้เอาใจไปกำกับตามดูตามรู้อาการนั้น ๆ แล้วกำหนดว่า “รู้หนอ” ก็ได้ค่ะ
การกำหนดรู้นั้นให้เพียงกำหนดแบบ “รู้สักแต่ว่ารู้” นะคะ โดยไม่ต้องไปวิเคราะห์ วิจารณ์ วิจัย ท่านจะเห็นว่าคำบริกรรมนั้นมุ่งให้สั้นเข้าไว้ โดยละคำในวงเล็บออกไป เพื่อให้ท่านสามารถกำหนดได้กระชับ “เท่าทันปัจจุบัน” ค่ะ
คำว่า “หนอ” นั้น ครูบาอาจารย์บอกว่าเป็นเหมือนตัวจุด (.) ที่ใช้ปิดท้ายประโยคภาษาอังกฤษค่ะ มีไว้เพื่อตอกย้ำกับสติ ว่า “กิริยา นั้น ๆ ได้เกิดขึ้นและจบลงแล้วล่ะหนอ” ดังนั้นจะเรียกว่า “หนอ” เป็นตัวสัมปชัญญะไปเน้นย้ำ “ตัวรู้” ให้ชัดเจนก็ไม่ผิดนะคะ ท่านว.วชิรเมธีเคยกล่าวไว้ว่า สติ คือ รู้สึก สัมปชัญญะ คือ รู้ชัด ค่ะ
ท่านอาจพบว่าการว่ายแบบการเจริญสตินั้นยากกว่าการว่ายแบบอานาปาณสติหรือแบบเมตตาภาวนาเพราะสติท่านต้องตื่นตัวไปกำหนดสิ่งที่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่เหมือนแบบสมถกรรมฐานที่จะจดจ่ออยู่ที่สิ่งเดียว อย่าเพิ่งท้อนะคะ เริ่มจากการกำหนดคร่าว ๆ ในกิริยาหลัก ๆ ของลำตัว แขน และ ขาก่อนก็ได้ค่ะ เมื่อสติเริ่มคมชัดท่านก็จะสามารถเห็นรายละเอียดปลีกย่อยและเริ่มกำหนดได้คล่องขึ้นเองอย่างเป็นธรรมชาติค่ะ
เมื่อท่านทำได้แล้วท่านจะไม่มีวันลืมความรู้สึกของการว่ายน้ำด้วยสติอย่างต่อเนื่องเลยค่ะ ท่านอาจจะรู้สึกเหมือนท่านได้ “ว่ายน้ำจริง ๆ” เป็นครั้งแรก ได้สัมผัสความสดชื่นเย็นสบายของน้ำอย่างเต็มที่ และได้สัมผัสความสุขสงบที่เกิดขึ้นเองลึก ๆ เงียบ ๆ ในแบบที่ท่านไม่เคยรู้สึกมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกใด ก็ขอให้ท่านกำหนดรู้แล้วก็ปล่อยมันไปนะคะ ที่สำคัญคือต้องระวังความคิดเข้าแทรกค่ะ ความคิดแบบเรื่อยเปื่อยนั้นจะทำให้ท่านเสียพลังงานไปโดยใช่เหตุ จึงขอแนะนำให้ดึงสติกลับมาที่ฐานกาย ดูการเคลื่อนไหวทางกายต่อไปจะง่ายที่สุดค่ะสำหรับนักเจริญสติมือใหม่
การเจริญสติ หรือ วิปัสสนานั้น ให้อานิสงส์สูงสุดในพระพุทธศาสนา สูงยิ่งกว่าการสร้างกุศลใด ๆ ทั้งมวลค่ะไม่ว่าจะเป็นทาน ศีล หรือการเจริญสมถกรรมฐาน การเจริญสตินั้นแม้จะทำเพียงอึดใจเดียวก็ได้กุศลมหาศาล ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าพระพุทธองค์ตรัสไว้ว่าการเจริญสติเป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่จะนำไปสู่มรรค ผล นิพพานได้นั่นเองค่ะ
ปัญญาทางธรรมนั้นเกิดขึ้นได้ไม่อ้างกาลเวลาหรืออิริยาบถใด ๆ การว่ายน้ำโดยเจริญสติไปด้วยนั้นเป็นการฝึกที่ยอดเยี่ยมมากค่ะเพราะแค่ฐานกายอย่างเดียวก็กำหนดได้อย่างชัดเจนทั่วตัวแล้ว ผู้เขียนพบว่าได้กำลังสติมากกว่าการเดินจงกรมหรือวิ่งจงกรมอีกด้วยซ้ำไปค่ะ ขอให้ทุกท่านสนุกและได้กุศลสูงสุดไปกับการว่ายน้ำด้วยสตินะคะ
การว่ายแบบสมถกรรมฐานนั้นทำ
การเจริญสติ หรือเรียกอีกอย่างว่า วิปัสสนา นั้น คือการเอาสติไป “กำหนดรู้” ความเป็นไปของกายและใจในปัจ
การ “กำหนดรู้” ต้องประกอบไปด้วย 3 สิ่งค่ะ คือ
1) กายเคลื่อน หรือ เกิดสิ่งใดขึ้นที่ใจ หรือ ประสาทสัมผัสรับรู้อาการใด ๆ ขึ้นมา 1 อย่างในปัจจุบันขณะ
2) มีใจเข้าไปรับรู้ในอาการนั้
3) มีคำบริกรรมกำกับค่ะ เช่น ยก(แขน)หนอ เหยียดหนอ ว่ายหนอ พลิก(ตัว)หนอ เตะ(ขา)หนอ (หายใจ)เข้าหนอ ออกหนอ แตะ(ริมสระ)หนอ ม้วน(ตัว)หนอ ถีบหนอ พุ่งหนอ เห็นหนอ ถูกหนอ (เวลาน้ำถูกตัว) เย็นหนอ สบายหนอ ชอบหนอ เหนื่อยหนอ คิดหนอ อยากพักหนอ ยืนหนอ ฯลฯ
ถ้าเรียกชื่ออาการนั้น ๆ ไม่ถูกก็ให้เอาใจไปกำกับตาม
การกำหนดรู้นั้นให้เพียงกำห
คำว่า “หนอ” นั้น ครูบาอาจารย์บอกว่าเป็นเหมื
ท่านอาจพบว่าการว่ายแบบการเ
เมื่อท่านทำได้แล้วท่านจะไม
การเจริญสติ หรือ วิปัสสนานั้น ให้อานิสงส์สูงสุดในพระพุทธ
ปัญญาทางธรรมนั้นเกิดขึ้นได