By เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
ระทึก !! ชิงดำทูลเกล้านายกใหม่ใครมีสิทธิ เดิมพัน "คุก"
การเมืองวันนี้ไม่ต้องบอกก็รู้ว่ามาปลายยกแล้ว อีกไม่กี่วันก็จะจบเปลี่ยนแปลงหมากในกระดานในหน้าใหม่ จะเลือกตั้งก็ทำมิได้เพราะ4 เหล่าทัพยืนยันว่าไม่พร้อมดูแลเหตุสถานการณ์ไม่ปกติ หวั่นเกิดเหตุซ้ำสอง เพลานี้ทุกฝ่ายจึงมีความเห็นตรง...กันแบบไม่รู้ตัวว่าจะต้องมีการปฏิรูปประเทศ ที่ผ่านมาเพียงเกี่ยงกันว่าจะก่อนเลือกตั้งหรือหลังเลือกตั้งเท่านั้น ตอนนี้ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าจะต้องมีการทูลเกล้านายกคนใหม่ ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สรุปตรงกันใน 2 เรื่อง หลังต่อสู้กันมายาวนานกว่า 5 เดือน จนถึงขณะนี้มีผู้บาดเจ็บ 741 คน เสียชีวิต 21 คน รวมเป็น 762 คน ทั้งเด็ก ผู้หญิง ผู้ชาย คนชรา
ประเด็นที่น่าสนใจที่ผมจะอธิบายง่ายๆไม่ต้องยกตัวบทกฎหมายมาอย่างละเอียด เพราะคงได้อ่านกันมาแล้วในบทความที่ผ่านๆมา ในเรื่องอำนาจหน้าที่ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าใครกันแน่มีสิทธิและหน้าที่ในการ ยื่นทูลเกล้าถวายชื่อนายกรัฐมนตรี หากว่ากันไปตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายแล้ว ผู้ที่มีอำนาจ ศักดิ์ และสิทธิในการทูลเกล้านายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปัจจุบันโดยย่อมีอยู่ 2 ตำแหน่งคือ 1.ประธานวุฒิสภาหรือรักษาการประธานวุฒิสภา เพราะเมื่อผ่านการเลือกตั้งมาแล้ว30วันไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้ แถมการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ประกอบกับสภาฯต้องทูลเกล้านายกภายใน 30 วัน เมื่อไม่มีสภาผู้แทนวุฒิสภาก็ต้องทำหน้าที่แทน(ไปพลางก่อน)ตามรธน.มาตรา 172-173 เคยเกิดขึ้นมาแล้วราวปี 2550 หลังยุคสมัยนายสมัคร สุนทรเวศน์ พ้นจากตำแหน่งจนเป็นที่มาของนายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ตามรัฐธรรมนูญเปิดช่องไว้ไม่จำเป็นต้องเปิดประชุมวุฒิสภาด้วยซ้ำไป นั้นหมายถึงตั้งแต่ 3 เมษายน 2557เป็นต้นมา ประธานวุฒิหรือรักษาการสามารถยื่นทูลเกล้านายกรัฐมนตรีได้เลยตามอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายและรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ก่อนวันที่ 3 พฤษภาคม 2557
2.รักษาการนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกฯที่รักษาการนายกรัฐมนตรี สามารถที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี หรือตามพระราชวินิจฉัยได้ ที่ผ่านมาเคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยเกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ที่โปรดเกล้าให้พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าขณะที่พลเอกสุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วมีนายกรัฐมนตรีใหม่ที่ชื่อ อานันท์ ปันยารชุน มาเป็นนายกรัฐมนตรี และยังเคยเกิดเหตุการณ์สภาผู้แทนราษฎรได้มีการทูลเกล้า พลอากาศเอกสมบุญ ระหงส์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ประธานสภาฯคือ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เห็นว่าจะทำให้เกิดความวุ่นวายทำให้ชาติไม่สงบสุขจึงได้ ทูลเกล้าชื่อให้นายอานันท์มาเป็นนายกรัฐมนตรี
สำหรับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนั้น ผมได้มีโอกาสสอบถามท่านไกรสร ตันติพงศ์ ปรามาจารย์การเมือง ที่ท่านได้เขียนรัฐธรรมนูญด้วยปากกา โดยผมมีโอกาสตรวจทานทุกข้อและท่านได้อธิบายแต่ละมาตราอย่างละเอียด ก่อนส่งให้สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาลงมติเมื่อปี 2549 เช่น มาตรา 7 ที่บัญญัติไว้ว่า ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ท่านอธิบายความหมายว่า นี้คือพระราชอำนาจตามระบอบการปกครองไทย ที่พระมหากษัตริย์จะพระราชวินิจฉัยเอง ในยามบ้านเมืองไม่ปกติ และที่ผ่านมาสภาทนายความแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูประถัม ก็เคยออกแถลงการณ์เกี่ยวกับ การทูลเกล้าพระราชทานบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรง เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ และมาตรา 7 นั้น สามารถกระทำได้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยมีนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 3 และมาตรา 7 หลายครั้ง เช่น หลังเกิดเหตุการณ์14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ฯลฯ จึงมีนายกที่ชื่อ ธานินทร์ ไกรวิเชียร ที่มาจากองคมนตรี และมีนายกที่ชื่ออานันท์ ปันยารชุน ถึง 2 ครั้ง จึงเป็นเรื่องไม่แปลกที่ประเทศไทยจะมีนายกที่มีการเสนอทูลเกล้า หรือ เป็นพระราชอำนาจตามพระราชวินิจฉัยได้ เพราะมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญรองรับ ส่วนบางมาตราที่ขัดแย้งเช่น นายกต้องมาจากสส.เป็นพระราชอำนาจที่จะพักใช้รัฐธรรมนูญในบางมาตรา หรือเพิ่มเติม ซึ่งก็เคยเกิดมาแล้วเช่นกันในประวัติศาสตร์การเมืองไทยในรอบ 81 ปี
ประเด็นที่สำคัญคือเมื่อคน 2 คนจาก 2 ฝ่ายมีอำนาจตามกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญสามารถที่จะยื่นทูลเกล้าเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีได้ หากมีการทูลเกล้ามาพร้อมๆกันทั้ง 2 ฝ่าย อันนี้ก็เป็นพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่เป็นพระราชวินิจฉัย ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลยิ่งลักษณ์เคยทูลเกล้ารายชื่อทหารถึงตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่พระองค์ท่านได้ทรงมอบให้ประธานองคมนตรีทำการพิจารณาอีกครั้งแล้วค่อยมาทูลเกล้าโดยประธานองคมนตรี จากนั้นจึงมีการโปรดเกล้าเช่นนี้เรียกว่าพระราชอำนาจ หรือการโปรดเกล้า ธานินทร์ ไกรวิเชียร อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายก 2 ครั้ง และนายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ ตามระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้มิใช่เคยเกิดเฉพาะในประเทศไทย แต่เคยเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจ หรือพระราชวินิจฉัย ที่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญในแต่ละประเทศเช่นกัน ส่วนวาทกรรม "พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง-โหนเจ้า-ดึงฟ้ามาต่ำ" เป็นวาทกรรมตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระจายไปทั่วโลก มาใช้ในไทยก่อนกบฎ ร.ศ.130 - ก่อนปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 - ก่อนเกิดเหตุการณ์เสียงปืนแตก 8 สิงหาคม 2508 ก่อนพรรคคอมมิวนิสต์ปะทะกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ วาทกรรมนี้มีเป้าหมายเพื่อมิให้พระมหากษัตริยทรงใช้พระราชอำนาจ เพราะจะทำให้ฝ่ายตนเองเสียเปรียบ หรือชลอการใช้อำนาจให้ตัวเองกลับมาได้เปรียบ อันเป็นหลักทฤษฎีในการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1789-1799 ควบคู่ทฤษฎีการพ้นผิดของคูโค และทฤษฎีการโกหกซ้ำๆของคอมมิวนิสต์ แต่สถานการณ์ในไทยปัจจุบันเมื่อ 2 ฝ่ายมีความเห็นตรงกันจะสังเกตุได้ว่า ไม่มีการใช้หลักคิดเหล่านี้มาโจมตีกันอีก แม้มีก็น้อยมาก
อีกไม่กี่วันชาติไทยเราคงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เพียงแต่จะก่อนหรือหลังผลของกรรมที่เกิดจากการกระทำทุจริตบกพร่องต่อชาติบ้านเมืองก็เท่านั้นเอง หากเกิดก่อนการทูลเกล้านายกคนใหม่ก็ยังเป็นอำนาจของนายกรักษาการ แต่หากเกิดหลังอำนาจของครม.จะสูญสิ้นหากเป็นคำตัดสินของศาลรธน.กรณีการโยกย้ายถวิลผิดกฎหมายที่ศาลปกครองตัดสินไปแล้วว่าผิด แน่นอนงานนี้ต้องพ่วงโทษจำคุกสูงสุดกรณีละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ไม่เกิน20ปีและชี้พ้นตำแหน่งทางการเมืองมาด้วย ตามบทบัญญัติของกฎหมาย แต่หากเป็นปปช.ชี้มูลรักษาการนายกฯทุจริตจำนำข้าว รองนายกฯก็จะมารักษาการนายกฯทันที ขณะเดียวกันรักษาการประธานวุฒิ ก็มีอำนาจ ศักดิ์ และสิทธิในการใช้อำนาจยื่นทูลเกล้าได้เช่นกัน
หากหลังคำตัดสินคงมิพ้นม๊อบ2ฝ่ายต้องเคลื่อนไหวกลางกรุงเทพฯ ม๊อบกำนันคงมีภาษีกว่ามากมากันหลายล้านคนและคงเป็นการชุมนุมขับไล่หญิงผู้น่าสังเวชที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่คนไทยจากทั่วทุกมุมโลกชุมนุมในแต่ละประเทศและใจกลางกรุงเทพฯ ขับไล่ส่วนม๊อบหมาหางด้วนคงเหนื่อยหน่อยเพราะมีคนน้อย ยิ่งสู้ก็ยิ่งแพ้ตุ๋นกันไปมาตามประสาหมาหางด้วน ส่วนใครที่หวั่นว่าจะเกิดสงครามกลางเมืองผมคิดว่าไม่เกิดหรอก เพราะหลักยุทธศาสตร์การเมืองเมื่อรู้ว่าจะเกิดอะไรในภายหน้า ย่อมมีการระวังป้องกันเป็นเรื่องธรรมชาติ ถ้าจะมีใต้ดินเหมือนภาคใต้ก็ไม่น่าวิตก เพราะป่านนี้ทหารเขาคงทราบแล้วกระมังว่าใครคือหัวโจกในการก่อการ และต้องดำเนินการอย่างไร มิให้เกิดเหตุ
กรณีต่างชาติที่จะเข้ามาแทรกแซงประเทศ ก็มิได้เป็นเรื่องที่น่าวิตกเช่นกันหากเกิดเหตุรุนแรง ถึงขั้นมีการรัฐประหาร กวาดล้างครั้งใหญ่ เหมือนกบฎ อั่งยี่ กบฎเงี้ยว กบฎผีบุญ ยึดทรัพย์ เอาผิด 3 ตระกูลดัง เพราะเวลาการต่อสู้ที่ยาวนานเกินไป แต่ละประเทศก็เบื่อผู้นำทุกประเทศก็สนใจเพียงประโยชน์ ธุรกิจของชาติเขาที่เข้ามาลงทุนภายในประเทศไทย ทำให้ไม่แปลกที่ทั้งรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศสหรัฐฯ และทูตประเทศต่างๆเดินสายพบผู้นำทั้ง2ฝ่ายให้เร่งจบเกมส์เสียที ตกลงกันได้ก็ตกลง ตกลงไม่ได้ก็แตกหักธุรกิจเขาจะได้ฟื้นเสียที แต่อย่างน้อยเราก็ได้เห็นว่าผู้นำประเทศอื่นเขายึดประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ ต่างจากผู้นำไทยที่ยึดประโยชน์ตนเองและพรรคพวกชาติจึงวุ่นวายมายาวนานกว่า 10 ปี รวมคนล้มตายและบาดเจ็บหลายพันคน
นี้แหละการเมืองปลายยกที่ใกล้จะจบการ "ชิงดำ" อันหมายถึงชัยชนะหรือการสิ้นสุดในกระดานนี้ที่ยาวนานกว่า 5 เดือน แต่มันสนุกลุ้นระทึกตรงใครกันที่จะยิงลูกให้ลงหลุมและสามารถเอาชนะไปได้ หรือทั้งสองฝ่ายจะต่างคนต่างยิง ก็ยิ่งสนุกกันไปใหญ่ มนุษย์เราเกิดมาส่วนใหญ่ก็หวังจะมีลาภยศ แต่อาจลืมไปกระมังว่ามีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ แม้ตายไปเหรียญที่อมในปากก็ยังเอาไปไม่ได้ ทุกการกระทำคือกรรม กรรมก่อเกิดจากการกระทำ ไม่มีใครยิ่งใหญ่ไปกว่ากรรม และไม่มีใครยิ่งใหญ่ไปกว่าโลง
" ถึงเวลาตายวายชีวาวาท ทรัพย์และธาตุก็มิตกไปเมืองผี เกิดเป็นคนจงมุ่งทำแต่ความดี กลายเป็นผีตายไปใครก็ชม "
บทกลอนในหนังสืออำนาจที่ยิ่งใหญ่โดย ไกรสร ตันติพงศ์ ปรามาจารย์การเมือง
เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
14 เมษายน 2557
การเมืองวันนี้ไม่ต้องบอกก็รู้ว่ามาปลายยกแล้ว อีกไม่กี่วันก็จะจบเปลี่ยนแปลงหมากในกระดานในหน้าใหม่ จะเลือกตั้งก็ทำมิได้เพราะ4 เหล่าทัพยืนยันว่าไม่พร้อมดูแลเหตุสถานการณ์ไม่ปกติ หวั่นเกิดเหตุซ้ำสอง เพลานี้ทุกฝ่ายจึงมีความเห็นตรง...กันแบบไม่รู้ตัวว่าจะต้องมีการปฏิรูปประเทศ ที่ผ่านมาเพียงเกี่ยงกันว่าจะก่อนเลือกตั้งหรือหลังเลือกตั้งเท่านั้น ตอนนี้ทุกฝ่ายมีความเห็นตรงกันว่าจะต้องมีการทูลเกล้านายกคนใหม่ ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญราชอาญาจักรไทย พุทธศักราช 2550 สรุปตรงกันใน 2 เรื่อง หลังต่อสู้กันมายาวนานกว่า 5 เดือน จนถึงขณะนี้มีผู้บาดเจ็บ 741 คน เสียชีวิต 21 คน รวมเป็น 762 คน ทั้งเด็ก ผู้หญิง ผู้ชาย คนชรา
ประเด็นที่น่าสนใจที่ผมจะอธิบายง่ายๆไม่ต้องยกตัวบทกฎหมายมาอย่างละเอียด เพราะคงได้อ่านกันมาแล้วในบทความที่ผ่านๆมา ในเรื่องอำนาจหน้าที่ บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญว่าใครกันแน่มีสิทธิและหน้าที่ในการ ยื่นทูลเกล้าถวายชื่อนายกรัฐมนตรี หากว่ากันไปตามรัฐธรรมนูญและตามกฎหมายแล้ว ผู้ที่มีอำนาจ ศักดิ์ และสิทธิในการทูลเกล้านายกรัฐมนตรีในสถานการณ์ปัจจุบันโดยย่อมีอยู่ 2 ตำแหน่งคือ 1.ประธานวุฒิสภาหรือรักษาการประธานวุฒิสภา เพราะเมื่อผ่านการเลือกตั้งมาแล้ว30วันไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้ แถมการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ประกอบกับสภาฯต้องทูลเกล้านายกภายใน 30 วัน เมื่อไม่มีสภาผู้แทนวุฒิสภาก็ต้องทำหน้าที่แทน(ไปพลางก่อน)ตามรธน.มาตรา 172-173 เคยเกิดขึ้นมาแล้วราวปี 2550 หลังยุคสมัยนายสมัคร สุนทรเวศน์ พ้นจากตำแหน่งจนเป็นที่มาของนายสมชาย วงค์สวัสดิ์ ตามรัฐธรรมนูญเปิดช่องไว้ไม่จำเป็นต้องเปิดประชุมวุฒิสภาด้วยซ้ำไป นั้นหมายถึงตั้งแต่ 3 เมษายน 2557เป็นต้นมา ประธานวุฒิหรือรักษาการสามารถยื่นทูลเกล้านายกรัฐมนตรีได้เลยตามอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายและรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ก่อนวันที่ 3 พฤษภาคม 2557
2.รักษาการนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกฯที่รักษาการนายกรัฐมนตรี สามารถที่จะทูลเกล้าเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี หรือตามพระราชวินิจฉัยได้ ที่ผ่านมาเคยเกิดขึ้นมาแล้วในสมัยเกิดเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ ที่โปรดเกล้าให้พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าขณะที่พลเอกสุจินดา เป็นนายกรัฐมนตรี แล้วมีนายกรัฐมนตรีใหม่ที่ชื่อ อานันท์ ปันยารชุน มาเป็นนายกรัฐมนตรี และยังเคยเกิดเหตุการณ์สภาผู้แทนราษฎรได้มีการทูลเกล้า พลอากาศเอกสมบุญ ระหงส์ เป็นนายกรัฐมนตรี แต่ประธานสภาฯคือ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เห็นว่าจะทำให้เกิดความวุ่นวายทำให้ชาติไม่สงบสุขจึงได้ ทูลเกล้าชื่อให้นายอานันท์มาเป็นนายกรัฐมนตรี
สำหรับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญนั้น ผมได้มีโอกาสสอบถามท่านไกรสร ตันติพงศ์ ปรามาจารย์การเมือง ที่ท่านได้เขียนรัฐธรรมนูญด้วยปากกา โดยผมมีโอกาสตรวจทานทุกข้อและท่านได้อธิบายแต่ละมาตราอย่างละเอียด ก่อนส่งให้สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาลงมติเมื่อปี 2549 เช่น มาตรา 7 ที่บัญญัติไว้ว่า ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ท่านอธิบายความหมายว่า นี้คือพระราชอำนาจตามระบอบการปกครองไทย ที่พระมหากษัตริย์จะพระราชวินิจฉัยเอง ในยามบ้านเมืองไม่ปกติ และที่ผ่านมาสภาทนายความแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูประถัม ก็เคยออกแถลงการณ์เกี่ยวกับ การทูลเกล้าพระราชทานบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรง เป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญนี้ และมาตรา 7 นั้น สามารถกระทำได้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ที่ผ่านมาประเทศไทยเคยมีนายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 3 และมาตรา 7 หลายครั้ง เช่น หลังเกิดเหตุการณ์14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ฯลฯ จึงมีนายกที่ชื่อ ธานินทร์ ไกรวิเชียร ที่มาจากองคมนตรี และมีนายกที่ชื่ออานันท์ ปันยารชุน ถึง 2 ครั้ง จึงเป็นเรื่องไม่แปลกที่ประเทศไทยจะมีนายกที่มีการเสนอทูลเกล้า หรือ เป็นพระราชอำนาจตามพระราชวินิจฉัยได้ เพราะมีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญรองรับ ส่วนบางมาตราที่ขัดแย้งเช่น นายกต้องมาจากสส.เป็นพระราชอำนาจที่จะพักใช้รัฐธรรมนูญในบางมาตรา หรือเพิ่มเติม ซึ่งก็เคยเกิดมาแล้วเช่นกันในประวัติศาสตร์การเมืองไทยในรอบ 81 ปี
ประเด็นที่สำคัญคือเมื่อคน 2 คนจาก 2 ฝ่ายมีอำนาจตามกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญสามารถที่จะยื่นทูลเกล้าเสนอชื่อบุคคลเป็นนายกรัฐมนตรีได้ หากมีการทูลเกล้ามาพร้อมๆกันทั้ง 2 ฝ่าย อันนี้ก็เป็นพระราชอำนาจตามรัฐธรรมนูญที่เป็นพระราชวินิจฉัย ยกตัวอย่างเช่น รัฐบาลยิ่งลักษณ์เคยทูลเกล้ารายชื่อทหารถึงตรงต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่พระองค์ท่านได้ทรงมอบให้ประธานองคมนตรีทำการพิจารณาอีกครั้งแล้วค่อยมาทูลเกล้าโดยประธานองคมนตรี จากนั้นจึงมีการโปรดเกล้าเช่นนี้เรียกว่าพระราชอำนาจ หรือการโปรดเกล้า ธานินทร์ ไกรวิเชียร อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายก 2 ครั้ง และนายกรัฐมนตรีคนอื่นๆ ตามระบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
เหตุการณ์ลักษณะเช่นนี้มิใช่เคยเกิดเฉพาะในประเทศไทย แต่เคยเกิดขึ้นในหลายประเทศทั่วโลกที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจ หรือพระราชวินิจฉัย ที่มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญในแต่ละประเทศเช่นกัน ส่วนวาทกรรม "พระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมือง-โหนเจ้า-ดึงฟ้ามาต่ำ" เป็นวาทกรรมตั้งแต่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 กระจายไปทั่วโลก มาใช้ในไทยก่อนกบฎ ร.ศ.130 - ก่อนปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 - ก่อนเกิดเหตุการณ์เสียงปืนแตก 8 สิงหาคม 2508 ก่อนพรรคคอมมิวนิสต์ปะทะกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ วาทกรรมนี้มีเป้าหมายเพื่อมิให้พระมหากษัตริยทรงใช้พระราชอำนาจ เพราะจะทำให้ฝ่ายตนเองเสียเปรียบ หรือชลอการใช้อำนาจให้ตัวเองกลับมาได้เปรียบ อันเป็นหลักทฤษฎีในการปฏิวัติฝรั่งเศส เมื่อปี ค.ศ. 1789-1799 ควบคู่ทฤษฎีการพ้นผิดของคูโค และทฤษฎีการโกหกซ้ำๆของคอมมิวนิสต์ แต่สถานการณ์ในไทยปัจจุบันเมื่อ 2 ฝ่ายมีความเห็นตรงกันจะสังเกตุได้ว่า ไม่มีการใช้หลักคิดเหล่านี้มาโจมตีกันอีก แม้มีก็น้อยมาก
อีกไม่กี่วันชาติไทยเราคงจะเกิดการเปลี่ยนแปลง เพียงแต่จะก่อนหรือหลังผลของกรรมที่เกิดจากการกระทำทุจริตบกพร่องต่อชาติบ้านเมืองก็เท่านั้นเอง หากเกิดก่อนการทูลเกล้านายกคนใหม่ก็ยังเป็นอำนาจของนายกรักษาการ แต่หากเกิดหลังอำนาจของครม.จะสูญสิ้นหากเป็นคำตัดสินของศาลรธน.กรณีการโยกย้ายถวิลผิดกฎหมายที่ศาลปกครองตัดสินไปแล้วว่าผิด แน่นอนงานนี้ต้องพ่วงโทษจำคุกสูงสุดกรณีละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ไม่เกิน20ปีและชี้พ้นตำแหน่งทางการเมืองมาด้วย ตามบทบัญญัติของกฎหมาย แต่หากเป็นปปช.ชี้มูลรักษาการนายกฯทุจริตจำนำข้าว รองนายกฯก็จะมารักษาการนายกฯทันที ขณะเดียวกันรักษาการประธานวุฒิ ก็มีอำนาจ ศักดิ์ และสิทธิในการใช้อำนาจยื่นทูลเกล้าได้เช่นกัน
หากหลังคำตัดสินคงมิพ้นม๊อบ2ฝ่ายต้องเคลื่อนไหวกลางกรุงเทพฯ ม๊อบกำนันคงมีภาษีกว่ามากมากันหลายล้านคนและคงเป็นการชุมนุมขับไล่หญิงผู้น่าสังเวชที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่คนไทยจากทั่วทุกมุมโลกชุมนุมในแต่ละประเทศและใจกลางกรุงเทพฯ ขับไล่ส่วนม๊อบหมาหางด้วนคงเหนื่อยหน่อยเพราะมีคนน้อย ยิ่งสู้ก็ยิ่งแพ้ตุ๋นกันไปมาตามประสาหมาหางด้วน ส่วนใครที่หวั่นว่าจะเกิดสงครามกลางเมืองผมคิดว่าไม่เกิดหรอก เพราะหลักยุทธศาสตร์การเมืองเมื่อรู้ว่าจะเกิดอะไรในภายหน้า ย่อมมีการระวังป้องกันเป็นเรื่องธรรมชาติ ถ้าจะมีใต้ดินเหมือนภาคใต้ก็ไม่น่าวิตก เพราะป่านนี้ทหารเขาคงทราบแล้วกระมังว่าใครคือหัวโจกในการก่อการ และต้องดำเนินการอย่างไร มิให้เกิดเหตุ
กรณีต่างชาติที่จะเข้ามาแทรกแซงประเทศ ก็มิได้เป็นเรื่องที่น่าวิตกเช่นกันหากเกิดเหตุรุนแรง ถึงขั้นมีการรัฐประหาร กวาดล้างครั้งใหญ่ เหมือนกบฎ อั่งยี่ กบฎเงี้ยว กบฎผีบุญ ยึดทรัพย์ เอาผิด 3 ตระกูลดัง เพราะเวลาการต่อสู้ที่ยาวนานเกินไป แต่ละประเทศก็เบื่อผู้นำทุกประเทศก็สนใจเพียงประโยชน์ ธุรกิจของชาติเขาที่เข้ามาลงทุนภายในประเทศไทย ทำให้ไม่แปลกที่ทั้งรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศสหรัฐฯ และทูตประเทศต่างๆเดินสายพบผู้นำทั้ง2ฝ่ายให้เร่งจบเกมส์เสียที ตกลงกันได้ก็ตกลง ตกลงไม่ได้ก็แตกหักธุรกิจเขาจะได้ฟื้นเสียที แต่อย่างน้อยเราก็ได้เห็นว่าผู้นำประเทศอื่นเขายึดประโยชน์ของชาติเป็นสำคัญ ต่างจากผู้นำไทยที่ยึดประโยชน์ตนเองและพรรคพวกชาติจึงวุ่นวายมายาวนานกว่า 10 ปี รวมคนล้มตายและบาดเจ็บหลายพันคน
นี้แหละการเมืองปลายยกที่ใกล้จะจบการ "ชิงดำ" อันหมายถึงชัยชนะหรือการสิ้นสุดในกระดานนี้ที่ยาวนานกว่า 5 เดือน แต่มันสนุกลุ้นระทึกตรงใครกันที่จะยิงลูกให้ลงหลุมและสามารถเอาชนะไปได้ หรือทั้งสองฝ่ายจะต่างคนต่างยิง ก็ยิ่งสนุกกันไปใหญ่ มนุษย์เราเกิดมาส่วนใหญ่ก็หวังจะมีลาภยศ แต่อาจลืมไปกระมังว่ามีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ แม้ตายไปเหรียญที่อมในปากก็ยังเอาไปไม่ได้ ทุกการกระทำคือกรรม กรรมก่อเกิดจากการกระทำ ไม่มีใครยิ่งใหญ่ไปกว่ากรรม และไม่มีใครยิ่งใหญ่ไปกว่าโลง
" ถึงเวลาตายวายชีวาวาท ทรัพย์และธาตุก็มิตกไปเมืองผี เกิดเป็นคนจงมุ่งทำแต่ความดี กลายเป็นผีตายไปใครก็ชม "
บทกลอนในหนังสืออำนาจที่ยิ่งใหญ่โดย ไกรสร ตันติพงศ์ ปรามาจารย์การเมือง
เทอดศักดิ์ เจียมกิจวัฒนา
14 เมษายน 2557
By Paisal Puechmongkol
โกงกระหึ่มโลก!!!
เวบไซต์หนังสือพิมพ์เทเลกราฟของอังกฤษ รายงานว่า โครงการรับจำนำข้าวของไทยสร้างความร่ำรวยให้กับผู้ลักลอบค้าข้าวในเมียนมาร์ แต่ผลาญเงินภาษีของประชาชนคนไทย
เทเลกราฟระบุว่า ขณะนี้เมืองเมียวดีของพม่าได้กลายเป็นศูนย์กลางลักลอบค้าข้าว นอกเหนือจากศูนย์กลางการลอบค้ายาเสพติด ปืน และอัญมณี โดยผู้ลักลอบค้าข้าวสร้างรายได้จากการลอบนำข้าวไปขายในไทยที่มีราคาสูงกว่ามาก โดยข้าว 50 กก.ในเมียวดีขายได้เพียงราว 850 บาท แต่ข้าวปริมาณ
เดียวกันขายในไทยราคาเกือบ 1,600 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการประชานิยมรับจำนำข้าว เพื่อช่วยเหลือชาวนาที่เป็นฐานเสียงหลักของพรรคเพื่อไทย
โครงการรับจำนำข้าวทำให้รัฐบาลไทยต้องใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 4 แสนล้านบาท จนกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ต้องออกมาเตือนว่าอาจทำลายเศรษฐกิจของประเทศได้ และทำให้กลุ่มชนชั้นกลางจำนวนมากที่ไม่พอใจรัฐบาลออกมาชุมนุมประท้วงขับไล่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในขณะนี้
เทเลกราฟระบุว่า เรือลักลอบขนข้าวล่องผ่านแม่น้ำเมยที่แบ่งแยกเมืองเมียวดีกับอำเภอแม่สอด จ.ตาก ของไทยเป็นประจำทุกวัน และนักข่าวเทเลกราฟเห็นว่าที่ริมแม่น้ำในฝั่งเมียวดี มีรถบรรทุกข้าวมาส่งตรงจุดที่ใกล้ริมแม่น้ำที่มีทหารเมียนมาร์เฝ้าอยู่ และขนกระสอบข้าวลงเรือที่จอดรออยู่เพื่อข้ามไปส่งยังฝั่งไทย
พวกเขาลักลอบค้าข้าวอย่างนี้มา 1-2 ปีแล้ว ส่วนใหญ่จะขนส่งตอนกลางคืน ครั้งหนึ่งส่งได้ 100 กระสอบ กระสอบหนึ่งหนัก 50 ก.ก. ข้าวเหล่านี้จะถูกนำไปสวมสิทธิเป็นข้าวที่ปลูกในไทย เพื่อให้สามารถ ขายข้าวได้ในราคาที่รัฐบาลรับจำนำ
โดยเฉลี่ยแล้ว คนงานในเมียวดีจะได้ค่าเงินค่าจ้างเฉลี่ยวันละ 130 บาท แต่ผู้ลักลอบค้าข้าวคนหนึ่ง ที่เรียกตัวเองว่า พี่โทน บอกว่า เขาทำเงินได้วันละเกือบ 3,180 บาท ซึ่งมากกว่าค่าจ้างเฉลี่ยถึงเกือบ 25 เท่า พี่โทน บอกด้วยว่า เขาไม่กลัวถูกจับได้ เพราะหากได้รับอนุญาตจากทหารเมียนมาร์และจ่ายเงินให้ถูกคน ก็ไม่มีปัญหา ไม่มีใครต้องเข้าเรือนจำด้วยเรื่องนี้ในพม่า
ขณะนี้เศรษฐกิจของไทยถูกรุมเร้าด้วยข้าวที่ไหลทะลักเข้ามาในประเทศ ในขณะที่ตัวเลขงบประมาณที่ใช้โครงการรับจำนำข้าวก็ทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ
เทเลกราฟ รายงานอ้างความเห็นของดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทยหรือ TDRI ว่า รัฐบาลกำลังสร้างปัญหาทางการเงินครั้งเลวร้าย ข้าวไม่ใช่ไวน์ ที่จะเก็บได้นานๆ ยิ่งเก็บไว้ในโกดังนานเท่าไร ราคาข้าวก็ยิ่งตกลง และผู้เสียภาษีในไทยเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้
เวบไซต์หนังสือพิมพ์เทเลกราฟของอังกฤษ รายงานว่า โครงการรับจำนำข้าวของไทยสร้างความร่ำรวยให้กับผู้ลักลอบค้าข้าวในเมียนมาร์ แต่ผลาญเงินภาษีของประชาชนคนไทย
เทเลกราฟระบุว่า ขณะนี้เมืองเมียวดีของพม่าได้กลายเป็นศูนย์กลางลักลอบค้าข้าว นอกเหนือจากศูนย์กลางการลอบค้ายาเสพติด ปืน และอัญมณี โดยผู้ลักลอบค้าข้าวสร้างรายได้จากการลอบนำข้าวไปขายในไทยที่มีราคาสูงกว่ามาก โดยข้าว 50 กก.ในเมียวดีขายได้เพียงราว 850 บาท แต่ข้าวปริมาณ
เดียวกันขายในไทยราคาเกือบ 1,600 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากโครงการประชานิยมรับจำนำข้าว เพื่อช่วยเหลือชาวนาที่เป็นฐานเสียงหลักของพรรคเพื่อไทย
โครงการรับจำนำข้าวทำให้รัฐบาลไทยต้องใช้งบประมาณไปแล้วกว่า 4 แสนล้านบาท จนกองทุนการเงินระหว่างประเทศหรือ IMF ต้องออกมาเตือนว่าอาจทำลายเศรษฐกิจของประเทศได้ และทำให้กลุ่มชนชั้นกลางจำนวนมากที่ไม่พอใจรัฐบาลออกมาชุมนุมประท้วงขับไล่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในขณะนี้
เทเลกราฟระบุว่า เรือลักลอบขนข้าวล่องผ่านแม่น้ำเมยที่แบ่งแยกเมืองเมียวดีกับอำเภอแม่สอด จ.ตาก ของไทยเป็นประจำทุกวัน และนักข่าวเทเลกราฟเห็นว่าที่ริมแม่น้ำในฝั่งเมียวดี มีรถบรรทุกข้าวมาส่งตรงจุดที่ใกล้ริมแม่น้ำที่มีทหารเมียนมาร์เฝ้าอยู่ และขนกระสอบข้าวลงเรือที่จอดรออยู่เพื่อข้ามไปส่งยังฝั่งไทย
พวกเขาลักลอบค้าข้าวอย่างนี้มา 1-2 ปีแล้ว ส่วนใหญ่จะขนส่งตอนกลางคืน ครั้งหนึ่งส่งได้ 100 กระสอบ กระสอบหนึ่งหนัก 50 ก.ก. ข้าวเหล่านี้จะถูกนำไปสวมสิทธิเป็นข้าวที่ปลูกในไทย เพื่อให้สามารถ ขายข้าวได้ในราคาที่รัฐบาลรับจำนำ
โดยเฉลี่ยแล้ว คนงานในเมียวดีจะได้ค่าเงินค่าจ้างเฉลี่ยวันละ 130 บาท แต่ผู้ลักลอบค้าข้าวคนหนึ่ง ที่เรียกตัวเองว่า พี่โทน บอกว่า เขาทำเงินได้วันละเกือบ 3,180 บาท ซึ่งมากกว่าค่าจ้างเฉลี่ยถึงเกือบ 25 เท่า พี่โทน บอกด้วยว่า เขาไม่กลัวถูกจับได้ เพราะหากได้รับอนุญาตจากทหารเมียนมาร์และจ่ายเงินให้ถูกคน ก็ไม่มีปัญหา ไม่มีใครต้องเข้าเรือนจำด้วยเรื่องนี้ในพม่า
ขณะนี้เศรษฐกิจของไทยถูกรุมเร้าด้วยข้าวที่ไหลทะลักเข้ามาในประเทศ ในขณะที่ตัวเลขงบประมาณที่ใช้โครงการรับจำนำข้าวก็ทะยานสูงขึ้นเรื่อยๆ
เทเลกราฟ รายงานอ้างความเห็นของดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทยหรือ TDRI ว่า รัฐบาลกำลังสร้างปัญหาทางการเงินครั้งเลวร้าย ข้าวไม่ใช่ไวน์ ที่จะเก็บได้นานๆ ยิ่งเก็บไว้ในโกดังนานเท่าไร ราคาข้าวก็ยิ่งตกลง และผู้เสียภาษีในไทยเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการนี้