ซีรี่ส์ "เรื่องดี ๆ" ตอนที่ 1 มาเพิ่มคุณค่ากิจกรรมประจำวัน เช่น การล้างจานชาม แก้วช้อน ฯลฯ ของเราให้เป็นบุญ 2 ชั้นด้วยวิธีง่าย ๆ ไม่ต้องเสียเงินทองกันค่ะ
ชั้นที่ 1 ตั้งจิตเป็นกุศลให้ทาน ในพระสูตรชื่อ ชัปปสูตร ในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ทรงต...รัสไว้สรุปความได้ว่า "...ผู้ใดสาดน้ำล้างภาชนะ หรือน้ำล้างขันไป แม้ที่สัตว์ซึ่งอาศัยอยู่ที่บ่อน้ำครำ หรือที่บ่อโสโครกข้างประตูบ้านด้วยตั้งใจว่า สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้นเถิด ...เรากล่าวกรรมซึ่งมีการลาดน้ำล้างภาชนะนั้นเป็นเหตุว่า เป็นที่มาแห่งบุญ..."
หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ เพียงเราอธิษฐานจิตยกเศษอาหาร เศษน้ำชากาแฟ ที่เหลือติดจานชามแก้วช้อนของเราให้เป็นทานแก่สัตว์เล็กสัตว์น้อย เช่น จุลินทรีย์ ฯลฯ ที่อาศัยอยู่ในท่อระบายน้ำนั้น เราก็ได้บุญแล้วค่ะ ง่ายมากเลยใช่ไหมคะ แต่ต้องตั้งจิตให้มีเมตตาและยกให้เป็นทานจริง ๆ นะคะอย่าเพียงแต่ท่องแค่ปากเท่านั้น
ชั้นที่ 2 กำหนดสติล้างชาม เมื่ออธิษฐานจิตยกเศษอาหารให้เป็นทานแล้ว ก็ให้กำหนดสติ รู้อยู่กับอาการเคลื่อนไหวของมือทั้ง 2 ในขณะที่ล้างชามนั้น ๆ น้ำกระทบมือก็รู้ถึงการกระทบนั้น รับรู้ถึงความเย็นของน้ำ รับรู้ถึงสัมผัสนุ่มของฟองน้ำ รับรู้ถึงกลิ่นของน้ำยาล้างชาม รับรู้ถึงอาการเคลื่อนของมือ ฯลฯ
ให้คุณรับรู้ทุก ๆ สิ่งในปัจจุบันขณะไปจนจบกระบวนการล้างชามไปจนล้างมือเช็ดมือเลยนะคะ พยายามรักษาสติอย่าให้แว่บออกไปคิดเรื่องอื่นนะคะ ถ้าเกิดแว่บออกไปก็ดึงสติกลับมาอยู่ที่ฐานกาย อยู่กับการล้างชามใหม่ให้ได้ต่อเนื่องจนจบนะคะ เพียงแค่นี้ คุณก็จะได้อานิสงส์มหาศาลจากการเจริญสติแล้วค่ะ อย่าลืมนะคะว่า การเจริญสติวิปัสสนานั้นให้อานิสงส์สูงสุดกว่าการสร้างกุศลอื่นใดทั้งปวงทีเดียว เพราะอะไร? ก็เพราะการเจริญสติเป็นวิธีเดียวที่นำไปสู่มรรค ผล นิพพานได้นั่นเองค่ะ
ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ? ต่อจากนี้ไป เรามาเปลี่ยนกิจกรรมที่ฟังดูน่าเบื่ออย่างเช่นการล้างชามให้เป็นบุญ 2 ชั้นกันทุก ๆ วันกันนะคะ

ชั้นที่ 1 ตั้งจิตเป็นกุศลให้ทาน ในพระสูตรชื่อ ชัปปสูตร ในพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ทรงต...รัสไว้สรุปความได้ว่า "...ผู้ใดสาดน้ำล้างภาชนะ หรือน้ำล้างขันไป แม้ที่สัตว์ซึ่งอาศัยอยู่ที่บ่อน้ำครำ หรือที่บ่อโสโครกข้างประตูบ้านด้วยตั้งใจว่า สัตว์ที่อาศัยอยู่ในที่นั้นจงยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งนั้นเถิด ...เรากล่าวกรรมซึ่งมีการลาดน้ำล้างภาชนะนั้นเป็นเหตุว่า เป็นที่มาแห่งบุญ..."
หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ เพียงเราอธิษฐานจิตยกเศษอาหาร เศษน้ำชากาแฟ ที่เหลือติดจานชามแก้วช้อนของเราให้เป็นทานแก่สัตว์เล็กสัตว์น้อย เช่น จุลินทรีย์ ฯลฯ ที่อาศัยอยู่ในท่อระบายน้ำนั้น เราก็ได้บุญแล้วค่ะ ง่ายมากเลยใช่ไหมคะ แต่ต้องตั้งจิตให้มีเมตตาและยกให้เป็นทานจริง ๆ นะคะอย่าเพียงแต่ท่องแค่ปากเท่านั้น
ชั้นที่ 2 กำหนดสติล้างชาม เมื่ออธิษฐานจิตยกเศษอาหารให้เป็นทานแล้ว ก็ให้กำหนดสติ รู้อยู่กับอาการเคลื่อนไหวของมือทั้ง 2 ในขณะที่ล้างชามนั้น ๆ น้ำกระทบมือก็รู้ถึงการกระทบนั้น รับรู้ถึงความเย็นของน้ำ รับรู้ถึงสัมผัสนุ่มของฟองน้ำ รับรู้ถึงกลิ่นของน้ำยาล้างชาม รับรู้ถึงอาการเคลื่อนของมือ ฯลฯ
ให้คุณรับรู้ทุก ๆ สิ่งในปัจจุบันขณะไปจนจบกระบวนการล้างชามไปจนล้างมือเช็ดมือเลยนะคะ พยายามรักษาสติอย่าให้แว่บออกไปคิดเรื่องอื่นนะคะ ถ้าเกิดแว่บออกไปก็ดึงสติกลับมาอยู่ที่ฐานกาย อยู่กับการล้างชามใหม่ให้ได้ต่อเนื่องจนจบนะคะ เพียงแค่นี้ คุณก็จะได้อานิสงส์มหาศาลจากการเจริญสติแล้วค่ะ อย่าลืมนะคะว่า การเจริญสติวิปัสสนานั้นให้อานิสงส์สูงสุดกว่าการสร้างกุศลอื่นใดทั้งปวงทีเดียว เพราะอะไร? ก็เพราะการเจริญสติเป็นวิธีเดียวที่นำไปสู่มรรค ผล นิพพานได้นั่นเองค่ะ
ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ? ต่อจากนี้ไป เรามาเปลี่ยนกิจกรรมที่ฟังดูน่าเบื่ออย่างเช่นการล้างชามให้เป็นบุญ 2 ชั้นกันทุก ๆ วันกันนะคะ

ซีรี่ส์ “เรื่องดี ๆ” ตอนที่ 2 สร้างพลังบวกได้ตลอดเวลา ด้วยการแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์และเซลล์ในตัวคุณ รวมถึงเซลล์มะเร็ง!
ทุกวันนี้นักจิตวิทยาและนักประสาทวิทยา (neuroscientist) ต่างก็เห็นตรงกันว่า การคิดบวก มองสิ่งต่าง ๆ ในด้านบวกนั้น เป็นผลดี...ต่อสุขภาพจิตและสุขภาพสมองของคนเรา แม้ในทางพุทธศาสตร์ก็เช่นกัน จิตที่เป็นกุศลนั้นเป็นจิตที่มีพลัง สามารถนำไปสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้ และหนึ่งในวิธีสร้างพลังบวกง่าย ๆ ก็คือ “การแผ่เมตตา” นั่นเองค่ะ
ตามปกติคนไทยเรามักนึกถึงบทสวด “สัพเพ สัตตา” เวลานึกถึงการแผ่เมตตา ซึ่งมักจะเป็นการท่องไปอย่างนั้นเอง แต่การที่จะน้อมจิตส่งความรักและความปรารถนาดีตามไปด้วยจริง ๆ นั้นเป็นสิ่งค่อนข้างยากที่ต้องฝึกฝน ครูบาอาจารย์จึงมักให้เริ่มจากการแผ่เมตตาให้กับตนเองก่อนให้ชินเพราะไม่ว่าใครก็ย่อมมีความรักความปรารถนาดีให้ตนเองมีความสุขและปราศจากทุกข์กันทั้งสิ้น แต่ท่านเคยนึกลึกลงไปในรายละเอียดหรือไม่ว่าสิ่งที่ท่านคิดว่าเป็น “ตัวท่าน” นั้นไม่ได้เป็นหน่วยเพียงหนึ่งเดียว แต่มีสิ่งมีชีวิตอยู่มากมายเป็นล้านล้านหน่วยอาศัยอยู่ในนั้นด้วย! ท่านเคยแผ่เมตตาให้กับพวกเขาบ้างไหมคะ?
ในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเอาไว้ว่าในร่างกายของคนเราเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์เล็กสัตว์น้อยจำนวนมากมาย ซึ่งถ้าเทียบกับวิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็น่าจะเทียบได้กับจุลินทรีย์ เชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ นั่นเอง นอกจากนั้นก็ยังมีเซลล์ต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นร่างกายเรา มีผู้ประมาณไว้ว่า ร่างกายมนุษย์นั้นประกอบขึ้นมาด้วยเซลล์จำนวนถึง 100 ล้านล้าน เซลล์ทีเดียว เซลล์เหล่านั้นล้วนแต่มีชีวิตและต่างก็ทำหน้าที่ของตนอย่างหนักเพื่อที่จะรักษาสุขสภาวะของเราให้อยู่ในสภาพที่สมดุลย์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราเคยได้นึกถึงพวกเขากันบ้างไหมคะ?
วิธีการแผ่เมตตานั้นทำได้ง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ภาษาบาลีค่ะ ขอเพียงท่านตั้งจิตเป็นสมาธินึกถึงสัตว์เล็กสัตว์น้อยรวมถึงเซลล์ต่าง ๆ ทุกเซลล์ในร่างกายของท่านแล้วก็ส่งใจไปถึงพวกเขาว่า “ขอให้พวกท่านทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอท่านได้รับส่วนบุญกุศลทั้งหลายทั้งทาน ศีล และภาวนาที่ข้าพเจ้าได้ทำไปด้วยทั้งหมดเสมอเหมือนว่าได้กระทำด้วยตนเอง เมื่อหมดอายุขัยของท่านขอให้ท่านได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนได้มรรคผลนิพพาน พ้นจากทุกข์อย่างสิ้นเชิงโดยทั่วกันเทอญ” แล้วก็ส่งจิตที่มีความรักความเมตตาปรารถนาดีตามไปอีกสักพักนะคะ
ถ้าท่านทำได้ถูกต้องด้วยจิตที่มีความรักเมตตาปรารถนาดีจริง ๆ ท่านจะรู้สึกได้ถึงความรู้สึกดี ๆ ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของท่านค่ะ สรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นสามารถรับรู้ความปรารถนาดีของท่านได้ และก็จะส่งความปรารถนาดีกลับมาให้ท่านเช่นกัน ท่านอาจจะรู้สึกถึงอาการปิติ วูบวาบ หรือขนลุกเล็กน้อย หรือรู้สึกอบอุ่นใจ ตัวเบา สบายใจ ปลอดโปร่งใจนะคะ เพราะท่านได้ผูกมิตรกับมหามิตรที่อยู่ใกล้ชิดท่านที่สุดเอาไว้แล้ว ให้ท่านหมั่นสร้างกุศลด้วย ทาน ศีล ภาวนา แล้วแผ่เมตตาเช่นนี้ทุก ๆ วันท่านจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงภายในกายใจของท่านค่ะ ท่านจะพบว่าท่านมีพลังบวกมากขึ้น จิตใจปลอดโปร่งมีพลังแจ่มใสมากขึ้น และท่านจะรู้สึกอบอุ่นใจ สบายใจมากยิ่งขึ้นด้วยค่ะ นั่นเป็นเพราะเซลล์ต่าง ๆ ให้ "ความร่วมมือ" กับท่านมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
**หมายเหตุ** วิธีนี้จะได้ผลดีเป็นพิเศษแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยนะคะ ถึงแม้มะเร็งจะเป็นเนื้อร้าย เป็นเซลล์ที่มาเบียดเบียนท่าน ก็ขอให้ท่านอย่าไปรังเกียจเกลียดโกรธหรือหวาดกลัวเขา ก็ให้แผ่เมตตาให้ความรักความปรารถนาดีต่อเขา ส่งส่วนบุญกุศลไปให้เขาเช่นกันค่ะ บอกว่าให้อยู่ด้วยกันไปนาน ๆ อย่างไม่เบียดเบียนกันเพื่อที่จะได้ร่วมกันสร้างคุณงามความดี จะได้มีส่วนสร้างสมกุศลไปด้วยกัน เขาเองก็จะได้พ้นทุกข์ไปด้วย ท่านเคยคิดไหมคะว่าเซลล์มะเร็งนั้นก็เป็นทุกข์เหมือนกันแต่ไม่เคยมีใครแผ่เมตตาไปให้เขาเลย มีแต่คอยจ้องจะฆ่าเขา วิปัสสนาจารย์ของผู้เขียนก็ป่วยเป็นมะเร็งมาแล้วกว่า 10 ปี แต่สามารถควบคุมการแพร่ขยายของเซลล์มะเร็งนี้ได้ด้วยวิธีนี้ควบคู่ไปกับการรักษาตามปกติและรักษาวิธีธรรมชาตินั่นเองค่ะ
ถ้าวิธีการรักษาของท่านจำเป็นจะต้องไปฆ่าเซลล์มะเร็ง ก็ขออโหสิกรรมกับเขาก่อนด้วยนะคะว่า ท่านไม่ได้มีจิตพยาบาทเกลียดโกรธอะไรเขา แต่จำเป็นต้องรักษาร่างกายธาตุขันธ์นี้เอาไว้เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้ มีชีวิตอยู่รอดต่อไป “เพื่ออะไร”? นี่ล่ะค่ะเป็นสิ่งสำคัญที่ท่านต้องตอบเซลล์มะเร็งที่ท่านจำต้องฆ่าเขาให้ได้ “เพื่อสร้างคุณงามความดีให้กับโลกนี้” ไงคะ บอกกับเซลล์มะเร็งที่ท่านจะต้องฆ่าเขา(ถ้าจำเป็นจริง ๆ)ว่า ท่านจะใช้ร่างกายธาตุขันธ์ของท่านที่รอดมานี้สร้างกุศลด้วยทาน ศีล และภาวนาให้ครบและอุทิศบุญกุศลให้เขาไปโดยตลอด ถ้าท่านทำได้เช่นนี้ ท่านก็น่าจะมีโอกาสได้อยู่สร้างคุณประโยชน์กับโลกต่อไปอีกใช่ไหมคะ เพราะเซลล์มะเร็งก็ย่อมหวังจะได้บุญกุศลที่ท่านจะอุทิศให้กับเขาต่อไปอีกนาน ๆ เช่นกันค่ะ
ถ้าท่านทดลองแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายในร่างกายและให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายท่านไปแล้วรู้สึกอย่างไรกันบ้าง แวะมาเล่าให้ผู้เขียนฟังกันบ้างนะคะ

ทุกวันนี้นักจิตวิทยาและนักประสาทวิทยา (neuroscientist) ต่างก็เห็นตรงกันว่า การคิดบวก มองสิ่งต่าง ๆ ในด้านบวกนั้น เป็นผลดี...ต่อสุขภาพจิตและสุขภาพสมองของคนเรา แม้ในทางพุทธศาสตร์ก็เช่นกัน จิตที่เป็นกุศลนั้นเป็นจิตที่มีพลัง สามารถนำไปสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ได้ และหนึ่งในวิธีสร้างพลังบวกง่าย ๆ ก็คือ “การแผ่เมตตา” นั่นเองค่ะ
ตามปกติคนไทยเรามักนึกถึงบทสวด “สัพเพ สัตตา” เวลานึกถึงการแผ่เมตตา ซึ่งมักจะเป็นการท่องไปอย่างนั้นเอง แต่การที่จะน้อมจิตส่งความรักและความปรารถนาดีตามไปด้วยจริง ๆ นั้นเป็นสิ่งค่อนข้างยากที่ต้องฝึกฝน ครูบาอาจารย์จึงมักให้เริ่มจากการแผ่เมตตาให้กับตนเองก่อนให้ชินเพราะไม่ว่าใครก็ย่อมมีความรักความปรารถนาดีให้ตนเองมีความสุขและปราศจากทุกข์กันทั้งสิ้น แต่ท่านเคยนึกลึกลงไปในรายละเอียดหรือไม่ว่าสิ่งที่ท่านคิดว่าเป็น “ตัวท่าน” นั้นไม่ได้เป็นหน่วยเพียงหนึ่งเดียว แต่มีสิ่งมีชีวิตอยู่มากมายเป็นล้านล้านหน่วยอาศัยอยู่ในนั้นด้วย! ท่านเคยแผ่เมตตาให้กับพวกเขาบ้างไหมคะ?
ในพระไตรปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงเอาไว้ว่าในร่างกายของคนเราเป็นแหล่งที่อาศัยของสัตว์เล็กสัตว์น้อยจำนวนมากมาย ซึ่งถ้าเทียบกับวิทยาศาสตร์ปัจจุบันก็น่าจะเทียบได้กับจุลินทรีย์ เชื้อโรค แบคทีเรีย และไวรัสต่าง ๆ นั่นเอง นอกจากนั้นก็ยังมีเซลล์ต่าง ๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นร่างกายเรา มีผู้ประมาณไว้ว่า ร่างกายมนุษย์นั้นประกอบขึ้นมาด้วยเซลล์จำนวนถึง 100 ล้านล้าน เซลล์ทีเดียว เซลล์เหล่านั้นล้วนแต่มีชีวิตและต่างก็ทำหน้าที่ของตนอย่างหนักเพื่อที่จะรักษาสุขสภาวะของเราให้อยู่ในสภาพที่สมดุลย์ที่สุดเท่าที่จะทำได้ เราเคยได้นึกถึงพวกเขากันบ้างไหมคะ?
วิธีการแผ่เมตตานั้นทำได้ง่าย ๆ ไม่ต้องใช้ภาษาบาลีค่ะ ขอเพียงท่านตั้งจิตเป็นสมาธินึกถึงสัตว์เล็กสัตว์น้อยรวมถึงเซลล์ต่าง ๆ ทุกเซลล์ในร่างกายของท่านแล้วก็ส่งใจไปถึงพวกเขาว่า “ขอให้พวกท่านทั้งหลายจงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย ขอท่านได้รับส่วนบุญกุศลทั้งหลายทั้งทาน ศีล และภาวนาที่ข้าพเจ้าได้ทำไปด้วยทั้งหมดเสมอเหมือนว่าได้กระทำด้วยตนเอง เมื่อหมดอายุขัยของท่านขอให้ท่านได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนได้มรรคผลนิพพาน พ้นจากทุกข์อย่างสิ้นเชิงโดยทั่วกันเทอญ” แล้วก็ส่งจิตที่มีความรักความเมตตาปรารถนาดีตามไปอีกสักพักนะคะ
ถ้าท่านทำได้ถูกต้องด้วยจิตที่มีความรักเมตตาปรารถนาดีจริง ๆ ท่านจะรู้สึกได้ถึงความรู้สึกดี ๆ ที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของท่านค่ะ สรรพสัตว์ทั้งหลายนั้นสามารถรับรู้ความปรารถนาดีของท่านได้ และก็จะส่งความปรารถนาดีกลับมาให้ท่านเช่นกัน ท่านอาจจะรู้สึกถึงอาการปิติ วูบวาบ หรือขนลุกเล็กน้อย หรือรู้สึกอบอุ่นใจ ตัวเบา สบายใจ ปลอดโปร่งใจนะคะ เพราะท่านได้ผูกมิตรกับมหามิตรที่อยู่ใกล้ชิดท่านที่สุดเอาไว้แล้ว ให้ท่านหมั่นสร้างกุศลด้วย ทาน ศีล ภาวนา แล้วแผ่เมตตาเช่นนี้ทุก ๆ วันท่านจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงภายในกายใจของท่านค่ะ ท่านจะพบว่าท่านมีพลังบวกมากขึ้น จิตใจปลอดโปร่งมีพลังแจ่มใสมากขึ้น และท่านจะรู้สึกอบอุ่นใจ สบายใจมากยิ่งขึ้นด้วยค่ะ นั่นเป็นเพราะเซลล์ต่าง ๆ ให้ "ความร่วมมือ" กับท่านมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
**หมายเหตุ** วิธีนี้จะได้ผลดีเป็นพิเศษแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยนะคะ ถึงแม้มะเร็งจะเป็นเนื้อร้าย เป็นเซลล์ที่มาเบียดเบียนท่าน ก็ขอให้ท่านอย่าไปรังเกียจเกลียดโกรธหรือหวาดกลัวเขา ก็ให้แผ่เมตตาให้ความรักความปรารถนาดีต่อเขา ส่งส่วนบุญกุศลไปให้เขาเช่นกันค่ะ บอกว่าให้อยู่ด้วยกันไปนาน ๆ อย่างไม่เบียดเบียนกันเพื่อที่จะได้ร่วมกันสร้างคุณงามความดี จะได้มีส่วนสร้างสมกุศลไปด้วยกัน เขาเองก็จะได้พ้นทุกข์ไปด้วย ท่านเคยคิดไหมคะว่าเซลล์มะเร็งนั้นก็เป็นทุกข์เหมือนกันแต่ไม่เคยมีใครแผ่เมตตาไปให้เขาเลย มีแต่คอยจ้องจะฆ่าเขา วิปัสสนาจารย์ของผู้เขียนก็ป่วยเป็นมะเร็งมาแล้วกว่า 10 ปี แต่สามารถควบคุมการแพร่ขยายของเซลล์มะเร็งนี้ได้ด้วยวิธีนี้ควบคู่ไปกับการรักษาตามปกติและรักษาวิธีธรรมชาตินั่นเองค่ะ
ถ้าวิธีการรักษาของท่านจำเป็นจะต้องไปฆ่าเซลล์มะเร็ง ก็ขออโหสิกรรมกับเขาก่อนด้วยนะคะว่า ท่านไม่ได้มีจิตพยาบาทเกลียดโกรธอะไรเขา แต่จำเป็นต้องรักษาร่างกายธาตุขันธ์นี้เอาไว้เพื่อให้มีชีวิตอยู่รอดต่อไปได้ มีชีวิตอยู่รอดต่อไป “เพื่ออะไร”? นี่ล่ะค่ะเป็นสิ่งสำคัญที่ท่านต้องตอบเซลล์มะเร็งที่ท่านจำต้องฆ่าเขาให้ได้ “เพื่อสร้างคุณงามความดีให้กับโลกนี้” ไงคะ บอกกับเซลล์มะเร็งที่ท่านจะต้องฆ่าเขา(ถ้าจำเป็นจริง ๆ)ว่า ท่านจะใช้ร่างกายธาตุขันธ์ของท่านที่รอดมานี้สร้างกุศลด้วยทาน ศีล และภาวนาให้ครบและอุทิศบุญกุศลให้เขาไปโดยตลอด ถ้าท่านทำได้เช่นนี้ ท่านก็น่าจะมีโอกาสได้อยู่สร้างคุณประโยชน์กับโลกต่อไปอีกใช่ไหมคะ เพราะเซลล์มะเร็งก็ย่อมหวังจะได้บุญกุศลที่ท่านจะอุทิศให้กับเขาต่อไปอีกนาน ๆ เช่นกันค่ะ
ถ้าท่านทดลองแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลายในร่างกายและให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายท่านไปแล้วรู้สึกอย่างไรกันบ้าง แวะมาเล่าให้ผู้เขียนฟังกันบ้างนะคะ

ซีรี่ส์ “เรื่องดี ๆ” ตอนที่ 3 วันนี้ก็จะยังเป็นเรื่องของการสร้างพลังบวกและจิตที่เป็นกุศลอยู่นะคะ แต่คราวนี้เราจะเผื่อแผ่พลังบวกและจิตที่เป็นกุศลไปถึงจุลินทรีย์ตัวเป็น ๆ ที่เรากำลังจะกินเข้าไปค่ะ ถ้าท่านผู้อ่านเคยดื่มนมเปรี้ยวพร้อมดื่มหรือร...ับประทานโยเกิร์ตประเภทที่โฆษณาว่ามีจุลินทรีย์อย่างเช่น โปรไบโอติก ท่านก็ต้องเคยรับประทานมันเข้าไปครั้งละอย่างน้อยหลายพันล้านตัวแน่นอนค่ะ ลองพลิกดูที่ข้างขวดหรือข้างกระปุกดูสิคะ
จริงอยู่ เราไม่จำเป็นต้องบริโภคสินค้าเหล่านั้นก็ได้เพราะในร่างกายเราก็มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และช่วยรักษาสมดุลย์ให้ร่างกายเราอยู่แล้ว และในซีรี่ส์ “เรื่องดี ๆ” ตอนที่แล้วเราก็พูดถึงการแผ่เมตตาให้กับเจ้าตัวจิ๋วที่มีอยู่ในร่างกายเราไปแล้วนะคะ แต่ถ้าท่านเป็นผู้ที่บริโภคสินค้าเหล่านั้นอยู่แล้วเป็นประจำ ก็ลองมาเพิ่มคุณค่าตอนบริโภคด้วยการสร้างพลังบวกและจิตที่เป็นกุศลเพิ่มขึ้นไปอีกสัก 3 ขั้นกันดีไหมคะ?
ขั้นที่ 1 ลองตั้งจิตส่งความปรารถนาดีอุทิศสารอาหารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในร่างกายของเรา “ให้เป็นทาน” แก่จุลินทรีย์เหล่านั้นค่ะเพราะพวกเขาอาศัยสิ่งที่อยู่ในทางเดินอาหารของเราเป็นอาหาร ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ ถ้าท่านทำด้วยใจที่เมตตาปรารถนาดีต่อเจ้าตัวจิ๋วเหล่านั้นจริง ๆ ท่านจะรู้สึกดี ๆ ขึ้นมาในทันทีค่ะ
ขั้นที่ 2 ลองส่งความรู้สึก “ขอบคุณ” ไปที่จุลินทรีย์เหล่านั้นนะคะที่มันจะช่วยทำหน้าที่รักษาสมดุลย์ให้กับร่างกายของเรา คนญี่ปุ่นนั้นก่อนรับประทานอาหารจะพนมมือและพูดว่า “itadakimasu” ซึ่งแปลตรงตัวว่า “จะขออนุญาตรับ(ประทาน)ของนี้แล้วนะคะ/ครับ” แต่เมื่อผู้เขียนได้คุยกับครูชาวญี่ปุ่น ท่านบอกว่าที่มาของการพนมมือไหว้อาหารอย่างนั้นมาจากแนวคิดดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นที่ต้องการขอโทษและขอบคุณต่อสัตว์ต่าง ๆ ที่สละเลือดเนื้อมาให้เรารับประทานค่ะ
การรู้สึก “ขอบคุณ” แม้แต่ต่อสัตว์ตัวจิ๋วที่ทำประโยชน์ให้เรานั้นจะทำให้เรา “ได้สติ” ด้วยค่ะว่า แม้เราจะตัวใหญ่โตขนาดไหนเมื่อเทียบกับเขา เราก็ยังต้องพึ่งพาอาศัยเขาในการรักษาสุขสภาวะของเราให้สมดุลย์ค่ะ มันจะเป็นการฝึกขัดเกลาจิตใจของเราให้เกิดความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้น้อยไปด้วยในเวลาเดียวกันค่ะ ลองสังเกตจิตใจที่อ่อนโยนลงของท่านดูนะคะ
จริงอยู่ เราไม่จำเป็นต้องบริโภคสินค้าเหล่านั้นก็ได้เพราะในร่างกายเราก็มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์และช่วยรักษาสมดุลย์ให้ร่างกายเราอยู่แล้ว และในซีรี่ส์ “เรื่องดี ๆ” ตอนที่แล้วเราก็พูดถึงการแผ่เมตตาให้กับเจ้าตัวจิ๋วที่มีอยู่ในร่างกายเราไปแล้วนะคะ แต่ถ้าท่านเป็นผู้ที่บริโภคสินค้าเหล่านั้นอยู่แล้วเป็นประจำ ก็ลองมาเพิ่มคุณค่าตอนบริโภคด้วยการสร้างพลังบวกและจิตที่เป็นกุศลเพิ่มขึ้นไปอีกสัก 3 ขั้นกันดีไหมคะ?
ขั้นที่ 1 ลองตั้งจิตส่งความปรารถนาดีอุทิศสารอาหารต่าง ๆ ที่มีอยู่ในร่างกายของเรา “ให้เป็นทาน” แก่จุลินทรีย์เหล่านั้นค่ะเพราะพวกเขาอาศัยสิ่งที่อยู่ในทางเดินอาหารของเราเป็นอาหาร ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ ถ้าท่านทำด้วยใจที่เมตตาปรารถนาดีต่อเจ้าตัวจิ๋วเหล่านั้นจริง ๆ ท่านจะรู้สึกดี ๆ ขึ้นมาในทันทีค่ะ
ขั้นที่ 2 ลองส่งความรู้สึก “ขอบคุณ” ไปที่จุลินทรีย์เหล่านั้นนะคะที่มันจะช่วยทำหน้าที่รักษาสมดุลย์ให้กับร่างกายของเรา คนญี่ปุ่นนั้นก่อนรับประทานอาหารจะพนมมือและพูดว่า “itadakimasu” ซึ่งแปลตรงตัวว่า “จะขออนุญาตรับ(ประทาน)ของนี้แล้วนะคะ/ครับ” แต่เมื่อผู้เขียนได้คุยกับครูชาวญี่ปุ่น ท่านบอกว่าที่มาของการพนมมือไหว้อาหารอย่างนั้นมาจากแนวคิดดั้งเดิมของพระพุทธศาสนาในญี่ปุ่นที่ต้องการขอโทษและขอบคุณต่อสัตว์ต่าง ๆ ที่สละเลือดเนื้อมาให้เรารับประทานค่ะ
การรู้สึก “ขอบคุณ” แม้แต่ต่อสัตว์ตัวจิ๋วที่ทำประโยชน์ให้เรานั้นจะทำให้เรา “ได้สติ” ด้วยค่ะว่า แม้เราจะตัวใหญ่โตขนาดไหนเมื่อเทียบกับเขา เราก็ยังต้องพึ่งพาอาศัยเขาในการรักษาสุขสภาวะของเราให้สมดุลย์ค่ะ มันจะเป็นการฝึกขัดเกลาจิตใจของเราให้เกิดความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้น้อยไปด้วยในเวลาเดียวกันค่ะ ลองสังเกตจิตใจที่อ่อนโยนลงของท่านดูนะคะ

ขั้นที่ 3 ก็คือ ให้อุทิศบุญกุศลที่ท่านได้เคยทำมา ไม่ว่าจะเป็นทาน ศีล ภาวนา ให้กับจุลินทรีย์เป็น ๆ หลายพันล้านตัวที่ท่านได้รับประทานเข้าไปค่ะ จากนั้นให้ส่งความรักความปรารถนาดีให้จุลินทรีย์ตัวจิ๋วทั้งหลายอยู่เย็นเป็นสุขปราศจากทุกข์ เมื่อเขาหมดอายุขัยแล้วก็ขอให้ไปเกิดในภพภูมิที่ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป เช่น เป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา และได้สร้างกุศลต่าง ๆ ไปจนถึงได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานจนพ้นทุกข์นะคะ มีหลักฐานในพระไตรปิฎกมากมายค่ะที่สัตว์เดรัจฉานเมื่อตายด้วยจิตที่เป็นกุศลก็ได้ไปเกิดเป็นมนุษย์ เรามาช่วยพวกเขากันค่ะ
ถ้าท่านฝึกจิตให้เป็นกุศลได้ทั้ง 3 ขั้นนี้แล้ว ท่านเองก็จะได้กุศลแถมมาอีก 1 อย่างด้วยค่ะ คือท่านจะ “ได้สติ” มากขึ้นว่า มีสรรพสิ่งที่มีชีวิตอยู่มากมายรอบตัวเราและภายในตัวเราที่เรามองไม่เห็น และเราอาจเคยมองข้ามเขาไป และแท้ที่จริงนั้นสรรพสิ่งทั้งหลายล้วนต้องพึ่งพาอาศัยกัน
จะว่าไปแล้วถ้าเราสามารถอุทิศส่วนกุศลให้ “เจ้ากรรมนายเวร” ที่เราไม่เคยเห็นหน้าตาหรือรู้ภพภูมิของเขาได้ การอุทิศส่วนกุศลให้กับเจ้าเพื่อนตัวจิ๋วที่เราจะรับประทานเขาเข้าไปน่าจะง่ายกว่ามากทีเดียวค่ะ รวมทั้งให้กับสรรพสัตว์ที่อุทิศเลือดเนื้อมาเป็นอาหารให้เราอยู่สร้างคุณงามความดีต่อไปด้วย
เพราะวิธีตอบแทนบุญคุณที่ดีที่สุดต่อสรรพสัตว์ที่เรารับประทานเขาเข้าไปก็คือเอากำลังวังชาที่ได้จากเขามาสร้างคุณงามความดีต่อโลกและให้เขาได้บุญกุศลไปด้วยนั่นเองค่ะ ครั้งต่อไปที่ท่านจะใช้กำลังวังชาในการทำคุณงามความดี ก็ให้ระลึกด้วยนะคะว่าท่านได้กำลังวังชานี้มาจากไหนบ้าง
ซีรี่ส์เรื่องดี ๆ ตอนที่ 4 วันนี้ เรามาฟังนิทานกันค่ะ ยาวนิดแต่สนุกและมีประโยชน์มากนะคะ เรื่องมีอยู่ว่าเจ้าของร้านขายของชำแห่งหนึ่งสังเกตว่า แทบทุกวันจะมีสุนัขตัวหนึ่งคาบแผ่นกระดาษรายการของที่เจ้าของสุนัขต้องการซื้อมามอบให้เขา โดยที่คอเจ้...าสุนัขก็คล้องกระเป๋าสตางค์มาด้วย เจ้าของร้านก็จะดูรายการของที่ฝากซื้อแล้วจัดใส่ถุงให้สุนัขตัวนั้นคาบกลับไปโดยหยิบเงินในกระเป๋าสตางค์ออกมาตามจำนวนยอดเงินราคาของ
วันหนึ่งเจ้าสุนัขตัวนี้มาที่ร้านขายของชำตอนที่เจ้าของร้านใกล้จะปิดร้านพอดี หลังจากจัดของใส่ถุงให้และเก็บเงินเรียบร้อยแล้ว เจ้าของร้านก็เกิดอยากรู้ขึ้นมาว่าเจ้าสุนัขนี้อยู่ที่ไหนจึงตัดสินใจเดินตามเจ้าสุนัขไปหลังจากปิดร้าน
เมื่อเดินมาถึงทางม้าลายข้ามถนนเจ้าสุนัขก็ใช้อุ้งเท้าหน้ากดปุ่มเพื่อขอสัญญาณไฟข้ามถนน รอจนไฟเขียว แล้วก็เดินข้ามถนนไป เจ้าของร้านขายของชำรู้สึกทึ่ง แล้วก็เดินตามไป เจ้าสุนัขเดินไปยังป้ายรถเมล์และยืนรออย่างเรียบร้อย รถเมล์ผ่านไปสองคันเจ้าสุนัขก็ยังไม่ขึ้น จนคันที่สามมาถึงเจ้าสุนัขจึงเดินขึ้น “นี่มันอ่านเลขรถได้ด้วยหรือนี่ หรือว่ามันดูจากสีรถหรือว่าอะไร?” เจ้าของร้านขายของชำนึกในใจพลางเดินตามขึ้นไป
เมื่อขึ้นไปบนรถ เจ้าสุนัขก็เห่าทักทายพนักงานขับรถผู้เอื้อมมือมาหยิบค่าโดยสารจากกระเป๋าที่คอของเจ้าสุนัขตัวนั้นอย่างคุ้นเคยพร้อมกับทักว่า “เป็นไงบ้าง แซม” เจ้าของร้านขายของชำก็จ่ายค่าโดยสารตามเป็นเงินจำนวนเท่ากันแล้วก็นั่งเฝ้าดูต่อไป สักพักใหญ่แซมก็ใช้อุ้งเท้ากดกริ่ง พนักงานขับรถก็จอดให้ลงพร้อมพูดว่า “แล้วเจอกันใหม่นะ แซม”
แซมเดินคาบถุงจากร้านขายของชำเดินต่อไปในละแวกย่านพักอาศัยที่ร่มรื่นแห่งหนึ่ง มันเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ลัดเลาะไปอย่างชำนาญด้วยความรวดเร็ว เจ้าของร้านขาบของชำเริ่มจะหอบ “อีกนานไหมนี่ แซม ฉันเริ่มจะเหนื่อยแล้วนะ” ในที่สุดแซมก็มาหยุดที่หน้าบ้านหลังหนึ่งแล้วยกอุ้งเท้าขึ้นกดกริ่งหน้าบ้าน
สักพักหนึ่งประตูหน้าบ้านก็เปิดพลัวะออกมาอย่างแรงพร้อมกับชายคนหนึ่งพุ่งออกมาเตะแซมสุนัขแสนรู้เข้าอย่างแรงที่ลำตัว แซมส่งเสียงร้อง “เอ๋ง” เบา ๆ ล้มลงไปนั่งแล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่พร้อมยื่นถุงของชำให้ด้วยสีหน้าที่แสดงความเสียใจอย่างที่สุด “คุณทำอะไรของคุณน่ะ!” เจ้าของร้านขายของชำที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ โพล่งออกมาอย่างเหลืออด “คุณใช้หมาแสนรู้ของคุณไปซื้อของที่ร้านผมเกือบทุกวัน และมันก็ทำหน้าที่ของมันอย่างดี ซื้อของและนำมาให้คุณถึงบ้าน นี่คือสิ่งที่คุณตอบแทนเพื่อนที่แสนดีของคุณอย่างนั้นหรือ? คุณเตะมันทำไม?!” หน้าของเจ้าของร้านขายของชำแดงก่ำ “ก็ไอ้หมาเวรนี่น่ะซี่" เจ้าของแซมตอบ "มันลืมกุญแจบ้านเป็นครั้งที่ 2 แล้วนะ” นิทานเรื่องนี้จบลงตรงนี้ค่ะ
ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งโกรธเจ้าของสุนัขนะคะ หายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกยาว ๆ สักหนึ่งที เพราะเราทุกคนนี่แหละค่ะคือเจ้าของสุนัขตัวนั้น จากหนังสือ สมองแห่งพุทธะ และเล่มภาคต่อคือ สู่สมองแห่งพุทธะ ที่จะวางจำหน่ายในฉบับภาษาไทยกลางปีนี้ ดร.ริค แฮนสัน นักวิทยาศาสตร์ด้านสมองได้แสดงถึงผลวิจัยต่าง ๆ มากมายที่ชี้ว่า สมองของคนเรามีแนวโน้มที่จะไวต่อการรับสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบและจดจำสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบ ในขณะที่มองข้ามและไม่จดจำสิ่งต่าง ๆ ในแง่บวกทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเรานั้นมักจะเป็นในแง่บวกหรือว่ากลาง ๆ มากกว่าค่ะ!
ถ้าไม่เชื่อลองถามตัวคุณเองนะคะว่า ถ้าในวันนี้คุณมีสิ่งที่ต้องทำ 20 อย่าง และคุณทำมันได้ 18 อย่างอย่างเรียบร้อยและมีบางอย่างออกมาดีด้วยซ้ำ แต่มี 2 อย่างที่ออกมาไม่ดีนัก คืนวันนี้ใจคุณจะไปเฝ้าครุ่นคิดถึงเรื่องใดคะ เรื่อง 18 อย่างที่ทำได้ดีหรือว่า 2 อย่างที่ทำพลาดไป?
ดร.แฮนสัน เสนอวิธีปรับสมองเราดังนี้ค่ะ 1) ให้หมั่นมองหาสิ่งดี ๆ แม้จะเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ทำงานเสร็จไป 1 อย่างหรือแม้เพียง 1 ส่วน แล้วรับความรู้สึกดี ๆ นี้เข้าไปด้วยการนั่งผ่อนคลาย หายใจเข้าลึก ๆ และใช้สติรับรู้ความรู้สึกนั้น ๆ อย่างแจ่มชัดค่ะ 2) อยู่กับความสุขนั้นค่ะ ในขั้นนี้ดร.แฮนสัน บอกว่า ให้ใช้เวลาสักครึ่งนาที หรือจะเพียง 10-20 วินาทีก็ยังดีค่ะ พยายามมีสมาธิจดจ่ออยู่กับความรู้สึกดี ๆ นั้นนะคะ นี่ล่ะค่ะคือเวลาที่เซลล์ประสาท(นิวรอน)ในสมองของคุณจะส่งกระแสสัญญาณเข้าเชื่อมโยงกัน ทำให้เครือข่าย “ความรู้สึกดี ๆ” ในสมองคุณแข็งแกร่งขึ้นค่ะ
3) พยายาม "นึกภาพ" ความรู้สึกดี ๆ นั้นว่ามันซึมซับเข้าไปในร่างกายของคุณนะคะ บางคนอาจจะนึกภาพว่าเหมือนได้ดื่มโกโก้อุ่น ๆ หรือกาแฟร้อน ๆ ในวันที่หนาวเหน็บ บางคนอาจจะนึกภาพเป็นแสงสว่างอันอบอุ่นแผ่กระจายไปทั่วบริเวณทรวงอกของคุณ การทำเช่นนี้จะเป็นการเพิ่มการเชื่อมโยงเครือข่ายความรู้สึกดี ๆ ในสมองของคุณให้แจ่มชัดและแข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีกค่ะ เพื่อที่คุณจะรู้สึกดียิ่ง ๆ ขึ้นและง่ายยิ่งขึ้นในอนาคตค่ะ
เริ่มทำเลยตั้งแต่เดี๋ยวนี้นะคะ ถ้าคุณรู้สึกดี ๆ ว่าได้เคล็ดลับในการ “บริหารสมอง” เพื่อพัฒนาให้เครือข่าย “ความรู้สึกดี ๆ” ในสมองของคุณแข็งแกร่งขึ้น ก็เริ่มฝึก 3 ขั้นตอนของดร.แฮนสันได้เลยค่ะ เพื่อที่คุณจะได้ไม่เผลอไปเตะเจ้าสุนัขแสนรู้ของคุณอีกในอนาคตไงคะ
วันหนึ่งเจ้าสุนัขตัวนี้มาที่ร้านขายของชำตอนที่เจ้าของร้านใกล้จะปิดร้านพอดี หลังจากจัดของใส่ถุงให้และเก็บเงินเรียบร้อยแล้ว เจ้าของร้านก็เกิดอยากรู้ขึ้นมาว่าเจ้าสุนัขนี้อยู่ที่ไหนจึงตัดสินใจเดินตามเจ้าสุนัขไปหลังจากปิดร้าน
เมื่อเดินมาถึงทางม้าลายข้ามถนนเจ้าสุนัขก็ใช้อุ้งเท้าหน้ากดปุ่มเพื่อขอสัญญาณไฟข้ามถนน รอจนไฟเขียว แล้วก็เดินข้ามถนนไป เจ้าของร้านขายของชำรู้สึกทึ่ง แล้วก็เดินตามไป เจ้าสุนัขเดินไปยังป้ายรถเมล์และยืนรออย่างเรียบร้อย รถเมล์ผ่านไปสองคันเจ้าสุนัขก็ยังไม่ขึ้น จนคันที่สามมาถึงเจ้าสุนัขจึงเดินขึ้น “นี่มันอ่านเลขรถได้ด้วยหรือนี่ หรือว่ามันดูจากสีรถหรือว่าอะไร?” เจ้าของร้านขายของชำนึกในใจพลางเดินตามขึ้นไป
เมื่อขึ้นไปบนรถ เจ้าสุนัขก็เห่าทักทายพนักงานขับรถผู้เอื้อมมือมาหยิบค่าโดยสารจากกระเป๋าที่คอของเจ้าสุนัขตัวนั้นอย่างคุ้นเคยพร้อมกับทักว่า “เป็นไงบ้าง แซม” เจ้าของร้านขายของชำก็จ่ายค่าโดยสารตามเป็นเงินจำนวนเท่ากันแล้วก็นั่งเฝ้าดูต่อไป สักพักใหญ่แซมก็ใช้อุ้งเท้ากดกริ่ง พนักงานขับรถก็จอดให้ลงพร้อมพูดว่า “แล้วเจอกันใหม่นะ แซม”
แซมเดินคาบถุงจากร้านขายของชำเดินต่อไปในละแวกย่านพักอาศัยที่ร่มรื่นแห่งหนึ่ง มันเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ลัดเลาะไปอย่างชำนาญด้วยความรวดเร็ว เจ้าของร้านขาบของชำเริ่มจะหอบ “อีกนานไหมนี่ แซม ฉันเริ่มจะเหนื่อยแล้วนะ” ในที่สุดแซมก็มาหยุดที่หน้าบ้านหลังหนึ่งแล้วยกอุ้งเท้าขึ้นกดกริ่งหน้าบ้าน
สักพักหนึ่งประตูหน้าบ้านก็เปิดพลัวะออกมาอย่างแรงพร้อมกับชายคนหนึ่งพุ่งออกมาเตะแซมสุนัขแสนรู้เข้าอย่างแรงที่ลำตัว แซมส่งเสียงร้อง “เอ๋ง” เบา ๆ ล้มลงไปนั่งแล้วก็ลุกขึ้นยืนใหม่พร้อมยื่นถุงของชำให้ด้วยสีหน้าที่แสดงความเสียใจอย่างที่สุด “คุณทำอะไรของคุณน่ะ!” เจ้าของร้านขายของชำที่ยืนอยู่ใกล้ ๆ โพล่งออกมาอย่างเหลืออด “คุณใช้หมาแสนรู้ของคุณไปซื้อของที่ร้านผมเกือบทุกวัน และมันก็ทำหน้าที่ของมันอย่างดี ซื้อของและนำมาให้คุณถึงบ้าน นี่คือสิ่งที่คุณตอบแทนเพื่อนที่แสนดีของคุณอย่างนั้นหรือ? คุณเตะมันทำไม?!” หน้าของเจ้าของร้านขายของชำแดงก่ำ “ก็ไอ้หมาเวรนี่น่ะซี่" เจ้าของแซมตอบ "มันลืมกุญแจบ้านเป็นครั้งที่ 2 แล้วนะ” นิทานเรื่องนี้จบลงตรงนี้ค่ะ
ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งโกรธเจ้าของสุนัขนะคะ หายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกยาว ๆ สักหนึ่งที เพราะเราทุกคนนี่แหละค่ะคือเจ้าของสุนัขตัวนั้น จากหนังสือ สมองแห่งพุทธะ และเล่มภาคต่อคือ สู่สมองแห่งพุทธะ ที่จะวางจำหน่ายในฉบับภาษาไทยกลางปีนี้ ดร.ริค แฮนสัน นักวิทยาศาสตร์ด้านสมองได้แสดงถึงผลวิจัยต่าง ๆ มากมายที่ชี้ว่า สมองของคนเรามีแนวโน้มที่จะไวต่อการรับสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบและจดจำสิ่งต่าง ๆ ในแง่ลบ ในขณะที่มองข้ามและไม่จดจำสิ่งต่าง ๆ ในแง่บวกทั้ง ๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตเรานั้นมักจะเป็นในแง่บวกหรือว่ากลาง ๆ มากกว่าค่ะ!
ถ้าไม่เชื่อลองถามตัวคุณเองนะคะว่า ถ้าในวันนี้คุณมีสิ่งที่ต้องทำ 20 อย่าง และคุณทำมันได้ 18 อย่างอย่างเรียบร้อยและมีบางอย่างออกมาดีด้วยซ้ำ แต่มี 2 อย่างที่ออกมาไม่ดีนัก คืนวันนี้ใจคุณจะไปเฝ้าครุ่นคิดถึงเรื่องใดคะ เรื่อง 18 อย่างที่ทำได้ดีหรือว่า 2 อย่างที่ทำพลาดไป?
ดร.แฮนสัน เสนอวิธีปรับสมองเราดังนี้ค่ะ 1) ให้หมั่นมองหาสิ่งดี ๆ แม้จะเป็นสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ทำงานเสร็จไป 1 อย่างหรือแม้เพียง 1 ส่วน แล้วรับความรู้สึกดี ๆ นี้เข้าไปด้วยการนั่งผ่อนคลาย หายใจเข้าลึก ๆ และใช้สติรับรู้ความรู้สึกนั้น ๆ อย่างแจ่มชัดค่ะ 2) อยู่กับความสุขนั้นค่ะ ในขั้นนี้ดร.แฮนสัน บอกว่า ให้ใช้เวลาสักครึ่งนาที หรือจะเพียง 10-20 วินาทีก็ยังดีค่ะ พยายามมีสมาธิจดจ่ออยู่กับความรู้สึกดี ๆ นั้นนะคะ นี่ล่ะค่ะคือเวลาที่เซลล์ประสาท(นิวรอน)ในสมองของคุณจะส่งกระแสสัญญาณเข้าเชื่อมโยงกัน ทำให้เครือข่าย “ความรู้สึกดี ๆ” ในสมองคุณแข็งแกร่งขึ้นค่ะ
3) พยายาม "นึกภาพ" ความรู้สึกดี ๆ นั้นว่ามันซึมซับเข้าไปในร่างกายของคุณนะคะ บางคนอาจจะนึกภาพว่าเหมือนได้ดื่มโกโก้อุ่น ๆ หรือกาแฟร้อน ๆ ในวันที่หนาวเหน็บ บางคนอาจจะนึกภาพเป็นแสงสว่างอันอบอุ่นแผ่กระจายไปทั่วบริเวณทรวงอกของคุณ การทำเช่นนี้จะเป็นการเพิ่มการเชื่อมโยงเครือข่ายความรู้สึกดี ๆ ในสมองของคุณให้แจ่มชัดและแข็งแกร่งยิ่งขึ้นไปอีกค่ะ เพื่อที่คุณจะรู้สึกดียิ่ง ๆ ขึ้นและง่ายยิ่งขึ้นในอนาคตค่ะ
เริ่มทำเลยตั้งแต่เดี๋ยวนี้นะคะ ถ้าคุณรู้สึกดี ๆ ว่าได้เคล็ดลับในการ “บริหารสมอง” เพื่อพัฒนาให้เครือข่าย “ความรู้สึกดี ๆ” ในสมองของคุณแข็งแกร่งขึ้น ก็เริ่มฝึก 3 ขั้นตอนของดร.แฮนสันได้เลยค่ะ เพื่อที่คุณจะได้ไม่เผลอไปเตะเจ้าสุนัขแสนรู้ของคุณอีกในอนาคตไงคะ

ซีรี่ส์ “เรื่องดี ๆ” ตอนที่ 5 วันนี้จะมาเชิญชวนท่านผู้อ่านให้มาเป็นซามูไรกันในช่วงสงกรานต์นี้ค่ะ งงไหมคะ ไม่มีอะไรน่าจะเกี่ยวกันเลยใช่ไหมคะ แต่เชื่อไหมคะว่าเมื่อ 300 ปีที่แล้วพอดิบพอดีคือในปีค.ศ. 1714 นั้น มีครูผู้ฝึกสอนซามูไรท่านหนึ่งชื่อ ไดโดจิ ยูซัง ได้เขียนคู่มือฝึกซามูไรชื่อ “บูชิโดสำหรับซามูไรมือใหม่” เอาไว้ ซึ่งอ่านแล้วเหมือนกับว่าท่านผู้เขียนกำลังนึกถึงภาพชาวไทยฉลองสงกรานต์อยู่ในใจทีเด...ียวค่ะ!
ก่อนอื่นเราลองมานึกภาพเทศกาลสงกรานต์กันนะคะ มีการเฉลิมฉลองดื่มกิน มีการเล่นสาดน้ำกันอยู่ทั่วไปและดูเหมือนจะมีคนเมากันทั้งวันทั้งคืนในทุก ๆ ที่ ไม่ว่าจะฉลองกันอยู่ริมถนนหรือบนถนน การขับขี่จักรยานยนต์หรือรถกระบะด้วยความมึนเมาบนถนนที่ลื่นแถมโดนสาดน้ำใส่อีกนั้นเสี่ยงต่ออุบัติเหตุมากทีเดียว แต่ท่านผู้อ่านคิดว่าคนเหล่านั้นคิดถึงความตายของตัวเองกันบ้างไหมคะ?
คราวนี้ลองมาดูประโยคแรกของหนังสือคู่มือฝึกซามูไรของยูซังกันค่ะ “...ผู้ที่จะเป็นซามูไรนั้นอันดับแรกจะต้องระลึกถึงความตายตลอดเวลา ทั้งวันทั้งคืน ตั้งแต่อาหารมื้อแรกของวันปีใหม่ไปจนถึงเย็นวันสุดท้ายของปี...” ดังนั้นเรามาคิดถึงความตายกันในวันปีใหม่ไทยกันค่ะ อ้าว จะเป็น “เรื่องดี ๆ” ตรงไหนกัน? มาอ่านกันต่อไปค่ะ
ยูซังให้เหตุผลว่า เมื่อเราคิดถึงความตายอยู่ในใจเสมอนั้น เราจะสามารถทำหน้าที่ของเราต่อครอบครัวและสังคมได้ดีขึ้น และสามารถหลีกเลี่ยงภัยอันตรายและสิ่งที่ไม่ดีต่าง ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งก็ตรงกับนัยยะของเทศกาลสงกรานต์ที่ต้องการให้เราได้ใช้เวลาอยู่กับครอบครัวโดยเฉพาะกับพ่อแม่ปู่ย่าตายายเพื่อไปมาหาสู่เยี่ยมคารวะรดน้ำดำหัวและขอพรจากท่าน ถ้าเราระลึกถึงความตายของตัวเราเองและของท่านอยู่ในใจเสมอ เราก็มีแนวโน้มที่จะพูดกับท่าน ปฏิบัติต่อท่านด้วยความอ่อนโยนนุ่มนวล คิดหน้าคิดหลัง ไม่ทำร้ายทำลายจิตใจท่านใช่ไหมคะ
ยูซังเปรียบเปรยว่า “...ชีวิตคนเรานั้นเกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็วเหมือนน้ำค้างยามเช้า ถ้าเราตระหนักอย่างนี้ได้เราจะปฏิบัติต่อพ่อแม่และผู้ใหญ่ท่านอื่น ๆ เหมือนครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้าย และความห่วงใยที่เรามีต่อท่านก็จะออกมาจากใจอย่างจริงใจที่สุด...”
ถ้าปีนี้ท่านผู้อ่านยังโชคดีที่จะได้ไปรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ในบ้านท่าน อย่าลืมคิดในใจไปด้วยนะคะว่าครั้งนี้อาจจะเป็นครั้งสุดท้าย แล้วสำรวจดูจิตใจท่านเองไปด้วยว่าท่านรู้สึกต่อผู้ใหญ่ของท่านต่างไปจากทุก ๆ วันไหม ผู้เขียนยังจำได้เมื่อลองฝึกมรณานุสสติอย่างนี้ครั้งแรกตอนไปเยี่ยมคุณแม่ รู้สึกเหมือนไม่อยากออกจากอ้อมกอดอันแสนอบอุ่นนั้นเลย และรู้สึกได้ว่าเวลาพูดกับท่านก็จะเต็มเปี่ยมไปด้วยความรักความอ่อนโยนมากกว่าเก่า ท่านจะบ่นดินฟ้าอากาศอะไรบ้างเราก็ยังยิ้มรับได้ และเมื่อเห็นเรายิ้มท่านก็เลิกบ่นค่ะ
ยูซังกล่าวต่อไปว่า เมื่อเราลืมนึกถึงความตาย เราก็มักจะขาดสติขาดความระมัดระวังในการใช้ชีวิตไป เช่น เรามักจะเกิดการทะเลาะเบาะแว้งกันง่าย ๆ จากคำพูดที่ไม่นึกถึงความรู้สึกของอีกฝ่าย หรืออาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ขึ้นมาได้จากเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่น่าจะปล่อยวางมันไปได้
ยูซังยกตัวอย่างเรื่องที่ฟังแล้วเหมือนฉากการฉลองสงกรานต์เรามากทีเดียวค่ะว่า “พึงพิจารณาให้ดีว่าจะเกิดอะไรขึ้นได้บ้างเมื่อเราเดินอย่างไม่ระมัดระวังไปในท่ามกลางผู้คนมากมายเวลาเราไปวัดวาอาราม เราอาจจะไปเดินชนเข้าให้กับคนพาลเข้าอย่างจังและอาจเกิดการต่อสู้ขึ้นมาอย่างคาดไม่ถึงก็ได้” ทั้งนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นยุคที่ญี่ปุ่นสงบสุขปราศจากสงครามแล้ว ซามูไรก็ยังคาดดาบกันที่เอวเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องแบบและมักจะมีเหตุการณ์ฝักดาบไปกระทบกันแล้วเป็นเหตุให้ทะเลาะเบาะแว้งกันถึงขั้นดวลกันได้ค่ะ
แล้วซามูไรที่ดีควรจะทำอย่างไรล่ะ? ยูซังบอกว่าทางที่ดีให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปในที่ที่อันตรายหรือมีความเสี่ยงสูงถึงแม้ว่าจะได้รับเชิญก็ตาม แต่ถ้าการเดินทางในระหว่างเทศกาลเฉลิมฉลองเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ยูซังบอกว่าให้วางแผนเส้นทางการเดินทางให้ดีล่วงหน้าเพื่อที่จะได้อยู่ห่างจากปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ค่ะ
เมื่ออยู่ในงานเลี้ยง ยูซังเตือนว่าซามูไรผู้ชาญฉลาดจะดื่มกินแต่น้อยด้วยความระมัดระวังและฝึกฝนตัวเองให้สำรวมหลีกห่างจากพฤติกรรมเชิงชู้สาว และเมื่อต้องพูดคุยในงานเลี้ยงก็พึงพูดแต่น้อยแต่ที่สำคัญที่สุดก็คือต้องมีสติระมัดระวังทั้งความคิดและคำพูดอยู่ตลอดเวลาค่ะ ฟังดูเท่ไหมคะ เหมือนพระเอกมาดนิ่งในหนังซามูไรยังไงยังงั้นเลยนะคะ
ท่านผู้อ่านทราบไหมคะว่าคู่มือฝึกซามูไรของยูซังนั้นเป็น “เบสต์เซลเลอร์” เล่มหนึ่งในยุคนั้นเลยนะคะ และยูซังเองก็ได้รับเชิญไปเป็นครูผู้ฝึกสอนซามูไรในหลายแคว้นดัง ๆ ด้วยกัน ยูซังนั้นมีอายุยืนถึง 92 ปี ซึ่งมากกว่าอายุขัยเฉลี่ยของผู้ชายยุคเดียวกันถึง 2 เท่า ท่านจึงเห็นโลกมามากและเข้าใจดีว่าต้องใช้ชีวิตอย่างไรจึงจะทำให้มีชีวิตรอดจากคมดาบและมีสุขภาพดีจนถึงอายุ 92 ค่ะ! ดังนั้นการมีสติระลึกถึงความตายของตนเอง ความตายของคนรอบตัว ตลอดจนการมีสติอยู่ตลอดเวลาที่เดินทางไปไหนมาไหน เวลาจะกินจะดื่ม จะคิด หรือจะพูด จึงเป็นคำแนะนำที่ยังใช้ได้ดีอยู่เสมอไม่ว่าจะสำหรับซามูไรเมื่อ 300 ปีที่แล้วหรือสำหรับพวกเราทุกคนในสมัยนี้ค่ะ
สงกรานต์นี้เรามาเป็นซามูไรกันนะคะ
ก่อนอื่นเราลองมานึกภาพเทศก
คราวนี้ลองมาดูประโยคแรกของ
ยูซังให้เหตุผลว่า เมื่อเราคิดถึงความตายอยู่ใ
ยูซังเปรียบเปรยว่า “...ชีวิตคนเรานั้นเกิดขึ้น
ถ้าปีนี้ท่านผู้อ่านยังโชคด
ยูซังกล่าวต่อไปว่า เมื่อเราลืมนึกถึงความตาย เราก็มักจะขาดสติขาดความระม
ยูซังยกตัวอย่างเรื่องที่ฟั
แล้วซามูไรที่ดีควรจะทำอย่า
เมื่ออยู่ในงานเลี้ยง ยูซังเตือนว่าซามูไรผู้ชาญฉ
ท่านผู้อ่านทราบไหมคะว่าคู่
สงกรานต์นี้เรามาเป็นซามูไร
