คำทำนายดวงเมืองไทย เมษายนเลือด ฤาษีกัสสปะ 2557 ดวงเมือง 2558
นายกคนกลางคือใคร กฏอัยการศึก ปฏิวัติ รัฐประหาร 2557REFORMTHAI
ใกล้วันล่มของระบอบเหลี่ยม
|
โดยสรุป ความวุ่นวายทางการเมืองจะจบลงภายในวันที่ 17 มิถุนายน ด้วยกระบวนการยุติธรรม และมีรัฐบาลได้แน่นอนก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 แต่ถ้าจบลงก่อนหน้านี้ อาจต้องพึ่งกองทัพออกมาและกดดันจึงจะบรรลุผล
ประชานิยมล่มสลาย : เหตุทำลายระบอบทักษิณ
ในการเลือกตั้งทั่วไป ส.ส.ในปี 2544 พรรคไทยรักไทยหรือที่เรียกชื่อย่อว่า ทรท. ภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักธุรกิจผู้มั่งคั่งร่ำรวยมาจากธุรกิจสัมปทานด้านสื่อสารคมนาคม ได้นำนโยบายประชานิยมมาใช้เป็นยุทธศาสตร์การต่อสู้ทางการเมืองเป็นครั้งแรกในแวดวงการเมืองไทย และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนระดับรากหญ้าอันได้แก่ เกษตรกร และผู้ใช้แรงงานในชนบททางภาคเหนือ และอีสาน จะเห็นได้จากการได้รับชัยชนะการเลือกตั้งในสองภาคนี้เกือบจะทุกเขต ส่งผลให้พรรคไทยรักไทยได้เสียงข้างมากและเป็นรัฐบาล
นโยบายประชานิยมที่ทำให้ ทรท.ชนะการเลือกตั้งเหนือคู่แข่งสำคัญคือพรรคประชาธิปัตย์น่าจะได้แก่
1. โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
โครงการนี้เป็นสิ่งใหม่ และตรงกับความต้องการของประชาชนคนยากไร้
แต่โครงการนี้มิได้มีเพียงด้านบวกเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีด้านลบคือรัฐจะต้องจ่ายค่ารักษาทุกรายการของโครงการ 30 บาท จึงทำให้รัฐต้องแบกรับภาระทางด้านการเงินเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และมีผู้ใช้บริการจากโครงการนี้เพิ่มขึ้น
แต่ด้านลบที่ยิ่งกว่านี้ และเป็นผลเสียแก่ผู้ป่วยในโครงการ 30 บาทโดยตรงก็คือ ได้รับบริการทางการแพทย์ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับการจ่ายเงินเองตามความเป็นจริง จึงเท่ากับว่าโครงการนี้ทำให้เกิดการแบ่งชั้นการให้บริการทางการแพทย์โดยปริยาย ทั้งๆ ที่ไม่ควรจะมี
2. โครงการกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท
นโยบายนี้เป็นเสมือนดาบสองคมคือ มีทั้งแง่บวกและแง่ลบ
ในแง่บวกทำให้คนในชนบทเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่าย และถ้าผู้เข้าถึงแหล่งทุนมีศักยภาพในทางธุรกิจ ก็จะช่วยให้การผลิต การขายในหมู่ชนระดับกลางลงมาถึงระดับล่าง มีโอกาสพัฒนาตนเองในด้านเศรษฐกิจได้มากขึ้น
ส่วนในแง่ลบเท่าที่ปรากฏหลังมีกองทุนก็คือ การเป็นหนี้ในหมู่คนจนเพิ่มขึ้น และเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เนื่องจากเป็นการกู้หนี้เพื่อมากินมาใช้มิใช่เพื่อการลงทุน จึงทำให้ยากจนเพิ่มขึ้นและส่งผลถึงการใช้หนี้คืนกองทุนด้วย
ดังนั้น ความนิยมอันเกิดจากนโยบายประชานิยมค่อยๆ เสื่อมลงและหมดไป เมื่อรัฐบาลทักษิณได้ตกเป็นข่าวกระทำการทุจริตในเชิงนโยบายในหลายกรณี แต่ที่สำคัญและน่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดกระแสคัดค้านจากประชาชน และถูกกองทัพโค่นล้มเห็นจะได้แก่
1. การแก้กฎหมายเพื่อเกื้อกูลธุรกิจของคนในครอบครัวชินวัตร เช่น การแก้กฎหมายที่ว่าด้วยสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ ซึ่งลงทุนในประเทศไทยก่อนการขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่เทมาเส็กประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
2. การหลบเลี่ยงไม่ยอมเสียภาษีเงินได้อันเกิดจากการขายหุ้น
3. การยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรมซื้อขายกับรัฐในกรณีของการซื้อที่ดินรัชดาฯ
จากการที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีพฤติกรรมกระทำผิดกฎหมายดังกล่าวแล้วนี้เอง ทำให้ประชาชนกลุ่มหนึ่งภายใต้ชื่อย่อ พธม.ลุกฮือขึ้นขับไล่รัฐบาล
ในที่สุดรัฐบาลทักษิณก็ได้ประกาศยุบสภาในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 และจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 โดยหวังว่าจะได้รับเลือกตั้งมาครองอำนาจอีกครั้ง และจะได้อ้างความชอบธรรมที่ได้จากการได้รับเลือกตั้งเป็นการฟอกตัวเองทางการเมือง
แต่โชคไม่เข้าข้าง เมื่อการเลือกตั้ง 2 เมษายนล้มเหลวเป็นโมฆะ เนื่องจากพรรคไทยรักไทยทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และถูกยุบพรรคในเวลาต่อมา
แต่ก่อนที่จะถูกยุบพรรครัฐบาลของทักษิณได้ถูกกองทัพโค่นล้มเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ด้วยเหตุอ้างหลายประการซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความผิดที่ปรากฏเป็นรูปธรรม จึงเป็นอันปิดฉากรัฐบาลที่เกิดจากนโยบายประชานิยมในยุคแรก
จริงอยู่ รัฐบาลของทักษิณไม่อาจถือได้ว่ามีอันต้องจบลง เนื่องจากผลกระทบในทางลบของนโยบายประชานิยมโดยตรง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าประชานิยมมิได้เป็นเหตุให้รัฐบาลทักษิณล้มลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากนโยบายประชานิยมโดยอ้อม กล่าวคือ เมื่อได้รับความนิยมจากประชาชน และได้รับชัยชนะการเลือกตั้งโดยอาศัยนโยบายประชานิยมนี้เอง ที่ทำให้ผู้นำรัฐบาลเหลิง และหลงในอำนาจขาดสติ กล้าทำผิดกฎหมาย และกล้าแก้กฎหมายเพื่อให้ตนเองไม่ต้องทำผิดในสิ่งที่กฎหมายห้าม
แต่รัฐบาลในระบอบทักษิณที่ได้รับผลกระทบในทางลบโดยตรงจากนโยบายประชานิยมก็คือ รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ นอมินีคนที่ 3 ของระบอบนี้ และนโยบายประชานิยมที่ส่งผลกระทบในทางลบโดยตรงเห็นจะได้แก่
1. ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ นโยบายนี้ถ้ามองเพียงผิวเผิน และมุ่งเน้นเฉพาะตัวลูกจ้างน่าจะเป็นด้านบวก เพราะทำให้ลูกจ้างได้เงินเพิ่มขึ้น
แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปก็จะพบว่า มีด้านลบอยู่ด้วย กล่าวคือ หลังประกาศใช้นโยบายนี้ทั่วประเทศ มีผลในทางลบเกิดขึ้น กล่าวคือ สินค้าและบริการขึ้นราคาโดยอ้างต้นทุนเพิ่มขึ้น ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้บริโภคถ้วนหน้า รวมทั้งลูกจ้างที่ได้ค่าจ้างเพิ่มด้วย และเมื่อนำราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมาเทียบกับราวได้ที่เพิ่มขึ้น ลูกจ้างก็จะเหลือเงินน้อยลง
นอกจากการขึ้นค่าจ้างทำให้ข้าวของแพงขึ้นแล้ว ผู้ใช้แรงงานยังได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ประกอบการแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ไหว บางรายลดการจ้างแรงงานคน และหันไปลงทุนซื้อเครื่องจักรมาแทนคน บางรายปิดกิจการหนีการขาดทุน และในบางรายได้ย้ายฐานประกอบการธุรกิจไปยังต่างประเทศที่ค่าจ้างแรงงานต่ำกว่า รวมไปถึงเลิกการผลิตในประเทศ และนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายแทนการผลิตก็มี ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบถึงการจ้างงาน และเป็นเหตุให้ลูกจ้างตกงานโดยตรง
2. โครงการรับจำนำข้าวในราคา 15,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก
โครงการนี้ได้ส่งผลกระทบถึงรัฐบาลอย่างมากเมื่อโครงการขาดทุนอันเนื่องมาจากรับจำนำในราคาสูง และขายออกไปในราคาต่ำกว่า แต่ที่ทำให้รัฐบาลได้รับผลกระทบมากก็คือ โครงการนี้เป็นแหล่งกอบโกยผลประโยชน์ในทุกขั้นตอน จึงทำให้รัฐสูญเสียเงินนับแสนล้านบาท และที่สำคัญเหนืออื่นใดในระยะหลังโครงการนี้ทำให้ชาวนาเดือดร้อนเมื่อนำข้าวไปจำนำแล้วไม่ได้เงิน และได้ฆ่าตัวตายไปแล้ว 10 กว่าราย
นโยบายประชานิยมทำให้ระบอบทักษิณเกิด และทำให้ระบอบทักษิณตาย เมื่อกาลเวลาผ่านไปเพียง 10 กว่าปีเท่านั้น
นโยบายประชานิยมที่ทำให้ ทรท.ชนะการเลือกตั้งเหนือคู่แข่งสำคัญคือพรรคประชาธิปัตย์น่าจะได้แก่
1. โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค
โครงการนี้เป็นสิ่งใหม่ และตรงกับความต้องการของประชาชนคนยากไร้
แต่โครงการนี้มิได้มีเพียงด้านบวกเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีด้านลบคือรัฐจะต้องจ่ายค่ารักษาทุกรายการของโครงการ 30 บาท จึงทำให้รัฐต้องแบกรับภาระทางด้านการเงินเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น เมื่อมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และมีผู้ใช้บริการจากโครงการนี้เพิ่มขึ้น
แต่ด้านลบที่ยิ่งกว่านี้ และเป็นผลเสียแก่ผู้ป่วยในโครงการ 30 บาทโดยตรงก็คือ ได้รับบริการทางการแพทย์ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น เมื่อเทียบกับการจ่ายเงินเองตามความเป็นจริง จึงเท่ากับว่าโครงการนี้ทำให้เกิดการแบ่งชั้นการให้บริการทางการแพทย์โดยปริยาย ทั้งๆ ที่ไม่ควรจะมี
2. โครงการกองทุนหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท
นโยบายนี้เป็นเสมือนดาบสองคมคือ มีทั้งแง่บวกและแง่ลบ
ในแง่บวกทำให้คนในชนบทเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่าย และถ้าผู้เข้าถึงแหล่งทุนมีศักยภาพในทางธุรกิจ ก็จะช่วยให้การผลิต การขายในหมู่ชนระดับกลางลงมาถึงระดับล่าง มีโอกาสพัฒนาตนเองในด้านเศรษฐกิจได้มากขึ้น
ส่วนในแง่ลบเท่าที่ปรากฏหลังมีกองทุนก็คือ การเป็นหนี้ในหมู่คนจนเพิ่มขึ้น และเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เนื่องจากเป็นการกู้หนี้เพื่อมากินมาใช้มิใช่เพื่อการลงทุน จึงทำให้ยากจนเพิ่มขึ้นและส่งผลถึงการใช้หนี้คืนกองทุนด้วย
ดังนั้น ความนิยมอันเกิดจากนโยบายประชานิยมค่อยๆ เสื่อมลงและหมดไป เมื่อรัฐบาลทักษิณได้ตกเป็นข่าวกระทำการทุจริตในเชิงนโยบายในหลายกรณี แต่ที่สำคัญและน่าจะเป็นสาเหตุให้เกิดกระแสคัดค้านจากประชาชน และถูกกองทัพโค่นล้มเห็นจะได้แก่
1. การแก้กฎหมายเพื่อเกื้อกูลธุรกิจของคนในครอบครัวชินวัตร เช่น การแก้กฎหมายที่ว่าด้วยสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ ซึ่งลงทุนในประเทศไทยก่อนการขายหุ้นชินคอร์ปให้แก่เทมาเส็กประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
2. การหลบเลี่ยงไม่ยอมเสียภาษีเงินได้อันเกิดจากการขายหุ้น
3. การยินยอมให้คู่สมรสทำนิติกรรมซื้อขายกับรัฐในกรณีของการซื้อที่ดินรัชดาฯ
จากการที่รัฐบาลภายใต้การนำของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร มีพฤติกรรมกระทำผิดกฎหมายดังกล่าวแล้วนี้เอง ทำให้ประชาชนกลุ่มหนึ่งภายใต้ชื่อย่อ พธม.ลุกฮือขึ้นขับไล่รัฐบาล
ในที่สุดรัฐบาลทักษิณก็ได้ประกาศยุบสภาในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 และจัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน 2549 โดยหวังว่าจะได้รับเลือกตั้งมาครองอำนาจอีกครั้ง และจะได้อ้างความชอบธรรมที่ได้จากการได้รับเลือกตั้งเป็นการฟอกตัวเองทางการเมือง
แต่โชคไม่เข้าข้าง เมื่อการเลือกตั้ง 2 เมษายนล้มเหลวเป็นโมฆะ เนื่องจากพรรคไทยรักไทยทำผิดกฎหมายเลือกตั้ง และถูกยุบพรรคในเวลาต่อมา
แต่ก่อนที่จะถูกยุบพรรครัฐบาลของทักษิณได้ถูกกองทัพโค่นล้มเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ด้วยเหตุอ้างหลายประการซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นความผิดที่ปรากฏเป็นรูปธรรม จึงเป็นอันปิดฉากรัฐบาลที่เกิดจากนโยบายประชานิยมในยุคแรก
จริงอยู่ รัฐบาลของทักษิณไม่อาจถือได้ว่ามีอันต้องจบลง เนื่องจากผลกระทบในทางลบของนโยบายประชานิยมโดยตรง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าประชานิยมมิได้เป็นเหตุให้รัฐบาลทักษิณล้มลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากนโยบายประชานิยมโดยอ้อม กล่าวคือ เมื่อได้รับความนิยมจากประชาชน และได้รับชัยชนะการเลือกตั้งโดยอาศัยนโยบายประชานิยมนี้เอง ที่ทำให้ผู้นำรัฐบาลเหลิง และหลงในอำนาจขาดสติ กล้าทำผิดกฎหมาย และกล้าแก้กฎหมายเพื่อให้ตนเองไม่ต้องทำผิดในสิ่งที่กฎหมายห้าม
แต่รัฐบาลในระบอบทักษิณที่ได้รับผลกระทบในทางลบโดยตรงจากนโยบายประชานิยมก็คือ รัฐบาลภายใต้การนำของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ นอมินีคนที่ 3 ของระบอบนี้ และนโยบายประชานิยมที่ส่งผลกระทบในทางลบโดยตรงเห็นจะได้แก่
1. ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ นโยบายนี้ถ้ามองเพียงผิวเผิน และมุ่งเน้นเฉพาะตัวลูกจ้างน่าจะเป็นด้านบวก เพราะทำให้ลูกจ้างได้เงินเพิ่มขึ้น
แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปก็จะพบว่า มีด้านลบอยู่ด้วย กล่าวคือ หลังประกาศใช้นโยบายนี้ทั่วประเทศ มีผลในทางลบเกิดขึ้น กล่าวคือ สินค้าและบริการขึ้นราคาโดยอ้างต้นทุนเพิ่มขึ้น ก่อความเดือดร้อนแก่ผู้บริโภคถ้วนหน้า รวมทั้งลูกจ้างที่ได้ค่าจ้างเพิ่มด้วย และเมื่อนำราคาสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้นมาเทียบกับราวได้ที่เพิ่มขึ้น ลูกจ้างก็จะเหลือเงินน้อยลง
นอกจากการขึ้นค่าจ้างทำให้ข้าวของแพงขึ้นแล้ว ผู้ใช้แรงงานยังได้รับผลกระทบจากการที่ผู้ประกอบการแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไม่ไหว บางรายลดการจ้างแรงงานคน และหันไปลงทุนซื้อเครื่องจักรมาแทนคน บางรายปิดกิจการหนีการขาดทุน และในบางรายได้ย้ายฐานประกอบการธุรกิจไปยังต่างประเทศที่ค่าจ้างแรงงานต่ำกว่า รวมไปถึงเลิกการผลิตในประเทศ และนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาขายแทนการผลิตก็มี ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบถึงการจ้างงาน และเป็นเหตุให้ลูกจ้างตกงานโดยตรง
2. โครงการรับจำนำข้าวในราคา 15,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก
โครงการนี้ได้ส่งผลกระทบถึงรัฐบาลอย่างมากเมื่อโครงการขาดทุนอันเนื่องมาจากรับจำนำในราคาสูง และขายออกไปในราคาต่ำกว่า แต่ที่ทำให้รัฐบาลได้รับผลกระทบมากก็คือ โครงการนี้เป็นแหล่งกอบโกยผลประโยชน์ในทุกขั้นตอน จึงทำให้รัฐสูญเสียเงินนับแสนล้านบาท และที่สำคัญเหนืออื่นใดในระยะหลังโครงการนี้ทำให้ชาวนาเดือดร้อนเมื่อนำข้าวไปจำนำแล้วไม่ได้เงิน และได้ฆ่าตัวตายไปแล้ว 10 กว่าราย
นโยบายประชานิยมทำให้ระบอบทักษิณเกิด และทำให้ระบอบทักษิณตาย เมื่อกาลเวลาผ่านไปเพียง 10 กว่าปีเท่านั้น