GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL

GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL
LONG LIVE THE KING BHUMIBHOL

วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คลิปที่คนไทยไม่เคยรู้/ธงชัยเฉลิมพล


Post by YouTube คลิปเด็ด.
คลิปที่คนไทยไม่เคยรู้ อยากให้คนไทยได้ดูและแชร์



 

●●ธงชัยเฉลิมพล

ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหารนั้น นับเป็นสิ่งมงคลสูงสุดสำหรับหน่วย ด้วยเหตุว่าเป็นสัญลักษณ์แทนจอมทัพไทย โดยได้ทรงบรรจุเส้นพระเจ้า(เส้นพระเกศาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว) ไว้ในพระกรัณฑ์บนยอดธง

ดังนั้น เมื่อกองทหารและธงชัยเฉลิมพลไปปรากฏอยู่ ณ ที่ใด จึงเสมือนหนึ่งว่าพระมหากษัตริย์ได้เสด็จพระราชดำเนินร่วมไปในกองทัพนั้นด้วย ทหารไทยจึงมีขวัญกำลังใจที่มั่นคง เพราะต่างตระหนักดีว่า ตนปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัยเพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติเช่นเดียวกับพระประมุข

พระกรัณฑ์ [กะ-รัน] หมายถึงภาชนะที่มีฝาปิด ใช้ใส่หรือบรรจุสิ่งที่สำคัญมากๆ







●●"อยากจะรู้หัวใจพระองค์นั้นทรงทำด้วยอะไร
เหตุอันใดจึงมีความรักมากมายให้ได้กับทุก­­คน
อยากจะรู้ร่างกายพระองค์ทำไมจึงถึงอดทน
แบกภาระที่มีมากล้นคนเดียวอย่างไร

เป็นเจ้าฟ้าที่ยืนข้างล่าง
แบกไพร่ฟ้าเอาไว้บนไหล่
อยากรู้พระองค์เคยคิดเหนื่อยบ้างไหม

ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน
ขอจงทรงพระเกษมสำราญพระวรกายและพระทัย
ทรงพระเจริญ พระเจ้าอยู่หัวของชาวไทย
จากใจพสกนิกรของพระองค์

กี่ปีมาแล้ว ที่เห็นพระองค์นั้นทรงเหนื่อยล­้าใจกาย
โดยมุ่งหมายดูแลแก้ไขป้องภัยให้เรา
จนบัดนี้พระองค์ก็ยังคงคอยช่วยเหลือบรรเทา
และคงเฝ้าทำเพื่อพวกเราไม่เคยเสื่อมคลาย

เป็นเจ้าฟ้าที่ยืนข้างล่าง
แบกไพร่ฟ้าเอา ไว้บนไหล่
อยากรู้พระองค์เคยคิดเหนื่อยบ้างไหม

ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน
ขอจงทรงพระเกษมสำราญพระวรกายและพระทัย
ทรงพระเจริญ พระเจ้าอยู่หัวของชาวไทย
จากใจพสกนิกรของพระองค์.."

>>ผมเชื่อว่าคนไทยได้เรียนรู้มากมายจากพระอัจฉริยภาพในทุกๆด้าน การที่ท่านเป็นกษัตริย์ที่รับใช้ประชาชน เหมือนดั่งพีระมิดที่กลับหัวนั้น เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตของการให้ที่ยิ่งใหญ่มาก...
(บอย โกสิยพงษ์ : นักแต่งเพลง)

สามารถชมภาพพระราชกรณียกิจในคลิปวิดีโอเพลงได้ตามลิ้งค์นี้ http://www.youtube.com/watch?v=FCGGZGOaRIc&sns=em






หลวงพ่อครับ พูดตามปกติ นะครับ ผมเป็นคนไทย

ประมาณปี 35 หรือปี 36 ผมไม่แน่ใจ ตอนนั้นผมยังรับใช้หลวงพ่อคูณที่วัด หลวงพ่อจะถวายเงิน 72 ล้านตามอายุของในหลวง ซึ่งก็มี ข้าราชการมาเตรียม คำพูด สอน คำราชาศัพท์มากมาย จนวันหนึ่งพระเทพฯ ก็ได้มาหาหลวงพ่อ แล้วก็ทรงถามอะไรมากมาย แต่หลวงพ่อคูณไม่ได้ตอบอะไร จนในที่สุดพระเทพฯ ท่านก็ทรงถามว่า ทำไมหลวงพ่อไม่พูดกับหนูล่ะคะ หลวงพ่อคูณก็ตอบ แล้วก็พรางชี้ไปที่ นายอำเภอว่า …… ก็ไอ้นี่มันไม่ให้กูพูดคำว่า กู กับมึง 55555 พระเทพ ขำ น้ำตาซึม

แล้วพอมาถึงวันงานที่ในหลวงเสด็จมา เหล่าบรรดา ส.ส. ส.ว. ส.จ. นายอำเภอ หน้าแหย ๆ ไปตามกัน เพราะกล้วว่า หลวงพ่อคูณจะพูด กู มึง กับในหลวง…. แล้วหลวงพ่อคูณท่านพูดว่า กูก็เคยเรียน ภาษาไทยเนอะ รู้น่า ไม่ต้องห่วงด๊อก …ไอ้นาย (หลวงพ่อคูณ พูดกับ ราชการผู้ใหญ่) จนในที่สุด ………… ในหลวงท่านเสด็จมา ผมเองก็มีโอกาสเห็นในหลวงใกล้ที่สุดๆ ชิดพระวรกายเลย ซึ่งในหลวงท่านถามว่า ………….. หากินลำบากไหม (ผมน้ำตาไหล พราก) แล้วพระองค์ก็เดินจากไป……….คนแน่นวัด ท่านถามแบบนี้กับทุกคน ถามถึงเรื่องการทำมาหากิน และความลำบาก

พอท่านเสด็จกลับ…. หลวงพ่อคูณท่านก็เข้าวัด ท่านยิ้มแก้มปริ จนเวลาผ่านไป ผมก็แอบไปถามท่านว่า … ตอนที่เดินบนโบสถ์ ผมถามจริงเถอะหลวงพ่อคุยอะไร เล่าให้ผมฟังหน่อย … แล้วคำแรก ที่หลวงพ่อกล่าวก็คือ… มึงรู้ไหม มือพระองค์เป็นมือคนทำงาน อย่างก๊ะ ชาวไร่ ชาวนา ..แข็งกะด้างมากๆ แล้วผมก็ถามหลวงพ่อว่า หลวงพ่อใช้คำเรียกว่าอะไร … หลวงพ่อท่านเงียบ แล้วก็ตอบว่า ……………. พระองค์ พูดประโยคแรกว่า …….. “หลวงพ่อครับ พูดตามปกติ นะครับ ผมเป็นคนไทย”




●พระเทพฯเคยทรงตรัสเกี่ยวกับภาพนี้ว่า...ในหลวงทรงตำหนิที่พระองค์ทำตัวเหมือนเด็ก

ณ ตอนนั้นในหลวงทรงตรัสอะไรกับพระองค์
พระเทพทรงตรัสด้วยรอยยิ้มประมาณว่า
" พ่อดุเรา...บอกให้เราไปถ่ายที่อื่น ให้เราสำรวมและให้ไปบอกคนข้างหลังให้เงียบๆด้วย "

จากนั้นพระเทพก็หัวเราะหลังจากเล่าเรื่องที่พ่อดุตัวเองต่อนักข่าวอย่างมีความสุข






More on His Majesty the King of Thailand
เรื่องราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ของไทย
ก่อนอื่น สิ่งที่สำคัญก็คือ ความเข้าใจที่ว่ากษัตริย์ภูมิพลนั้นเป็นผู้ที่ลงมือสร้างผลงานด้วยพระองค์เอง และจะพูดในแบบที่ให้ชาวอเมริกันเห็นภาพได้ว่า กษัตริย์ภูมิพลนั้นสมควรได้รับเหรียญยกย่องชมเชยสำหรับพลเรือนที่เทียบได้กับเหรียญกล้าหาญสูงสุด — สมควรได้รับอย่างแท้จริง
นี่ไม่ได้เป็นการพูดเล่นๆ
มันมีเหตุผลที่คนไทยนั้นให้ความเคารพเทิดทูนบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญหลายภาษา และ ทำงานเพื่อประเทศของท่านทุกวันมาเป็นเวลามากกว่า 60 ปี หากพวกเรามีบุคคลเช่นนี้ในอเมริกา ชีวิตก็น่าจะดีกว่านี้
กษัตริย์ภูมิพลทรงดำเนินไปยังพื้นที่กันดารทุกหนทุกแห่งเพื่อให้รู้จักประเทศของพระองค์ และ เข้าใจเรื่องราวประเด็นที่พระองค์จะทรงมีพระวินิจฉัย และไม่ว่าจะใช้บรรทัดฐานใด พระองค์ก็คือ ฮีโร่ อย่างแท้จริง
Before saying something, it is important to understand that King Bhumibol walked the walk. To put this into American perspective, King Bhumibol earned --truly earned -- the civilian equivalent of the Medal of Honor.
This is not said lightly.
There is a reason why Thai people honor this highly educated polyglot who worked for his country every day for more the six decades. If we had such a man or woman in America, life would be better.
King Bhumibol travelled to every backwater to understand his country and the issues he needed to address. King Bhumibol is a hero by any measure.




พบแล้ว บุคคลที่ได้เข้าเฝ้าในหลวง ปลาบปลื้มพระองค์ทรงใช้พระหัตถ์ลูบศีรษะ
Cr:kapook
นายอัตรภูมิ ภูมิประเทศ เผย รู้สึกปลาบปลื้ม ที่ได้เข้าเฝ้าในหลวงเมื่อ 35 ปีก่อน พร้อมกับที่ในหลวงพระราชทานชื่อว่า หม่อม

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2557 หลังจากที่กระทรวงวัฒนธรรม ได้ประกาศตามหาบุคคลในภาพ ที่ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งในภาพที่ 4 นั้น เป็นเหตุการณ์เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2522 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ไปทรงเยี่ยมโครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ป่าเด็ง-ป่าละอู ต.หนองพลับ อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ก็มีสตรีท่านหนึ่ง นำลูกน้อยวัย 1 ขวบเศษ มาร่วมถวายพระพร ซึ่งต่อมาได้มีการตามหาบุคคลดังกล่าวจนพบ และมีการตรวจสอบพิสูจน์ชัดเจน จนพบว่า เด็กชายในภาพนั้นคือ นายอัตรภูมิ ภูมิประเทศ
ทั้งนี้ นายอัตรภูมิ ภูมิประเทศ หรือ หม่อม ปัจจุบันอายุ 36 ปี ประกอบอาชีพเป็นลูกจ้างในร้านขายอะไหล่รถจักรยานยนต์ ใน อ. หัวหิน โดยที่มารดา นางสุนีย์ ภูมิประเทศ อายุ 78 ปี กล่าวว่า ตนและสามีเป็นครอบครัวทหารผ่านศึก ได้ย้ายจาก อ. ท่ายาง จ. เพชรบุรี มาทำกินที่ ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งในขณะนั้น ครอบครัวมีฐานะยากจน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2522 ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มาที่หมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่-ป่าเด็ง-ป่าละอู ในหลวงก็ทรงเยี่ยมคนในหมู่บ้าน และมีหมายกำหนดการเสด็จไปยังเรือนพักรับรอง ซึ่งครั้งนั้นได้เลือกให้บ้านของนางสุนีย์เป็นเรือนพักรับรอง แต่เนื่องจากเวลาไม่พอ เมื่อเสด็จมาถึงจึงไม่ได้มาประทับ
ครั้งนั้น นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ได้ตามเสด็จด้วย และเห็นว่าบุตรชายเป็นผู้มีบุญ นายขวัญแก้วจึงได้แนะนำให้ถวายบุตรแด่พระองค์ท่าน นางสุนีย์และสามี จึงถวายบุตรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในหลวงจึงถามว่า ทำไมจึงถวายเด็กแก่พระองค์ นางสุนีย์จึงตอบว่า ตอนที่ตั้งท้องฝันว่าได้ถวายงานพายเรือแด่ในหลวง ในหลวงจึงถามว่า จะให้เอาไปเลยหรือเปล่า นางสุนีย์จึงตอบว่า บุตรชายยังเล็ก หวั่นว่าจะสร้างความลำบากแก่พระองค์ จึงขอเลี้ยงไว้ก่อน
จากนั้น ในหลวงจึงตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นให้ฝากเลี้ยงไว้ก่อน เลี้ยงเขาให้ดีอย่าไปไหน ให้เขาทำกินที่ห้วยสัตว์ใหญ่ พร้อมกับที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ยื่นพระหัตถ์ซ้ายมาสัมผัสศีรษะของบุตรชาย และทรงเรียกว่า หม่อม ซึ่งก็มีชาวบ้านในละแวกนั้นเห็นเป็นจำนวนมาก และเรียกบุตรชายตนเองว่า หม่อม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ล่าสุด เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2557 เจ้าหน้าที่วัฒนธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้มาหาที่บ้านของตน และยืนยันว่าบุคคลในภาพคือบุตรชายของตน ทำให้ตนรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง และลูกชาย จะได้ถวายความจงรักภักดีแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งทางครอบครัวต่างเฝ้ารอมาเป็นเวลานาน ทุกครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯประทับที่ พระราชวังไกลกังวล ตนและครอบครัวก็จะตามไปรับเสด็จทุกครั้ง
ด้านนายอัตรภูมิ กล่าวว่า ตนรู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่มาหา และตนจะมีโอกาสได้ถวายความจงรักภักดี ณ โรงพยาบาลศิริราช ซึ่งที่ผ่านมา พ่อแม่ได้เล่าเรื่องที่ถวายตนให้ในหลวงบนรถยนต์พระที่นั่งที่จอดหน้าบ้าน ซึ่งบิดาได้เล่าว่า ในหลวงได้ลูบศีรษะและเรียกตนว่า หม่อม อันถือเป็นมงคลสูงสุดของชีวิต ซึ่งตนและครอบครัวต่างเฝ้าหวังมาตลอด ว่าจะได้มีโอกาสเข้าเฝ้าฯใกล้ชิดพระองค์ท่าน

วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

คดีที่เกี่ยวพันกับ ปรส.






สะจายจัง ยิ่งกว่าดูโขน ทรพี ฆ่าพ่อ ทรพา เพราะหลงเชื่อนักบัญชีขี้โกง สมองกลวง หยิบเรื่อง คดี ปรส.เอามาเล่น เจอ แฉว่าคนที่ทำคลอด ปรส และได้ประโยชน์ถ้วนหน้า คือพ่อแม้ว และ ลุงจิ๋ว จำได้ดี เรื่อง ปรส. นี้ แป๊ะลิ้ม ออก นสพ ผู้จัดการ เล่นงาน คุณธานินทร์ หนักเหมือนคนบ้า จนขอลาวงการเมืองไป เพราะหน้าบาง วันนี้ ลุงพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ทนไม่ไหว แฉกลับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สาเหตุสำคัญคือ วันที่มีมติ ครม.ให้ตั้ง ปรส. วันที่มีประกาศราชกิจจาฯตั้ง ปรส. รวมทั้งการตั้ง ประธานกก.ปรส. และเลขาธิการ ปรส.ที่ถูกร้องเรียน คือ เมื่อระหว่างวันที่ 20 ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2540 ผู้ที่ร่วมอยู่ในที่ประชุมทุกครั้ง และเกี่ยวข้องมีตำแหน่งอยู่ใน รัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ คือรองนายกรัฐมนตรี ที่ชื่อว่า ทักษิณ ชินวัตร
ลุงพิเชษฐ์ โพสต์เฟซ ..... คนที่รู้เรื่อง ปรส. ในยุคนายชวน หลีกภัย นอกจากผม นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ และนายพิสิฐ ลี้อาธรรม แล้ว ในอดีตคนในพรรคเพื่อไทยที่มักหยิบยกเรื่องนี้มาบิดเบือน คือนายสมัคร สุนทรเวช นายวีระ มุสิกพงศ์ ซึ่งทำตัวเป็นขาประจำเรื่องนี้ แต่พอผมตอบไปทีไรก็เงียบหายไปทุกที มาวันนี้มีชุดใหม่ นายพานทองแท้ ชินวัตร นายพิชัย นริพทะพันธุ์ ออกมากล่าวหา พรรคประชาธิปัตย์เรื่อง ปรส. อีก
นายพิชัยซึ่งน่าขายหน้ามาก เพราะอวดตนเองเป็นผู้รอบรู้ ในทางเศรษฐกิจ และเคยไปนั่งเป็น รมช. การคลัง ในช่วงสั้นๆ อยู่ระยะหนึ่ง จึงน่าจะต้องรู้เรื่อง ปรส.ดี ไม่น่าออกมาบิดเบือนให้เสียสถาบัน วันนี้เกิดมีโผล่ออกมา ตามข่าวอีก 2 คนเพื่อกลบเกลื่อนความเสียหายคดีจำนำข้าวจำนวนหลายแสนล้านบาท เป็นที่น่าสังเกตว่า ตลอดมาตั้งแต่ปี 2544 จนบัดนี้ ผู้ที่ไม่เคยออกมาปริปากพูดเรื่อง ปรส.เลย คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร สาเหตุสำคัญคือ วันที่มีมติ ครม.ให้ตั้ง ปรส. วันที่มีประกาศราชกิจจาฯ ตั้ง ปรส. รวมทั้งการตั้ง ประธาน กก.ปรส. และเลขาธิการ ปรส. ที่ถูกร้องเรียน คือ เมื่อระหว่างวันที่ 20 ถึงวันที่ 25 ตุลาคม 2540 ผู้ที่ร่วมอยู่ในที่ประชุมทุกครั้ง และเกี่ยวข้องมีตำแหน่งอยู่ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ คือรองนายกรัฐมนตรี ที่ชื่อว่า ทักษิณ ชินวัตร
ข้อยเขียนไปแล้วครั้งว่า "ปรส .ที่ขาดทุนมีการฟ้องร้องในศาล คนที่ออกคำสั่งตั้งขึ้นมา คือ รัฐบาลเฒ่าจิ๋วเปรซิเดียม ซึ่งมี ทักษิณเป็นรองนายกรัฐมนตรี ออกพระราชกำหนด การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน 2540 เพราะเป็นหนึ่งในเงื่อนไขที่เอ็งไปยอม IMF ทำประเทศล่มจมฉิบหาย แล้วเด้งหนี ลุงชวนต้องเข้ามาแก้วิกฤติ จนมีเงินใช้หนี้ คดีความเอาผิดผู้บริหาร ศาลพิพากษาหมดสิ้นแล้ว
เมื่ออยากขุด ก็ขอขุดมั่ง คดีที่เกี่ยวพันกับปรส. คือการขายสินทรัพย์สถาบันการเงิน 56 แห่ง ความเสียหาย 8 แสนล้านนั้น ก็คือ ผลงานชิ้นโบว์ดำของรัฐบาล จิ๋ว , ดร.โกร่ง ทักษิณ และทนง พิทยะ ที่ร่วมกันบริหารประเทศจนล้มละลาย ต้องเอาประเทศเข้า IMF เพื่อขอกู้เงินมาใช้หนี้ระยะสั้น ทำให้ IMF. เข้าควบคุมการเงิน ของประเทศ นำไปสู่การปิดสถาบันการเงินและการตั้ง ปรส. มาเผื่อจัดการหนี้เสียที่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้นหนี้สินของสถาบันการเงิน 56 แห่งรวมกันแล้วเป็นเท่าไหร่ นั่้นคือผลงานของชวลิตกับพวกโดยตรง การที่ปรส. ไม่สามารถขายหนี้ 8 แสนล้านได้เท่ากับจำนวนหนี้ เหตุผลคือ เพราะรัฐบาลชวลิต ทำให้หนี้พวกนี้เป็นหนี้เน่า ปล่อยกู้โดยไม่มีหลักประกัน
คนทำให้หนี้เน่าไม่ต้องรับผิดชอบ คนขายหนี้เน่าไม่ได้ราคากลายเป็นคนผิด คนที่ได้ประโยชน์จากวิกฤติ ร่ำรวยมหาศาลกลับมาโกงชาติต่อ



วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557







รูปถ่ายหนังสือ สตง. ถึง ปตท.
สตง. แจ้งความเห็นว่า ระบบท่อส่วนที่ ปตท โอน 16,176.22 ล้านบาทนั้น -- ยังไม่ครบถ้วน --
ลายเซ็นคุณหญิงจารุวรรณ วันที่ 10 ตุลาคม 2551
ปตท. รับทราบความเห็นนี้ ตั้งแต่ 10 ตุลาคม 2551
แต่ทำไมในคำร้องต่อศาลวันที่ 25 ธันวาคม 2551 จึงไม่แจ้งให้ศาลรับทราบ???
มีการปกปิดข้อมูล หรือไม่
------------------------------------------
คำร้องของ ปตท. ต่อศาลวันที่ 25 ธันวาคม 2551
ข้อ 4 อ้างว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ดำเนินการ และปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว
อ้างอย่างนี้ ทั้งๆ ที่ สตง. แจ้งก่อนหน้า ว่าโอนท่อไม่ครบถ้วน เป็นการอ้างเท็จหรือไม่
------------------------------------------
สตง. มีหนังสือแจ้ง ปตท 26 ธันวาคม 2551 ยืนยันว่าโอนท่อไม่ครบ ลงนามโดยคุณหญิงจารุวรรณอีกครั้ง
ทำไม ปตท ไม่นำไปแจ้งศาล
เนื่องจาก สตง. ตรวจสอบบัญชี ปตท. มานับยี่สิบปีก่อนแปรรูป สตง. จึงรู้ดีที่สุด ว่าระบบท่อที่ควรโอนให้รัฐเป็นเท่าใด มากกว่าส่วนราชการอื่นๆ ทั้งหมด
ปตท. มีเจตนาปิดบังข้อมูลสำคัญที่ได้รับจาก สตง. ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ปิดบังแก่ศาลหรือไม่
------------------------------------------
11 สิงหาคม 2553 สตง. มีหนังสือแจ้งประธานวุฒิสภา ว่า ปตท. ยังโอนท่อไม่ครบ ลงนามโดยคุณหญิงจารุวรรณอีกแล้ว
------------------------------------------
2 พฤษภาคม 2554 สตง. มีหนังสือแจ้งปลัดกระทรวงการคลัง ว่า ปตท. ยังโอนระบบท่อไม่ครบ ลงนามโดยคุณหญิงจารุวรรณเจ้าเก่า
------------------------------------------
2 พฤษภาคม 2554 สตง. มีหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งว่า ปตท. โอนระบบท่อยังไม่ครบ
คุณหญิงจารุวรรณเป็นผู้ลงนามอย่างไม่ลดละ
ที่จริง โดยทั่วไป คนจะต้องถือคำสั่งศาลว่าเหนือกว่าความเห็น สตง.
แต่กรณีนี้ ความเห็น สตง. ซึ่งควรจะเป็นองค์ประกอบหลักในการพิจารณาของศาล ได้ถูกปกปิดต่อศาล หรือไม่
หากมีการปกปิด คำสั่งศาลน่าจะมีปัญหา และสั่งไปในทางผิดหรือไม่
ข้อมูลจากเพจของ Thirachai Phuvanatnaranubala
รูปถ่ายหนังสือ สตง ถึง ปตท
สตง แจ้งความเห็นว่า ระบบท่อส่วนที่ ปตท โอน 16,176.22 ล้านบาทนั้น -- ยังไม่ครบถ้วน --
ลายเซ็นคุณหญิงจารุวรรณ วันที่ 10 ตุลาคม 2551
ปตท รับทราบความเห็นนี้ ตั้งแต่ 10 ตุลาคม 2551
แต่ทำไมในคำร้องต่อศาลวันที่ 25 ธันวาคม 2551 จึงไม่แจ้งให้ศาลรับทราบ???
มีการปกปิดข้อมูล หรือไม่
------------------------------------------
คำร้องของ ปตท ต่อศาลวันที่ 25 ธันวาคม 2551
ข้อ 4 อ้างว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ดำเนินการ และปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว
อ้างอย่างนี้ ทั้งๆ ที่ สตง แจ้งก่อนหน้า ว่าโอนท่อไม่ครบถ้วน เป็นการอ้างเท็จหรือไม่
------------------------------------------
สตง มีหนังสือแจ้ง ปตท 26 ธันวาคม 2551 ยืนยันว่าโอนท่อไม่ครบ ลงนามโดยคุณหญิงจารุวรรณอีกครั้ง
ทำไม ปตท ไม่นำไปแจ้งศาล
เนื่องจาก สตง ตรวจสอบบัญชี ปตท มานับยี่สิบปีก่อนแปรรูป สตง จึงรู้ดีที่สุด ว่าระบบท่อที่ควรโอนให้รัฐเป็นเท่าใด มากกว่าส่วนราชการอื่นๆ ทั้งหมด
ปตท มีเจตนาปิดบังข้อมูลสำคัญที่ได้รับจาก สตง ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ปิดบังแก่ศาลหรือไม่
------------------------------------------
11 สิงหาคม 2553 สตง มีหนังสือแจ้งประธานวุฒิสภา ว่า ปตท ยังโอนท่อไม่ครบ ลงนามโดยคุณหญิงจารุวรรณอีกแล้ว
------------------------------------------
2 พฤษภาคม 2554 สตง มีหนังสือแจ้งปลัดกระทรวงการคลัง ว่า ปตท ยังโอนระบบท่อไม่ครบ ลงนามโดยคุณหญิงจารุวรรณเจ้าเก่า
------------------------------------------
2 พฤษภาคม 2554 สตง มีหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งว่า ปตท โอนระบบท่อยังไม่ครบ
คุณหญิงจารุวรรณเป็นผู้ลงนามอย่างไม่ลดละ
ที่จริง โดยทั่วไป คนจะต้องถือคำสั่งศาลว่าเหนือกว่าความเห็น สตง
แต่กรณีนี้ ความเห็น สตง ซึ่งควรจะเป็นองค์ประกอบหลักในการพิจารณาของศาล ได้ถูกปกปิดต่อศาล หรือไม่
หากมีการปกปิด คำสั่งศาลน่าจะมีปัญหา และสั่งไปในทางผิดหรือไม่
ข้อมูลจากเพจของ Thirachai Phuvanatnaranubala

ประกาศเลิกบิดเบือนราคาพลังงาน
ต่อมาเวลา 12.15 น. ร่วมหารือระหว่างอาหารกลางวัน ภายใต้ประเด็นการเสริมสร้างความเชื่อมโยงอย่างครอบคลุมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ก่อนร่วมประชุมผู้นำเอเปกช่วงที่ 2 เมื่อเวลา 14.00 น. โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถ้อยแถลงที่ประชุมเอเปกช่วงที่ 2 หัวข้อ การส่งเสริมการพัฒนาอย่าง มีนวัตกรรม การปฏิรูปเศรษฐกิจ และการเจริญเติบโต โดยสรุปว่า รัฐบาลไทยเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาที่เน้นคุณภาพ ลดความยากจน และความเหลื่อมล้ำในสังคม ตนขอสนับสนุนเอเปกในการส่งเสริมการศึกษาข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการกำหนดเป้าหมายแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาจำนวน 1 ล้านคน ระหว่างสมาชิกเอเปกภายในปี ค.ศ.2020 สำหรับความมั่นคงทางพลังงาน ที่ผ่านมาหลายประเทศรวมทั้งไทยต้องรับผลกระทบจากการบิดเบือนราคาในตลาดพลังงาน ดังนั้น ไทยจึงปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงาน ให้เอื้อต่อการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม ร่วมมือกับเพื่อนบ้านสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ให้ความสำคัญกับนโยบายประหยัดพลังงาน การพัฒนาพลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียน ขอสนับสนุนความร่วมมือของเอเปกในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน และพลังงานสะอาด
ไทยรัฐ 12 พฤศจิกายน 2557

“ธีระชัย” แฉแหลก “ปิยสวัสดิ์” ร่วมมือแม้วเอื้อ “เพิร์ลออย” ฮุบพลังงานไทย?

“ธีระชัย” แฉแหลก “ปิยสวัสดิ์” ร่วมมือแม้วเอื้อ “เพิร์ลออย” ฮุบพลังงานไทย?



วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

"ปตท.อย่ามาเอาเงินทุนของชาติไปสร้างผลกำไรให้ผู้ถือหุ้น" /ปตท. สะเทือน เมื่อ "ธีรชัย "สวนกลับ!!

































"ปตท.อย่ามาเอาเงินทุนของชาติไปสร้างผลกำไรให้ผู้ถือหุ้น" !!

>>13สิงหาคม2557 ธปท.อัดไอเดีย”ปตท.”ใช้น้ำมันเป็นทุนสำรอง หวั่นย้อนรอยต้มยำกุ้ง

ธปท.แนะ ปตท.นำเงินตัวเองไปซื้อน้ำมันสำรองทางยุทธศาสตร์ในฐานะเป็นบริษัทที่ดูแลด้านพลังงาน ไม่ควรเสนอให้ใช้เป็นทุนสำรองระหว่างประเทศ เพราะน้ำมันมีความผันผวนขัดกฎหมายที่ระบุให้รักษาเสถียรภาพค่าเงิน สินทรัพย์ที่มั่นคงและสภาพคล่องสูง ชี้หากพลาดจะเกิดเหตุการณ์ย้อนรอยวิกฤตต้มยำกุ้งได้

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยกรณีที่ ปตท.เสนอคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.)ให้ธปท.ปรับเปลี่ยนการเก็บเงินสำรองระหว่างประเทศให้อยู่รูปน้ำมันสำรองยุทธศาสตร์สร้างความมั่นคงด้านพลังงานว่า หากปตท.เห็นว่าประเทศควรมีการสำรองน้ำมันยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ปตท.ก็ควรจะนำเงินบาทมาซื้อดอลลาร์จากธปท.เพื่อนำไปซื้อน้ำมันมาสำรองไว้โดยที่ ปตท.เป็นเจ้าของน้ำมันในฐานะผู้รักษาความมั่นคงด้านพลังงาน แต่ถ้าจะให้ ธปท.นำมาใช้เป็นเงินทุนสำรองฯ ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีกฎหมายห้าม และระบุชัดว่าหน้าที่หลักของเงินสำรองระหว่างประเทศเพื่อดูแลเสถียรภาพของค่าเงิน เผื่อไว้เงินทุนไหลออก และเก็บในรูปสินทรัพย์ที่มั่นคงและมีสภาพคล่องสูง

ซึ่งน้ำมันมีความผันผวนสูง หากราคาน้ำมันตกลง ไม่ใช่แค่ขาดทุน แต่จะทำให้คนตกใจว่า เงินสำรองฯของไทยลดลง ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพค่าเงิน เหมือนวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 อีกทั้งประเทศไทยเองก็ไม่ได้มั่งคั่งมาก หากเกิดความผิดพลาดจะเสียหายต่อประเทศชาติ

“ไม่มีข้อห้ามถ้าจะสำรองน้ำมันเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน สามารถทำได้ถ้าทำโดยปตท. หรือกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ปตท. โดยการนำเงินบาทมาซื้อดอลลาร์จากแบงก์ชาติแล้วนำไปซื้อน้ำมันมาสำรองไว้ แต่ไม่ใช่เสนอให้นำทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนซื้อน้ำมัน ซึ่งในโลกนี้ไม่มีธนาคารกลางประเทศใดทำกัน “

ในบางประเทศที่มีการสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคงของประเทศนั้น ก็ผ่านทางกระทรวงการคลัง อาทิ จีน โดยให้คลังออกพันธมิตรมา แล้วนำเงินมาซื้อดอลลาร์จากธนาคารกลาง เพื่อใช้ในการซื้อกิจการแหล่งพลังงานที่มีการผลิตอยู่แล้วในหลายประเทศทั่วโลก ไม่จำเป็นต้องสำรองน้ำมัน เนื่องจากจีนมีความต้องการใช้พลังงานมากในอนาคต

ก่อนหน้านี้ ปตท.เสนอคสช.ว่าไทยควรมีการตั้งคลังสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ เพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงด้านพลังงาน เหมือนบางประเทศ เช่น เกาหลี เป็นต้น โดยงบที่จะนำมาดำเนินการนั้น ธปท.อาจนำทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่ปัจจุบันธปท.นำไปลงทุนซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ และทองคำเก็บไว้ ก็อาจเปลี่ยนเป็นการซื้อน้ำมันแทน เนื่องจากนับวันน้ำมันมีมูลค่าเพิ่มขึ้น.
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9570000088097





ปตท. สะเทือน เมื่อ "ธีรชัย "สวนกลับ!!

ธีรชัย : "เปิดเผยแก่ประชาชนเรื่อง พลังงาน และ ปตท."

ในคดี ปตท. ผมจะพยายามสืบประเด็นที่ประชาชนสนใจ นำข้อมูลมาเปิดเผย เพราะธุรกิจพลังงาน และ ปตท. เกี่ยวข้องกับคนไทยทุกคน

ขอผู้อ่านช่วยกันดู หากเห็นว่ายังขาดเรื่องใดที่่สำคัญ โปรดช่วยชี้แนะด้วยครับ

ประเด็น : ในปี 2544 ที่มีการแปรรูป ปตท. นั้น มีการตั้งราคาหุ้นเริ่มขายในตลาดหลักทรัพย์ต่ำมาก และหลังจากนั้น ราคาหุ้นก็ได้พุ่งขึ้นไปสูงมาก มีข้อสงสัยว่า นักการเมือง ข้าราชการ และผู้บริหาร ได้ประโยชน์ส่วนตัวหรือไม่

สิ่งที่ควรเปิดเผยแก่ประชาชน:
(ก) ใครเป็นผู้ได้รับการจัดสรรหุ้น
(ข) เหตุใดจึงตั้งราคาเริ่มขายต่ำ
(ค) ปตท ลงบัญชีประโยชน์จากการใช้สาธารณะสมบัติโดยไม่จ่ายค่าตอบแทน ลงบัญชีเป็นรายได้และกำไรแต่ละปีหรือไม่ เท่าใด
(ง) ประโยชน์จากการใช้สาธารณะสมบัติโดยไม่จ่ายค่าตอบแทน มีผลทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นหรือไม่ เท่าใด
(จ) การไม่คืนสาธารณะสมบัติ เป็นแผนการเพื่อให้ราคาหุ้น ปตท. พุ่งขึ้นสูงหรือไม่

ประเด็น: ตั้งแต่ปี 2544  ปตท. ไม่ได้คืนสาธารณะสมบัติ จนกระทั่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษาวันที่ 14 ธันวาคม 2550 ให้แบ่งแยกทรัพย์สิน
ภายหลัง ปตท โอนระบบท่อคืน 16,176.22 ล้านบาท

สิ่งที่ควรเปิดเผยแก่ประชาชน:
(ก) กรรมการ ปตท ในช่วงเวลาที่ไม่ได้คืนสาธารณะสมบัติเป็นใคร
(ข) กรรมการทราบ แต่ละเลยหรือไม่ว่า ปตท. มีหน้าที่ต้องคืนสาธารณะสมบัติ
(ค) ปตท. มีรายได้จากระบบท่อขนส่งปิโตรเลียมแต่ละปี เท่าใด สำหรับส่วนที่โอนไปแล้ว 16,176.22 ล้านบาท กับส่วนที่ยังไม่ได้โอนอีก 32,613.45 ล้านบาท
(ง) บริษัทเอกชนอื่นที่ขุดปิโตรเลียมในอ่าวไทย และเชื่อมท่อกับระบบที่ ปตท. เอกชนต้องจ่ายเงินในการร่วมใช้ท่อหรือไม่ เท่าใด ใครเป็นผู้รับเงินดังกล่าว
(จ) กระทรวงพลังงานแน่ใจได้อย่างไรว่าไม่มีการโกงตัวเลขการผลิต เพราะระบบท่อไม่อยู่ในควบคุมตรงโดยกระทรวงพลังงาน

ประเด็น: วันที่ 17 ธันวาคม 2550 นายปิยสวัสดิ์ในฐานะรัฐมนตรีพลังงาน เสนอเรื่องเข้า ครม ว่าทรัพย์สินที่ต้องแบ่งตามคำวินิจฉัยของศาล มีประมาณ 15,139 ล้านบาท
ครม มิได้อนุมัติตัวเลขนี้ แต่มีมติให้ สตง. ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อ

สิ่งที่ควรเปิดเผยแก่ประชาชน:
(ก) ข้าราชการที่พิจารณาเรื่องนี้เป็นใคร ใช้หลักคำนวนอย่างไร ลำเอียงให้ประโยชน์แก่ ปตท. เกินควรหรือไม่
(ข) บุคคลที่เกี่ยวข้องในการเสนอเรื่องดังกล่าว ก่อนหน้าหรือภายหลัง ได้รับประโยชน์จากกลุ่ม ปตท. หรือใม่

ประเด็น: วันที่ 18 ธันวาคม 2550 ปตท. มีหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์ แจ้งมูลค่าทรัพย์สินที่จะแยกประมาณ 15,139 ล้านบาท แต่ระบุด้วยว่า “จะได้มีการสอบทานโดย สตง. ต่อไป”

สิ่งที่ควรเปิดเผยแก่ประชาชน:
(ก) ปตท. ใช้หลักคำนวนอย่างไร ลำเอียงให้ประโยชน์แก่ตนเองเกินควรหรือไม่
(ข) ทั้งๆ ที่ ปตท ยืนยันในหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์ ว่า"จะได้มีการสอบทานโดย สตง. ต่อไป" ต่อมาในวันที่ 25 ธันวาคม 2551 ที่ ปตท. ยื่นคำร้องต่อศาล เหตุใด ปตท. จึงได้ละเว้นข้อมูลรายงาน สตง. วันที่ 10 ตุลาคม 2551 ออกจากข้อมูลที่แจ้งศาล

ประเด็น : สตง. ส่งรายงานวันที่ 10 ตุลาคม 2551 แก่ ปตท. แจ้งว่า ปตท. ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน

สิ่งที่ควรเปิดเผยแก่ประชาชน:
(ก) สตง. พิจารณาอย่างไรว่า ปตท. ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน
(ข) ผู้บริหาร ปตท. ได้เสนอรายงานนี้แก่คณะกรรมการ ปตท. หรือไม่
(ค) คณะกรรมการ ปตท. ที่รับทราบเรื่องนี้เป็นใคร ละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไร

ประเด็น : ปตท ยื่นคำร้องวันที่ 25 ธันวาคม 2551 ต่อศาลปกครองสูงสุด แจ้งการแยกทรัพย์สิน อ้างว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ร่วมกัน ตุลาการคนเดียวได้เขียนลายมือบันทึกไว้วันที่ 26 ธันวาคม 2551 ว่าบริษัทได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว

สิ่งที่ควรเปิดเผยแก่ประชาชน:
(ก) ใครเป็นผู้เสนอเรื่อง และอนุมัติ ให้ ปตท. ไม่มีการแจ้งแก่ศาล รายงาน สตง วันที่ 10 ตุลาคม 2551 ว่า ปตท. ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน
(ข) เหตุผลที่ ปตท. ไม่แจ้งแก่ศาล ก็เพราะรายงาน สตง วันที่ 10 ตุลาคม 2551 แถลงว่า ปตท. ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน หรือไม่
(ค) ข้าราชการที่ ปตท อ้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนั้น เป็นใคร และเอกสารการพิจารณาภายในแต่ละส่วนราชการมีเหตุผลอย่างไร
(ง) ข้าราชการดังกล่าว และกรรมการผู้บริหาร ปตท. ทราบหรือไม่ว่า ครม. มีมติให้ สตง ตรวจสอบและรับรอง
(จ) ข้าราชการเหล่านี้ ก่อนหน้าหรือภายหลัง ได้รับประโยชน์จากกลุ่ม ปตท หรือใม่
(ฉ) กฎระเบียบศาลปกครองกำหนดให้การพิจารณาคดี ต้องทำเป็นองค์คณะหรือไม่
(ช) หากต้องเป็นองค์คณะ การบันทึกดังกล่าวโดยตุลาการคนเดียวมีผลตามกฎหมายหรือไม่
(ซ) หากต้องเป็นองค์คณะ องค์กรด้านบริหารของศาลได้รับทราบและดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร หรือไม่

ประเด็น : สตง. มีหนังสือวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ถึง ปตท. นำส่งรายงานว่า ปตท. ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบ

สิ่งที่ควรเปิดเผยแก่ประชาชน:
(ก) ได้มีการเสนอหนังสือ สตง. นี้ แก่คณะกรรมการ ปตท. หรือไม่ กรรมการละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไร
(ข) เหตุใด ปตท. จึงไม่นำข้อมูลในหนังสือ สตง. วันที่ 26 ธันวาคม 2551 กลับไปแจ้งศาล ทั้งที่เป็นเงื่อนไขที่ ครม. กำหนด
(ค) กรรมการ ปตท. ทราบหรือไม่ ว่า ปตท. ไม่ได้กลับไปแจ้งศาลให้ทราบรายงาน สตง. และละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไร

ประเด็น : ปตท. มีหนังสือวันที่ 21 มกราคม 2552 ถึง สตง แจ้งถึงการบันทึกลายมือของศาลวันที่ 26 ธันวาคม 2551 แต่ สตง. ก็ทำหนังสือวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 ถึง ครม.
(ก) แจ้งว่า ปตท. ยังโอนทรัพย์สินไม่ครบ และ
(ข) ย้ำว่าถึงแม้ ปตท. ได้รับรายงานจาก สตง. วันที่ 26 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นหลังวันที่ ปตท. ยื่นคำร้องต่อศาลก็ตาม ปตท. ก็จะต้องนำเสนอรายงาน สตง. กลับไปแจ้งให้ศาลด้วย

สิ่งที่ควรเปิดเผยแก่ประชาชน:
(ก) สตง. ได้เห็นการบันทึกลายมือของศาลก่อนที่ สตง. จะทำหนังสือถึง ครม. หรือไม่
(ข) การที่ สตง. ทำหนังสือถึง ครม. แสดงว่า สตง. เห็นว่าการบันทึกลายมือดังกล่าว ยังไม่เป็นข้อยุติหรือไม่
(ค) รัฐมนตรีและข้าราชการกระทรวงคลัง และกระทรวงพลังงาน ภายหลังได้รับทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวจาก สตง. ได้ละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไร เกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินไม่ครบ
(ง) และได้ละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไร เกี่ยวกับข้อสังเกตว่า ปตท. จะต้องนำเสนอรายงาน สตง. กลับไปแจ้งให้ศาล

ประเด็น : ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคม 2553 ทั้งกระทรวงการคลัง และกระทรวงพลังงานแจ้ง ครม. ว่า ปตท. ได้คืนทรัพย์สินครบแล้ว
แต่ สตง ได้มีหนังสือวันที่ 11 สิงหาคม 2553 ถึงประธานวุฒิสภา ว่า ปตท. ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบ และต่อมาแจ้งเช่นเดียวกันแก่ปลัดกระทรวงการคลังวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 และแก่ประธานรัฐสภาวันที่ 6 พฤษภาคม 2554

สิ่งที่ควรเปิดเผยแก่ประชาชน:
(ก) ข้าราชการกระทรวงคลัง และกระทรวงพลังงานที่พิจารณาเรื่อง ที่แจ้ง ครม. ว่าปตท. ได้คืนทรัพย์สินครบแล้วนั้น เป็นใคร
(ข) บุคคลเหล่านี้ ก่อนหน้าหรือภายหลัง ได้รับประโยชน์จากกลุ่ม ปตท. หรือใม่
(ค) บุคคลเหล่านี้ทราบหรือไม่ ว่า ครม. มีมติให้ สตง ตรวจสอบรับรอง และทราบหรือไม่ว่า สตง. รายงานว่ายังคือทรัพย์สินไม่ครบ
(ง) ถึงแม้ทั้งสองกระทรวงได้แจ้ง ครม. ไปแล้ว เหตุใด สตง. จึงยังมีหนังสืออีก 2 ฉบับ แจ้งว่า ปตท. ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบ

ประเด็น: วันที่ 4 กันยายน 2557 ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีหนังสือตอบผู้ร้องเรียนสรุปว่า
(ก) การกล่าวอ้างของ ปตท. ต่อศาล (ในคำร้องวันที่ 25 ธันวาคม 2551) ที่ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ดำเนินการตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้วนั้น เป็นการรายงานที่เป็นเท็จต่อศาล ที่ส่งผลต่อการพิจารณาของศา
(ข) ปตท. ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบ
(ค) ผู้ที่เข้าข่ายละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่มี กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และ ปตท.
(ง) ผู้ตรวจการแผ่นดินได้เสนอความเห็นเหล่านี้ต่อรองหัวหน้า คสช.

สิ่งที่ควรเปิดเผยแก่ประชาชน:
(ก) ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาจำนวนทรัพย์สินที่พึงจะคืนอย่างไร
(ข) คสช. ทราบเรื่องการรายงานที่เป็นเท็จต่อศาลหรือไม่ และละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการเพื่อเอาผิดลงโทษหรือไม่ เพราะเหตุใด
(ค) คสช. ทราบเรื่องที่ ปตท. คืนทรัพย์สินไม่ครบหรือไม่ และละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการเพื่อให้โอนครบหรือไม่ เพราะเหตุใด
(ง) ผู้ที่เกี่ยวข้องในขบวนการพิจารณาของ คสช. มีผู้ใดเคยได้รับประโยชน์จากกลุ่ม ปตท. หรือใม่

ประเด็น : ในฐานะอดีตรัฐมนตรีคลัง ผมได้ทำจดหมายเปิดผนึกวันที่ 22 กันยายน 2557 ถึงรัฐมนตรีคลังปัจจุบัน ให้ทราบเรื่องเหล่านี้

สิ่งที่ควรเปิดเผยแก่ประชาชน:
(ก) รัฐมนตรีคลังปัจจุบันได้รับทราบเรื่องนี้หรือไม่ และได้ดำเนินการอย่างไร
(ข) ข้าราชการกระทรวงคลังและกระทรวงพลังงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบเรื่องนี้หรือไม่ และได้ดำเนินการอย่างไร
(ค) บุคคลเหล่านี้ เคยได้รับประโยชน์จากกลุ่ม ปตท. หรือใม่
(ง) กรรมการ ปตท. ได้ทราบเรื่องนี้หรือไม่ และละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไร  https://www.facebook.com/thirachai.phuvanatnaranubala
































MANA PRADITKET

MANA PRADITKET
Handpainted oil painting by Mana Praditket

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
Original handpainted oil painting by Niran Paijit

PRAYAD TIPPAWAN

PRAYAD TIPPAWAN
ORIGINAL IMPRESSIONAL OIL PAINTING BY PRAYAD TIPPAWAN

Achara 34 (24x36)

Achara 34 (24x36)
ORIGINALl OIL PAINTING

Amornsak Livisit 74 (24x36)

Amornsak Livisit 74 (24x36)
ORIGINAL OIL PAINTING, Impressionist style

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)
Original handpainted oil painting abstract style

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
ORIGINAL ABSTRACT STYLE OIL PAINTING BY NIRAN PAIJIT

Chavalit (Pong)

Chavalit (Pong)
PINTO Horses

Komez 78 (22x30)

Komez 78 (22x30)
Original handpainted pastel painting on paper

KOMES

KOMES
Handpainted pastel painting by Komez

PRATHOUN

PRATHOUN
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY PRATHOUN

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
ORIGINAL OIL PAINTING BY THAVORN IN-AKORN (SIZE 20x30")

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
Original oil painting by Thavorn In-akorn

Facebook


ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING

PHOTO GALLERY

PHOTO GALLERY

Facebook

PHOTO GALLERY