GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL

GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL
LONG LIVE THE KING BHUMIBHOL

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

องคมนตรีชี้ "คอร์รัปชั่น" มะเร็งระยะ 4



'องคมนตรี'ชี้คอร์รัปชั่น-มะเร็งระยะ4 !!!!!
คมชัดลึกออนไลน์

'องคมนตรี' เทียบทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นมะเร็งระยะ 4 วอนทุกฝ่ายช่วยกันผ่าตัดใหญ

2 พ.ค. 57 เมื่อเวลา 09.30 น. คณะกรรมการปัองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งขาติ (ป.ป.ช.) มีพิธีเปิดการอบรมหลักสูตร นักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและการปราบปรามการทุจริตระดับสูง (นยปส.) รุ่นที่ 5 โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "คุณธรรม จริยธรรม ผู้บริหาร" ตอนหนึ่งว่า

ตอนนี้สถานการณ์ของประเทศไทยในเรื่องการทุจริต คอร์รัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวง เปรียบเหมือนกับเป็นมะเร็ง ระยะที่ 4 ซึ่งอย่าสิ้นหวัง เพราะในอดีตมีประเทศที่นำตัวเองพ้นจากวิกฤติก็มีมาก ในอดีต 30-40 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นเบอร์ 1

แต่เวลานี้เรากลายเป็นตัวตลกของอาเซียน ดังนั้นอย่าปล่อยให้โรคร้ายกินไปเรื่อยๆ เพราะจะเห็นได้จากการจัดลำดับตัวเลขต่างๆ อะไรที่ดีๆ ประเทศไทยจะอยู่ท้ายๆ แต่อะไรชั่วๆ เรานำเขาหมด ซึ่งพวกเราจะต้องช่วยกันกลับลำดับตรงนี้ โดยทำทั้ง 2 เรื่องเป็นการเร่งด่วน คือ

1. ขจัดคอร์รัปชั่นให้เหลือน้อยที่สุด และ

2. ช่วยกันฉีดวัคซีนคุณธรรมให้เร็วที่สุด ทั้งนี้อยากฝากผีฝากไข้ช่วยกัน เพราะเชื่อว่าประเทศไทยเรา สามารถฟื้นได้ จะผ่าตัด ให้ยา ให้คีโมก็ต้องทำ ช่วยกันระงับมะเร็งร้าย และตนเชื่อว่าเราทำได้

นพ.เกษม กล่าวต่อว่า สังคมปัจจุบัน คนในสังคมไทยยอมคนรวยมากกว่าคนดี มีวัฒนธรรมที่เกรงใจคนโกง อุปถัมภ์คนผิด ภาคธุรกิจกลายเป็นความนิยมในเรื่องวัตถุนิยมมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ โดยมีการเปรียบเทียบว่าเป็น "ทุนสามานย์" ที่จ้องเอาเปรียบ เราจึงต้องเปลี่ยนเป็น "ทุนนิยมคุณธรรม" โดยจะต้องหมุนกงล้อที่เป็นลักษณะความเสื่อมให้เป็นคุณธรรม

"ผมอยากจะมาเชิญชวนผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ช่วยกันปลุกจิตสำนึกความเป็นชาติ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เพื่อลูกหลานในอนาคต โดยระบบตำรวจต้องเป็นกลาง และเป็นที่พึ่งของประชาชน ไม่ใช่เป็นเครื่องมือของนักการเมือง ซึ่งตอนนี้ก็ลามไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอแล้ว ขณะที่อัยการ ต้องเชื่อถือได้ ตรงไปตรงมา ยอมตายกับความศักดิ์สิทธิ์ได้ และศาลก็ถือว่ามีความสำคัญมาก ในขณะที่สื่อมวลชนต้องมั่นคง ไม่ถูกซื้อขาย อุทิศชีวิตให้ประเทศชาติ และที่สำคัญประเทศต้องมีฝ่ายค้านที่เก่ง เข้มแข็ง ถึงจะต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นได้"


 

  
 แผนกินรวบประเทศไทยของทักษิ
โดยการแต่งตั้งคนของตัวเองเข้าไปดำรงตำแหน่งต่าง
เมื่อปฎิรูปประเทศแล้วควรยกเลิกนักการเมือง..เข้ามายุ่งเกี่ยวกับธุรกิจกิจการของรัฐ

 

 

 










 










vilaiwan

ผู้นำแรงงาน ฉะรัฐเบี้ยวจ่ายสมทบประกันสังคมสะสมรวมกว่า 7 หมื่นล. 
‘วิไลวรรณ แซ่เตีย’ เผยกังวลรัฐค้างจ่ายเงินสมทบ 7 หมื่นล้านบ. กระทบกองทุนประกันสังคม ระบุเคยทวงถาม ก.แรงงาน-สปส. แต่ไม่ได้รับความใส่ใจ ด้านรองเลขาธิการ สปส.ปัดให้ตัวเลข ขอเช็คข้อมูลก่อน แต่ยอมรับมีการค้างจ่ายจริง 

วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี ถือเป็นวันแรงงานแห่งชาติและวันกรรมกรสากล โดยในปีนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เป็นผู้แทนเครือข่ายภาคแรงงาน จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์และนำเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ณ บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา ภายใต้แนวคิด ‘สามัคคีกรรมกร ต้านทุนนิยมครอบโลก สร้างสังคมใหม่ประชาธิปไตยประชาชน’
ทั้งนี้ หนึ่งในข้อเรียกร้องมีเรื่องการให้รัฐและรัฐสภาเร่งรัดการปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความอิสระ ตรวจสอบได้ ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับสังคม ซึ่งที่ผ่านมามีความพยายามเคลื่อนไหวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นดังกล่าวหลายปี แต่ดูเหมือนจะไม่ได้รับความใส่ใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธาน คสรท. ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในโอกาสนี้ถึงสาเหตุการเร่งรัดปฏิรูประบบประกันสังคมว่า เครือข่ายภาคแรงงานเริ่มมีการพูดคุยกันตั้งแต่ปี 2551 เนื่องจากขณะนั้นสำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีการใช้จ่ายงบประมาณไม่โปร่งใส นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยไม่คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน เช่น กรณีการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ 2,800 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณที่สูงเกินไป กระทั่งเมื่อมีการร้องเรียนไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ให้ตรวจสอบ และเมื่อปี 2552 ได้มีการชี้มูลให้ สปส.มีความผิด
นอกจากนี้ด้านสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน โดยเฉพาะสิทธิรักษาพยาบาลมักเกิดปัญหาด้านประสิทธิภาพบ่อยครั้ง ตลอดจนไม่ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่มรายได้ที่เท่าเทียมกัน ทั้งที่ สปส. มีเงินกองทุนมากกว่า 1 ล้านล้านบาท เทียบเท่าสถาบันการเงินแห่งหนึ่งได้เลย
รองประธาน คสรท. กล่าวต่อว่า เครือข่ายภาคแรงงานจึงเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปขึ้น โดยให้กองทุนประกันสังคมขยายครอบคลุมทุกกลุ่มรายได้ เพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ปรับเปลี่ยนสถานะ สปส. จากหน่วยงานภาครัฐเป็นองค์การมหาชน พร้อมกับให้มีคณะกรรมการบริหารที่มาจากการเลือกตั้งตามสัดส่วนที่เหมาะสม มีความเป็นมืออาชีพ และต้องมีกระบวนการตรวจสอบการทำงานที่โปร่งใสด้วย
ฉะนั้นจึงมีการรวบรวมรายชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคม พ.ศ. ... ที่เสนอโดยประชาชน จนท้ายที่สุด สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่รับร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งแสดงถึงความไม่จริงใจของรัฐบาล ปฏิเสธประชาชนที่มีสิทธิขั้นพื้นฐานตามกรอบรัฐธรรมนูญ
จึงตั้งคำถามมาตลอดว่า รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย แต่สภาผู้แทนราษฎรกลับละเมิดสิทธินั่นเสียเอง สิ่งเหล่านี้เรียกว่าประชาธิปไตยหรือ ?
น.ส.วิไลวรรณ ระบุถึงความคืบหน้าปัจจุบันด้วยว่า เมื่อรัฐบาลประกาศยุบสภาร่างกฎหมายฉบับรัฐบาลและฉบับนายเรวัติ อารีรอบ ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ก็ตกไปเช่นกัน จึงต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนี้เครือข่ายภาคแรงงานจึงประชุมหารือปรับรายละเอียดบางอย่างในร่างกฎหมายฉบับประชาชนที่ถูกตีตกไป โดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ก่อนจะเสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป
“เราไม่รู้ว่ารัฐบาลใหม่จะเหมือนเดิมหรือไม่ ถ้าเหมือนเดิมคงต้องคิดหนัก เพราะสุดท้ายเมื่อไม่ได้รับความใส่ใจประชาชนก็ไม่รู้จะไปพึ่งใคร” รองประธาน คสรท. กล่าว และว่าคงต้องพึ่งตนเอง โดยการรวมพลังกันให้เกิดการมีส่วนร่วมสู่การขับเคลื่อน เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง พร้อมตำหนิการทำงานของรัฐบาลชุดก่อนว่าแย่และเผด็จการ เห็นตัวอย่างได้ชัดจากกรณีประกันสังคม
น.ส.วิไลวรรณ ยังเสนอมุมมองว่า ประชาธิปไตยต้องกินได้ ต้องเห็นหัวคนจน และเกิดการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่ม มิใช่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ซึ่งที่ในอดีตไม่ใช่อย่างที่กล่าวมาข้างต้นเลย คนจนยังไม่สามารถเข้าถึงประชาธิปไตยได้
เมื่อถามถึงกรณีรัฐบาลค้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคม รองประธาน คสรท. ให้ข้อมูล ตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ทำให้สูญเสียดอกผลถึง 800 ล้านบาท ซึ่งยอมรับรู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะหากอนาคตเรายังปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ อาจส่งผลกระทบต่อกองทุนประกันสังคมได้ อย่างไรก็ตาม เครือข่ายภาคแรงงานพยายามติดตามทวงถามไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสปส.อย่างต่อเนื่อง แต่กลับไม่ได้รับการใส่ใจและแก้ไขเลย
“เราก็พยายามพูดคุยเมื่อทราบว่ามีการค้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมขนาดนี้ แต่ก็รู้อยู่ว่ารัฐบาล ‘ถังแตก’ ประสบปัญหาเรื่องงบประมาณ ชุลมุนวุ่นวายไปหมด อีกทั้งอยู่ในสถานะทำอะไรไม่ได้ ข้อเสนอของเครือข่ายภาคแรงงานก็ทำได้เพียงเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเท่านั้น ดังนั้นหากอนาคตกองทุนประกันสังคมได้รับผลกระทบ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบ” น.ส.วิไลวรรณ กล่าว
ด้านดร.อารักษ์ พรหมมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวถึงรัฐค้างจ่ายสปส. โดยขอไปดูตัวเลขก่อน ซึ่งที่ผ่านมายอมรับว่า รัฐค้างจ่ายทุกปี โดยจัดสรรงบประมาณให้ส่วนหนึ่ง และติดค้างอีกส่วนหนึ่งจริง
"คนที่ไม่ให้คือสภาฯ ไม่ใช่รัฐบาล เพราะเวลางบประมาณเข้าสภาฯ สภาฯ จะกลั่นกรองให้เท่าไหร่ไม่ให้เท่าไหร่ ดังนั้น การค้างจ่ายเงินสมทบให้สปส.จึงทำให้ สปส.เสียโอกาสนำเงินดังกล่าวไปลงทุน หรืออาจเห็นว่า สปส.มีเงินในกองทุนมากอยู่แล้ว จึงนำเงินไปทำอย่างอื่นก่อน"
 
 
 

MANA PRADITKET

MANA PRADITKET
Handpainted oil painting by Mana Praditket

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
Original handpainted oil painting by Niran Paijit

PRAYAD TIPPAWAN

PRAYAD TIPPAWAN
ORIGINAL IMPRESSIONAL OIL PAINTING BY PRAYAD TIPPAWAN

Achara 34 (24x36)

Achara 34 (24x36)
ORIGINALl OIL PAINTING

Amornsak Livisit 74 (24x36)

Amornsak Livisit 74 (24x36)
ORIGINAL OIL PAINTING, Impressionist style

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)
Original handpainted oil painting abstract style

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
ORIGINAL ABSTRACT STYLE OIL PAINTING BY NIRAN PAIJIT

Chavalit (Pong)

Chavalit (Pong)
PINTO Horses

Komez 78 (22x30)

Komez 78 (22x30)
Original handpainted pastel painting on paper

KOMES

KOMES
Handpainted pastel painting by Komez

PRATHOUN

PRATHOUN
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY PRATHOUN

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
ORIGINAL OIL PAINTING BY THAVORN IN-AKORN (SIZE 20x30")

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
Original oil painting by Thavorn In-akorn

Facebook


ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING

PHOTO GALLERY

PHOTO GALLERY

Facebook

PHOTO GALLERY