GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL

GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL
LONG LIVE THE KING BHUMIBHOL

วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แกะรอย: ต้นตระกูลชินวัตรเป็นอั้งยี่จริงหรือ ? (1)




มีการเผยแพร่ข้อมูลว่านายเส็ง แซ่คู ต้นตระกูลชินวัตรเคยเป็นอั้งยี่ระดับหัวหน้าและเคยถูกจับติดคุกมาก่อน นับเป็นเรื่องที่น่าสนใจมาก
     
       เนื้อหาของเรื่องดังกล่าวสามารถอ่านได้จากบทความเรื่อง “อั้งยี่ที่เมืองจันทน์” ตอน 1 และตอน 2 ต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์สื่อมหาชนออนไลน์ www.mahachonnews.com ที่ได้เขียนไว้ว่า ง่วนเส็ง แซ่คู บุตรนายเช้า (ชาวจีน) เป็นหัวหน้าอั้งยี่คณะงี่เฮ็งบ้านบางกะจะ อำเภอพลอยแหวน เมืองจันทบุรีในยุคที่ถูกฝรั่งยึดครองเป็นหลักประกันให้สยามจ่ายค่าตอบแทนกรณี รศ.112 ต่อมาถูกทางการจับกุมขังคุก มีลูกชื่อ ชุนเชียง แซ่คู อพยพมาอยู่เชียงใหม่เป็นต้นตระกูลชินวัตร ปู่ของทักษิณ ชินวัตรอดีตนายกรัฐมนตรีในเวลาต่อมา
     
       แม้บทความดังกล่าวไม่ปรากฏชื่อผู้เขียนและก็ไม่ได้ระบุเอกสารอ้างอิงอันใดไว้แต่มากพอที่ทำให้ยิ่งอยากรู้เข้าไปอีกว่าประวัติศาสตร์ดังกล่าวคัดลอกอ้างอิงมาจากแหล่งใด ใช้เวลาสืบค้นอยู่พักใหญ่จึงค่อยทราบว่า เนื้อหาที่บทความอั้งยี่ที่เมืองจันทน์นำมาเผยแพร่นั้นแท้ที่จริงปรับแปลงมาจากหนังสือเล่มที่ชื่อว่า
     
       “จดหมายเหตุความทรงจำสมัยฝรั่งเศสยึดจันทบุรี ตั้งแต่พ.ศ.2436-2447” เขียนโดย หลวงสาครคชเขต (ประทวน สาคริกานนท์)
     
       โชคดีที่ยังพอมีหนังสือเล่มนี้ในท้องตลาดแต่กว่าจะได้มาถึงมือใช้เวลา 2 วัน เล่มที่ใช้อ้างอิงเป็นเล่มปกแข็งพิมพ์ครั้ง 3 โดยสำนักพิมพ์ศรีปัญญาจัดจำหน่ายโดยเคล็ดไทยราคา 500 บาท สำหรับท่านที่สนใจเรื่องแนวนี้ปัจจุบันยังพอหาได้ตามคลังสต๊อกของร้านหนังสือใหญ่
     
       หลวงสาครคชเขต เป็นข้าราชการฝ่ายปกครองที่อยู่ในเหตุการณ์ฝรั่งเศสถืออำนาจบาตรใหญ่มายึดเมืองจันทน์สมัยปลายรัชกาลที่ 5 กว่าจะคืนกลับมาได้ไทยต้องเสียดินแดนในเขมรในลาวเพิ่มให้ไปอย่างเจ็บปวด หลวงสาครฯมีชีวิตอยู่จนข้ามมาสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครองเสียชีวิตเมื่อ 2497 ได้บันทึกเหตุการณ์รายละเอียดที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่งบรรยายถึงสภาพบ้านเมืองผู้คนรายละเอียดความสัมพันธ์ของคนฝ่ายต่างๆ ในยุคนั้น เช่นเล่าว่ามีทหารฝรั่งเศสประมาณ 60-70 นายทหารญวนประมาณ 600 มาตั้งค่าย เย็นๆ ก็แก้ผ้าอาบน้ำทั้งฝรั่งทั้งญวน หญิงไทยเดินผ่านเบือนหน้าหลบก็ถูกฝรั่งหัวเราะใส่ ไปจนถึงมีเหตุการณ์จันทรุปราคาชาวบ้านยิงปืนตีเกราะเคาะไม้ผู้บัญชาการทหารฝรั่งเศสตกใจเตรียมพร้อมรับมือคนไทยบุก หรือกรณีทหารฝรั่งเศสเมาสุราไปเที่ยวแทะโลมจับนมหญิงชาวบ้าน ฯลฯ เป็นต้น
     
       บันทึกกรณีเหตุการณ์กรณีอั้งยี่ที่มีการโยงมาถึงตระกูลชินวัตรปรากฏในตอนที่ชื่อว่า “สมาคมอั้งยี่กำเริบ ทหารฝรั่งเศสช่วยปราบ” อยู่ในหน้า 61-64 ขอคัดลอกลงมาเพื่อผู้อ่านจะได้เทียบเคียงกับข้อความที่เผยแพร่ก่อนหน้า
     
      
สมาคมอั้งยี่กำเริบ
ทหารฝรั่งเศสช่วยปราบ


เมื่อฝรั่งเศสเข้าไปตั้งอยู่ที่จังหวัดจันทบุรีแล้วไม่กี่ปี ระหว่างพ.ศ.2438-2439 (ร.ศ.114-115) ก็เกิดมีสมาคมอั้งยี่ขึ้น 2 คณะ คณะหนึ่งใช้สมนามสมญาว่า “งี่ฮก” สำนักตั้งอยู่ที่ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมืองจันทบุรีแห่งหนึ่งมีนาย อำภณ วิเศษประสิทธิ์ บุตรพระประสิทธิ์พลรักษ์ กรมการพิเศษเป็นหัวหน้า (หลวงสาครฯคงจะใส่นามสกุลที่เกิดขึ้นภายหลังเข้าในบันทึกไปเลยไม่ได้ใช้เฉพาะชื่อตนตามยุคสมัย อีกทั้งชื่อจังหวัดก็เรียกแบบยุคหลังไม่ได้เรียกว่าเมืองจันทบุรีอันเป็นเชื่อก่อนตั้งมณฑลเทศาภิบาล—บัณรส) อีกคณะหนึ่งมีนามสมญาว่า “งี่เฮ็ง” สำนักงานตั้งอยู่ที่ตำบลบางกะจะ อำเภอพลอยแหวน จังหวัดจันทบุรีแห่งหนึ่ง มีนายง่วนเส็ง บุตรนายเช้า (ชาติจีน) เป็นหัวหน้าสมาคมอั้งยี่

ทั้งสองคณะนี้ไม่มีความสามัคคีปรองดองกัน ต่างหมู่ต่างคณะได้ถืออำนาจในพวกเหล่าของตนคุมสมัครพรรคพวกทำร้ายซึ่งกันและกันอยู่เป็นเนื่องนิตย์บรรดาประชาชนคนใดไม่เข้าในคณะใดพวกอั้งยี่ก็เที่ยวกรรโชกขู่เข็ญทำร้ายประชาชนพลเมืองโดยพลการอยู่เนืองๆ บางครั้งคุมสมัครพรรคพวกเที่ยวปล้นแย่งชิงทรัพย์สินพลเมืองก็มี นอกจากนี้ความยังปรากฏว่าบรรดาพวกพ่อค้าแม่ค้าที่อยู่ในท้องที่อำเภอพลอยแหวนซึ่งเคยน้ำสินค้ามาจำหน่ายขายให้แก่พลเมืองทางท้องที่อำเภอเมืองแล้ว พวกคณะอั้งยี่ทางฝ่ายคณะงี่เฮ็งก็ประกาศห้ามปราม................

และความเดือดร้อนทั้งนี้ไม่ได้มีแต่พลเมืองฝ่ายเดียวเลยพลอยทำให้กองทหารฝรั่งเศสก็มีส่วนได้รับความเดือดร้อนด้วยเหมือนกัน กล่าวคือกองทหารฝรั่งเศสก็ต้องอาศัยสินค้าจากพ่อค้าแม่ค้าทางเขตอำเภอพลอยแหวนเหมือนกันเมื่อความเดือดร้อนของพลเมืองตลอดจนกองทหารฝรั่งเศสไม่ได้รับความสะดวกเช่นนี้แล้ว...........

ก็มาขอร้องให้ทางบ้านเมืองจัดการปราบปรามแต่เวลานั้นทางฝ่ายบ้านเมืองก็ไม่มีกำลังพาหนะ ตำรวจหรือพลตระเวนอย่างใดที่จะทำการระงับปราบปรามอั้งยี่ให้เป็นที่เรียบร้อยได้ จึงนับว่ายุคนั้นที่จันทบุรีแม้แต่ตามถนนตลาดประชาชนพลเมืองก็มีความหวาดเกรงภัยของคณะอั้งยี่อยู่ถ้วนหน้า...........

ทางฝ่ายบ้านเมืองจึงได้ปรึกษาทำความตกลงกับกองทหารฝรั่งเศสผลที่สุดฝ่ายกองทหารฝรั่งเศสจัดกำลังทหารฝรั่งเศสมอบให้แก่ทางบ้านเมืองทำการปราบปรามจับกุมอั้งยี่ทั้งสองคณะนี้โดยความร่วมมือกับพนักงานฝ่ายบ้านเมืองออกเที่ยวสืบจับตามตำบลต่างๆ มีตำบลบางกะจะ ตำบลวัดใหม่และที่แห่งอื่นๆ เป็นต้น เจ้าพนักงานฝ่ายไทยที่ควบคุมทหารฝรั่งเศสและพลเมืองออกไปสืบจับพวกอั้งยี่นั้นคือท่านพระยาเดชานุชิตเป็นหัวหน้า หลวงพรหมเสนากับหลวงศรีรองเมืองเป็นผู้ช่วยทำการจับกุมอั้งยี่ทั้งสองคณะได้พรรคพวกและหัวหน้าสำคัญหลายคนมีนายอำภณและนายง่วนเส็งเป็นต้น แล้วจัดการนำตัวส่งไปกรุงเทพฯ ต่อมาปรากฏว่าหัวหน้ากับพรรคพวกถูกรับพระราชอาญาจองจำกักขังไว้หลายๆ ปี ตั้งแต่นั้นมาสมาคมอั้งยี่ก็แตกหมู่แตกคณะควบคุมกันไม่ติดและไม่มีสมาคมใดที่คิดตั้งคณะอั้งยี่ขึ้นมาอีก นับว่าเหตุการณ์เรื่องอั้งยี่เป็นปกติเรียบร้อยมาจนบัดนี้.

     
       นอกจากความเรื่องอั้งยี่ที่กล่าวไปแล้วบันทึกจะหมายเหตุของหลวงสาครคชเขต หน้า 203 ยังได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่จีน ง่วนเส็ง ไปทำร้ายร่างกายผู้พิพากษาบาดเจ็บ โดยเหตุการณ์ตอนนี้เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสมอบเมืองจันทบุรีคืนแก่สยามในพ.ศ.2447 หลังจากยึดไว้นานถึง 11 ปีแต่ก็ยังไม่ไปไหนกำลังทหารที่ถอนจากจันทบุรีก็ไปยึดเมืองตราดไว้ต่อ ฝรั่งเศสยึดเมืองตราดนาน 3 ปีจนที่สุดสยามต้องแลกตราดและเกาะกูด กลับคืนมาโดยตัดเฉือนที่ฝั่งขวาแม่น้ำโขงด้านตรงข้ามหลวงพระบางอันเป็นแขวงไชยะบุรีในปัจจุบันรวมทั้งเสียมราฐ ศรีโสภณ พระตะบองในเขมรให้ไป
     
       เหตุการณ์ตอนที่ฝรั่งย้ายไปยึดเมืองตราดจึงมีข้าราชการไทยที่โยกย้ายกลับมา บ้างก็สมัครใจอยู่ที่เดิมหลวงสาครคชเขตได้กล่าวถึงผู้พิพากษาท่านหนึ่งที่เกี่ยวข้องเป็นค่ากรณีกับจีนง่วนเส็ง ความว่า
     
      
“มีข้าราชการบางคนสมัครคงอยู่ในจังหวัดตราดก็มีบ้างดังเช่น หลวงวิพิธพจนการ ผู้พิพากษาศาลคนหนึ่งเป็นผู้มีเคหสถานบ้านเรือนแลเรือกสวนไร่นาอยู่มากจะละทิ้งฐานเดิมไปก็รู้สึกเสียดายจึงคงอยู่ที่จังหวัดตราดต่อไปชั่วคราวต่อมาภายหลังหลวงวิพิธพจนการเห็นว่าการอยู่กับฝรั่งเศสจะไม่เป็นผลดีต่อไปแล้วจึงได้อพยพย้ายครอบครัวมาตั้งอยู่ที่บ้านตลาดขวาง จังหวัดจันทบุรีแลต่อมาก็ประจวบเวลานั้นอำเภอขลุงได้ยกขึ้นเป็นจังหวัดแลขาดตัวผู้พิพากษาอยู่ พระยานครไภยพิเฉทซึ่งเป็นอธิบดีผู้พิพากษาเห็นเป็นโอกาสดีจึงได้ขออนุญาตกระทรวงยุติธรรมให้หลวงวิพิธฯเป็นผู้พิพากษาศาลเมืองขลุงบุรีตั้งแต่นั้นมา

ระหว่างที่หลวงวิพิธฯ พักอยู่ที่จังหวัดจันทบุรีก่อนยังไม่ได้รับตำแหน่งผู้พิพากษาศาลเมืองขลุงนั้น ได้ถูกนายง่วนเส็ง (เชิงอรรถของหลวงสาครระบุว่า คือคนๆเดียวกันกับที่ปรากฏเรื่องอั้งยี่) หัวหน้าอั้งยี่คณะงี่เฮ็ง ให้พรรคพวกทำร้ายร่างกายบาดเจ็บ ทั้งนี้ปรากฏว่านายง่วนเส็งมีความเจ็บแค้นหลวงวิพิธฯ ตั้งแต่ครั้งเป็นผู้พิพากษาศาลจังหวัดตราดก่อนสมัยฝรั่งเศสปกครองได้ตัดสินคดีความจำคุกพวกอั้งยี่คณะของเขา การที่หลวงวิพิธฯ ถูกพรรคพวกนายง่วนเส็งทำร้ายครั้งนั้นผลที่สุดการสืบสวนจับกุมค้นร้ายไม่ได้ทั้งไม่มีหลักฐานอะไรด้วย ตกลงว่าหลวงวิพิธฯถูกทำร้ายเปล่า

     
       เมื่อพิจารณาเปรียบถ้อยคำในจดหมายเหตุฯของหลวงสาครคชเขตซึ่งเป็นหลักฐานชั้นต้นที่มีอยู่ทั้งหมดตามที่คัดลอกมามีข้อสังเกตดังนี้
     
       1.จดหมายเหตุระบุชื่อจีน ง่วนเส็ง แต่ประวัติที่เผยแพร่ของตระกูลชินวัตรระบุว่าปู่ทวดชื่อ ชุ่นเส็ง
     
       2.ในจดหมายเหตุไม่ระบุนามสกุล แต่ข่าวสารที่เผยแพร่ไปเรื่องอั้งยี่เมืองจันทน์ เติมนามสกุลแซ่คู ให้กับ จีนง่วนเส็ง
     
       3.ประวัติตระกูลชินวัตรไม่เคยกล่าวถึงบิดาของคูชุ่นเส็ง บอกเพียงว่าปู่ทวดชุ่นเส็งเดินทางจากกวางตุ้งมาขึ้นบกที่เมืองจันทบุรี แต่ในจดหมายเหตุของหลวงสาครระบุชื่อบิดาของ จีนง่วนเส็งว่าชื่อ นายเช้า สัญชาติจีน
     
       ดังนั้นหากพิจารณาเฉพาะหลักฐานถ้อยคำในจดหมายเหตุ หัวหน้าอั้งยี่ชื่อ “ง่วนเส็ง” ไม่น่าจะเป็นคนเดียวกับ “คูชุ่นเส็ง” ผู้ที่ต่อมาอพยพครอบครัวจากบางกะจะ เมืองจันทบุรีไปอยู่เชียงใหม่และเปลี่ยนสกุลเป็นชินวัตรในเวลาต่อมาก็ได้
     
       อย่างไรก็ตามเมื่อมองเหตุการณ์แวดล้อม ดูเงื่อนไขประกอบ และระยะเวลา (Time Line) ของจีนง่วนเส็งมีเหตุทำร้ายร่างกายผู้พิพากษาและมีบทบาทในแวดวงคนจีนบ้านบางกะจะเมืองจันทบุรี ย่อมอยู่ในยุคสมัยเดียวกับ คูชุ่นเส็ง ซึ่งก็ปักหลักสร้างหลักฐานอยู่ที่บ้านบางกะจะ เมืองจันทบุรีเหมือนกัน
     
       หาก จีนง่วนเส็ง ตั้งตัวเป็นหัวหน้าอั้งยี่คณะงี่เฮ็ง รวบรวมสมัครพรรคพวกคนเชื้อสายจีนมีพื้นที่เคลื่อนไหวในเขตบางกะจะในช่วงพ.ศ.2436-38 ย่อมน่าสนใจว่าในตอนนั้นบรรพบุรุษตระกูลชินวัตรผู้มีถิ่นฐานบ้านบางกะจะที่ชื่อ คูชุ่นเส็ง มีบทบาทใด
     
       และหากจะสวมวิญญาณนักจินตนาการประสาคอหนังฮอลลีวูดปะติดปะต่อผูกตำนานใหม่ขึ้นมาอาจจะเป็นเนื้อเรื่องว่า...
     
       เมื่อกว่า 100 ปีก่อนจีนง่วนเส็งนายอั้งยี่คณะงี่เฮ็งแห่งบ้านบางกะจะ ตั้งตัวขึ้นมาจากการเป็นผู้นำชาวจีนในยุคที่อำนาจการปกครองของสยามกับฝรั่งเศสทับซ้อนกันอยู่ ตั้งสมาคมองค์กรปกครองดูแลชาวจีนด้วยกันซึ่งเป็นเรื่องปกติมากสำหรับธรรมเนียมของคนจีนโพ้นทะเล แต่ต่อมาเกิดวิวาทกับสมาคมชาวจีนอีกคณะทำให้ถูกจับกุมคุมขังแต่ก็ยังมีสถานะเป็นระดับแกนนำของชาวจีนในท้องถิ่น จนกระทั่งเขาเกิดมีวิวาทกับขุนนางผู้กำลังจะรับตำแหน่งผู้พิพากษาด้วยสำคัญผิดว่าขุนนางผู้นั้นไม่ได้รับราชการแล้ว ทำให้ต้องอพยพหนีคดีพาครอบครัวลี้ภัยไปอยู่เมืองเหนือ เปลี่ยนชื่อเรียกเสียใหม่เพื่อลบอดีตติดตัวจากเมืองจันทน์
     
       นิยายแต่งใหม่เรื่องนี้คงน่าสนุกไม่น้อยเพราะโยงเอาบรรพบุรุษของนายกรัฐมนตรี 2 คนไปผูกโยงกับเรื่องราวอั้งยี่เมืองจันทบุรีในยุคที่อำนาจการปกครองของสยามไม่มั่นคงแถมฝรั่งเศสมาตั้งกำลังเป็นอำนาจทับซ้อนปกครองอยู่
     
       ประวัติศาสตร์คงจะเล่นตลกไม่น้อยหากจีนง่วนเส็งนายอั้งยี่ มาเป็น คูชุ่นเส็งนายอากรเชียงใหม่ !!!?
     
       มันจะไม่เล่นตลกได้ยังไงเพราะหลวงวิพิธพจนการผู้พิพากษาที่ถูกทำร้ายคนคนดังกล่าวเป็นคนเดียวกับ หลวงวิพิธพจนการ (แจ่ม สูตะบุตร) ผู้เป็นคุณตาของ พ.ญ.สดใส เวชชาชีวะ (สกุลเดิมสูตะบุตร) มารดาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หรือนัยหนึ่ง หลวงวิพิธพจนการเป็นคุณตาทวด ของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนั่นเอง
     
       ซึ่งก็หมายถึงว่าก๋งของอดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร ชื่อ คูชุ่นเส็ง-จีนง่วนเส็ง เคยมีกรณีวิวาทขนาดส่งลูกน้องไปทำร้ายร่างกายตาทวดของ อดีตนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เหตุเกิดที่เมืองจันทบุรี ในช่วงพ.ศ. 2449-2450 โดยประมาณ !!
     
       แต่เหตุการณ์ในโลกของความเป็นจริงจะเป็นดั่งเช่นที่ผูกนิยายที่กล่าวมาข้างต้นหรือไม่ ก็ต้องมาดูประวัติชีวิตของคูชุ่นเส็งตลอดถึงเหตุการณ์แวดล้อมเมื่อ 100 ปีก่อนโน้นกันเพื่อมาชั่งน้ำหนักว่าตำนานอั้งยี่เมืองจันทน์ที่เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ตนั้นตรงกับข้อเท็จจริงแค่ไหนเพียงใด
     
       ตอนหน้าจะมาวิเคราะห์เรื่องราวชีวิตของ คูง่วนเส็ง ช่วงที่อยู่ในเมืองจันทบุรีก่อนจะอพยพโยกย้ายมาเชียงใหม่ซึ่งน่าแปลกนะครับขนาดตระกูลชินวัตรเองก็แทบไม่รู้เรื่องปู่ทวดต้นตระกูลของเขาเช่นเดียวกัน.










MANA PRADITKET

MANA PRADITKET
Handpainted oil painting by Mana Praditket

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
Original handpainted oil painting by Niran Paijit

PRAYAD TIPPAWAN

PRAYAD TIPPAWAN
ORIGINAL IMPRESSIONAL OIL PAINTING BY PRAYAD TIPPAWAN

Achara 34 (24x36)

Achara 34 (24x36)
ORIGINALl OIL PAINTING

Amornsak Livisit 74 (24x36)

Amornsak Livisit 74 (24x36)
ORIGINAL OIL PAINTING, Impressionist style

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)
Original handpainted oil painting abstract style

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
ORIGINAL ABSTRACT STYLE OIL PAINTING BY NIRAN PAIJIT

Chavalit (Pong)

Chavalit (Pong)
PINTO Horses

Komez 78 (22x30)

Komez 78 (22x30)
Original handpainted pastel painting on paper

KOMES

KOMES
Handpainted pastel painting by Komez

PRATHOUN

PRATHOUN
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY PRATHOUN

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
ORIGINAL OIL PAINTING BY THAVORN IN-AKORN (SIZE 20x30")

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
Original oil painting by Thavorn In-akorn

Facebook


ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING

PHOTO GALLERY

PHOTO GALLERY

Facebook

PHOTO GALLERY