จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้หลบหนีคำพิพากษาคือผู้ที่ยอมรับว่าตนผิด (ละติน: fatetur facinus qui judicium fugit; อังกฤษ: he who flees judgement confesses his guilt[1] หรือ the one who flees the law confesses his guilt[2]) เป็นภาษิตภาษาละตินทางกฎหมาย[1] ซึ่งอย่างน้อยปรากฏครั้งแรกในพจนานุกรมกฎหมายของแบล็ก (อังกฤษ: Black's Law Dictionary) ที่พิมพ์ในประเทศอังกฤษเมื่อ ค.ศ. 1718 (พ.ศ. 2261) และมีอิทธิพลต่อบรรดาผู้ก่อร่างสร้างชาติอเมริกามาก[3]
ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาได้อ้างถึงภาษิตในคำพิพากษาหลายครั้ง ครั้งหนึ่งในคดีระหว่างฮิกกอรีกับสหรัฐอเมริกา [HICKORY v. U S, 160 U.S. 408 (1896)] เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) ความตอนหนึ่งว่า[4]
โจเซฟ ฟาราห์ (อังกฤษ: Joseph Farah) นักเขียนและนักหนังสือพิมพ์ชาวอเมริกัน แสดงความเห็นเกี่ยวกับภาษิตนี้ว่า "ภาษิตนี้ค่อนข้างเป็นหลักการที่ประจักษ์ชัดในตัว ทว่า เพราะเราอาศัยอยู่ในยุคที่หลักการอันประจักษ์ชัดในตัวถูกทำให้เคลือบคลุมมานักต่อนักแล้ว ภาษิตนี้จึงน่าจะได้รับการหยิบยกขึ้นมากล่าวอีกครั้ง..."[
เอเอฟพี/เอเจนซีส์ - รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น เคร์รี กล่าวยอมรับเมื่อพุธ (26 ก.พ.) ว่า ในประเทศจำนวนมากแล้ว การเลือกตั้งอย่างเสรีไม่ใช่เป็นสิ่งที่นำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเสมอไป พร้อมกับยกกรณีการโค่นล้มประธานาธิบดี วิกตอร์ ยานูโควิช แห่งยูเครน และประธานาธิบดี โมฮัมเหม็ด มอร์ซี ของอียิปต์ ว่าเป็นตัวอย่างของ “พลังประชาชน” ซึ่งล้มล้างผู้นำประเทศที่มาจากการเลือกตั้งในระยะเวลาหลังๆ มานี้
เคร์รีพูดเรื่องการเลือกตั้งเสรีกับประชาธิปไตยอันแท้จริงนี้ ในขณะสนทนากับกลุ่มผู้สื่อข่าวกลุ่มเล็กๆ ที่กรุงวอชิงตัน โดยที่เขาบอกว่า การประท้วงแรมเดือนที่เกิดขึ้นในยูเครน ซึ่งนำไปสู่การขับไล่ประธานาธิบดี วิกตอร์ ยานูโควิช เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ “พลังประชาชน” ในช่วงไม่กี่เดือนหลังมานี้
การประท้วงของประชาชนเหล่านี้ คือ “สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงกระแสความปรารถนาอันเหลือเชื่อ (ของประชาชน) ซึ่งเรียกร้องต้องการความทันสมัย, เรียกร้องต้องการการเปลี่ยนแปลง, เรียกร้องต้องการที่จะมีทางเลือกหลายๆ ทาง, เรียกร้องต้องการให้ส่งมอบอำนาจให้แก่ปัจเจกบุคคลแต่ละคน มันเป็นสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวไปในทั่วโลกเวลานี้ โดยที่หลายๆ กรณีทีเดียว มันกำลังเคลื่อนไหวด้วยความรวดเร็วอย่างมากมายกว่าที่คณะผู้นำทางการเมืองจะตระหนักรับรู้หรือที่จะสามารถตอบสนอง” รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯระบุ
เขาบอกว่า การขับไล่ยานูโควิชในยูเครน ก็เหมือนๆ กับที่เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว มีการโค่นล้มมอร์ซี ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกของอียิปต์ ในแง่ที่ว่าต่างก็เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่า การเลือกตั้งใช่ว่าจะเป็นสิ่งซึ่งเพียงพอโดยตัวมันเองแล้วเสมอไป
“ประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งที่นิยามจำกัดความ เพียงด้วยการจัดให้มีการเลือกตั้งเท่านั้น” เคร์รีกล่าว
“คุณสามารถที่จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย แต่คุณยังคงไม่มีการปฏิรูปต่างๆ ในทางประชาธิปไตย ซึ่งจะทำให้คุณมีประชาธิปไตยที่แท้จริง เป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ซึ่งใช้ปฏิบัติได้และแสดงบทบาทหน้าที่ได้” เขาบอก
“สิ่งที่คุณมีกันอยู่ในที่ต่างๆ จำนวนมาก คือการเลือกตั้งทั่วไป คือการเลือกตั้งที่มีประชาชนเข้าร่วม ทว่าขาดไร้การปฏิรูป หากแต่มีการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมโหฬาร, การเล่นพรรคเล่นพวกอย่างมโหฬาร และการบิดเบือนกระบวนการทางประชาธิปไตยอย่างใหญ่โต”
เคร์รีพูดถึงอียิปต์ในช่วงการปกครองของมอร์ซีว่า เป็น “การขยับออกไปจากประชาธิปไตยอย่างมากมาย” จากการที่มอร์ซีออก “กฤษฎีกา” เพิ่มอำนาจให้ตนเอง
ส่วน “ในยูเครนนั้น คุณก็มีแต่ระบบโจรครองเมืองอย่างชนิดเหลือเชื่อ กำลังดำเนินไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง, ไม่มีการให้ฝ่ายค้านมีสิทธิ์มีเสียง, ไม่มีเจตนารมณ์ที่จะฟังเสียงฝ่ายค้าน, ที่จริงแล้วกลับมีแต่การจองจำขังคุกฝ่ายค้าน นี่มันไม่ใช่ประชาธิปไตยหรอก” รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯบอก
ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกาได้อ้างถึงภาษิตในคำพิพากษาหลายครั้ง ครั้งหนึ่งในคดีระหว่างฮิกกอรีกับสหรัฐอเมริกา [HICKORY v. U S, 160 U.S. 408 (1896)] เมื่อวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 1896 (พ.ศ. 2439) ความตอนหนึ่งว่า[4]
เพราะเห็นว่าคนผิดมักหลบหนีจากคำพิพากษา บรรพบุรุษของเราจึงด่วนสรุปว่ามีแต่คนผิดเท่านั้นที่กระทำเยี่ยงนั้นได้ ตามภาษิตที่ว่า 'ผู้หลบหนีคำพิพากษาคือผู้ที่ยอมรับว่าตนผิด' ด้วยเหตุนี้ ตามกฎหมายเดิม ผู้หลบหนีจากการพิจารณาความผิดจะถูกริบราชบาตรยกครัว แม้ว่าต่อมาเขาจะได้รับการพิสูจน์ว่าไม่มีความผิดก็ตาม....ในปัจจุบัน เรามีความเห็นที่ถูกต้องมากกว่านั้น และการเลี่ยงหรือหลบหนีจากกระบวนการยุติธรรมก็ดูเหมือนว่าจะได้รับผลอันเข้าที่เข้าทางโดยการบังคับใช้กฎหมายอาญามากกว่า... |
เอเอฟพี/เอเจนซีส์ - รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ จอห์น เคร์รี กล่าวยอมรับเมื่อพุธ (26 ก.พ.) ว่า ในประเทศจำนวนมากแล้ว การเลือกตั้งอย่างเสรีไม่ใช่เป็นสิ่งที่นำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริงเสมอไป พร้อมกับยกกรณีการโค่นล้มประธานาธิบดี วิกตอร์ ยานูโควิช แห่งยูเครน และประธานาธิบดี โมฮัมเหม็ด มอร์ซี ของอียิปต์ ว่าเป็นตัวอย่างของ “พลังประชาชน” ซึ่งล้มล้างผู้นำประเทศที่มาจากการเลือกตั้งในระยะเวลาหลังๆ มานี้
เคร์รีพูดเรื่องการเลือกตั้งเสรีกับประชาธิปไตยอันแท้จริงนี้ ในขณะสนทนากับกลุ่มผู้สื่อข่าวกลุ่มเล็กๆ ที่กรุงวอชิงตัน โดยที่เขาบอกว่า การประท้วงแรมเดือนที่เกิดขึ้นในยูเครน ซึ่งนำไปสู่การขับไล่ประธานาธิบดี วิกตอร์ ยานูโควิช เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งของ “พลังประชาชน” ในช่วงไม่กี่เดือนหลังมานี้
การประท้วงของประชาชนเหล่านี้ คือ “สิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงกระแสความปรารถนาอันเหลือเชื่อ (ของประชาชน) ซึ่งเรียกร้องต้องการความทันสมัย, เรียกร้องต้องการการเปลี่ยนแปลง, เรียกร้องต้องการที่จะมีทางเลือกหลายๆ ทาง, เรียกร้องต้องการให้ส่งมอบอำนาจให้แก่ปัจเจกบุคคลแต่ละคน มันเป็นสิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวไปในทั่วโลกเวลานี้ โดยที่หลายๆ กรณีทีเดียว มันกำลังเคลื่อนไหวด้วยความรวดเร็วอย่างมากมายกว่าที่คณะผู้นำทางการเมืองจะตระหนักรับรู้หรือที่จะสามารถตอบสนอง” รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯระบุ
เขาบอกว่า การขับไล่ยานูโควิชในยูเครน ก็เหมือนๆ กับที่เมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว มีการโค่นล้มมอร์ซี ประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกของอียิปต์ ในแง่ที่ว่าต่างก็เป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่า การเลือกตั้งใช่ว่าจะเป็นสิ่งซึ่งเพียงพอโดยตัวมันเองแล้วเสมอไป
“ประชาธิปไตยไม่ใช่สิ่งที่นิยามจำกัดความ เพียงด้วยการจัดให้มีการเลือกตั้งเท่านั้น” เคร์รีกล่าว
“คุณสามารถที่จะมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย แต่คุณยังคงไม่มีการปฏิรูปต่างๆ ในทางประชาธิปไตย ซึ่งจะทำให้คุณมีประชาธิปไตยที่แท้จริง เป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่ซึ่งใช้ปฏิบัติได้และแสดงบทบาทหน้าที่ได้” เขาบอก
“สิ่งที่คุณมีกันอยู่ในที่ต่างๆ จำนวนมาก คือการเลือกตั้งทั่วไป คือการเลือกตั้งที่มีประชาชนเข้าร่วม ทว่าขาดไร้การปฏิรูป หากแต่มีการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างมโหฬาร, การเล่นพรรคเล่นพวกอย่างมโหฬาร และการบิดเบือนกระบวนการทางประชาธิปไตยอย่างใหญ่โต”
เคร์รีพูดถึงอียิปต์ในช่วงการปกครองของมอร์ซีว่า เป็น “การขยับออกไปจากประชาธิปไตยอย่างมากมาย” จากการที่มอร์ซีออก “กฤษฎีกา” เพิ่มอำนาจให้ตนเอง
ส่วน “ในยูเครนนั้น คุณก็มีแต่ระบบโจรครองเมืองอย่างชนิดเหลือเชื่อ กำลังดำเนินไปเรื่อยๆ โดยไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง, ไม่มีการให้ฝ่ายค้านมีสิทธิ์มีเสียง, ไม่มีเจตนารมณ์ที่จะฟังเสียงฝ่ายค้าน, ที่จริงแล้วกลับมีแต่การจองจำขังคุกฝ่ายค้าน นี่มันไม่ใช่ประชาธิปไตยหรอก” รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯบอก