เปิดบัญชีค่าใช้จ่าย "ศรส." เสิร์ฟอาหารจากโรงแรมหรู เมนูวีไอพีวันละ5แสน
ค่าใช้จ่าย'ศรส.'เมนูวีไอพีเสิร์ฟวันละ5แสน!
ชำแหละบัญชีค่าใช้จ่าย'ศรส.' เมนูวีไอพีเสิร์ฟวันละ5แสน! : ทีมข่าวความมั่นคง
ยิ่งการชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ปักหลักชุมนุมนานวันขึ้นเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการดูแลความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทั้งเบี้ยเลี้ยงของเจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงาน รวมทั้งค่าอาหารภายในศูนย์รักษาความสงบ (ศรส.)
ทีมข่าว "คม ชัด ลึก" ได้สำรวจ และรวบรวมค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมนับตั้งแต่กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) เริ่มชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2556 ตามมาด้วยเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) กระทั่งมีเวทีที่สถานีรถไฟสามเสนของพรรคประชาธิปัตย์ และมารวมตัวกันจนกลายเป็น กปปส. ในปัจจุบัน
จากการสำรวจงบประมาณที่เบิกจ่ายมาใช้เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่กำลังพลตั้งแต่ที่มีการออกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ความมั่นคง) เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 ในพื้นที่ 3 เขต คือ พระนคร ดุสิต และป้อมปราบฯ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9-18 ตุลาคม 2556
ในครั้งนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.ศอ.รส.) ใช้กำลังพลประมาณ 30 กองร้อย และใช้กำลังสนับสนุนอีก 50 กองร้อย โดยเสียค่าเบี้ยงเลี้ยงให้แก่กำลังพลวันละ 700 บาท ซึ่งค่าเบี้ยเลี้ยงที่ได้รับจะสูงกว่าในยามปกติเกือบ 3 เท่าตัว
ค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรก 400 บาท จะเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงโดยตรงของกำลังพล และส่วนที่สอง 300 บาท จะถูกหักเป็นค่าอาหาร 3 มื้อ
หากคิดค่าใช้จ่ายในการนำกำลังตำรวจออกมาปฏิบัติการ (กำลังหลัก 30 กองร้อย + กำลังเสริมอีก 50 กองร้อย รวมทั้งสิ้นประมาณ 12,000 นาย คูณด้วยเบี้ยเลี้ยงวันละ 700 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-18 ตุลาคม 2556 รวม 10 วัน
เท่ากับว่า รัฐบาลต้องใช้จ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 8.4 ล้านบาท คิดรวม 10 วัน รัฐบาลจะเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 84 ล้านบาทในช่วงการออก พ.ร.บ.ความมั่นคง 10 วันแรก
ต่อมา ผู้ชุมนุมได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการย้ายไปปักหลักที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และดาวกระจายไปยังจุดยุทธศาสตร์สำคัญทั่วกทม. และปริมณฑล รัฐบาลจึงขยายพื้นที่ พ.ร.บ.ความมั่นคง ครอบคลุมทั้งกรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี จ.สมุทรปราการ (เฉพาะ อ.บางพลี) และ จ.ปทุมธานี (เฉพาะ อ.ลาดหลุมแก้ว) ส่งผลให้ต้องระดมกำลังตำรวจเข้ามาอีก
จากจำนวนหลักหมื่นต้นๆ กำลังตำรวจจึงต้องระดมมาเพิ่มเป็น 4-6 หมื่นนาย แต่กำลังก็ยังไม่เพียงพอจนต้องร้องขอกำลังทหารมาสนับสนุนภารกิจอีกไม่ต่ำกว่า 6,000 นาย โดยมีอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 700 บาท เช่นเดิม จึงน่าสนใจว่า ขณะนี้งบประมาณในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศถูกใช้ไปแล้วเท่าใดกันแน่ ซึ่งตัวเลขตรงนี้รัฐบาลมีหน้าที่ต้องเปิดเผยต่อสภาในภายหลัง
นอกจากนี้ ในวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ รัฐบาลก็ได้ระดมกำลังตำรวจทั่วประเทศกว่า 2 แสนนาย เพื่อใช้ดูแลการเลือกตั้ง เท่ากับว่า เฉพาะวันเลือกตั้งวันเดียว รัฐบาลใช้งบประมาณไปไม่น้อยกว่าวันละ 140 ล้านบาท เพื่อทำให้การเลือกตั้งผ่านพ้นไปได้ตามความต้องการของรัฐบาล โดยเบื้องต้นได้มีการคงกำลังไว้ 2-3 วันเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินด้วย
ขณะที่งบประมาณในการจัดกำลังอารักขา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในระหว่างที่ปฏิบัติภารกิจภายในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนแจ้งวัฒนะ ก็ถือว่า ไม่น้อยเช่นกัน โดยมีรายงานว่า มีการจัดกำลังทั้งตำรวจ และทหารเข้าไปดูแลในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1,000 นาย
ที่สำคัญ การที่คณะรัฐบาลรักษาการ และทีมงานฝ่ายความมั่นคงใช้พื้นที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น "วอร์รูม" ติดตามความเคลื่อนไหวในการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มกปปส. ก็ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเข้ามา โดยเฉพาะ "ค่าอาหาร" ที่ถูกสั่งตรงมาจาก "โรงแรมหรู" ระดับห้าดาว เพื่อจัดเลี้ยงให้แก่คณะรัฐมนตรี และคณะทำงานงานของ ศรส. ทั้งหมด
มีรายงานว่า เฉพาะค่าอาหารที่จัดเลี้ยงภายใน ศรส. ใช้งบประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 1-2 แสนบาท และบางวันมีราคาสูงเกือบ 5 แสนบาท ตามเมนูอาหารที่เป็นที่ต้องการของบุคคลระดับวีไอพีในรัฐบาล
ขณะที่แหล่งข่าวในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเผยว่า ค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลรักษาการใช้ในแต่ละวันได้มีการเบิกจ่ายเงินของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นค่าใช้จ่ายไปก่อน โดยค่าใช้จ่ายแต่ละสัปดาห์ก็หลายแสนบาท ทั้งนี้ ในตอนแรกรัฐบาลจะเบิกจ่ายจากสำนักงบประมาณเพื่อมาเป็นค่าใช้จ่าย แต่เนื่องจากติดมาตรา 181 ของรัฐธรรมนูญ จึงไม่สามารถนำงบดังกล่าวมาใช้ได้
เท่ากับว่า งบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมต้องถูกใช้เป็นค่าใช้จ่ายของ ศรส. ไปเรื่อยๆ จนกว่าการชุมนุมจะยุติ
หรือจนกว่ารัฐบาลรักษาการจะสิ้นสภาพไปเองทีมข่าว "คม ชัด ลึก" ได้สำรวจ และรวบรวมค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมนับตั้งแต่กลุ่มกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.) เริ่มชุมนุมต่อต้านรัฐบาลเมื่อต้นเดือนตุลาคม 2556 ตามมาด้วยเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) กระทั่งมีเวทีที่สถานีรถไฟสามเสนของพรรคประชาธิปัตย์ และมารวมตัวกันจนกลายเป็น กปปส. ในปัจจุบัน
จากการสำรวจงบประมาณที่เบิกจ่ายมาใช้เป็นค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่กำลังพลตั้งแต่ที่มีการออกพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 (พ.ร.บ.ความมั่นคง) เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2556 ในพื้นที่ 3 เขต คือ พระนคร ดุสิต และป้อมปราบฯ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9-18 ตุลาคม 2556
ในครั้งนั้น พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบเรียบร้อย (ผอ.ศอ.รส.) ใช้กำลังพลประมาณ 30 กองร้อย และใช้กำลังสนับสนุนอีก 50 กองร้อย โดยเสียค่าเบี้ยงเลี้ยงให้แก่กำลังพลวันละ 700 บาท ซึ่งค่าเบี้ยเลี้ยงที่ได้รับจะสูงกว่าในยามปกติเกือบ 3 เท่าตัว
ค่าเบี้ยเลี้ยงดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนแรก 400 บาท จะเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงโดยตรงของกำลังพล และส่วนที่สอง 300 บาท จะถูกหักเป็นค่าอาหาร 3 มื้อ
หากคิดค่าใช้จ่ายในการนำกำลังตำรวจออกมาปฏิบัติการ (กำลังหลัก 30 กองร้อย + กำลังเสริมอีก 50 กองร้อย รวมทั้งสิ้นประมาณ 12,000 นาย คูณด้วยเบี้ยเลี้ยงวันละ 700 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-18 ตุลาคม 2556 รวม 10 วัน
เท่ากับว่า รัฐบาลต้องใช้จ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 8.4 ล้านบาท คิดรวม 10 วัน รัฐบาลจะเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 84 ล้านบาทในช่วงการออก พ.ร.บ.ความมั่นคง 10 วันแรก
ต่อมา ผู้ชุมนุมได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการย้ายไปปักหลักที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และดาวกระจายไปยังจุดยุทธศาสตร์สำคัญทั่วกทม. และปริมณฑล รัฐบาลจึงขยายพื้นที่ พ.ร.บ.ความมั่นคง ครอบคลุมทั้งกรุงเทพมหานคร จ.นนทบุรี จ.สมุทรปราการ (เฉพาะ อ.บางพลี) และ จ.ปทุมธานี (เฉพาะ อ.ลาดหลุมแก้ว) ส่งผลให้ต้องระดมกำลังตำรวจเข้ามาอีก
จากจำนวนหลักหมื่นต้นๆ กำลังตำรวจจึงต้องระดมมาเพิ่มเป็น 4-6 หมื่นนาย แต่กำลังก็ยังไม่เพียงพอจนต้องร้องขอกำลังทหารมาสนับสนุนภารกิจอีกไม่ต่ำกว่า 6,000 นาย โดยมีอัตราค่าเบี้ยเลี้ยงวันละ 700 บาท เช่นเดิม จึงน่าสนใจว่า ขณะนี้งบประมาณในการรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศถูกใช้ไปแล้วเท่าใดกันแน่ ซึ่งตัวเลขตรงนี้รัฐบาลมีหน้าที่ต้องเปิดเผยต่อสภาในภายหลัง
นอกจากนี้ ในวันเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ รัฐบาลก็ได้ระดมกำลังตำรวจทั่วประเทศกว่า 2 แสนนาย เพื่อใช้ดูแลการเลือกตั้ง เท่ากับว่า เฉพาะวันเลือกตั้งวันเดียว รัฐบาลใช้งบประมาณไปไม่น้อยกว่าวันละ 140 ล้านบาท เพื่อทำให้การเลือกตั้งผ่านพ้นไปได้ตามความต้องการของรัฐบาล โดยเบื้องต้นได้มีการคงกำลังไว้ 2-3 วันเพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินด้วย
ขณะที่งบประมาณในการจัดกำลังอารักขา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในระหว่างที่ปฏิบัติภารกิจภายในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถนนแจ้งวัฒนะ ก็ถือว่า ไม่น้อยเช่นกัน โดยมีรายงานว่า มีการจัดกำลังทั้งตำรวจ และทหารเข้าไปดูแลในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1,000 นาย
ที่สำคัญ การที่คณะรัฐบาลรักษาการ และทีมงานฝ่ายความมั่นคงใช้พื้นที่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม เป็น "วอร์รูม" ติดตามความเคลื่อนไหวในการชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มกปปส. ก็ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมเข้ามา โดยเฉพาะ "ค่าอาหาร" ที่ถูกสั่งตรงมาจาก "โรงแรมหรู" ระดับห้าดาว เพื่อจัดเลี้ยงให้แก่คณะรัฐมนตรี และคณะทำงานงานของ ศรส. ทั้งหมด
มีรายงานว่า เฉพาะค่าอาหารที่จัดเลี้ยงภายใน ศรส. ใช้งบประมาณวันละไม่ต่ำกว่า 1-2 แสนบาท และบางวันมีราคาสูงเกือบ 5 แสนบาท ตามเมนูอาหารที่เป็นที่ต้องการของบุคคลระดับวีไอพีในรัฐบาล
ขณะที่แหล่งข่าวในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเผยว่า ค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลรักษาการใช้ในแต่ละวันได้มีการเบิกจ่ายเงินของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมเป็นค่าใช้จ่ายไปก่อน โดยค่าใช้จ่ายแต่ละสัปดาห์ก็หลายแสนบาท ทั้งนี้ ในตอนแรกรัฐบาลจะเบิกจ่ายจากสำนักงบประมาณเพื่อมาเป็นค่าใช้จ่าย แต่เนื่องจากติดมาตรา 181 ของรัฐธรรมนูญ จึงไม่สามารถนำงบดังกล่าวมาใช้ได้