GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL

GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL
LONG LIVE THE KING BHUMIBHOL

วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

ก้าวข้าม “ตุ๊กตายางทางการเมือง” กันเถอะ!!

         “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”เป็นนักการเมืองหญิงที่“แพศยาทางประชาธิปไตย”  เธอคึกคะนองต่อการใช้ “มารยาสาไถย” ย่ำยีสังคม  แทบทุกวันที่เธอหยามเหยียดหลักการอันถูกต้องของบ้านเมือง สมคบกับสื่อสุนัขรับใช้ที่ยืนน้ำลายไหลอยู่รายรอบตัว คาบ “วาทกรรม”ที่ไร้เหตุไร้ผลมาปั่นหัวคนที่รักและเกลียดเธอให้ลุกขึ้นตบตีกันเอง ในขณะที่เธอกอดอำนาจเอาไว้แน่น โดยไม่สนใจว่า ตนเองทำระยำตำบอนอะไรเอาไว้ และสังคมเรียกร้องให้เธอ“รับผิดชอบการกระทำอันเลวทราม” ในทางการเมืองของเธอมากเพียงใด

                อีกด้าน เธอเหมือน“ตุ๊กตายางทางการเมือง”ที่พี่ชายและบริวารใช้บำบัดกำหนัดทางอุดมการณ์อันผิดเพี้ยนของตัวเอง แต่ก็มีข้อดีอยู่บ้างเหมือนกัน ข้อดีที่สุดของยิ่งลักษณ์ก็คือ เธอเป็น“ขีดสุดแห่งความชั่วช้า”ของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง  ที่ทำให้ประชาชน“สุดทน” จนต้องออกมาแสดงตนขับไล่ เรียกร้องความรับผิดชอบ แต่ก็“ไม่มีสัญญาณตอบรับจากนายกฯ ชั่วที่ท่านเรียกร้อง”
                บริหารจัดการน้ำท่วม จนเกิดความเสียหาย (หรือจะเรียกว่าฉิบหายก็ได้) ที่ไม่ควรจะเสียหาย ถามว่า เธอรับผิดชอบเหมือนนักการเมืองในสังคมประชาธิปไตยที่ได้มาตรฐานไหม  ตอบว่า “ไม่”
                บริหารโครงการรับจำนำข้าว จนพินาศฉิบหายในทุกๆ ด้าน ปกปิดข้อมูลการดำเนินการ ปิดกั้นการตรวจสอบ ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริต ชักดาบเงินค่าข้าวชาวนา ไม่มาพบหน้า แต่ไปออกโทรทัศน์ แล้วบอกว่า โครงการนี้ดี ประสบความสำเร็จ บรรลุผล  ถามว่าเธอละอายใจ และแสดงความรับผิดชอบใดๆ ไหม ตอบว่า “ไม่”
                ปล่อยนักศึกษารามคำแหงถูกปิดล้อมมหาวิทยาลัยแล้วไล่ฆ่า เธอเคยเสียน้ำตาสักหยดไหม และรีบเร่งบัญชาการให้นำตัวคนทำมาลงโทษโดยด่วนหรือไม่ ตั้งกรรมการสอบจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ กับจาตุรนต์ ฉายแสงที่ไปร่วมขึ้นเวทีกับ นปช.แล้วปล่อยให้“ตั้ง อาชีวะ” จาบจ้วงพระเจ้าอยู่หัวหรือไม่ และจากเวที นปช.นี้เอง ที่เป็น“เชื้อไฟ”ให้เกิดความรุนแรงในมหาวิทยาลัยรามคำแหงใช่หรือเปล่า
                ออกพ.ร.บ.นิรโทษกรรมผิดหลักทุกหลักของสังคมมนุษย์ เธอลาออกไหม รับผิดชอบอะไรไหม
                ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน กับประชาชนที่มาใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ แล้วปล่อยให้ประชาชนเหล่านั้น ถูกยิง ถูกระเบิด โดยไม่ให้ความคุ้มครอง แถมทำตนเป็นปฏิปักษ์กับประชาชน ปล่อยบริวารข่มขู่ประชาชนอยู่ตลอดเวลา
                เกินจะพรรณนา “ความเลวในทางการเมือง” ของเธอได้ครบถ้วนในพื้นที่อันจำกัดนี้
                ผมเชื่อว่า คนส่วนใหญ่ในแผ่นดินไทย ประจักษ์ชัด ทั้งตาและใจว่า “หญิงแพศยาทางประชาธิปไตย” คนนี้ เลวทรามปานใด  สิ่งที่สำคัญกว่าการก่นด่าและเรียกหาความรับผิดชอบที่ดูเหมือนบิดามารดามิเคยมอบให้แก่เธอมาก่อน  คือการใช้ “กฎหมาย” จัดการกับการกระทำผิดของเธอ และอีกด้านหนึ่ง  ปวงชนชาวไทยควรพร้อมใจกัน “ออกแบบประเทศไทย” แล้วเดินหน้าทำให้เป็นจริงจะดีที่สุด
                สถาบันออกแบบอนาคตประเทศไทย(FIT) เผยแพร่แนวทางปฏิรูปประเทศไทยที่เป็นข้อเสนออย่างกว้างของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ น่าสนใจอยู่ไม่น้อย เขาเสนอการปฏิรูปในกรอบกว้างไว้ดังนี้ครับ
                1) ปฏิรูปการเมือง
                หลักการสำคัญข้อแรกของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คือ อำนาจทางการเมืองที่ได้มาจากประชาชนต้องมีขอบเขตจำกัด โดยกฎหมาย ตามกฎกติกาและค่านิยม ธรรมเนียมปฏิบัติอันทรงคุณค่าของสังคมและต้องตระหนักว่า“เสียงข้างมาก”ไม่ใช่“ประทานบัตร” หรือใบอนุญาต ที่ให้อำนาจผู้ถือสิทธิ์จัดการกับประเทศตามอำเภอใจ ไม่มีขอบเขต ไม่คำนึงถึงความถูกต้อง หลักนิติธรรม ค่านิยมของสังคมใดๆ ทั้งสิ้น
                สร้างเสริมกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจฝ่ายต่างๆที่อาจจะเหลื่อมล้ำเกินเลยขอบเขตของกรอบกฎหมาย ละเมิดสิทธิฝ่ายอื่น เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือพวกพ้องครอบครัว และกำหนดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างรัดกุมและมีประสิทธิภาพ กลไกดังกล่าวต้องได้รับการปกป้องคุ้มครองไม่ให้มีการอ้างสิทธิจากเสียงข้างมาก เข้ามาก้าวก่าย จนเสียความเป็นกลาง ขาดอิสระ และไร้ประสิทธิภาพ
                2) ปฏิรูประบบตรวจสอบอันเข้มข้นจากภาคประชาชน เพื่อต่อต้านคอรัปชั่น การฉ้อราษฎร์บังหลวง
                ในระยะเวลาที่ผ่านมา การบริหารจัดการโอกาสและทรัพย์สมบัติของแผ่นดิน ทั้งในรูปของงบประมาณแผ่นดิน ทรัพยากรธรรมชาติ กิจการรัฐวิสาหกิจ ได้ถูกครอบงำ ตักตวงผลประโยชน์ทุกรูปแบบ จนทำให้ผลประโยชน์สูงสุดไม่ตกเป็นของประเทศชาติและประชาชน ถ้าคิดเป็นมูลค่าเป็นตัวเงินเกิดการรั่วไหลกว่า 300,000 ล้านบาทต่อปี
                นอกจากนั้น ทรัพย์สินของรัฐ สมบัติของแผ่นดินต้องได้รับการปกป้อง แยกส่วนชัดเจนจัดการ จากทรัพย์สินส่วนตัว ไม่ปะปนสับสนเป็นกงสีของตระกูล เครือญาติ และพรรคพวก มาตรการต่างๆ ที่ควรจะพิจารณาจัดตั้ง คือ
                มีองค์กรตรวจสอบภาคประชาชน ให้ภาคประชาชนมีสิทธิ์ตรวจสอบและฟ้องร้องดำเนินคดีได้,กำหนดให้มีบทลงโทษที่ชัดเจน มีกระบวนการกฎหมายให้มีการปฏิบัติอย่างรัดกุม ในการที่หน่วยงานรัฐไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารต่อสาธารณะตาม พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสาร และคดีคอรัปชั่นไม่มีหมดอายุความ
                3) ปฏิรูประบบราชการและกระจายอำนาจ
                ระบบราชการต้องปลอดจากการเมือง ข้าราชการมีศักดิ์ศรี เป็นอิสระ มีสิทธิ์ในการบริหารจัดการกิจการภายในองค์กรของตนเองตามกรอบและกฎเกณฑ์โดยกฎหมายเฉพาะสำหรับแต่ละหน่วยงานที่ชัดเจน เพื่อมิให้เป็นกลไกเพื่อเพิ่มพูนแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของครอบครัว และพวกพ้อง เหมือนที่เป็นอยู่ตั้งแต่ในอดีตและรุนแรงยิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน
                กลไกการปกครองของรัฐต้องมีการกระจายโอกาสให้ประชาชนและภาคประชาสังคม มีส่วนร่วมกำหนดนโยบายของชุมชนและองค์กรปกครองท้องถิ่น ตลอดจนการใช้และเข้าถึงซึ่งทรัพยากรในท้องถิ่นของตน โดยคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อคุณภาพชีวิตของประชากรของประเทศร่วมกัน
                ถึงเวลาหรือยัง ที่จะมีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด, ยกเลิกการปกครองส่วนภูมิภาค กระจายอำนาจราชการสู่ท้องถิ่น กำหนดให้หน่วยงานภายใต้สังกัดมหาดไทย การศึกษา การเกษตร  การพาณิชย์ การส่งเสริมการลงทุน ฯลฯ ไปอยู่ภายใต้อำนาจท้องถิ่น,งบประมาณของแผ่นดินไม่น้อยกว่า 35% ให้อยู่ในการดูแลของรัฐบาลท้องถิ่นในทุกระดับ, กำหนดการกระจายอำนาจให้เป็นวาระแห่งชาติที่ทุกรัฐบาลต้องดำเนินการ
                ตำรวจสังกัดท้องถิ่น อยู่ภายใต้ผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้ง, ปฏิรูประบบราชการ ข้าราชการทำงานเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ตอบโจทย์สังคมที่เปลี่ยนไป,ขจัดการการแทรกแซงของภาคการเมือง และระบบอุปถัมภ์, มีการจัดตั้งสภาประชาชนในทุกจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบหน่วยงานท้องถิ่น และเป็นภาคีกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านคอรัปชั่น เพื่อผูกพันประเทศไทยต้องมีระบบการตรวจสอบ ป้องกันที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมากยิ่งขึ้น เช่น อนุสัญญา ต่อต้านคอรัปชั่นของOECD ปี 2011 และ ข้อตกลง ASEAN Supreme Audit Institutions Assembly
                4) ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้และโอกาส  ให้คนไทยหลุดพ้นจากความยากจน บนพื้นฐานเศรษฐกิจที่ยั่งยืน พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศแบบทั่วถึง และเป็นธรรม มีเป้าหมายขจัดความเหลื่อมล้ำที่ชัดเจน มีดัชนีบอกวัดความเหลื่อมล้ำที่แม่นยำ ไม่ให้เกิดสภาพการ “รวยกระจุก จนกระจาย” อีกต่อไป
                ต้องสร้างโอกาสการเข้าถึงแหล่งทุนระยะยาว, แก้ปัญหาการถือครองที่ดิน ให้มีที่ดินทำกินอย่างทั่วถึง ควบคู่ไปกับการจัดการกับที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์, ปรับโครงสร้างกระบวนการผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูป การตลาด และการขนส่ง สำหรับภาคเกษตร ตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรอินทรีย์ และเกษตรผสมผสาน และลงทุนระบบชลประทาน ทุกชุมชนต้องเข้าถึงแหล่งน้ำได้
                5) ปฏิรูปการศึกษาเพื่อให้ทุกคนมีโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน
                ให้โอกาสทางการศึกษา พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างทั่วถึงเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เคารพและให้เกียรติต่อกัน มีความปรองดองในหมู่ประชากรที่มีความหลากหลาย ด้วยความเสมอภาค ปราศจากการแบ่งแยก เลือกปฏิบัติ กีดกัน รังเกียจเดียดฉันท์ เนื่องด้วยความแตกต่างทางสังคม วัฒนธรรม ศาสนา ตลอดจนความเห็นทางการเมืองที่ต่างกัน
                ต้องสร้างโอกาสที่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงการศึกษา เด็กยากจนต้องได้เข้าเรียนทุกคน ไม่มีใครตกหล่นจากระบบการศึกษา (No child left behind) เพื่อให้มีอัตราการเข้าศึกษา 100% จาก อนุบาล 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6, มีการจัดการอบรมสำหรับครู รวมทั้งปรับปรุงหลักสูตรการเรียนให้มีมาตรฐาน น่าสนใจต่อผู้เรียน และมีการวัดผลโรงเรียน ครู และกระบวนการสอน อย่างโปร่งใส รัดกุม ได้มาตรฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญและกระบวนการที่ตรวจสอบได้ โดยใช้ประสิทธิผลของนักเรียนเป็นดัชนีชี้วัด
                6) ปฏิรูประบบสวัสดิการเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างทั่วถึง โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) และความมั่นคงมนุษย์ (Human Security)  จัดเก็บภาษีอย่างทั่วถึงเป็นธรรม มุ่งเป็น สังคมสวัสดิการ ให้ทุกชีวิตดำรงอยู่อย่างเสมอภาค มีความมั่นคงบนพื้นฐานแห่งศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกัน– ทั้งชีวิตเราดูแล “จากครรภ์มารดาสู่เชิงตะกอน”  คือ ต้องการดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ช่วงก่อนเข้าเรียน และในช่วงวัยเรียน ตลอดจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมีการขยายระบบประกันสังคมและบำนาญที่มีประสิทธิภาพ เหมาะสมและเป็นธรรม อย่างทั่วถึง
                7) เศรษฐกิจที่มีการแข่งขันอย่างโปร่งใส เป็นธรรม เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคต้องบังคับใช้กฎหมายการแข่งขันทางการค้าอย่างจริงจัง และจัดตั้งองค์การคุ้มครองผู้บริโภคที่มีตัวแทนของภาคประชาชน และเป็นองค์กรที่เป็นอิสระนอกเหนือจากระบบราชการ
                8) ปฏิรูปสื่อสารมวลชน
                สิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนเป็นหลักการพื้นฐานที่สำคัญของระบอบประชาธิปไตย ประชาชนต้องมีข้อมูลสำหรับการตัดสินใจ มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีประสิทธิภาพ การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยสันติ มีสิทธิ์ในการได้รับและเข้าถึงข้อมูลและข่าวสารของรัฐ จะต้องมีการคุ้มครอง ปกป้องอย่างจริงจัง ปราศจากการแทรกแซงโดยอำนาจรัฐ และอิทธิพลทางการเมือง ต้องไม่ถูกใช้เป็นเครื่องมือ  สื่อมวลชนทุกแขนงต้องนำเสนอข่าวที่เท่าเทียมกันระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้าน และ ภาคประชาชน  พร้อมทั้งกำหนดมาตรฐานจริยธรรมของสื่อ มีองค์กรวิชาชีพเป็นเครื่องมือในการควบคุมจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อสารมวลชน
                9) ปฏิรูประบบยุติธรรม
                สิทธิการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างทั่วถึง มีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าทียม ไม่ใช้กระบวนยุติธรรมเพื่อเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมือง และผู้ที่ด้อยโอกาสในสังคม ไม่มีสองมาตรฐาน  ต้องพิจารณาคดีในรูปแบบคณะอัยการ สำหรับคดีสำคัญ คดีที่มีความเกี่ยวกับสังคมส่วนรวม ไม่รวบอำนาจไว้ที่อัยการสูงสุด, มีตัวแทนภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในระบบอัยการ เช่น อยู่ใน คณะกรรมการอัยการที่แต่งตั้งอัยการ หรือคัดเลือกองค์คณะอัยการในคดีที่สำคัญของแต่ท้องที่ เช่นคดีการเมืองในจังหวัด คดีการเมือง คดีผู้มีอิทธิพล และป้องกันการล้มคดี ในระดับตำรวจในคดีสำคัญให้อัยการร่วมในการสืบสวน หาพยานและหลักฐานด้วย
                กรอบคิดเหล่านี้ เป็น “ตุ๊กตา” ให้ติติงและคิดต่อ ซึ่งมีคุณค่ากว่า “ตุ๊กตายางทางการเมืองตัวนั้น”
                มาช่วยกันคิดให้สนุก และลงลึกถึงวิธีการที่เป็นไปได้ด้วยกันเถอะครับ  เลยเวลามองหา “วีรบุรุษ-วีรสตรี” เป็นเวลาที่คนไทยทุกคนต้องตระหนักในอำนาจของประชาชน แล้วออกแบบ “ระบบ” มาคุ้มครองบ้านเมือง  อย่าเอาอนาคตไปแขวนไว้กับ “ใครบางคน” อยู่อย่างเดียว เพราะคน มีทั้งชั่วและดีที่แกว่งไกวไปตามอำนาจและประโยชน์ได้ง่าย
                มาช่วยกันสร้างรั้วบ้านที่มั่นคง ป้องกัน “เหี้ย” โผล่จากน้ำมาคาบไก่ไปกินฟรีๆ กันเสียทีนะครับ  และหากมันหลุดรอดรั้วออกมาได้ ก็มีระบบอีกมากมายในบริเวณบ้านที่จะจัดการกับมัน!! 


MANA PRADITKET

MANA PRADITKET
Handpainted oil painting by Mana Praditket

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
Original handpainted oil painting by Niran Paijit

PRAYAD TIPPAWAN

PRAYAD TIPPAWAN
ORIGINAL IMPRESSIONAL OIL PAINTING BY PRAYAD TIPPAWAN

Achara 34 (24x36)

Achara 34 (24x36)
ORIGINALl OIL PAINTING

Amornsak Livisit 74 (24x36)

Amornsak Livisit 74 (24x36)
ORIGINAL OIL PAINTING, Impressionist style

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)
Original handpainted oil painting abstract style

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
ORIGINAL ABSTRACT STYLE OIL PAINTING BY NIRAN PAIJIT

Chavalit (Pong)

Chavalit (Pong)
PINTO Horses

Komez 78 (22x30)

Komez 78 (22x30)
Original handpainted pastel painting on paper

KOMES

KOMES
Handpainted pastel painting by Komez

PRATHOUN

PRATHOUN
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY PRATHOUN

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
ORIGINAL OIL PAINTING BY THAVORN IN-AKORN (SIZE 20x30")

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
Original oil painting by Thavorn In-akorn

Facebook


ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING

PHOTO GALLERY

PHOTO GALLERY

Facebook

PHOTO GALLERY