GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL

GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL
LONG LIVE THE KING BHUMIBHOL

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557

ผลจากการปล้นประเทศไทย




















เรื่อง “นายกฯ คนกลาง” ยังคงเป็นข่าวร้อนในสังคมไทย โดยเฉพาะหลังจากบรรดาผู้นำ 6 องค์กร ตามรัฐธรรมนูญ ประกาศว่าจะแถลงข้อสรุปทางออกประเทศตามที่พวกเขาได้ไปประชุมปรึกษาหารือกันเองในวันจันทร์ที่จะถึงนี้
...
ความพยายามผลักดันให้มีนายกคนกลาง โดยข้ออ้างว่า รักษาการรัฐบาลนี้หมดความชอบธรรมไปแล้วเพราะโกงกินอย่างชั่วช้ามาตั้งแต่ยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และโดยข้ออ้างว่า เดี๋ยวนี้ใครๆ ในโลกตะวันตกก็รู้กันทั้งนั้นว่า “ประชาธิปไตยไม่ใช่แค่การเลือกตั้ง” และ “ประชาธิปไตยล้มเหลวเพราะการเลือกตั้งที่ไม่ถ่วงดุลอำนาจ”

พวกที่โง่งมงาย ไม่ยอมรู้ คงมีแต่ชาวบ้าน นักวิชาการ กับสื่อในประเทศไทยซึ่งเป็นขี้ข้าทักษิณเท่านั้น เอาแต่กอดตำราประชาธิปไตยเก่าๆ ของตะวันตก พูดซ้ำๆ ย้ำไปมาว่า ต้องยึดหลักการประชาธิปไตย ต้องมีเลือกตั้ง

บทความเมื่อเร็วๆ นี้ของ “กาแฟดำ” หรือคุณสุทธิชัย หยุ่น ผู้ได้ชื่อว่าเป็นครูคนหนึ่งในวงการสื่อมวลชนไทย ใน “กรุงเทพธุรกิจ” สัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่อง “ประชาธิปไตยล้มเหลวเพราะเลือกตั้งโดยไม่ถ่วงดุลอำนาจ” ซึ่งอ้างอิงจากบทวิเคราะห์ประชาธิปไตยความยาว 6 หน้า “What’s gone wrong with democracy” ใน The Economist เมื่อหนึ่งสัปดาห์ก่อน ก็ย้ำเป็นนัยว่านักการเมืองเลวของไทยซึ่งใช้นโยบายประชานิยมสุดขั้วและทำตัวเป็น “เผด็จการรัฐสภา” คือต้นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยไม่มี “ระบอบประชาธิปไตย” ในความหมายที่แท้จริง

หากอ่านเฉพาะบทความของคุณสุทธิชัย โดยไม่อ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ เราอาจอนุมานว่า ผู้เขียนบทวิเคราะห์ใน The Economist ยกประเทศไทยขึ้นมาเป็นตัวอย่างสำคัญของ “ประชาธิปไตยล้มเหลว” ที่ “ฝ่ายค้านและประชาชนจำนวนไม่น้อยออกมาประท้วงกลางถนน คัดค้านการเลือกตั้งภายใต้กติกาเก่าที่ผู้กุมอำนาจได้เปรียบตลอดกาล หรือเลือกตั้งแล้วก็ไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง เพราะความฉ้อฉลของผู้มีอำนาจ”

อันที่จริง ตัวอย่างสำคัญที่ผู้เขียนบทวิเคราะห์ใน The Economist นำมาอ้างนั้น เป็นเรื่ องราวที่เกิดขึ้นในรัสเซีย แอฟริกาใต้ และประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลาง เช่น อิรัก และอียิปต์

ชื่อของประเทศไทยได้รับการกล่าวถึงในบทวิเคราะห์เพียงครั้งเดียวในลักษณะ “ข้อมูลเสริม” ว่า “ในประเทศบังกลาเทศ ประเทศไทย และประเทศกัมพูชา พรรคฝ่ายค้านได้พากันคว่ำบาตรการเลือกตั้งที่เพิ่งเกิดขึ้น หรือไม่ก็ปฏิเสธที่จะยอมรับผลการเลือกตั้ง”

น่าคิดตามที่บทวิเคราะห์ใน The Economist ชี้ว่า ประชาธิปไตยที่เคยเฟื่องฟูและเป็นความหวังของโลกในคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบ ได้กลายเป็นระบอบการปกครองที่มีปัญหาในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ด ซึ่งประชาชนส่วนมากของโลกยังคงต้องการประชาธิปไตย แต่ขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการรัฐบาลฉ้อฉลที่เป็นเผด็จการรวบอำนาจ ดังนั้น เมื่อรัฐบาลจากการเลือกตั้งแสดงพฤติกรรมแบบ kleptocracy (เคลปโตเครซี/แปลตรงตัวตามรูปศัพท์ในภาษากรีกคือการปกครองโดยพวกหัวขโมย) จึงไม่แปลกที่ประชาชนจำนวนมากในประเทศนั้นๆ จะลุกฮือขึ้นขับไล่

รวมถึงในประเทศไทยของเรา

แต่เฉพาะสำหรับประเทศไทย ซึ่งบทความ The Economist ไม่ได้กล่าวถึงก็คือ มีผู้เสนอว่า ถ้าพิจารณากันอย่างไม่เข้าใครออกใครแล้ว ข้อกล่าวหา kleptocracy ที่แปะอยู่บนหน้าผากคุณทักษิณและคุณยิ่งลักษณ์นั้น ควรแปะบนหน้าผากของทุกคนในแวดวงการเมืองไทยที่กำลังทำสงครามกันอย่างเอาเป็นเอาตายด้วย ทั้งผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังและผู้แสดงตัวเบื้องหน้า อาทิ คุณสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้นำม็อบนกหวีด ซึ่งมีชื่อเป็นทางการว่าม็อบ กปปส. หรือม็อบ “คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”

เรื่องจริงที่เกิดขึ้นก็คือ ขณะคนไทยจำนวนหนึ่งบอกว่า ขออุทิศแรงกายแรงใจและเงินในธนาคารเพื่อปราบนักการเมืองชั่วหัวขโมยแล้วสร้างสรรค์การเมืองใหม่ใสสะอาด คนไทยอีกจำนวนหนึ่งก็บอกว่า ตลกมากที่จะร่วมขบวนการโจรจับโจร ยกย่องโจรคนหนึ่งเป็นวีรบุรุษ แล้วฝันเฟื่องว่าต่อไปนี้ประเทศไทยจะปราศจากคอร์รัปชั่

บทวิเคราะห์ใน The Economist ซึ่งมิได้กล่าวถึงประเทศไทยเป็นพิเศษ ชี้ว่า ประชาธิปไตยโลกเข้าสู่ยุคตกต่ำเมื่อก้าวสู่สหัสวรรษใหม่ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ด้วยเหตุผลหลายประการอาทิ วิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ในช่วงค.ศ. 2007 -2008 และการผงาดขึ้นมาของจีนในห้วงเวลาหลังจากนั้นไม่นาน ซึ่งทำให้บทบาทของพี่เบิ้มอเมริกาในฐานะเจ้าพ่อประชาธิปไตยสั่นไหวอย่างรุนแรง เกิดคำถามว่าทำไมเราต้องฟังเสียงนักวิชาการประชาธิปไตยจากโลกตะวันตกซึ่งล้วนแต่เป็นประเทศล้มเหลว

คำถามเหล่านั้นเกี่ยวเนื่องกับข้อสังเกตที่ว่า จีนไม่ได้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยตะวันตก ซึ่งมักทำให้เรื่องง่ายๆ กลายเป็นเรื่องซับซ้อน แถมยังปล่อยให้พวกนักการเมืองปากหวานชักนำประชาชนไปในทางที่ผิดจนนำไปสู่ความไร้ระเบียบ แต่เพราะจีนปกครองด้วยพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งควบคุมทุกกลไกของประเทศ มีการฝึกและเตรียมพร้อมคนรุ่นใหม่ที่คัดเลือกแล้วว่าเก่งและฉลาดเข้าสู่ตำแหน่งสำคัญ มีการเปลี่ยนผู้นำระดับสูงทุกสิบปี จีนจึงประสบความสำเร็จและเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ราคาคุยแบบนี้ของจีนอาจทำให้เราๆ ท่านๆ หลายคนคิดถึงคุณจรัสพงษ์ สุรัสวดี หรือ “ซูโม่ตู้” ผู้เคยเปรียบคนจนไร้การศึกษาว่าเป็นลิงบาบูนไร้คุณภาพ ไม่สมควรมีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งอาจจะถูก หากพิจารณาจากความเจริญก้าวหน้าของจีนเทียบกับความถดถอยของอเมริกา แต่คงเพราะผู้เขียนบทวิเคราะห์นี้ยังมีเยื่อใยกับประชาธิปไตย จึงชี้ให้เห็นในที่สุดว่า แม้เศรษฐกิจจีนจะเติบโตอย่างไร รัฐบาลจีนก็มีปัญหามากในเรื่องของการจำกัดสิทธิเสรีภาพพลเมือง

บทวิเคราะห์นี้ยังอ้างถึงประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินแห่งรัสเซีย ว่าใช้อำนาจฉ้อฉลในทุกทางเพื่อให้ได้ประโยชน์ตนรวมถึงชนะการเลือกตั้ง อ้างถึงสงครามอิรัก ซึ่งมีอเมริกาเป็นผู้ร้ายตัวฉกาจเพราะนับจากตัดสินใจส่งกองทัพบุกอิรัก ด้วยข้ออ้างว่าเพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย จนบัดนี้ก็ยังไม่มีทั้งเสรีภาพและประชาธิปไตยในอิรัก นอกจากนั้น ก็ยังอ้างถึงการปฏิวัติอียิปต์ในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งสถานการณ์ยังอึมครึมลากยาวถึงปัจจุบัน

สรุปสั้นๆ ว่าดอกไม้ประชาธิปไตยยังไม่เบ่งบานในตะวันออกกลาง เช่นเดียวกับในแอฟริกาใต้ และตุรกี และสรุปว่าแม้พวกเผด็จการจะถูกโค่นล้มลงไป แต่ฝ่ายที่ไปโค่นเขาก็ยังไม่ประสบความสำเร็จในการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยเหมือนกัน

ผู้เขียนบทวิเคราะห์บอกว่า เอาเข้าจริงๆ แล้ว การสร้างสถาบันทางประชาธิปไตยเพื่อค้ำจุนประชาธิปไตยเป็นงานที่ทำได้ช้ามาก ไม่ตรงกับแนวคิดที่เคยเชื่อกันว่าประชาธิปไตยจะเบ่งบานอย่างรวดเร็วหลังจากได้หว่านเมล็ดพันธ์ลงไปแล้ว

ผู้เขียนบทวิเคราะห์เสนอให้คิดว่า เวลานี้สถาบันทางประชาธิปไตยหลายสถาบันล้าสมัยไปแล้วในโลกใหม่ ซึ่ง “มันนี่ ทอล์ก” มีบทบาทสูงกว่าทุกอย่าง คนร่ำรวยมีอำนาจมากกว่าคนจน และในอเมริกาวันนี้ ประชาธิปไตยก็เหมือนมีไว้ขาย ซึ่งไม่ได้ต่างกันกับในยุโรป ที่แย่ก็คือบรรดานักการเมืองไม่สามารถรักษาคำมั่นสัญญาที่ได้หาเสียงไว้ แถมยังเน้นแต่นโยบายเฉพาะหน้าเอาใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ไม่สนใจการลงทุนระยะยาวซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงต่อสังคม

ในบทวิเคราะห์บอกว่าประชาธิปไตยที่ล้มเหลวเป็นเพราะให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งมากเกินไป และใส่ใจกับองค์ประกอบอื่นของประชาธิปไตยน้อยเกินไป อำนาจของรัฐจำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบ และสิทธิส่วนบุคคลเช่นเสรีภาพในการพูดและเสรีภาพในการจัดการชีวิตของตนเองต้องได้รับการคุ้มครอง

บทวิเคราะห์ชี้ภาพรวมของประชาธิปไตยที่ประสบความสำเร็จว่าจะต้องทำตามหลักการที่เราๆ ท่านๆ ทั้งหลายเข้าใจตรงกัน เช่น ไม่เปิดโอกาสให้ “เสียงส่วนใหญ่” ทำอะไรก็ได้ตามใจชอบโดยไม่คำนึงถึงเสียงส่วนน้อย สนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชั่น มีกลไกตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจรัฐ ซึ่งสำคัญเช่นเดียวกับอำนาจในการออกเสียงเลือกตั้ง พัฒนาระบบประชาธิปไตยในประเทศให้สามารถจัดการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจริงได้ เช่น จัดให้เปิดเผยรายชื่อผู้บริจาคเงินสนับสนุนพรรคต่อสาธารณะ หรือให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องแสดงใบเสร็จทุกครั้งเมื่อมีการใช้จ่าย รวมถึงควบคุมนักการเมืองให้ทำงานการเมืองบนพื้นฐานความจริง เช่นไม่สัญญาเรื่อยเปื่อยมากมายเพื่อคะแนนเสียงว่าจะทำโน่นนี่นั่น (ซึ่งทำไม่ได้) หากได้รับการเลือกตั้ง ฯลฯ เป็นต้น

ผู้เขียนบทวิเคราะห์ย้ำในตอนท้ายว่า ประชาธิปไตย คือผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ของการปะทะกันทางความคิดในศตวรรษที่ยี่สิบ ถ้าเราต้องการให้ประชาธิปไตยยังดำรงอยู่อย่างประสบความสำเร็จในศตวรรษที่ยี่สิบเอ็ดเหมือนที่เคยเป็นมาในศตวรรษก่อนหน้า เราจะต้องดูแลประชาธิปไตยตั้งแต่ยังเป็นหน่ออ่อนด้วยความมุ่งมั่นพากเพียร และเมื่อประชาธิปไตยหยั่งรากเติบโตแล้ว เราก็ต้องผดุงรักษาไว้ด้วยความใส่ใจระมัดระวัง

ทั้งหมดนี้ มิได้นำไปสู่ข้อสรุปสำหรับประเทศไทยว่า การเลือกตั้งมิใช่องค์ประกอบเดียวของประชาธิปไตย ดังนั้น อภิสิทธิชนกลุ่มหนึ่งซึ่งตั้งตัวเป็นคนดีเสียงดังของประเทศจึงสมควร “แต่งตั้ง” คนดีพวกฉันมาบริหารบ้านเมืองได้

หนึ่งในหลักการพื้นฐานของประชาธิปไตย ซึ่งมิได้อ้างถึงในบทความอาจเพราะมันพื้นฐานมากก็คือ แม้การเลือกตั้งจะไม่ใช่องค์ประกอบเดียวของประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งก็เป็นองค์ประกอบจำเป็นขั้นต่ำ (minimum requirement) ที่ขาดไม่ได้ เช่นเดียวกับค่าจ้างขั้นต่ำในการทำงาน

รากปัญหาประชาธิปไตยในสังคมไทยที่จำเป็นต้องปฏิรูปหลังการเลือกตั้ง มีมากกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและครอบครัวชินวัตร ซึ่งถูกแปะป้ายเป็นผู้ร้ายถาวร ไม่มีใครอื่นอีกเป็นผู้ร้าย และไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยพฤติกรรมซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตย เช่นหักหาญน้ำใจคนออกไปเลือกตั้งด้วยการใช้กฎหมู่และอำนาจนอกระบบไล่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพื่อแต่งตั้งคนกลางฝ่ายตนมาบริหารบ้านเมืองแทน 






มีการพูดถึงสถานะของ "รัฐบาลรักษาการณ์" (Caretaker Government) ปัจจุบันว่าสิ้นสภาพไปผ่านการอ้างอิงตาม ม.๑๒๗ ของรัฐธรรมนูญ ผมขออนุญาตอธิบายเรื่องนี้นะครับว่าการจะอ่านและพิจารณาตีความรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องอยู่บน "หลักเอกภาพของรัฐธรรมนูญ" (Unity of the Constitution) ที่ว่าด้วยเรื่องกลไกของ...ระบบรัฐธรรมนูญที่มีความเชื่อมโยงกันอยู่ โดยการอ่านและตีความต้องอ้างอิงจากถ้อยคำของรัฐธรรมนูญ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญประกอบกันไปทั้งหมด ดังนั้น การพิจารณาเรื่องรัฐบาลรักษาการณ์ต้องพิจารณาเป็นระบบตามลำดับดังนี้

๑. การพิจารณาตามถ้อยคำของรัฐธรรมนูญ : ต้องเข้าไปพิจารณาดูว่ามีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ที่กล่าวถึงรัฐบาลรักษาการณ์ทั้งนี้เนื่องจากจะได้นำไปสู่การพิจารณาถึงสถานะและการใช้อำนาจหน้าที่ของเขาต่อไป ซึ่งปรากฏว่าอยู่ใน ม.๑๘๑

๒. การพิจารณาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ : เมื่อมีการลาออกของคณะรัฐมนตรีก็ดี มีการประกาศยุบสภาก็ดี ม.๑๘๑ ให้มีรัฐบาลรักษาการณ์ขึ้นก็เพื่อทำหน้าที่ชั่วคราวจนกว่าจะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา ทั้งนี้เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดสภาวะสุญญากาศในการบริหารประเทศ

๓. การพิจารณาตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ : ตามหลักการแล้วเห็นว่าเมื่อปรากฏว่าฝ่ายบริหารของรัฐนั้นสิ้นสภาพไปแล้ว จึงต้องการให้มี "กลไกในการเปลี่ยนผ่านประเทศ" กล่าวคือ การบริหารประเทศนั้นจะไม่สะดุดหยุดอยู่เนื่องจากจะกระทบต่อสาธารณะ หรือสังคมส่วนรวมได้ จึงกำหนดให้มี "ฝ่ายบริหารชั่วคราว" ซึ่งก็คือฝ่ายบริหารเดิมที่สิ้นสภาพไปมาทำหน้าที่ในการบริหารประเทศไม่ให้หยุดชะงักตาม "หลักความต่อเนื่องไม่ขาดสายของการบริหารประเทศ" (Continuity of Executive Power) จนกว่าจะได้ฝ่ายบริหารชุดใหม่มา "รับไม้ต่อ" เพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศตามปกติต่อไป

การที่เราไปพิจารณา ม.๑๒๗ (ซึ่งปกติจะใช้บังคับเมื่อมีการเลือกตั้งเสร็จสมบูรณ์ไปแล้ว) เลยโดยไม่พิจารณาถึงบริบทและเจตจำนงค์ต่างๆ ของการบังคับใช้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองข้าม ม.๑๘๑ ไปทั้งๆ ที่เป็นบทบัญญัติเฉพาะว่าด้วยสถานะของรัฐบาลรักษาการณ์ ซึงมีความเชื่อมโยงและลำดับในการพิจารณาตีความก่อนหลังอยู่ จึงอาจทำให้เข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสถานะของรัฐบาลรักษาการณ์ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่แท้จริงได้นั่นเอง

ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
See More


















MANA PRADITKET

MANA PRADITKET
Handpainted oil painting by Mana Praditket

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
Original handpainted oil painting by Niran Paijit

PRAYAD TIPPAWAN

PRAYAD TIPPAWAN
ORIGINAL IMPRESSIONAL OIL PAINTING BY PRAYAD TIPPAWAN

Achara 34 (24x36)

Achara 34 (24x36)
ORIGINALl OIL PAINTING

Amornsak Livisit 74 (24x36)

Amornsak Livisit 74 (24x36)
ORIGINAL OIL PAINTING, Impressionist style

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)
Original handpainted oil painting abstract style

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
ORIGINAL ABSTRACT STYLE OIL PAINTING BY NIRAN PAIJIT

Chavalit (Pong)

Chavalit (Pong)
PINTO Horses

Komez 78 (22x30)

Komez 78 (22x30)
Original handpainted pastel painting on paper

KOMES

KOMES
Handpainted pastel painting by Komez

PRATHOUN

PRATHOUN
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY PRATHOUN

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
ORIGINAL OIL PAINTING BY THAVORN IN-AKORN (SIZE 20x30")

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
Original oil painting by Thavorn In-akorn

Facebook


ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING

PHOTO GALLERY

PHOTO GALLERY

Facebook

PHOTO GALLERY