มือที่มองไม่เห็น 21 02 58 เบรค 1
ศิษย์เอกออกซ์ฟอร์ด เปิด "ม่านดำธรรมกาย"
(จาก : สาวกโลกอุดร ธมฺมปาโล (LD2541)
ใน บรรดาศิษย์เอกของวัดพระธรรมกาย ซึ่งดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล อาจารย์ประจำ คณะสังคมวิทยามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้อ้างถึงในงานวิจัยเรื่องวัดพระธรรมกาย
ที่ได้รับการสนับสนุนการวิจัยศูนย์พุทธศาสนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นพระรูปที่สำคัญคือ ท่านเมตตา นันโทภิกขุ ซึ่งได้รับปริญญาเกียรติ นิยมด้านภาษาสันสกฤตจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และกำลังศึกษาปริญญาเอก อยู่ในมหาวิทยาลัยฮัมบรู๊ก เพราะถือว่าเป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่เข้ามาปรับปรุงวัดให้มีประสิทธิ ภาพ
ที่ได้รับการสนับสนุนการวิจัยศูนย์พุทธศาสนศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้นพระรูปที่สำคัญคือ ท่านเมตตา นันโทภิกขุ ซึ่งได้รับปริญญาเกียรติ นิยมด้านภาษาสันสกฤตจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และกำลังศึกษาปริญญาเอก อยู่ในมหาวิทยาลัยฮัมบรู๊ก เพราะถือว่าเป็นผู้นำรุ่นใหม่ที่เข้ามาปรับปรุงวัดให้มีประสิทธิ ภาพ
แต่วันนี้พระมโน เมตตานันโท หรือ อดีตนายแพทย์มโน เลาหวณิช หันหลังให้กับวัดพระธรรมกายแล้ว และเข้ามาเป็นที่ปรึกษาฝ่ายกิจการพระพุทธศาสนาในเลขาธิการใหญ่องค์การสัมมนา ศาสนา
พระมโน กล่าวกับ "เดลินิวส์" ว่าเมื่อ 25 ปี ก่อนวัดพระธรรมกายเป็นวัดที่มีความอบอุ่น มีคุณยายจันทร์ ขนนกยูง เป็นหลัก แต่ต่อมาค่อยยกฐานะของพระให้สูงขึ้นเช่นเจ้าอาวาสจากหลวงพี่ไชยบูลย์ ธัมมชโย ก็ต้องเรียกว่าหลวงพ่อ
"คุณยายจันทร์มักจะเตือนสติหลวงพ่อธัมมชโยอยู่เสมอว่า ให้มักน้อย-สันโดษ อย่าไปขยายอะไรให้มันมาก นี่เป็นคำสอนประจำ พร้อมบอกว่าวัดนี้ต้องมีพระประจำอยู่มากที่สุดไม่เกิน 20 รูปเท่านั้น ไม่ทำอะไรอย่างอื่นนั่งสมาธิกัน คือปิดวัด เมื่อก่อนมีแต่ศาลาเล็กเป็นทั้งโบสถ์และศาลา จะใช้เพียงที่เดียว
และตกลงกันว่าจะปฏิบัติ ธรรมกันโดยจะไม่มีการรบกวนญาติโยม มีการปลูกสวนผักไว้รับประ ทาน ยุคนั้นเป็นยุคแรกและเป็นยุคเดียวที่สงบและอบอุ่นประมาณปี 2518-2524 มีพระอยู่เพียง 8-10 รูป ขณะนั้นอาตมาเรียนแพทย์อยู่ ถวายกายถวายใจทุ่มเทให้วัด โดยไม่มีความสงสัยอะไรในตัววัดเลย เพราะช่วงนั้นเรื่องระบบการเงินก็โปร่งใส แต่ขณะนี้การจ่ายเงินอยู่ที่เจ้าอาวาสองค์เดียว"
พระมโนบอกอีกว่าเมื่อวัดเริ่มขยายใหญ่ขึ้นมาจนเกิดการเปลี่ยนแปลง มาก โดยเฉพาะ เมื่อโทรศัพท์เข้ามา ความสะดวก ต่าง ๆ ก็เพิ่มขึ้น ทุกอย่างชักจะยุ่ง พระเริ่มมีการสั่งงานกันทางโทรศัพท์ ความใกล้ชิดกับพระสงฆ์ในวัดก็ลดน้อยลง และก็มีญาติโยมภายนอกโดยเฉพาะนักธุรกิจเข้ามามี บทบาทมากขึ้น ๆ เรื่อย ๆ
นอกจากนั้น จุดเปลี่ยนสำคัญของ วัดพระธรรมกายคือ การเข้าไปทำธุรกิจ โดยเมื่อปี 2525 ได้ตั้ง บริษัท ดูแวค ซึ่งรวบ รวมเอาญาติโยมที่เป็นแหล่งเงินทุนหลายคนร่วมด้วย และก็เริ่มมีการซื้อที่ดินขยายวัดไป 1,000 ไร่ โดยอ้างว่ามีเสียงดังรบกวนจากวัดใกล้เคียงทำให้ไม่มีสมาธิ
"อาตมานึกว่าจะดีแต่ก็ไม่เป็นดังที่คาด เพราะมีการกว้านซื้อที่ดินจนเกิดข้อพิพาทกันเป็น 2,600 ไร่ และมีการซื้อที่อีกมากมายที่ต่างจังหวัด อย่างเช่น ที่เชียงใหม่ 4,000 ไร่, ศรีสะเกษประมาณ 8,000 ไร่และที่ตามอุทยานแห่งชาติอีก"
ขณะเดียวกันเจ้าอาวาสก็เปลี่ยนไปมาก จนน่าตกใจ พร้อม ๆ กับการเสื่อมอายุสังขารของคุณยายจันทร์ สุดท้ายคุณยายจันทร์กลายเป็นสัญลักษณ์ของวัดไป
"อาตมาโชคดีกว่าใครเพื่อน สอบเข้าได้ไปเรียนที่ออกซ์ฟอร์ด ทางวัดก็เห็นช่องทางในการสร้างชื่อเสียง ก็เลยส่งเสริมเป็นอย่างดี
"อาตมาโชคดีกว่าใครเพื่อน สอบเข้าได้ไปเรียนที่ออกซ์ฟอร์ด ทางวัดก็เห็นช่องทางในการสร้างชื่อเสียง ก็เลยส่งเสริมเป็นอย่างดี
อาตมาจะเขียนจดหมายจากประเทศอังกฤษเพื่อเจริญศรัทธา อาตมาได้สร้างโครงการพระไตรปิฏกคอมพิวเตอร์คนแรก เพราะชอบเรียน เมื่อตอนอยู่จุฬาฯ ปี 2 เราก็รู้หลักว่าเครื่องนี้มันใช้ได้ จนในที่สุดหลวงพ่อก็ลงนามเซ็นโครงการ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2527 อาตมาก็เริ่มลงมือทำ บริษัทที่มาช่วยคือ เดต้าแมท ก็ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง"
พระมโนเล่าให้ฟังอีกว่าในปี 2530 เมื่อเรียนจบก็เดินทางกลับเมืองไทย เรื่องวัดพระธรรมกายกำลังดัง การกลับมาครั้งนี้ทำให้รู้สึกสลดใจมาก เพราะได้เห็นอะไรหลายอย่าง ในเรื่องธุรกิจที่เกี่ยวพันกับวัดพระธรรมกาย ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว "ต่อมาก็มีธุรกิจค้าที่ดิน โครงการตะวันธรรมและโครงการอะไรต่อมิอะไรอีกมาก
โดยเฉพาะเกี่ยวกับโครงการสวนป่า คือ ให้มีการเวนคืนที่บริเวณล้อมรอบวัด โดยให้วัดเป็นไข่แดง จากนั้นก็ปลูกป่าโดยรอบ ด้วยการใช้เงินของราชการ แต่เรื่องก็ตกไปเพราะกรรมการเขาสงสัยว่ามันมีเลศนัย ว่าทำไมต้องทำกันใหญ่ขนาดนี้"
นอกจากนั้น ในสมัยที่ นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรได้มีการผลักดันโครงการอบรมเยาวชน ที่เขาใหญ่ ที่มีกำหนดสร้างอาคารให้เสร็จภายใน 72 ชั่วโมง และมีลูกศิษย์ของวัด ซึ่งเป็นข้าราชการในกรมป่าไม้ ผลัก ดันและสนองนโยบาย โดยได้มีการโทรศัพท์มาที่วัดพระธรรมกาย ให้เกณฑ์คนมาทำเสร็จตามกำหนด ครั้งนั้นมี พระชิดชัย ชิโต ซึ่งจบวิศวบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดูแลควบคุมการก่อสร้าง
พระมโนรำลึกถึงความหลังอีกว่าใน ปี 2525-2526 มีเรื่องเกิดขึ้นเกี่ยวกับพระชิดชัย ซึ่งเป็นรุ่นพี่ที่จุฬาฯ ของพระมโน โดยพระชิดชัยทำงานหนักอาบเหงื่อต่างน้ำทุ่มเทเพื่อวัดทุกอย่างโดยไม่มีเงื่อนไข ไม่หลับไม่นอน แต่พระชิโตเริ่มมีอาการทางจิต พระมโนปรึกษากับพระหลายรูปว่า ต้องส่งท่านไปโรงพยาบาล
อย่างไรก็ตาม ก็มีการต่อต้านว่าการส่งพระชิโตไปโรงพยาบาลเป็นการทำลายวัด เพราะวัดที่ฝึกจิตกลับมีพระที่มีอาการทางจิต "สุดท้ายอาตมาและพวกได้นำท่านไปโรงพยาบาล พอหายแล้วก็กลับมา แต่ไม่ได้รับความสนใจเหมือนไม่มีท่านอยู่ในวัด ไม่ทักไม่พูด โดนบีบสารพัดอย่าง ทำให้ท่านคิดมากกินยาคืนวันจันทร์ พบศพวันอังคารเช้าที่กุฏิ ทางวัดได้ปิดเรื่องนี้เงียบ ตอนนั้นก็ได้เรียนท่านนายอำเภอ
หลวงพ่อทัตตชีโวเป็นคนจัดการ เจ้าอาวาสไม่อยู่ร่วมไปขึ้นดอย ก็มีการจัดงานศพ รดน้ำ ทำพิธีต่าง ๆ ที่ศาลา "หลังจากกลับจากลอยเถ้ากระดูก เถ้าอังคารพระชิโต ที่ชลบุรี พระมโนกล่าวว่ารู้สึกวัดนี้ไม่ใช่วัดแล้ว ผิดทางวิธีการบริหารเริ่มมีปัญหามาก เวลาประชุมก็เงียบไม่พูดกัน เริ่มแตกเป็นเสี่ยง ๆ พระก็เริ่มจับกลุ่ม เกิดจากเรื่องความไม่ไว้วางใจมากขึ้น ๆ
ปี 2530-2531 ภาวะวัดย่ำแย่ พระข้างในรวมตัวกันไม่ติด พระบางรูปเกิดความสับสน การปกครองไปไม่ทั่วถึง มีกฎเหล็กคือกางเกงเหล็ก ใครสวมได้ปฏิบัติตามได้ก็อยู่ได้ สวมไม่ได้ ปฏิบัติตามไม่ได้ก็ออกจากวัดไปและนับจากนั้นมา พระมโนจึงออกจากวัดพระธรรมกาย และไม่ได้หันกลับเข้าไปหาอีกเลย