ผู้แทนสำนักพระพุทธฯ แจง พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย เป็นปาราชิก ขาดจากความเป็นสงฆ์ ตามลิขิตของสมเด็จพระสังราชฯ จี้เร่งดำเนินการ หลังนิ่งเฉย
วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558 นายไพศาล พืชมงคล อดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว Paisal Puechmongkol เปิดเผยถึงการประชุม ณ รัฐสภา ของคณะกรรมาธิการการศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ที่มี นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน ว่า ผู้แทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้เข้าชี้แจงในที่ประชุมว่า ตามลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งมีพระลิขิตลงวันที่ 26 เมษายน 2542 นั้น ชี้ชัดว่า พระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธมฺมชโย) เจ้าอาวาสวัดธรรมกาย และประธานมูลนิธิธรรมกาย นั้นเป็นปาราชิกขาดจากความเป็นภิกษุ เนื่องจากการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสียให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา โดยพระเทพญาณมหามุนีนั้น ต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นขณะเป็นพระให้แก่วัด อย่างไรก็ดี มหาเถรสมาคมก็ได้มีมติรับทราบพระลิขิตดังกล่าวแล้ว
ทั้งนี้ภายหลังพบว่า กรณีที่พระเทพญาณมหามุนีเป็นปาราชิก และต้องขาดจากความเป็นพระนั้น ไม่ได้มีการดำเนินการใด ๆ โดยพบแต่เพียงว่ามีการดำเนินการในเรื่องมติรับโอนที่ดินของวัดเท่านั้น สำหรับเรื่องนี้ ผู้แทนของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ก็ไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าจะดำเนินการอย่างไร
ด้านคณะกรรมาธิการการศาสนา ให้ความเห็นว่า เรื่องนี้จะต้องให้รัฐบาลซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ บังคับการให้เป็นไปตามมติมหาเถรสมาคม และพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช
โดยข้อความทั้งหมดมีดังนี้
คณะกรรมาธิการศาสนา สปช. ชี้ธัมมชโยเป็นปาราชิกตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช จี้ผู้รับผิดชอบดำเนินการตามมติมหาเถรสมาคม
ในการประชุมคณะกรรมาธิการการศาสนา สปช. ที่มีนายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นประธาน ที่รัฐสภาเมื่อวานนี้ ที่ประชุมได้เชิญผู้แทนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมาชี้แจง ประกอบหลักฐานต่าง ๆ จำนวนมาก ในที่สุดชี้ว่าธัมมชโยเป็นปาราชิก ขาดจากความเป็นภิกษุตามพระลิขิตสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบต้องบังคับการให้เป็นไปตามมติมหาเถรสมาคม
ในเรื่องนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระลิขิตลงวันที่ 26 เมษายน 2542 สองประการ คือ ต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสียให้เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา และ อีกประการหนึ่งคือต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที (5 เมษายน 2542)
พระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ดังกล่าวได้นำเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคมสองครั้ง และมหาเถรสมาคมมีมติครั้งที่ 191/2542 และครั้งที่ 193/2542 ว่าให้ดำเนินการรับโอนที่ดินเป็นของวัดพระธรรมกาย ส่วนกรณีอื่น ๆ (หมายถึงกรณีต้องปฏิบัติในการเป็นปาราชิก) ให้กรมการศาสนาร่วมกับเจ้าคณะภาค 1 ติดตามเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป และในมติที่ 193/2542 ก็มีมติชัดเจนว่ามหาเถรสมาคมมีมติรับทราบพระดำริที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานมาทั้งหมด และ มหาเถรสมาคมมีมติสนองพระดำริมาโดยตลอด ให้ชอบด้วยกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม และส่งเรื่องให้ฝ่ายสังฆการดำเนินการตามมติมหาเถรสมาคมต่อไป
หลังมหาเถรสมาคมมีมติแล้วได้มีการดำเนินการรับโอนที่ดินเป็นของวัดเรียบร้อย แล้ว แต่มติที่ให้ดำเนินการตามพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในกรณีที่ธัมมชโยเป็นปาราชิก ซึ่งต้อง พ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ นั้น ยังไม่ได้มีการปฏิบัติจนกระทั่งบัดนี้ ซึ่งในที่ประชุมผู้แทนของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
"พุทธอิสระ"จี้มส.รับผิดชอบฝืนพระลิขิต !!!!!
โพสต์ทูเดย์ออนไลน์
โพสต์ทูเดย์ออนไลน์
พุทธอิสระชวนชาวพุทธบุกวัดปากน้ำ เรียกร้องมส.รับผิดชอบฝืนลิขิตพระสังฆราชป้อง"ธัมมชโย" ภายหลังที่ประชุมคณะกรรมการมหาเถรสมาคม(มส.)
อ่านต่อได้ที่ : http://bit.ly/1vNUZZ2
'สปช.'ชนมติมหาเถรฯ ลุยสอบ'กก.หลายรูป'!!!!!
เดลินิวส์ออนไลน์
"สปช." ดับเครื่องชนมติมหาเถรสมาคม "ไพบูลย์" ลุยตรวจสอบ "กรรมการหลายรูป" เหตุทางกม.ถือเป็นจนท.รัฐ แต่มีมติขัดและแย้งกับ "พระลิขิต" และมติของมหาเถรฯปี 42 เสียเอง ย้ำส่วนตัว "ธัมมชโย" ปาราชิกไปแล้ว ยกพระลิขิต 10 พ.ค. 42 ระบุชัด "อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย"
กรณีการประชุมมหาเถรสมาคม(มส.) ครั้งที่ 5/2558 ซึ่งมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(ช่วง วรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธาน เมื่อวันที่ 20 ก.พ.ที่ผ่านมา ที่มีมติยืนยันว่า พระธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ยังไม่ปาราชิก เพราะไม่ได้ฝ่าฝืนพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เนื่องจากคืนทรัพย์สินให้วัดไปแล้วนั้น
ในเรื่องนี้ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ประธานคณะกรรมการปฏิรูปแนวทางและมาตรการปกป้องพิทักษ์กิจการพระพุทธศาสนา สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เปิดเผยว่า มติมหาเถรสมาคมดังกล่าว เป็นมติที่จะต้องถูกตรวจสอบ เพราะขัดและแย้งกับพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี 2542 ที่รับรองโดยมติของมหาเถรสมาคมเอง
"การมีมติไปหักล้างมติเมื่อปี 2542 เป็นการใช้มติที่ประชุมของมหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ ผู้ที่มีมติคือกรรมการมหาเถรสมาคม ถือเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ อีกทั้งในกฎหมายยังเขียนด้วยว่า มติจะมีผล ต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัยด้วย มติดังกล่าวจึงต้องถูกตรวจสอบว่ามีการกระทำที่ถูกต้องหรือไม่"นายไพบูลย์กล่าวและว่า เบื้องต้น ที่ดูแล้ว มตินี้มีปัญหาแน่ เมื่อมีปัญหาออกมาโดยมหาเถรสมาคม ก็ต้องมีปัญหาที่จะต้องถูกตรวจสอบ กรรมการในมหาเถรสมาคมหลายรูป ก็ถูกร้องเรียนว่า มีลักษณะทับซ้อนกับการใช้ดุลยพินิจในเรื่องพระธัมมชโย จึงต้องถูกตรวจสอบ เพราะมีปัญหาเรื่องการใช้ดุลยพินิจ
นายไพบูลย์ กล่าวด้วยว่า มติเมื่อวาน (20 ก.พ.) ที่ออกมาบอกว่าไม่ขัดกับพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช แต่ดูอย่างไรก็ขัด อีกประการคือ บอกว่าพระธัมมชโยได้คืนทรัพย์สินให้วัดหมดแล้ว ไม่มีเจตนาถือไว้ จึงไม่ต้องปาราชิก กรณีนี้มันคนละเรื่องกัน เพราะการเอาทรัพย์สินที่เป็นของวัดมาใส่ชื่อตัวเอง ถือว่าขาดจากความเป็นพระแล้ว ยกตัวอย่างพระที่เสพเมถุน แม้ไม่ผิดกฎหมายก็ปาราชิก เรื่องเอาทรัพย์สินมาเป็นของตัวเอง แม้สุดท้ายเจ้าของทรัพย์จะยอมความ ไม่เอาผิด ทางโลกถือว่าพ้นผิด แต่ในทางธรรม "ปาราชิก" ไปตั้งแต่มีเจตนามาใส่ชื่อตัวเอง แม้ตอนหลังจะมาคืน แต่ความเป็นปาราชิกมันต่อไปไม่ได้ มันขาดไปแล้ว
ยกลิขิต 10 พ.ค. 42 ชี้ชัด "อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย"
สปช.รายนี้ กล่าวด้วยว่า ที่สำคัญคือ สมเด็จพระสังฆราชทรงมีพระลิขิตอีกฉบับเมื่อปี 2542 ว่าพระธัมมชโยได้ปาราชิกไปแล้ว เพราะไปบิดเบือนคำสอนของพระพุทธศาสนา ทำให้สงฆ์แตกแยก ซึ่งมติของมหาเถรสมาคมเมื่อวาน ไม่ได้พูดถึงเรื่องนี้ โดยพระลิขิตฉบับวันที่ 10 พ.ค. 42 ลิขิตชัดว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับ "อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย" การที่ทรงใช้คำนี้ เพราะเห็นว่าพระธัมมชโยขาดจากความเป็นพระไปแล้ว การปาราชิกก็มีผลทันทีตั้งแต่ตอนนั้น มติของมหาเถรสมาคมเมื่อวานจะมีปัญหาแน่
สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบมหาเถรสมาคมนั้น จะเป็นการตรวจสอบในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐ ส่วนการตรวจสอบพระธัมมชโย ทางคณะกรรมการฯจะดูไปถึงพฤติกรรมที่ไปรับเงินจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน ที่ไปฉ้อโกงเงินของประชาชน และรับเงินไปนานแล้ว เมื่อมีเรื่องร้องเรียนในศาล ก็ไปพูดว่า ไม่รู้จักกับอดีตประธานสหกรณ์ ทั้งที่ข้อเท็จจริงรู้จักกันแน่ และประชาชนไม่มีความประสงค์จะให้ แต่ยังถือไว้อีก นี่คือสิ่งที่เราจะตรวจสอบ เพราะเข้าข่ายกระทำปาราชิก
"พระธัมมชโยสำหรับผม ถือว่าปาราชิกไปแล้ว ตามมติของมหาเถรสมาคมเมื่อปี 2542 การมาบอกว่า ฆราวาสไปตรวจสอบสงฆ์ไม่ได้ เป็นคนละเรื่องกัน ที่พูดนี้เป็นเรื่องธรรมวินัย แต่ไม่ใช่เรื่องการตรวจสอบทางกฎหมาย เพราะเจ้าอาวาสเป็นตำแหน่งทางกฎหมาย อย่างเรื่องวัดสระเกศที่สตง.ไปตรวจสอบเรื่องเงิน ทำไมตรวจสอบได้ มันตรวจสอบได้ทั้งหมด และการที่เราตรวจสอบนี้ คือการตรวจสอบหน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งมีปัญหาจึงต้องถูกตรวจสอบ เพราะจะต้องไม่มีการขัดกันในผลประโยชน์ มีผู้นำข้อมูลมาให้แล้ว"นายไพบูลย์กล่าวทิ้งท้าย
"ส. ศิวรักษ์" ขย่มซ้ำ "ความอัปลักษณ์ของกรรมการฯ"
ด้านนายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ หรือ "ส. ศิวรักษ์" นักเขียนและนักวิชาการอิสระ ฉายา "ปัญญาชนสยาม" ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Sulak Sivaraksa ระบุตอนหนึ่งว่า "การที่มหาเถรสมาคมลงมติ ว่าธมฺมชโยไม่เป็นปราชิกนั้น แสดงว่ากรรมการมหาเถรสมาคมที่ลงคะแนนให้ธมฺมชโย น่าจะมีชนักติดหลังในทำนองเดียวกัน ในเมื่อลายพระหัตถ์สมเด็จพระสังฆราชชี้ชัดว่าบุคคลผู้นี้ต้องอทินนาทานปราชิก แล้วกรรมการมหาเถรสมาคมซึ่งอ้างว่าเคารพสมเด็จพระสังฆบิดร กลับไม่ทำตามมติสมเด็จพระสังฆราช โดยที่อ้างว่าเขาคืนเงินให้แล้ว เป็นอันหมดมลทิน นั่นเป็นเรื่องตะแบงพระวินัยอย่างชัดเจน
.
แต่นี่ไม่ใช่คราวแรกที่มหาเถรสมาคมมีพฤติกรรมเช่นนี้ เช่นเมื่อคราวกิตฺติวุฒฺโฑภิกขุสั่งรถวอลโว่เข้ามาโดยไม่ยอมเสียภาษี นี่ก็เป็นอทินนาทานปราชิกเช่นเดียวกัน เพราะพระมีค่าเพียงแค่เงินบาทเดียว ฉ้อฉลเพียงบาทเดียวก็ต้องอทินนาทานปราชิกหมดความเป็นภิกษุภาวะ คราวกิตฺติวุฒฺโฑ มหาเถรสมาคมก็ลงมติว่าเป็นนิคสักขีปาจิตตี และให้เอาเงินไปเสียภาษี เพื่อจบเรื่อง ดังกรณีธมฺมชโยก็เช่นกัน อ้างว่าได้คืนเงินคืนทองไปแล้ว ยังสามารถคงความเป็นลัชชีไว้ได้ นี่เป็นตัวอย่างแห่งความอัปลักษณ์ของกรรมการมหาเถรสมาคม
.
แต่นี่ไม่ใช่คราวแรกที่มหาเถรสมาคมมีพฤติกรรมเช่นนี้ เช่นเมื่อคราวกิตฺติวุฒฺโฑภิกขุสั่งรถวอลโว่เข้ามาโดยไม่ยอมเสียภาษี นี่ก็เป็นอทินนาทานปราชิกเช่นเดียวกัน เพราะพระมีค่าเพียงแค่เงินบาทเดียว ฉ้อฉลเพียงบาทเดียวก็ต้องอทินนาทานปราชิกหมดความเป็นภิกษุภาวะ คราวกิตฺติวุฒฺโฑ มหาเถรสมาคมก็ลงมติว่าเป็นนิคสักขีปาจิตตี และให้เอาเงินไปเสียภาษี เพื่อจบเรื่อง ดังกรณีธมฺมชโยก็เช่นกัน อ้างว่าได้คืนเงินคืนทองไปแล้ว ยังสามารถคงความเป็นลัชชีไว้ได้ นี่เป็นตัวอย่างแห่งความอัปลักษณ์ของกรรมการมหาเถรสมาคม
ชีวิตพรหมจรรย์แปลว่าชีวิตอันประเสริฐ ต้องต่างไปจากชีวิตชาวบ้าน ซึ่งเป็นกามโภคี พระภิกษุสามเณรต้องเจริญเนกขัมมปฏิปทา แม่นทั้งทางศีลสิกขาและเจริญจิตสิกขา เพื่ออบรมตัวเองให้เข้าถึงปัญญา จะได้แลเห็นสิ่งต่าง ๆ ตามสภาพความเป็นจริงที่แท้ ถ้าไตรสิกขาเป็นเพียงคำพูด โดยไม่ประพฤติปฏิบัติตามที่เนื้อหาสาระ พระศาสนาก็ย่อมจะสั่นคลอนและอาจถึงซึ่งความอับปางก็ได้ ภายในชั่วอายุของกรรมการมหาเถรสมาคมในบัดนี้นี่เอง"
เห็นพระลิขิตของเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแล้ว ไม่รู้ว่ามหาเถระสมาคมจะรับผิดชอบอย่างไร
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ที่จริงพระลิขิตนี้มีมาตั้งแต่ ๒๖ เมษายน ๒๕๔๒ แต่เพราะอำนาจการเมือง อำนาจเงิน อำนาจประชาธิปไตยแบบพวกกูมาก ใครกล้าหือ เลยทำให้อลัชชีภัยร้ายอย่างธรรมชัยกลายเป็นอมตะยืนยง ยังคงทำร้ายพระพุทธศาสนาได้อยู่ทุกวันนี้ หากจะถามฉันว่า ธรรมกายผิดอย่างไร
- ผิดที่ทำลายศรัทธาพุทธศาสนิกชน ที่มีความเคารพยอมรับในพระไตรปิฎกมาอย่างยาวนาน โดยสำนักธรรมกายมีคำสอนว่า เนื้อหาที่ปรากฏในพระไตรปิฎกผิดเพี้ยน ไม่ตรงต่อพุทธวจนะ ทั้งที่พระไตรปิฎกเป็นหลักการเดียวที่พระอรหันต์ขีณาสพเป็นผู้รวบรวม เรียบเรียงเอาไว้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษาของพุทธบริษัท และส่งมอบต่อๆ กันมาเป็นเวลา ๒,๐๐๐ กว่าปี ซึ่งมีทั้งภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาเยอรมัน และภาษาอื่นๆ จนแพร่หลายไปทั่วโลก ผู้คนพากันปฏิบัติตามจนได้รับผลสมควรแก่ผู้ปฏิบัติ เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกเป็นของจริง แต่สำนักธรรมกายกลับสอนว่า พระไตรปิฎกผิดเพี้ยน
- ยกตนอยู่เหนือพระบรมศาสดา สำนักนี้มีคำสอนที่สังคมพุทธผู้มีปัญญายอมรับไม่ได้ เช่น สอนว่าพระพุทธเจ้าสมณโคดม แย่งพระศรีอริยเมตไตรยลงมาตรัสรู้ โดยอ้างว่าทั้งสององค์เป็นพี่น้องกัน เรียกว่าน้องชายซุกซน อยากใหญ่ใฝ่สูง เลยแย่งพี่ลงมาเกิดเพื่อตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก่อน อันนี้ถ้าใครอยากรู้ ให้ไปเปิดดูคำสอนเก่าๆ ที่พ่อยอดชาย นายธัมมชโยเค้าสอนไว้
- พระนิพพานเป็นอัตตา นายธัมมชโย สอนว่านิพพานเป็นอัตตา มิใช่อนัตตาอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน คือพระพุทธองค์ทรงสอนว่า หากผู้มีดวงตาเห็นทุกข์ เห็นเหตุแห่งการเกิดทุกข์ ว่าทุกข์ทั้งหลายล้วนได้มาจากอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ชาติ ภพ หากจะดับทุกข์ ต้องดับความโง่ ต้องรู้ว่าตัณหา ความทะยานอยาก ทำให้เราต้องขวนขวายแสวงหาสิ่งที่ตนอยาก เมื่อได้มาก็ต้องหวงแหน ผูกพัน ยึดถือ เรียกว่าอุปาทาน โดยอาศัยความตระหนี่ ความอิจฉา ความไม่รู้จริง ความหลง เป็นเหตุทำให้ตนต้องตกอยู่ในวังวนแห่งภพ ชาติ ชรา มรณะ พยาธิ นี่เรียกว่าทางดับทุกข์ เมื่อใดที่มีสติปัญญาทำให้พันธนาการทั้งหลายทั้งในฝ่ายกุศล อกุศล หมดไป เป็นการทำลายเหตุปัจจัยของทุกข์จากการเกิด เมื่อไม่มีเหตุปัจจัยใดๆ มาครอบงำปรุงแต่ง ทั้งภายในและภายนอกซึ่งล้วนมีสภาพไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เช่นนี้เรียกว่าข้อปฏิบัติให้ทุกข์ดับ ความหลุดพ้นดับเย็นจักพึงบังเกิดขึ้น เช่นนี้จึงเรียกว่านิพพานที่เป็นคำอธิบายแบบย่อ ฉะนั้นนิพพานจึงเป็นสภาวะอนัตตาธรรม มิใช่อัตตาธรรมอย่างที่สำนักธรรมกายสั่งสอนกัน
- ที่ใดๆ ก็ไม่สามารถถวายข้าวและอาหารพระพุทธเจ้าได้ นอกจากที่วัดธรรมกาย และยอดชายนายธัมมชโยเท่านั้น ที่สามารถถวายข้าวได้แต่เพียงผู้เดียว ตามด้วยจัดให้มีการทำอีเว้นท์ถวายข้าวพระพุทธเจ้า หาเงินเข้ากระเป๋ากันเป็นล่ำเป็นสัน
- บุญดิลิเวอลี่ บริการรีดไถ เช่นเอาบุญ เอาความกลัว ความโลภของผู้คนมาเป็นเครื่องมือ โดยให้บริวารโทรไปรีดไถบรรดาผู้ศรัทธาให้บริจาคเงินต่อยอดบุญเป็นรายเดือน หากเดือนไหนไม่ได้จ่าย จะมีลิ่วล้อบริวารของสำนักนี้โทรไปทวงว่า “คุณพี่ครับ เดือนนี้ยังไม่บริจาคต่อยอดบุญเลย หากขาดตอนเดี๋ยวเสียประโยชน์ที่ควรจะได้ และอาจมีเหตุการณ์เลวร้ายไม่ดีใดๆ เกิดขึ้น” เอาล่ะสิ ขี้ขึ้นสมองแล้ว กลัวจน กลัวเจ็บ กลัวตาย แม้ไม่มีก็ต้องลงทุนไปหยิบยืมเขามาบริจาค จนบางรายต้องหมดเนื้อหมดตัว แถมตามมาด้วยเป็นหนี้บุญที่ต้องพยายามหาเงินมาผ่อนบุญให้สำนักนี้อีก บางรายเป็นหนี้บุญจนเครียดฆ่าตัวตาย หรือไม่ก็สิ้นเนื้อประดาตัว ผัวเมียทะเลาะกัน พ่อแม่ลูกต้องแยกทาง เพราะสมาชิกในครอบครัวลุ่มหลงมัวเมาในลัทธิของอลัชชีนี้ จนถึงขนาดขายบ้านขายช่องเพื่อนำเงินมาบริจาค
- เมื่อได้เงินมา พ่อยอดชาย นายธัมมชโยก็นำไปซื้อที่ดิน ซื้อหุ้น ซื้อทอง และธนบัตรในชื่อของตนอย่างมหาศาล ด้วยเจตนายักยอกเงินวัด จนนำมาซึ่งพระลิขิตเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้คืนทรัพย์สินทั้งหมดแก่วัด และให้พ้นจากความเป็นพระ เพราะต้องอาบัติปาราชิกด้วยข้อหายักยอกทรัพย์
- ใช้เงินที่ชาวบ้านบริจาคด้วยจิตศรัทธา นำไปซื้อตำแหน่ง ยศศักดิ์ และลบล้างความผิดของตน ด้วยการทุ่มเงินซื้อบุคคลในคณะกรรมการมหาเถระสมาคม ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ จนนำมาซึ่งตนพ้นผิด แม้จะมีลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชค้ำคอยืนยันว่าพ้นจากความเป็นพระแล้วก็ตาม
เหล่านี้คือข้อหาความผิดพลาดของสำนักวัดพระธรรมกาย ซึ่งกระทำโดยนายธัมมชโยและพวก จำเป็นที่สังคมควรจะต้องรู้ พร้อมกันช่วยแก้ไขเปลี่ยนแปลง เริ่มจากความผิดของมหาเถระสมาคมที่ละเลย ละเว้น ไม่ปฏิบัติตามพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช ทั้งที่เป็นกฎหมาย เป็นอำนาจที่มีกฎหมายรองรับ เมื่อมีพระลิขิตหรือคำสั่งออกมาให้จัดการกับนายธัมมชโย ว่าพ้นจากความเป็นพระเพราะต้องอาบัติปาราชิกไปแล้ว แทนที่มหาเถระสมาคมจะใช้อำนาจบังคับจับนายธัมมชโยสึก กลับปล่อยปละละเลย ละเว้น นอกจากจะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งสมเด็จพระสังฆราชแล้ว แถมด้วยยังสนับสนุน ส่งเสริมให้นายธัมมชโยและสำนักนี้ยิ่งใหญ่ ได้รับยศถาบรรดาศักดิ์สูงขึ้นอีกต่างหาก งานนี้ถ้ามหาเถระสมาคมยังนิ่งเฉย ทำเป็นทองไม่รู้ร้อน คงจะต้องหันมาพิจารณาโทษของบรรดากรรมการมหาเถระสมาคมกันหน่อยแล้ว อาจจะมีคนตามเฮียเหนาะแห่งวัดสระเกศไปกันบ้าง ๑๕ ปีแล้วนะ ที่มหาเถระสมาคมทำตัวเป็นสากกะเบือไม่รู้รสพริก หากงานนี้รัฐบาลที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งเขาตั้งใจจะชำระสังฆมณฑลให้สะอาดปราศจากสิ่งปฏิกูล แล้วองค์กรปกครองสงฆ์ยังจะทำมัวเมาปกป้องกันอยู่ เดี๋ยวได้เห็นพุทธะอิสระออกไปถือป้ายประท้วงหน้ามหาเถระสมาคม เพื่อกล่าวโทษมหาเถระเสียเองในฐานความผิดที่ว่า
ความผิดฐานละเมิดจรรยาบรรณพระสังฆาธิการ
ความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ความผิดฐานไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย
ความผิดฐานทำลายศรัทธาไทยที่มีต่อมหาเถระสมาคม
ความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ความผิดฐานไม่เอื้อเฟื้อต่อพระธรรมวินัย
ความผิดฐานทำลายศรัทธาไทยที่มีต่อมหาเถระสมาคม
ทั้งหมดนี้คือความผิดของกรรมการมหาเถระสมาคมที่ต้องรับผิดชอบร่วมกัน
พุทธะอิสระ
'โกงแบ่งกัน-โกงแล้วคืน' ไม่ผิด!
ประเสริฐแท้พระคุณเจ้า..........!
ในนาม "กรรมการมหาเถรสมาคม" ทั้ง ๒๐ รูป ประกอบด้วย ฝ่ายธรรมกาย ๑๐ รูป และฝ่ายธรรมยุต ๑๐ รูป คือ
ฝ่ายมหานิกาย
๑.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ
๒.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุทัศน์เทพวราราม
๓.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดพิชยญาติการาม
๔.สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยาราม
๕.พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา
๖.พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ
๗.พระพรหมดิลก วัดสามพระยา
๘.พระพรหมโมลี วัดปากน้ำภาษีเจริญ
๙.พระพรหมสิทธิ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
๑๐.พระพรหมบัณฑิต วัดประยุรวงศาวาส
ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
๑.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศาราม
๒.สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๓.สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร
๔.สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส
๕.พระพรหมเมธาจารย์ วัดบุรณศิริมาตยาราม
๖.พระพรหมเมธี วัดสัมพันธวงศาราม
๗.พระพรหมมุนี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๘.พระพรหมวิสุทธาจารย์ วัดเครือวัลย์
๙.พระธรรมธัชมุนี วัดปทุมวนาราม
๑๐.พระธรรมบัณฑิต วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ในนาม "กรรมการมหาเถรสมาคม" ทั้ง ๒๐ รูป ประกอบด้วย ฝ่ายธรรมกาย ๑๐ รูป และฝ่ายธรรมยุต ๑๐ รูป คือ
ฝ่ายมหานิกาย
๑.สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ
๒.สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุทัศน์เทพวราราม
๓.สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดพิชยญาติการาม
๔.สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยาราม
๕.พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา
๖.พระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ
๗.พระพรหมดิลก วัดสามพระยา
๘.พระพรหมโมลี วัดปากน้ำภาษีเจริญ
๙.พระพรหมสิทธิ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
๑๐.พระพรหมบัณฑิต วัดประยุรวงศาวาส
ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย
๑.สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดสัมพันธวงศาราม
๒.สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๓.สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร
๔.สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส
๕.พระพรหมเมธาจารย์ วัดบุรณศิริมาตยาราม
๖.พระพรหมเมธี วัดสัมพันธวงศาราม
๗.พระพรหมมุนี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
๘.พระพรหมวิสุทธาจารย์ วัดเครือวัลย์
๙.พระธรรมธัชมุนี วัดปทุมวนาราม
๑๐.พระธรรมบัณฑิต วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
นี้คือ "คณะรัฐบาลสงฆ์" อันมีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ วัดต้นสังกัด "วัดธรรมกาย" เป็นองค์ปฏิบัติหน้าที่ประมุขบ่ายวาน (๒๐ ก.พ.๕๘) พระคุณเจ้าได้ประชุมพิจารณากัน กรณี "ธัมมชโยต้องอาบัติปาราชิก" ผลประชุม ด้วยยึด "พระธรรมและพระวินัย" อันสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าบัญญัติไว้ดีแล้วเป็นบรรทัดฐานวินิจฉัย (ตรงนี้ผมพูดผิดหรือพูดถูกครับ พระคุณเจ้า?)
พระพรหมเมธี โฆษกมหาเถรนำมติที่ประชุมแถลงว่า....."พระธัมมชโย ไม่มีเจตนาขัดพระลิขิต และไม่มีเจตนาฉ้อโกง จึงถือว่าพ้นมลทิน และในปี ๒๕๔๙ ได้มีมติถวายคืนสมณศักดิ์ให้กับพระธัมมชโย อีกทั้งในปี ๒๕๕๔ ยังได้เลื่อนสมณศักดิ์จากยศพระราชภาวนาวิสุทธิ์เป็น พระเทพญาณมหามุนี" โฆษกมหาเถรยังแจกแจงหลักการวินิจฉัยด้วยมาตรฐานมหาเถรธรรมกายด้วยว่า...."หลักการพิจารณาทางสงฆ์ว่า ความผิดยักยอกทรัพย์สำเร็จหรือไม่นั้น จะดูที่เจตนาเป็นหลัก ซึ่งในกรณีนี้มีที่มาของทรัพย์สินถูกต้อง คือมาจากพุทธศาสนิกชน และเมื่อมีพระลิขิต ก็ได้มีการทยอยคืนทรัพย์สินแก่วัดทันที จึงถือว่ามีเจตนาไม่ฉ้อโกง เรื่องนี้ผ่านมาแล้วกว่า ๑๗ ปี ประเทศอยู่ในช่วงสร้างความปรองดอง อีกทั้งเป็นยุคที่ล่อแหลมต่อสื่อ ประเทศไทยถูกจับตามองจากต่างชาติ เพราะเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงไม่อยากให้นำเรื่องเก่ามาพูดถึง" ขอประทานคลานกราบเรียนถามพระคุณเจ้าว่า......"ยศช้าง-ขุนนางพระ" เป็นเครื่องชี้ความผิด-ความถูกได้ด้วยหรือครับ และนี่ไปลอกถ้อยคำใน fb ที่วัดธรรมกายแถลงวานซืนมาหรือเปล่า หรือว่าข้อสอบมหาเถรรั่ว ประเด็นที่มหาเถรแถลงกับที่ธรรมกายแถลง จึงยังกะแพะกะแกะต้อนรับตรุษจีน "ปีแพะ" อย่างนั้นแหละ? ที่พระคุณเจ้าบอกว่า เมื่อมีพระลิขิตก็ทยอยคืนทรัพย์แก่วัดทันที จึงถือว่ามีเจตนาไม่ฉ้อโกง นั้น ถูกต้องตาม "พระวินัยบัญญัติ" ของพระพุทธองค์แน่นะขอรับ....? ไม่ใช่ "ปัจจัยบัญญัติ" ตามลัทธิ-นิกาย "ธรรมกลาย" ที่กำลังคืบคลาน ชอนไช บิดทั้งคำสอนและพระวินัยพระพุทธองค์ ตามเป้าหมาย "อาณาจักร-พุทธจักร" ตีโอบเข้าหากัน............เป็น "แดงทั้งแผ่นดิน" ทักษิณอาณาจักร นะพระคุณเจ้า! เรื่องอาบัติปาราชิกหรือไม่ปาราชิก ไม่ได้ขึ้นอยู่กับใครชี้ให้เป็น-ไม่เป็น ฉะนั้น อย่าเฉไฉอ้างพระลิขิตเป็นตาลปัตรบังหน้า สุทธิ อสุทธิ ปัจจัตตัง "เป็น-ไม่เป็น" กรรมคือการกระทำและเจ้าตัวรู้ อีกทั้งองค์ประกอบแห่งการบ่งชี้ว่าผิดพระวินัยข้อนี้ "ตามพุทธบัญญัติ" มีอะไรบ้าง พระคุณเจ้าแต่ละรูป...รู้ดี ก็ระดับเปรียญธรรมเอกแทบทั้งนั้น ดังนั้น ผมมิบังอาจทำตัวอย่างที่พูดกันว่า "สอนหนังสือสังฆราช" หรอกครับ! ด้วยพระคุณเจ้ารู้ผิด-รู้ถูกด้วย "ภูมิปริยัติ" ชัดอยู่แล้ว แต่จะมีหรือจะใช้ "ภูมิปฏิบัติ" ประกอบการวินิจฉัย-ตัดสินหรือไม่ ขนาดไหน นั้น เกล้ากระผม "ละอาย" มิบังอาจจริงๆ! คำว่า "ทยอยคืนทรัพย์แก่วัดทันที".....ทันที ตามนัยพระคุณเจ้า เป็นนาที เป็นชั่วโมง เป็นปีๆ หรือฉับพลันทันใด อยากทราบ? เอาว่าไม่ต้องนับตั้งแต่ "เหลือบธัมมชโย" มีเถยจิตคิดเอาเงินและที่ดินของเขามาเป็นของตนหรอก เอาแค่วัน-เวลาที่ "สมเด็จพระสังฆราช" มีพระลิขิต ๔ ฉบับ ในปี พ.ศ.๒๔๔๒ ก็พอ เหลือบธัมมชโย คืนมั้ย?
ฉบับที่ ๑ ก็..เฉย ฉบับที่ ๒...ก็เฉย ฉบับที่ ๓...ก็เฉย ฉบับที่ ๔ ก็ยังเฉย! จากปี ๒๕๔๒ จนกระทั่งถึงปี ๒๕๔๙ นับมือ-นับเท้าแล้วก็ประมาณ ๗ ปี ถึงอิดๆ เอื้อนๆ ยอมคืน ๗ ปีนี่ใช่มั้ย คือ "ทันที" ของมหาเถร ชุดที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับธรรมกายชนิด...ติฉินกันกระฉ่อน ทั้งทางโลกและทางธรรม? และที่คืน ก็มิใช่ "มีเจตนาไม่ฉ้อโกง" อย่างที่โฆษกมหาเถรแถลง เหตุที่จำต้องอ้วกเงินและที่ดินร่วมพันล้านคืนวัด เพราะคดีอาญาจวนตัว ศาลใกล้ตัดสิน ด้วยพยานหลักฐานชัดแจ้ง หนีมาตรฐานกฎหมายไปไม่ได้หรอก ตัดสินวันไหน เข้าคุกวันนั้น ตายทั้งทางโลกและทางศาสนา มหาเถรยุคนั้น พระมหารัชมังคลาจารย์ร่วมอยู่ด้วย ฝ่ายรัฐบาลก็ทักษิณ ผู้อุปถัมภ์ธรรมกายสุดด้าม ฝ่ายอัยการก็..."ของผม" อย่างที่ทักษิณชอบเรียก ยุคนั้น "นายพชร ยุติธรรมดำรง" เป็น อสส. สรุปว่า....อัยการสูงสุดไปขอถอนฟ้องต่อศาล ก็อ้างอย่างว่าที่มหาเถรวันนี้อ้างนั่นแหละ ปฏิบัติตามพระลิขิตแล้วบ้าง เพื่อบ้านเมืองปรองดองบ้าง เปลี่ยนคำสอนให้ถูกต้องแล้วบ้าง
เป็นการช่วยกันดึงเจ้า "โล้นแต๋ว" รอดจากโทษคุกได้หวุดหวิด พอถอนฟ้อง มหาเถรก็สรุปเปรี้ยงว่า "ไม่ผิด" เพราะถอนฟ้องแล้ว คืนยศ-คืนตำแหน่ง กันยกใหญ่ อมไว้ ๗ ปีถึงยอมคาย ๗ ปี คือ "ทันที" ในความเห็นมหาเถรธรรมกาย! และการเอาทรัพย์เขาไป ๗ ปี ถึงขั้น "สมเด็จพระสังฆราช" ต้องมีพระลิขิตให้คืน กระนั้นก็ยังไม่ยอมคืนมหาเถรชุด "ธรรมายุปถัมภก" วินิจฉัยว่า นั่น...."มีเจตนาไม่ฉ้อโกง"!
ครับ...ธัมมชโยไม่เพียงบิดเบือนพระพุทธธรรม ทำให้สงฆ์แตกแยกออกไปกลายเป็นสอง ดังพระลิขิต และมหาเถรวินิจฉัยว่าไม่ผิดเท่านั้น
ณ วันนี้ ด้านพระวินัยที่พุทธองค์ทรงบัญญัติ มหาเถรชุดนี้ ทำคล้ายอาศัยพฤติกรรมชั่วธัมมชโยเป็น "ต้นบัญญัติ" พยายามให้นิยามองค์ประกอบแห่งโทษปาราชิกใหม่ เป็นว่า...การ "เอาทรัพย์เขามา" มากกว่า ๑ บาท ขึ้นไป ถ้าเขาจับได้ คืนเขาไป ถือว่ามีเจตนาไม่ฉ้อโกง ไม่ผิดศีล!? นี่คือวินัยสงฆ์ฉบับ "มหาเถรธรรมกาย" บัญญัติใหม่ ใช่มั้ยจ๊ะ...โยมขอถาม? สอดคล้องที่ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาฯ ปปง.ที่ถือกำเนิดจากระบอบทักษิณแถลงเมื่อวานว่า........"พบมีการสั่งจ่ายเช็คโดยนายศุภชัยให้วัดธรรมกายจริงหลายครั้ง ครั้งละกว่า ๑๐๐ ล้าน ก่อนหน้านี้เชิญตัวแทนวัดธรรมกายมาให้ปากคำแล้ว พบเงินทั้งหมดถูกนำไปสร้างศาสนสถานแล้ว วัดนำเอกสารใบเสร็จต่างๆ มายืนยัน ปปง.เรียกดูเอกสารความเคลื่อนไหวทางการเงินจากธนาคารเพื่อตรวจสอบก็พบเส้นทางการเงินถูกนำออกไปใช้ก่อสร้างจริง อย่างไรก็ตาม กฎหมายกำหนดว่าที่ธรณีสงฆ์และศาสนสถานถือเป็นเป็นทรัพย์ของแผ่นดิน ทำให้ ปปง.ไม่สามารถยึดทรัพย์ที่เป็นของแผ่นดินอีกได้
ประเด็น ปปง.ยึดรถยนต์ลัมโบร์กีนีนายปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ หรือบอย นักแสดงชื่อดัง มาเปรียบเทียบกับกรณีวัดธรรมกาย พ.ต.อ.สีหนาทยอมรับว่า กรณีของนายปกรณ์ และวัดธรรมกายถือว่าเป็นทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดเหมือนกันทั้ง ๒ กรณี แต่เนื่องจากกรณีวัดธรรมกายมีกฎหมายกำหนดชัดว่าที่ธรณีสงฆ์ห้ามยึด ปปง.จึงไม่สามารถดำเนินการได้" ผมจึงขอบอกผ่านตรงนี้ไปถึงนายปกรณ์ว่า รีบไปเขียนใบปวารณา "ถวายรถลัมโบร์กีนี" แก่ธัมมชโยด่วน เป็นของวัดแล้ว ปปง.ก็จะยึดไม่ได้ แล้วค่อยไปเจรจาซื้อคืนกับเจ้าโล้นแต๋วทีหลัง
ประเด็นอัยการถอนฟ้องนี่ น่าหยิบขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา การฟ้องศาลคดีธัมมชโย เป็นโทษทางอาญา หลักกฎหมายมีว่า "โทษอาญาถอนฟ้องไม่ได้" แต่อัยการถอนฟ้องเพราะเหตุใด ทั้งที่ตัวเองตรวจสำนวนชัดก่อนแล้วว่าหลักฐานธัมมชโยฉ้อโกงครบสมบูรณ์ จึงฟ้อง?
และความจริง มหาเถรจะยึดมาตรฐานคดีทางโลก ไปสรุปกับคดีทางพระวินัยกับธัมมชโยก็ไม่ได้ มันคนละเรื่องกัน อีกอย่าง คดีนี้ไม่ใช่ศาลตัดสินแล้วว่าธัมมชโยไม่ผิด ยังผิดเต็มตีน-เต็มกระบาลโล้น ความผิดยังอยู่ เพียงแต่อัยการถอนฟ้องออกไปเท่านั้น! ๑๗ ปี มหาเถรบอกอยู่ในช่วงปรองดอง ไม่อยากให้เอา "เรื่องเก่า" มาพูด นี่ถ้าไม่เห็นว่าโฆษกมหาเถรเป็นผู้พูด เกล้ากระผมเป็นต้องนึกว่า "แกนนำแดง" พูดแน่เลย
เปลว สีเงิน