GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL

GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL
LONG LIVE THE KING BHUMIBHOL

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

“ ปาฏิหาริย์ในพระพุทธศาสนา ”







พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ (บวก ๑ )
๑.พระทีปังกรสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒.พระโกฑัญญสัมมาสัมพุทธเจ้
๓.พระสุมังคลสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔.พระสุมนสัมมาสัมพุทธเจ้า
๕.พระเรวตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๖.พระโสภิตสัมมาสัมพุทธเจ้า
๗.พระอโนมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ๘.พระปทุมสัมมาสัมพุทธเจ้า...
๙.พระนารทสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๐.พระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า
๑๑.พระสุเมธสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๒.พระสุชาตสัมมาสัมพุทธเจ้
๑๓.พระปิยทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๔.พระเจ้าอัตถทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า
๑๕.พระธัมมทัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๖.พระสิทธัตถสัมมาสัมพุทธเจ้า
๑๗.พระติสสสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑๘.พระมหาปุสสสัมมาสัมพุทธเจ้า
๑๙.พระวิปัสสีสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๐.พระสิขีสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒๑.พระเวสสภูสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๒.พระกกุสันธสัมมาสัมพุทธเจ้า
๒๓.พระโกนาคมนสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๔.พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้
๒๕.สมเด็จพระศรีศากยมุนีโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือ พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)
(พระพุทธเจ้า องค์ในอนาคตกาล)
๒๖.พระศรีอริยเมตไตรย์สัมมาสัมพุทธเจ้า
See More





พระพุทธเจ้าตรัสว่า ปาฏิหาริย์มี 3 อย่าง คือ

1.อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์ เช่น แปลงกาย หายตัว ดำดิน เหาะ...

2.อาเทสนาปาฏิหาริย์ ทายใจ รู้วาระจิต รู้ความคิดของคนอื่น

3.อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนให้ประพฤติปฏิบัติธรรม ทำความดี ทั้งทาน ศีล ภาวนา จนหมดกิเลสในที่สุด

อิทธิปาฏิหาริย์และอาเทสนาปาฏิหาริย์นั้น ผู้ที่มีศรัทธาจริตก็จะอัศจรรย์ใจ เพิ่มพูนศรัทธา แต่ผู้ที่ไม่ศรัทธา ไม่เลื่อมใส ก็อาจไม่เชื่อ โจมตีเอาได้ พระพุทธเจ้าจึงทรงยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริย์ว่าประเสริฐที่สุด

> การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าทรงใช้ปาฏิหาริย์ทั้ง 3 อย่างในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เพราะคนเรามีจริตอัธยาศัยต่างๆ กัน อาทิ

- เมื่อตอนไปโปรดชฎิล 3 พี่น้องพร้อมบริวาร 1,000 คน หลังตรัสรู้ธรรมได้ 5 เดือน ทรงแสดงปาฏิหาริย์ถึง 3,500 อย่าง จึงปราบมานะทิฐิของชฎิลลงได้ ทำให้เปิดใจฟังธรรมจนบรรลุธรรม ขอบวชทั้งหมด เป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อมา

- เมื่อตอนไปโปรดองคุลีมาล ก็ทรงแสดงฤทธิ์ย่นพสุธา จนองคุลีมาลวิ่งไล่ตามอยู่ 48 กิโลเมตรก็ตามไม่ทัน ทิฐิคลาย ใจเปิด ทิ้งดาบฟังธรรม ได้ออกบวชและเป็นพระอรหันต์ในที่สุด

- แม้ในพระพุทธประวัติเองก็มีปาฏิหาริย์เกิดขึ้นมากมาย อาทิ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะประสูติก็ทรงเดินได้ 7 ก้าว มีดอกบัวผุดขึ้นรองรับ

- แม้คนธรรมดาเมื่อมีจิตศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม ก็เหนี่ยวนำให้เกิดปาฏิหาริย์ได้ ดังเช่น นายสุมนมาลาการ ชาวเมืองราชคฤห์ พบพระพุทธเจ้าเกิดศรัทธาท่วมท้นหัวใจ จึงนำดอกมะลิที่เตรียมถวายพระราชา จัดถวายบูชาพระพุทธเจ้า ไม่หวาดหวั่นว่าจะถูกลงโทษแม้ความตาย เกิดอัศจรรย์ ดอกมะลิลอยเป็นซุ้ม ติดตามเสด็จพระพุทธเจ้าไปตลอดทางทั้งเมือง

*** หัวใจสำคัญคือ อิทธิปาฏิหาริย์นั้นจะต้องเป็นไปเพื่อการเปิดใจผู้อื่นให้พร้อมรับฟังคำสั่งสอน เพื่อปฏิบัติธรรมทำความดีต่อไป ไม่ใช่เพื่อให้ลุ่มหลงในอิทธิปาฏิหาริย์เหล่านั้น ***

>> ปาฏิหาริย์ของพระเถระในประเทศไทย

พระในสายปฏิบัติมักมีเรื่องราวเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์ อาทิ

1. หลวงปู่ทวด สามารถเหยียบน้ำทะเลทำให้เป็นน้ำจืดได้

2. พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต สามารถรู้วาระจิตผู้อื่น ปราบภูติผีปีศาจ ปราบสัตว์ร้ายให้เชื่องได้

3. หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ รู้วาระจิตผู้อื่น พระของขวัญวัดปากน้ำมีอานุภาพศักดิ์สิทธิมาก แม่ชีวัดปากน้ำปัดลูกระเบิดได้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

4. หลวงปู่แหวน สุจิณโณ เหาะได้ มีนักบินพบกลางอากาศ

5. วัดพระธรรมกาย สาธุชนมาปฏิบัติธรรมรวมกัน พลังบุญทุกคนเหนี่ยวนำให้เกิดอัศจรรย์ตะวันแก้ว คนนับแสนเห็นพระอาทิตย์ใสกระจ่าง เย็นตา ดูด้วยตาเปล่าได้ นานราวครึ่งชั่วโมง

6. ครูบาศรีวิชัย สามารถรู้วาระจิตผู้อื่น ฝนตกไม่เปียก

__ เรื่องปาฏิหาริย์นี้คนที่เชื่อก็จะเพิ่มศรัทธาอย่างมาก แต่คนที่ไม่เชื่อก็อาจโจมตีได้ เช่น มีบางคนออกมาพูดลบหลู่ดูหมิ่นพุทธประวัติอย่างรุนแรงว่า ผู้ที่คลอดแล้วเดินได้เลย เห็นจะมีแต่วัวควายเท่านั้น ปฏิเสธและโจมตีปาฏิหาริย์ทุกอย่างที่เหนือธรรมชาติอย่างน่ากลัวในผลบาปอันหนักจากวจีกรรมที่ลบหลู่ต่อพระพุทธเจ้ายิ่งนัก___

หลักปฏิบัติตนของชาวพุทธต่อเรื่องปาฏิหาริย์

1. พึงรู้ว่าปาฏิหาริย์เหนือธรรมชาตินั้นมีจริง เป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ทางใจ อย่าเพิ่งไปปฏิเสธ เพราะความรู้เรายังจำกัด เช่น ถ้าเราไปบอกคนเมื่อ 100 ปีก่อนว่า เราอยู่กรุงเทพแล้วสามารถคุยกับคนอยู่อเมริกาได้ เขาจะไม่เชื่อ หาว่าเราโกหกว่ามีหูทิพย์ เพราะเขายังไม่รู้จักโทรศัพท์มือถือ ความรู้เขายังจำกัดอยู่ ปัจจุบันคนก็ยอมรับว่าทำได้จริง

2. พึงเข้าใจว่าปาฏิหาริย์จะมีประโยชน์ ต่อเมื่อเป็นเครื่องเพิ่มพูนศรัทธา เพื่อเป็นกำลังใจในการศึกษาธรรมะ ทำความดีให้ยิ่งๆขึ้นไป ทั้งการให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญภาวนา ปาฏิหาริย์แบบนี้มีประโยชน์

3. อย่าลุ่มหลงในปาฏิหาริย์แบบหวังผลดลบันดาล เช่น ขูดต้นตะเคียนขอหวย ไหว้งู 2 หัว วัวพิการ 5 ขา ไหว้จอมปลวก ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆ เพื่อขอผลดลบันดาล โดยไม่ได้ทำความดี ไม่ได้สร้างบุญ หลงปาฏิหาริย์แบบนี้ ยิ่งหลงจะยิ่งโง่

>>> ข้อเตือนใจ

1. อย่าหลงในความรู้วิชาการสมัยใหม่ของตน จนปฏิเสธดูหมิ่นปาฏิหาริย์ทุกอย่างว่าไม่มีจริง ให้ฟังหูไว้หู เพราะความรู้ของมนุษย์ในปัจจุบันยังน้อยนัก เรื่องจริงแต่ความรู้เรายังไปไม่ถึงอธิบายยังไม่ได้ มีอีกมาก หากเราอาศัยความไม่รู้ไปโจมตีกล่าวร้ายต่อผู้มีคุณธรรมสูงอย่างพระพุทธเจ้า พระเถระทั้งหลาย เสี่ยงต่อนรกยิ่งนัก ไม่คุ้ม ไม่เชื่อก็อย่าเพิ่งลบหลู่

2. อย่าให้อิทธิปาฏิหาริย์มาบดบังอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เห็นคนที่เขาเชื่อศรัทธาในปาฏิหาริย์ของผู้มีคุณธรรมแล้วตั้งใจทำความดี ก็ควรอนุโมทนาในการทำความดีของเขา ตัวเราหากไม่เชื่อในอิทธิปาฏิหาริย์ ก็ขอให้วางใจกลางๆ อย่าเพิ่งปฏิเสธ แล้วตั้งใจศึกษาในส่วนคำสอน ชีวิตเราก็จะมีแต่ความสุขความเจริญ ไม่ใช่ปฏิเสธอิทธิปาฏิหาริย์แล้ว เลยพาลดูถูกปฏิเสธคำสอนที่ดีๆ ของพระท่านไปทั้งหมด ก็จะเสียโอกาส ได้แต่บาปไม่ได้กุศลเลย





“ อย่าเอาตัวเองไปวัดหัวใจพระโพธิสัตว์ ท่านทุ่มสร้างบารมีด้วยชีวิต ”

การทำความดี สั่งสมบุญบารมีนั้น มีความเข้มข้นหลายระดับ ดังนี้

1. ทำบุญ คือ การทำความดีของบุคคลโดยทั่วไป...

2. สร้างบารมี คือ การทำบุญแบบเข้มข้น

3. อุปบารมี คือ การสร้างบารมีที่เข้มข้นมากขึ้น ระดับยอมสละอวัยวะได้

4. ปรมัตถบารมี คือ การสร้างบารมีที่เข้มข้นสูงสุด ระดับยอมสละชีวิตได้

นักสร้างบารมีผู้มุ่งหวังผลที่สูง เช่น พระโพธิสัตว์ ท่านจะมีใจที่ใหญ่มาก กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ ในสิ่งดีๆอย่างอุทิศชีวิต และทำอย่างต่อเนื่องไม่ใช่นานๆทำที ทำชนิดคนธรรมดาคาดฝันไม่ถึงเลย

ตัวอย่างการสร้างบารมีของพระพุทธเจ้า

@ ชาติหนึ่ง พระพุทธเจ้าของเราขณะสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ บวชเป็นดาบส ยืนอยู่บนหน้าผามองลงไปเห็นแม่เสือหิวโซกำลังจะกินลูกตัวเอง พระองค์ยอมกระโดดลงไปให้เสือกิน เพื่อช่วยชีวิตลูกเสือ โดยอธิษฐานจิตว่า ขอบุญนี้ส่งผลให้ข้าพเจ้าตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาค

@ สมัยพระองค์เกิดเป็นพระเวสสันดร ยอมยกพระโอรสพระธิดา คือ กัณหา กับ ชาลี ให้กับพราหมณ์ชูชก แต่ก็วางแผนการไว้จนชูชกนำกัณหากับชาลี ไปถวายพระเจ้าตา เพื่อรับเงินแทน

@ แม้พระชาติสุดท้าย เจ้าชายสิทธัตถะก็เสด็จออกบวชในวันที่พระโอรส คือ เจ้าชายราหุลประสูตินั่นเอง เมื่อบำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้ธรรมแล้วก็กลับมาโปรดพระญาติ พระเจ้าสุทโธทนะ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ พระนางพิมพาสุดท้ายก็ได้บวชบรรลุธรรมเป็นพระอรหันตเถรี เจ้าชายราหุลก็บวชเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา และเป็นสามเณรอรหันต์ แม้พระราชมารดาจะสวรรคตแล้ว พระองค์ยังเสด็จตามไปโปรดถึงบนสวรรค์จนบรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน

> หากใครไม่เข้าใจ ใช้ความรู้สึกของตัวเองไปวัดการสร้างบุญบารมีของพระโพธิสัตว์ แล้วหลงไปตำหนิท่านว่าทำมากเกินไป โง่ หลงบุญ บ้าบุญ ทิ้งลูกทิ้งเมียออกบวช เราลองคิดดูว่า คนๆนั้นจะมีวจีกรรมแบกบาปหนักขนาดไหน มีนรกเป็นที่ไป ไม่คุ้มเลย >

ใจของเราหากยังอยู่ที่ระดับการทำบุญขั้นแรก ทำแบบเล็กๆน้อยๆทั่วไป เมื่อเห็นคนอื่นเขาทำความดีอย่างอุกฤษฏ์ ไม่ใช่ไปตำหนิเขา แต่ควรอนุโมทนา เราจะได้บุญด้วย

*** การทำความดีจริงๆแล้วไม่มีคำว่าทำมากเกินไป อยู่ที่หัวใจของคนๆนั้นมีเป้าหมายชีวิตที่สูงส่งเพียงใด ***

จะวัดว่าดีหรือไม่ดี ไม่ได้ดูที่ว่าทำมากไปไหม แต่ดูที่สาระของการกระทำ ถ้าเป็นเรื่องดี ก็คือดี ยิ่งทำมากยิ่งดี
___ การให้ทาน อย่างอุทิศได้แม้ชีวิต เป็นสิ่งควรอนุโมทนา
___ การรักษาศีล โดยยอมตายไม่ยอมละเมิดศีล เป็นสิ่งควรอนุโมทนา
___ การเจริญภาวนา โดยทำสมาธิอย่างเอาชีวิตเป็นเดิมพัน เป็นสิ่งควรอนุโมทนา

ตัวอย่างนักสร้างบารมียุคปัจจุบัน

>> แม้ในยุคใกล้ๆของเรานี้ ก็มีพระเถระผู้บวชอุทิศตนสร้างบารมีอย่างชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันหลายรูป ซึ่งในช่วงแรกทุกท่านจะมีลักษณะคล้ายกัน คือ ถูกเข้าใจผิด ถูกโจมตีด่าว่านานาชนิด

เพราะการสร้างบารมีอย่างเอาจริงเอาจัง ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพันที่ทำนั้น เป็นสิ่งที่สังคมไม่คุ้นเคย จึงถูกระแวงสงสัย จับผิด โจมตี แต่ด้วยความหนักแน่น อดทน ไม่หวั่นไหวทำความดีอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายสังคมก็ยอมรับ สิ่งที่ท่านเหล่านี้ได้ทำ สร้างคุณูปการแก่พระพุทธศาสนามากมาย อาทิ

1. พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

2. หลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ

3. ครูบาศรีวิชัย

4. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ)

5. ท่านพุทธทาส

6. พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)

7. พระธรรมวิสุทธิมงคล (หลวงตามหาบัว)
ฯลฯ

>>> ผู้มีปัญญาเพียงพินิจดู ก็จะรู้ว่า สิ่งที่ท่านเหล่านั้นทำ ต้องทำด้วยชีวิต ผู้มีเจตนาทุจริต ทำสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ ศาสนสถานและศาสนบุคคลที่ท่านสร้าง ก็จะเป็นสมบัติของแผ่นดินและพระพุทธศาสนาสืบไป

ผู้มีเจตนาไม่สุจริต มักจะอยู่ไม่ได้นาน ก็จะมีเหตุให้ต้องออกไป ยากที่จะยืนหยัดทำความดี โดยไม่หวั่นไหวต่อคำติฉิน นินทาใดๆ

คนในโลกนี้ส่วนมากคิดถึงตนเองก่อน ถ้าเป็นเรื่องส่วนรวมก็ทำเล็กๆน้อยๆ เหยาะแหยะ ผู้ที่มีใจใหญ่เอาชีวิตเป็นเดิมพันในการทำความดี ใหม่ๆจึงมักถูกมองว่าทำอะไรใหญ่โต เว่อร์! เพี้ยน มีวัตถุประสงค์แอบแฝง

เราชาวพุทธเมื่อเห็นพระภิกษุรูปใดตั้งใจทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง แม้เริ่มต้นเราอาจจะไม่เห็นด้วยในวิธีการ เพราะความไม่คุ้นเคย เป็นเรื่องค่อนข้างแปลกใหม่ เราอย่าเพิ่งไปตำหนิด่าว่าท่าน จะกลายเป็นวิบากกรรม คนที่ไปด่าพระภิกษุที่ทำความดีอย่างอุทิศชีวิตเหมือนพระโพธิสัตว์ ว่าบ้า ผลกรรมนั้นน่ากลัวมาก <<<

" ใครชอบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแบบไหน ก็ไปชวนคนให้มาปฏิบัติแบบที่ตัวเองชอบ อย่าเอาเวลา สติปัญญา ความสามารถของเราไปใช้ในทางทำลาย ก่อบาป แต่ให้เอามาใช้ในทางสร้างสรรค์กันดีกว่า จะส่งผลให้พระพุทธศาสนาเจริญก้าวหน้า ตัวเราก็จะได้ไม่มีกรรมหนักติดตัวด้วย "
See More




"การบริภาษพระภิกษุผู้ทรงศีลเป็นกรรมอันหนัก"

ผู้บุกเบิกให้เกิดพัฒนาการใหม่ๆ ในช่วงแรกมักจะมีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วย เพราะขัดกับความคุ้นเคยเดิม แม้ในวงการพระพุทธศาสนาก็เช่นกัน พระมหาเถระผู้มีคุณูปการต่อพระพุทธศาสนาจำนวนมาก ต่างก็ประสบกับการวิพากษ์โจมตีอย่างหนักมาแล้ว เพราะคนเรา พอไม่เข้าใจก็ไม่ชอบ จึงหาเรื่องจับผิด ด่าว่า ใส่ร้ายป้ายสี อาทิ

- พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ผู้เดินธุดงค์...ตั้งใจปฏิบัติธรรม บุกเบิกสร้างพระป่าสายอีสาน ก็เคยถูกครหาว่าอวดอุตริมนุสสธรรม ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยเขียนวิจารณ์ว่าสอนผิดจากพระไตรปิฎก ที่บอกว่าไปสนทนาธรรมกับพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วได้

- ครูบาศรีวิชัย ผู้นำศิษยานุศิษย์สร้างทางขึ้นพระธาตุดอยสุเทพสำเร็จในเวลาเพียง 3 เดือน และบุกเบิกเผยแผ่ธรรมะอย่างกว้างขวางในแดนล้านนา ก็เคยถูกใส่ร้ายป้ายสี จนถูกจับขังถึง 3 ครั้ง ปลดจากเจ้าอาวาส ถูกคุมตัวเข้ากรุงเทพฯ

- สมเด็จพุฒาจารย์ (อาจ อาสโภ) ผู้วางรากฐานให้ มจร. เติบใหญ่เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์หลักในปัจจุบัน ส่งพระไทยไปเรียนกรรมฐานกับพระพม่า กลับมาบุกเบิกสร้างสายธรรมปฏิบัติยุบหนอพองหนอในไทย ก็เคยถูกข้อกล่าวหาจากสังฆนายกในยุคนั้นว่าปาราชิก และสมเด็จพระสังฆราชมีพระบัญชาให้สึก ถึงขนาดถูกจับสึกเปลื้องผ้าเหลืองออก ต้องนุ่งขาวห่มขาวอยู่ที่สันติบาล 4 ปี แต่สุดท้ายศาลก็พิพากษาว่าท่านไม่ผิดจึงกลับมาครองผ้าเหลืองใหม่ ก่อนมรณภาพได้เป็นถึงผู้รักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช

- หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ผู้บุกเบิกการปฏิบัติแบบมโนมยิทธิ ก็เคยถูกกล่าวหาว่าปาราชิกเพราะอวดอุตริมนุสสธรรม อวดอ้างว่าไปสวรรค์ ไปนิพพานได้

- หลวงพ่อพุทธทาส ก็เคยถูกกล่าวหาว่าเป็นพระบ้า เพราะเทศน์ปากเปล่าโดยไม่ถือใบลาน ซึ่งคนยุคนั้นไม่คุ้น ถูกกล่าวหาว่าเป็นพระมหายาน พระนอกรีต เพราะชอบสอนเรื่องสุญญตา อิงคำสอนของท่านนาคารชุน ชอบแนวคิดแบบเซ็น แต่ท่านก็สามารถดึงปัญญาชนจำนวนมากให้หันมาสนใจศึกษาพระพุทธศาสนา

- หลวงพ่อธัมมชโย ก็ถูกกล่าวหาว่าอวดอุตริมนุสสธรรม และยักยอกที่ดินวัด แต่ท่านก็สามารถชักชวนประชาชนเข้าวัดปฏิบัติธรรมทำความดีมากมาย และเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั่วโลก ข้อกล่าวหาเรื่องปาราชิกก็ถูกลบล้างไป โดยมหาเถรสมาคมได้กลั่นกรองนำเสนอ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ จากคุณูปการที่ท่านมีต่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย

- หลวงตามหาบัว ก็เคยถูกกล่าวหาอวดอุตริมนุสสธรรม อวดอ้างว่าตนเป็นพระอรหันต์แล้ว แต่พูดจาหยาบคาย จับเงินจับทองผิดพระวินัย ระดมผ้าป่าช่วยชาติซึ่งไม่ใช่กิจของสงฆ์ หวังจะขึ้นเป็นใหญ่ในวงการสงฆ์ทางลัด แต่ท่านก็สามารถสร้างศรัทธาในหมู่ชาวพุทธได้มากมาย

> > น่าคิดว่า ผู้ที่เคยบริภาษด่าว่าพระมหาเถระเหล่านี้ จะต้องแบกบาปมากเพียงใด ตอนกำลังด่าว่าท่าน ทุกกรณีจะมีลักษณะคล้ายกัน คือ แต่ละคนก็คิดว่าท่านไม่ดีไม่ใช่พระแล้ว ด่าแล้วไม่บาป ได้บุญด้วย ปลุกระดมกันและกันด้วยโทสวาท (hate speech) ให้เกิดความเกลียดชังอย่างมากๆเหมือนท่านไม่ใช่คน

แต่พระมหาเถระเหล่านี้ แต่ละรูปก็ได้พิสูจน์ด้วยการอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาจนตลอดชีวิตของท่าน สิ่งที่แต่ละรูปได้สร้างไว้นั้นต้องทำด้วยชีวิต ผู้ที่ไม่บริสุทธิ์ใจจะทำอย่างนั้นไม่ได้

น่าคิดว่าผู้ที่ด่าว่าท่านพระอาจารย์มั่น ครูบาศรีวิชัย สมเด็จพระพุฒาจารย์(อาจ) ฯลฯ คนเหล่านี้ต้องรับกรรมหนักเพียงใด

ส่วนพระที่มีเจตนาไม่สุจริตนั้น มักอยู่ได้ไม่นานก็มีเหตุให้ต้องออกไปเอง สมตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าพระธรรมวินัยนี้เหมือนทะเลที่จะซัดซากศพขึ้นฝั่งในที่สุด ดังมีตัวอย่างให้เราเห็นอยู่มากราย โดยเราไม่ต้องไปผสมโรงด่า ให้เสี่ยงต่อบาปกรรมเลย < <

ตัวอย่างวิบากกรรมของผู้บริภาษพระภิกษุผู้ทรงศีล

@ ในครั้งพุทธกาลที่เมืองสาวัตถีมีชาวประมงจับได้ปลาใหญ่ตัวหนึ่ง มีสีเหมือนทองคำแต่ปากเหม็นมาก จึงเอาไปถวายพระราชา พระราชารับสั่งให้นำไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พอปลาอ้าปากเท่านั้น กลิ่นเหม็นก็คลุ้งตลบทั้งเชตวันมหาวิหาร

พระราชาถามพระศาสดาว่า ทำไมปลามีสีเหมือนทองคำ แต่ปากเหม็น

พระศาสดาตรัสตอบว่า ปลานี้ภพในอดีตเป็นภิกษุชื่อกปิละ มีความรู้มาก ทะนงในความรู้ของตน เที่ยวด่าบริภาษพระภิกษุที่ไม่เชื่อคำของตน น้องสาวกับแม่ก็ด่าว่าพระภิกษุตามพระกปิละเพราะคิดว่าท่านรู้มาก พระกปิละตายแล้วจึงไปเกิดในอเวจีมหานรก ไหม้ในมหานรกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง แล้วมาเกิดเป็นปลาด้วยเศษแห่งวิบาก

เนื่องจากเคยท่องบ่นคัมภีร์ สรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า จึงได้อัตตภาพมีสีเหมือนทองคำ แต่เพราะเป็นผู้ด่าบริภาษพระภิกษุทั้งหลาย กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของเธอ
จากนั้นพระพุทธเจ้าทำให้ปลาพูดได้ด้วยพุทธานุภาพ

พระศาสดาตรัสถามปลาว่า__ เจ้าชื่อกปิละหรือ?

ปลาตอบ__ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ชื่อกปิละ

พระศาสดาถาม__ เจ้ามาจากไหน?

ปลาตอบ__ มาจากอเวจีมหานรก พระเจ้าข้า

พระศาสดา __ แม่ของเจ้าไปไหน?

ปลาตอบ __เกิดในนรก พระเจ้าข้า

พระศาสดา __น้องสาวของเจ้า ไปไหน?

ปลาตอบ __เกิดในมหานรก พระเจ้าข้า

พระศาสดา__ บัดนี้เจ้าจักไปที่ไหน?

ปลาชื่อกปิละกราบทูลว่า__ “จักไปสู่อเวจีมหานรกดังเดิม พระเจ้าข้า”
ดังนี้แล้ว คิดถึงบาปกรรมที่ตนเคยทำ เศร้าเสียใจมากจึงเอาศีรษะฟาดเรือตายในทันทีนั่นเอง กลับไปเกิดในนรกแล้ว มหาชนเห็นเรื่องราวทั้งหมด ได้สลดใจมีขนลุกชูชันแล้ว

> การบริภาษด่าว่าพระภิกษุผู้ทรงศีลเป็นกรรมหนักมาก พวกเราอย่าไปทำเด็ดขาด บางคนแค่ฟังเขาว่าต่อๆ กันมาก็หลงเชื่อ ผสมโรงด่าว่าท่านด้วยความคึกคะนอง กรรมนี้น่ากลัวนัก ยิ่งในโลกปัจจุบันที่การสื่อสารออนไลน์ เป็นไปอย่างรวดเร็วกว้างขวาง ยิ่งต้องระมัดระวัง มีสติ ไม่ไปตามแห่ทำบาปกับใคร

การตัดต่อภาพใส่ร้ายป้ายสีพระภิกษุ ยิ่งผิดทั้งศีล ผิดทั้งธรรม จะหาเหตุผลมาอ้างว่าทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพราะคิดว่าท่านไม่ดี เหตุผลนี้เมื่อตายแล้วตกนรก จะเอาไปใช้อ้างกับยมบาลเขาก็ไม่รับฟังเลย

แนวปฏิบัติที่ถูกต้องคือ เราอย่าไปบริภาษด่าว่าพระภิกษุสงฆ์ เพราะเรายังรู้จักท่านไม่จริง แต่เอาเวลาไปประพฤติปฏิบัติธรรม กับพระภิกษุรูปใดก็ได้ที่เราถูกอัธยาศัย มีความศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านดีกว่า ทำอย่างนี้เราจะไม่มีวิบากกรรม จะมีแต่ความสุขความเจริญตลอดไป ทั้งภพนี้และภพหน้า <










" แนวทางการสอนของพระพุทธเจ้า"

มีบางคนเข้าใจผิดว่า การสอนว่า “ ทำดี ตายแล้วไปสวรรค์ ทำบาป ตายแล้วตกนรก ” เป็นการสอนที่ผิด เอาสวรรค์มาล่อ เอานรกมาขู่

แต่ในความเป็นจริงแล้ว แนวการสอนที่พระพุทธเจ้าทรงใช้มากที่สุด คือ ...

อนุปุพพิกถา การสอนไปตามขั้นตอนเพื่อปรับจิตผู้ฟังให้ละเอียดผ่องใสขึ้นตามลำดับ ดังนี้

1. ทานกถา สอนเรื่องการให้ทาน

2. ศีลกถา สอนเรื่องการรักษาศีล

3. สัคคกถา พรรณนาเรื่องสวรรค์ ความงดงามน่ารื่นรมย์ยินดีของทิพยสมบัติ
เพื่อให้เห็นอานิสงส์ของการให้ทาน และรักษาศีล ว่าจะทำให้ได้ไปเกิดบนสวรรค

4. กามาทีนพ สอนเรื่องโทษของกาม

5. เนกขัมมานิสงส์ สอนเรื่องอานิสงส์ของการออกบวช

เมื่อใจของผู้ฟังยกสูงขึ้นละเอียดดีแล้ว จึงสอนต่อด้วยอริยสัจ 4

>> เรื่องราวเกี่ยวกับสวรรค์มีกล่าวไว้มากมายในพระไตรปิฎก ที่รวมไว้เฉพาะเป็นเล่มเลยก็มี เรียกว่า วิมานวัตถุ เรื่องของวิมาน และเรื่องของนรกก็มีกล่าวไว้มากมาย เรื่องเปรต ก็กล่าวไว้เป็นคัมภีร์เฉพาะ เรียกว่า เปตวัตถุ

ตัวอย่างในครั้งพุทธกาล : ลาชเทพธิดา
มีหญิงชาวนาคนหนึ่ง ได้ทำข้าวตอกใส่ไว้ในขันแล้วมีโอกาสได้ใส่บาตร ถวายพระมหากัสสปะ ซึ่งเพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ ระหว่างเดินกลับบ้าน วิบากกรรมตามมาทัน ถูกงูกัดตาย

ผลบุญทำให้ไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีวิมานทองโตใหญ่มาก ที่ประตูวิมานประดับเรียงรายด้วยขันทองคำ มีข้าวตอกทองคำห้อยระย้าอยู่อย่างงดงาม

จะเห็นว่าทำบุญอย่างไรก็ได้อย่างนั้น ทำบุญด้วยข้าวตอก ก็ได้วิมานประดับด้วยข้าวตอกทองคำ ใช้ขันเป็นภาชนะ ก็มีขันทองคำประดับเรียงราย มีเรื่องราวทำนองนี้อยู่มากมายในพระไตรปิฎกและอรรถกถา

พระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมถึงความจริงของโลกและชีวิต กฎแห่งกรรม บุญบาป นรก สวรรค์ แล้วทรงนำมาสอนเรา

บรรพบุรุษไทยแต่โบราณก็ได้ปลูกฝังศีลธรรมในหมู่ประชาชนให้รักบุญกลัวบาป ตามแนวทางของพระพุทธเจ้านี้เอง อาทิ

- ไตรภูมิพระร่วง พระราชนิพนธ์ของพญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งพรรณาถึง นรก สวรรค์ ภพภูมิต่างๆ ก็เป็นหนังสือที่เผยแพร่ไปอย่างกว้างขวาง ช่วยปลูกฝังศีลธรรมแก่ชาวไทยมายาวนาน ทำให้สังคมไทยสงบร่มเย็น อยู่เย็นเป็นสุข จนได้ชื่อว่า “ สยามเมืองยิ้ม ”

คนปัจจุบันใจหยาบ บ้างก็ไม่เชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม จนพาลจะปฏิเสธการสอนเรื่องนรก สวรรค์ ซึ่งเป็นแนวการสอนของพระพุทธเจ้า ทำให้สังคมวุ่นวาย คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น “ ยิ้มสยาม แทบจะกลายเป็นยิ้มสยอง ” ไปแล้ว

- ภาพวาดฝาผนังโบสถ์ วิหารต่างๆ ก็มีภาพของสวรรค์ เทวดา นางฟ้า มากมาย บ้างก็ทำเป็นรูปปั้น เช่น รูปปั้นเปรตที่วัดไผ่โรงวัว

ปัจจุบันเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น เราก็ควรจะได้ใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ในการเผยแผ่ธรรมะ เช่น ทำภาพของนรก สวรรค์ ทิพยสมบัติทั้งหลาย ออกเผยแผ่ตามสื่อต่างๆ เป็นภาพนิ่ง หรือถ้าทำเป็นแอนิเมชั่นได้ยิ่งดี เพื่อปลุกกระแสศีลธรรม ความรักบุญ กลัวบาป ให้กลับมาสู่สังคมไทย เพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของบ้านเมืองเรา

>> การสื่อสารในปัจจุบันเป็นไปอย่างรวดเร็ว หากมีพระภิกษุนำเรื่องนรก สวรรค์ มาสอน แล้วมีคนพาลติเตียนด่าว่าพระ หาว่าเอาสวรรค์มาล่อ เอานรกมาขู่ หากเราไม่รู้ไปตามแห่ผสมโรงด่าพระด้วย กดไลท์ กดแชร์ ข้อความที่เป็นวจีทุจริต
เราก็พลอยบาปไปด้วย แชร์ไปถึงคน 100 คน ก็บาป 100 เท่า น่ากลัวจริงๆ อย่าไปทำ แต่ถ้าแชร์ข้อความธรรมะ ยิ่งไปถึงคนกว้างเท่าใด เราก็ได้บุญมากไปตามส่วน

*** เรามาช่วยกันเผยแพร่ภาพและข้อความธรรมะให้มากๆกันเถิด ให้คนรักบุญ กลัวบาป สังคมจะได้สงบร่มเย็น ***





_ทำบุญแล้วควรหวังผลหรือไม่_

ปัจจุบันมีชาวพุทธบางส่วนเข้าใจกันว่า การทำบุญต้องไม่หวังอะไรเลย ถ้าทำบุญแล้วหวังผลแสดงว่าโลภ เรื่องนี้ยังเป็นความเข้าใจที่ผิดกันอยู่

จริงๆแล้ว การให้ทานจะโดยหวังผลหรือไม่หวังผล ก็เป็นเรื่องดีทั้งนั้น ดีกว่าไม่ให้ทาน จะหวังผลหรือไม่หวังผล แต่ละคนสามารถเลือกปฏิบัติได้ตามจริตอัธยาศัยของตน เช่น...

คนส่วนใหญ่ซึ่งปรารถนาอายุ วรรณะ สุขะ พละ ลาภ ยศ สรรเสริญ ก็ให้ทานแล้วอธิษฐานหวังในผลเหล่านี้ ทำให้ได้ดังใจปรารถนา ละโลกแล้วได้ไปเกิดบนสวรรค์

ส่วนผู้ที่ไม่ต้องการกลับมาเกิดอีก ปรารถนาเป็นพระอนาคามีหรือพระอรหันต์ ก็ให้ทานเพียงเพื่อเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต ทำให้จิตใจสบาย เหมาะแก่การเจริญสมถวิปัสสนาจนหมดกิเลสในที่สุด ท่านเหล่านี้จะให้ทานโดยไม่หวังผลเรื่องลาภ ยศ เพราะไม่มีประโยชน์ เนื่องจากไม่ต้องการกลับมาเกิดอีกแล้ว

เมื่อพระพุทธองค์ทรงสร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ แต่ละชาติล้วนทำบุญแล้วอธิษฐานจิตว่า ด้วยบุญนี้ขอให้ข้าพเจ้าได้บรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต

พระอรหันตสาวกองค์สำคัญก็เป็นเช่นเดียวกัน

... นี้แสดงว่าการทำบุญแล้วตั้งจิตปรารถนาเป็นเรื่องดี
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ประโยชน์ มี 3 ระดับ คือ

1. ประโยชน์ชาตินี้ เช่น รวย สวย แข็งแรง อายุยืน มีชื่อเสียง เป็นที่รัก

2. ประโยชน์ชาติหน้า คือ ตายแล้วได้ไปเกิดบนสุคติโลกสวรรค์ มีทิพยสมบัติมาก

3. ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ ได้บรรลุธรรม

>> ดังนั้น เมื่อทำบุญแล้วตั้งจิตปรารถนาให้ผลดีเกิดขึ้น เราก็ต้องตั้งจิตให้เป็น มุ่งให้เกิดผลดี ทั้ง 3 ระดับ เช่น อธิษฐานขอให้มีสุขภาพแข็งแรง อายุยืนยาว มีโภคทรัพย์สมบัติมาก ฉลาด คบแต่คนดี ได้ทำความดีตลอดชีวิต ตายแล้วได้บังเกิดบนสวรรค์ ได้บรรลุมรรคผลนิพพาน เป็นต้น

ไม่ตั้งจิตปรารถนาในสิ่งไม่ดี เช่น ให้สาวเห็นสาวหลง อันเป็นเหตุให้ผิดศีลกาเม ให้ฉลาดสามารถโกงโดยไม่มีใครจับได้ อย่างนี้ไม่ดี <<

ตัวอย่างในครั้งพุทธกาล...

พระเจ้าจัณฑปัชโชต พระราชาแห่งกรุงอุชเชนี ภพในอดีตเกิดเป็นคนรับใช้เขา ได้นำภัตตาหารวิ่งฝ่าเปลวแดดอันร้อนแรงไปถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วตั้งจิตปรารถนาว่า ด้วยบุญนี้ภพต่อไปขอให้ข้าพเจ้ามีอำนาจแผ่ไพศาลดุจแสงตะวัน และมีพาหนะฝีเท้าเร็วด้วยเถิด

เพราะทำบุญถูกเนื้อนาบุญ และทำด้วยจิตเลื่อมใสมาก ตายแล้วจึงได้ไปเกิดบนสวรรค์ยาวนาน เมื่อลงมาเกิดในครั้งพุทธกาล ก็ได้เป็นพระราชาผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงอุชเชนีตามคำอธิษฐาน

การทำบุญแล้วหวังผล ก็เปรียบเหมือนเด็กเรียนหนังสือ การเรียนอย่างมีเป้าหมายโดยหวังความรู้ ย่อมทำให้มีกำลังใจในการเรียน ดีกว่าเรียนโดยไม่หวังผลอะไ

การทำบุญอย่างมีเป้าหมายโดยหวังผลที่ดีในอนาคต ย่อมทำให้มีกำลังใจในการทำความดี

พระโพธิสัตว์สามารถสละได้ทั้งทรัพย์สินเงินทอง เลือด เนื้อ ชีวิตอุทิศแก่มหาชนนับชาติไม่ถ้วน ก็เพราะตั้งจิตปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า ผู้ที่หวังผลใหญ่ก็ทำให้กล้าที่จะให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา แบบทุ่มชีวิต

เหตุที่บางคนคิดว่าการทำบุญแล้วหวังผลเป็นความโลภ เพราะไม่เข้าใจความแตกต่างของ

“ความโลภ” กับ “กุศลธรรมฉันทะ”

- ความโลภ คือ ความอยากได้ในทางทุจริต เช่น อยากไปปล้นเขา ยักยอก คดโกงทรัพย์ของคนอื่นมาเป็นของตัว เป็นสิ่งไม่ดี เป็นกิเลส ควรละ

- กุศลธรรมฉันทะ หรือที่เรียกสั้นๆว่า ฉันทะ คือ ความพอใจ ความชอบ ความอยากในสิ่งที่สุจริต ดีงาม เช่น อยากช่วยคนที่ลำบากยากจน อยากรักษาศีล อยากสวดมนต์นั่งสมาธิ อยากไปเกิดบนสุคติโลกสวรรค์ อยากบรรลุธรรม เป็นต้น

ฉันทะ เป็นสิ่งที่ดี พระพุทธเจ้าตรัส อิทธิบาท4 ธรรมะที่ทำให้งานสำเร็จ ก็เริ่มด้วยฉันทะ เพราะเมื่อเราเห็นประโยชน์จากการทำสิ่งนั้น ย่อมเกิดความพอใจ เต็มใจที่จะทำ ทำให้เกิดวิริยะความเพียรในการทำกิจต่างๆ

ฉันทะจึงเป็นแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ เช่น เห็นประโยชน์ว่าเรียนหนังสือแล้วจะได้ความรู้ไปประกอบอาชีพได้ ทำให้ขยันเรียน เห็นคุณและโทษว่า ถ้าทำบาปจะตกนรก ถ้าไม่ทำบาปแต่ทำบุญก็จะไปเกิดบนสวรรค์ จึงตั้งใจละความชั่วทำแต่ความดี

เราชาวพุทธทุกคน จึงควรตั้งใจทำความดีทุกรูปแบบ แล้วอธิษฐานจิต ให้อานิสงส์ผลบุญนั้นนำสิ่งดีๆมาสู่ชีวิตของเราทั้งภพนี้ ภพหน้า

เมื่อผลบุญส่ง เรามีทรัพย์ มียศ มีตำแหน่ง มีสุขภาพรูปร่างหน้าตาดี ก็ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นอุปกรณ์หนุนส่งให้เราทำความดีได้มากยิ่งๆขึ้นไปอีก เหมือนเอาบุญต่อบุญ ทำให้ชีวิตเรามีแต่ความสุขความเจริญทุกภพทุกชาติ ไม่มีเสื่อมเลย และเมื่อให้ทานแล้วก็ควรรักษาศีลและเจริญภาวนาด้วย เพื่อให้เราสามารถบรรลุธรรมในที่สุด

เราเห็นใครทำบุญแล้วตั้งจิตปรารถนาในสิ่งที่ดี อย่าเผลอไปตำหนิว่าเขา ให้เป็นวิบากกรรมติดตัว ต่อไปเราจะถูกคนเข้าใจผิด ถูกด่าว่านินทา ควรอนุโมทนาบุญกับเขา เราจะได้บุญไปด้วย

* หมายเหตุ *

- รายละเอียดดูในอังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต มหายัญญวรรคที่ 5 ทานสูตรที่ 9 (เนื้อหาในพระไตรปิฎกฉบับมจร. กับของมหามกุฏ แปลแตกต่างกันบ้าง ควรดูประกอบกัน)

- และในอัฏฐกนิบาต ทานวรรคที่ 4 สูตรที่ 5 ว่าด้วยผลที่เกิดจากการให้ทาน กล่าวว่า ผู้ให้ทานและมีศีลสามารถไปเกิดบนสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น หากปราศจากราคะด้วย จะได้ไปเกิดบนชั้นพรหม
See More






“ ให้ทานด้วยจิตเลื่อมใสมาก ได้บุญมาก ”

ปัจจุบันมีความเข้าใจผิดกันในหมู่ชาวพุทธ
บางพวกก็ว่า
“ ให้ทานมากได้บุญมาก ถูกต้อง เพราะเศรษฐี 100 ล้าน ทำบุญ 10 บาท กับ...
ทำบุญหมื่นบาท จะได้บุญเท่ากันได้อย่างไร ”

บางพวกก็ว่า
“ ไม่ถูก ถ้าให้ทานมากได้บุญมาก อย่างนี้คนจนก็หมดสิทธิได้บุญมากสิ ”

ความจริงชาวพุทธทั้ง 2 กลุ่มนี้ไม่ได้ขัดกันเลย เพียงแต่ไปจับประเด็นที่ปลายเหตุเท่านั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนหลักการให้ทานให้ได้บุญมาก ว่าต้องประกอบด้วยองค์ 3 ดังนี้
1. วัตถุบริสุทธิ์ สิ่งของที่ให้ทานได้มาด้วยความบริสุทธิ์ ไม่ได้ไปคดโกง ลักขโมยมา
2. เจตนาบริสุทธิ์ มีจิตเลื่อมใสทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้
3. บุคคลบริสุทธิ์ ผู้รับยิ่งเป็นผู้มีศีล มีคุณธรรมสูงเพียงใด เราก็ได้บุญมากไปตามส่วน

ในกรณีถกเถียงกันนี้ ประเด็นอยู่ที่ข้อ 1 และ 2

คำกล่าวที่ครบก็คือ “ ให้ทานด้วยจิตเลื่อมใสมาก ได้บุญมาก ”

ผู้ที่บอกว่า “ ให้ทานมากได้บุญมากนั้น” พูดไม่ครบ เพราะคนที่จะให้ทานมากได้นั้น ต้องมีจิตเลื่อมใสมากก่อน ไม่อย่างนั้นใครจะไปให้ทานมากๆ จิตที่เลื่อมใส คือ ต้นเหตุแห่งการให้ทาน

ในกรณีเป็นเศรษฐีที่มีทรัพย์มากเท่ากัน ผู้ที่ให้ทานด้วยเงินหมื่นบาท ย่อมได้บุญมากกว่าเศรษฐีที่ให้ทาน 10 บาท เพราะแสดงว่ามีจิตเลื่อมใสมากกว่า

ส่วนคนที่ยากจนแสนเข็ญ เขาอาจให้ทานด้วยเงินเพียงบาทเดียว แต่เมื่อทำด้วยจิตเลื่อมใสมาก เขาก็ได้บุญมากมหาศาล เพราะทรัพย์เพียงบาทเดียวนั้น อาจเป็นเงินทั้งหมดที่เขามีอยู่ในขณะนั้น

ตัวอย่างในครั้งพุทธกาล

มีมหาทุคตะ ที่ยากจนสุดๆ ขนาดผ้าที่จะห่มออกนอกบ้านมีผืนเดียว ต้องผลัดกันใช้กับภรรยา คืนหนึ่งเขาตามมหาชนไปฟังธรรมกับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงเทศน์ทั้งคืนเพื่อตั้งใจโปรดมหาทุคตะนี้โดยเฉพาะ จนมหาทุคตะเอาชนะความตระหนี่ได้ ตัดใจเอาผ้าห่มกายเก่าๆ ผืนนั้นถวายพระพุทธเจ้า ร้องประกาศเสียงดังว่า “ ชิตังเม ๆ ๆ ” แปลว่า “ เราชนะแล้ว ๆ ๆ ” คือ ชนะความตระหนี่นั่นเอง ผลบุญเกิดทันตาเห็น พระราชาชื่นชมในความเลื่อมใสของมหาทุคตะ พระราชทานสมบัติเป็นอันมากแก่มหาทุคตะ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ยอดแห่งอุบาสกผู้ถวายทาน

อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นเศรษฐีใหญ่เมืองสาวัตถี เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า บรรลุธรรมเป็นพระโสดาบัน เกิดศรัทธาจึงสร้างวัดถวาย ไปพบที่ดินที่เหมาะสมเป็นสวนป่าร่มรื่น ไม่ใกล้ไม่ไกลจากตัวเมือง ไปขอซื้อ เจ้าของคือเชตราชกุมาร บอกราคาแบบไม่อยากขายว่า ให้เอาเงินปูเรียงเต็มพื้นที่จึงจะขาย

เศรษฐีไม่ต่อเลยสักคำ ไปขนเงินเป็นแท่งๆ มาปูเรียงเต็มพื้นที่เพื่อขอซื้อจริงๆ จนเจ้าเชตทึ่งในความศรัทธาของเศรษฐี จึงให้คนเว้นที่ตรงทางเข้าหน่อยหนึ่งว่า ตรงนี้ไม่ต้องเอาเงินปู ตนขอร่วมบุญสร้างซุ้มประตูด้วย โดยมีเงื่อนไขว่า ต้องใช้ชื่อตนเป็นชื่อวัด

อนาถบิณฑิกเศรษฐีทำบุญเพื่อเอาบุญจริงๆ ไม่ได้ต้องการชื่อเสียงหน้าตาอะไรเลย รับคำทันที เพราะเห็นว่าเจ้าเชตเป็นผู้มีชื่อเสียง มีอำนาจ ใช้เป็นชื่อวัดก็จะยิ่งช่วยในการเผยแผ่ธรรมะ วัดนั้นจึงได้ชื่อว่า เชตวันมหาวิหาร สิ้นทรัพย์ในการสร้างวัดคิดเป็นเงินปัจจุบันหลายหมื่นล้านบาท กลายเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาล มีพระภิกษุอยู่จำพรรษาหลายพันรูป

สร้างวัดเสร็จ เศรษฐีก็ให้ทานถวายภัตตาหารหยูกยาตลอด ต่อมาวิบากกรรมในอดีตชาติตามมาทัน ธุรกิจสะดุด ถูกคนโกง ทรัพย์ที่ฝังไว้ก็ถูกน้ำพัดไป ยากจนลง กระทั่งจะเลี้ยงพระก็มีแค่ปลายข้าวกับน้ำผักดอง แต่ก็ยังไม่เลิกให้ทาน

เทวดาที่เฝ้าซุ้มประตูบ้านเศรษฐี เหาะลงมาห้ามเศรษฐีให้เลิกให้ทานเสียเถิด จะหมดตัวอยู่แล้ว เศรษฐีนอกจากไม่เชื่อแล้ว ยังไล่เทวดาไปด้วยว่า ถ้าเป็นเทวดามิจฉาทิฐิอย่างนี้ ไม่อนุญาตให้อยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของตน จนสุดท้ายเทวดาต้องไปตามสมบัติกลับมาให้เศรษฐีเป็นการขอขมา เศรษฐีก็กลับมีทรัพย์มากยิ่งกว่าเดิม

ถ้าเราเกิดในยุคเดียวกับเศรษฐี แล้วใครไปตำหนิเศรษฐีว่าหลงบุญ บ้าบุญ ก็จะกลายเป็นวิบากกรรมติดตัว ชาติต่อไปจะเกิดเป็นยาจก ถูกคนด่าว่านินทา เศรษฐีซึ่งเป็นอริยบุคคลย่อมมีศรัทธามั่นคงในพระรัตนตรัย ไม่หวั่นไหวด้วยสิ่งใดๆ เลย

นี้เป็นแบบอย่างของชาวพุทธผู้เปี่ยมด้วยศรัทธา สมตามคำกล่าว ที่ว่า

“ บัณฑิตแม้ตกทุกข์ ยังไม่เลิกประพฤติธรรม ”

พวกเราเห็นใครลำบากแล้วยังไม่เลิกให้ทาน ไม่เลิกทำความดี เขาก็ทำตามแบบอย่างอนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่า เป็นยอดแห่งอุบาสกผู้ถวายทานนั่นเอง อย่าไปตำหนิเขาให้เป็นวิบากกรรมติดตัวเรา ควรชื่นชมในความเลื่อมใสศรัทธาของเขา

ส่วนตัวของเราแม้ยังศรัทธาไม่เท่าเขา ก็ให้ทานตามกำลังศรัทธา “อย่าให้เดือดร้อนตนเอง อย่าให้เดือดร้อนครอบครัว” จะให้ทานมากน้อยเพียงใด ก็ให้ทำด้วยใจที่เลื่อมใสศรัทธาอย่างเต็มเปี่ยม

“ ให้ทานด้วยจิตเลื่อมใสมาก ย่อมได้บุญมาก ”

และเมื่อให้ทานแล้ว ก็ควรรักษาศีลและเจริญสมาธิภาวนาด้วย บุญจะได้ครบ

ให้ทาน ทำให้รวย เป็นที่รัก
รักษาศีล ทำให้สวย แข็งแรง อายุยืน
เจริญภาวนา ทำให้ฉลาด บรรลุธรรม
See More













“ คนพาลเท่านั้น ที่ไม่สรรเสริญการให้ทาน ”
(พุทธพจน์)

ปัจจุบันมีบางคนโจมตีคนที่ทำบุญว่าโง่ ทำบุญมากไป เดี๋ยวจะหมดตัว บ้างก็พยายามรณรงค์ให้คนทำบุญน้อยๆ ซึ่งการกระทำเหล่านี้เกิดขึ้นจากความตระหนี่ในใจเป็นมูลเหตุ ผิดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า
...
ปัญหาของสังคมไทยปัจจุบันไม่ใช่อยู่ที่คนทำบุญมากเกินไป แต่อยู่ที่คนใช้จ่ายเงินไปกับอบายมุขมากเกินไป ค่าใช้จ่ายเรื่องเหล้า เบียร์ บุหรี่ ของคนไทย ตกปีละ 400,000 ล้านบาท ถ้ารวมยาเสพติดและการพนันด้วย เกินกว่า 1 ล้านล้านบาท / ปี มากกว่าเงินทำบุญ 10 เท่า

ซึ่งอบายมุขนอกจากจะทำให้เสียทรัพย์แล้ว ยังเสียสุขภาพ เสียการงาน เกิดปัญหาครอบครัว เป็นบ่อเกิดของอาชญากรรม ปัญหาสังคมนานัปการ

ถ้าเราสามารถชวนคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมได้มากๆ คนที่เข้าวัด จะลด ละ เลิกอบายมุข และนำส่วนหนึ่งของเงินที่เคยใช้ไปกับอบายมุขมาทำบุญทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และบริจาคช่วยเหลือสังคมในเรื่องต่างๆ แทน ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งตัวผู้ทำบุญ ครอบครัว สังคม และเป็นบุญกุศลติดตัวไปในภพเบื้องหน้าด้วย

ไม่ต้องกลัวว่าคนจะทำบุญสร้างวัดมากไป เพราะวัดใหญ่ๆยังใช้งบก่อสร้างน้อยกว่าโรงงานเหล้า เบียร์ ยาสูบเสียอีก ยิ่งสร้างแล้วมีคนเข้าวัดปฏิบัติธรรมมากๆ ยิ่งคุ้มค่ามาก

ถ้าเห็นวัดไหนมีเสนาสนะ แต่คนเข้าวัดน้อย ไม่ใช่เป็นเหตุอ้างให้ชวนคนเลิกสร้างวัด แต่ควรช่วยกันรณรงค์ชวนคนเข้าวัดให้มากๆ ให้เต็มโบสถ์ เต็มวิหาร เต็มศาลา

ผู้ที่คิดจะติเตียนคนทำบุญนั้น เอาเวลาและสติปัญญาไปกระตุ้นเตือนให้คนเลิกอบายมุขดีกว่า

ตัวอย่างในครั้งพุทธกาล...

พระเจ้าปเสนทิโกศล พระราชาแคว้นโกศล ได้ถวายอสทิสทาน ด้วยการถวายภัตตาหารแด่พระภิกษุ 500 รูป โดยนิมนต์ท่านนั่งบนมณฑป
มีช้าง 500 เชือก ถือเศวตฉัตรกั้นร่มให้ ช้าง 1 เชือกต่อพระภิกษุ 1 รูป
มีเจ้าหญิง 250 พระองค์ถือพัดๆให้พระภิกษุ
มีเจ้าหญิง 250 พระองค์ คอยบดของหอมบูชาพระภิกษุ
เศวตฉัตร บัลลังก์สำหรับนั่ง เชิงบาตร และตั่งเช็ดเท้าที่พระราชาทำถวายพระศาสดา เป็นของสูงค่าประมาณไม่ได้

" ในทานนี้ พระราชาสละทรัพย์ไป 140 ล้านในวันเดียว "

บางคนอาจนึกสงสัยว่าทำไมต้องให้ทานมากขนาดนี้ ถ้าเป็นผู้ที่รู้ค่าของบุญแล้ว จะไม่มีคำว่าทำบุญมากเกินไปเลย พระพุทธเจ้าเมื่อสร้างบารมีอยู่ บางพระชาติถึงขนาดสละเลือดเนื้อของตนไปให้แม่เสือกิน เพื่อป้องกันไม่ให้แม่เสือที่หิวโซกินลูกตัวเอง

> อำมาตย์ของพระราชาคนหนึ่ง ชื่อ กาฬะ คิดติเตียนพระราชาว่า
“ นี้เป็นไปเพื่อความเสื่อมแห่งราชตระกูล ทรัพย์ถึง 140 ล้าน หมดในวันเดียว
ภิกษุทั้งหลายบริโภคอาหารแล้วก็นอนหลับ มิได้ทำอะไรให้เกิดประโยชน์ ราชตระกูลฉิบหายเสียแล้ว ”

> อำมาตย์อีกคน ชื่อว่า ชุณหะ คิดสรรเสริญพระราชาว่า
“ ทานของพระราชายิ่งใหญ่ น่าเลื่อมใสจริง คนอื่นทำไม่ได้ เราขออนุโมทนาบุญนั้น ”

พระราชาทรงกริ้วกาฬอำมาตย์ตรัสว่า
“ เราให้ทานมากจริง แต่เราให้ของของเรา มิได้เบียดเบียนอะไรท่านเลย ไฉนท่านจึงเดือดร้อนปานนั้น

ดังนี้แล้วทรงเนรเทศกาฬอำมาตย์ออกจากแคว้น และมอบราชสมบัติให้ชุณหอำมาตย์ครอง 7 วัน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า
“ คนตระหนี่ไปเทวโลกไม่ได้
คนพาลเท่านั้น ที่ไม่สรรเสริญการให้ทาน
ส่วนนักปราชญ์อนุโมทนาการให้ทาน
จึงเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า
เพราะการอนุโมทนานั้น ”

เราอย่าประพฤติตนเยี่ยงกาฬอำมาตย์ ติเตียนคนที่เขาตั้งใจทำบุญให้ทานเลย เพราะการกระทำอย่างนั้นจะนำมาซึ่งบาปอกุศล ตายแล้วไปสู่อบายภูมิ

แต่ให้ปฏิบัติตามโอวาทของพระพุทธเจ้า อนุโมทนาชื่นชมผู้ที่ให้ทานกันเถิด เพราะนั่นเป็นทางมาแห่งบุญกุศล นำความสุขความเจริญมาสู่ตัวเองทั้งโลกนี้และโลกหน้า

MANA PRADITKET

MANA PRADITKET
Handpainted oil painting by Mana Praditket

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
Original handpainted oil painting by Niran Paijit

PRAYAD TIPPAWAN

PRAYAD TIPPAWAN
ORIGINAL IMPRESSIONAL OIL PAINTING BY PRAYAD TIPPAWAN

Achara 34 (24x36)

Achara 34 (24x36)
ORIGINALl OIL PAINTING

Amornsak Livisit 74 (24x36)

Amornsak Livisit 74 (24x36)
ORIGINAL OIL PAINTING, Impressionist style

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)
Original handpainted oil painting abstract style

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
ORIGINAL ABSTRACT STYLE OIL PAINTING BY NIRAN PAIJIT

Chavalit (Pong)

Chavalit (Pong)
PINTO Horses

Komez 78 (22x30)

Komez 78 (22x30)
Original handpainted pastel painting on paper

KOMES

KOMES
Handpainted pastel painting by Komez

PRATHOUN

PRATHOUN
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY PRATHOUN

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
ORIGINAL OIL PAINTING BY THAVORN IN-AKORN (SIZE 20x30")

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
Original oil painting by Thavorn In-akorn

Facebook


ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING

PHOTO GALLERY

PHOTO GALLERY

Facebook

PHOTO GALLERY