บทเรียนของพระพุทธเจ้า ๓ บท สีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา
สีลสิกขาเป็นการเตรียมความพ
ร้อมจัดระเบียบกายวาจา จิตตสิกขาเป็นการเตรียมความ
พร้อมของจิตให้พร้อมสำหรับก
ารเจริญปัญญา เป็นการจัดระเบียบจิตใจ ก็คือเป็นการฝึกให้จิตตั้งม
ั่นเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นั่นเอง
เพราะฉะนั้นเราจะต้องมาเรีย
นเรื่องจิตก่อนถึงจะไปเดินป
ัญญาได้ ถ้าไม่เรียนเรื่องจิตก่อนจะ
ไปเดินปัญญา ก็จะเอาจิตที่ไม่มีคุณภาพไป
เจริญปัญญา มัน
...ไปไม่รอดหรอก มันก็กลายไปเป็นการเพ่งรูปเพ่งนาม เพราะไม่สามารถรู้รูปรู้นามตามความเป็นจริงได้
เพราะฉะนั้นเราจะมาฝึกจิตของเรา หัดพุทโธไป หัดหายใจไป หัดดูท้องพองยุบไป อะไรก็ได้สักอย่างหนึ่งนะ หาเครื่องอยู่ให้จิตสักอย่างหนึ่งนะ ถ้าไม่มีเครื่องอยู่เลย จู่ๆจะไปดูมันเลย ดูยาก จิตมันว่องไว มันหนีเร็ว แล้วพอหนีทีหนึ่ง ถ้าไม่มีบ้านให้จิตอยู่ จะหนีนาน หลงนาน เราก็มาพุทโธ มาหายใจ มาดูท้องพองยุบ จะขยับมือทำจังหวะตามอย่างหลวงพ่อเทียนก็ได้ อะไรก็ได้สักอย่างหนึ่ง หรือจะอยู่กับพุทโธๆไปเรื่อยๆก็ได้ บริกรรมเอา
ให้มีเครื่องอยู่ให้จิตอยู่ เพื่อที่จะรู้ทันจิต ตัวนี้ตัวสำคัญ ไม่ใช่มีเครื่องอยู่ให้จิตอยู่ เพื่อให้จิตสงบ แต่มีเครื่องอยู่ให้จิตอยู่เพื่อที่จะรู้ทันจิต ถึงจะเรียกว่าจิตตสิกขา มีเครื่องอยู่ให้จิตสงบจะไม่ได้เรียนเรื่องจิต ไม่ใช่จิตตสิกขาจริง
เพราะฉะนั้นเราอยู่กับพุทโธๆแล้วเราก็คอยรู้ทันจิต จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตหนีไปคิดรู้ทัน หรือจิตไปเพ่งจิตนิ่งๆ ก็รู้ทัน เวลาเรารู้ลมหายใจ ถ้าคนไหนถนัด รู้ลมหายใจ แต่รู้ลมหายใจเพื่อจะรู้ทันจิต ไม่ใช่เพื่อให้จิตนิ่งอยู่กับลมหายใจ รู้พุทโธก็เพื่อรู้ทันจิต ไม่ใช่ให้จิตนิ่งอยู่กับพุทโธ ดูท้องพองยุบก็เพื่อให้รู้ทันจิต ไม่ใช่ให้จิตไปนิ่งอยู่กับท้อง เดินจงกรมยกเท้าย่างเท้านะ ก็เพื่อจะรู้ทันจิต ไม่ใช่ให้จิตไปอยู่ที่เท้า ไม่ใช่ให้จิตหลงไปเพ่ง เพราะฉะนั้นการที่เราหัดกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง มีบ้านให้จิตอยู่แล้วรู้ทันจิตอยู่เรื่อยๆ มันจะเป็นการซ้อมรู้เวลาจิตหลงไป
จิตหลงไปคิดกับจิตหลงไปเพ่ง จิตหลงมี ๒ อัน หลงไปคิดกับหลงไปเพ่ง ก็เผลอกับเพ่งเท่านั้นเอง จิตเพ่งก็ถือว่าหลงเหมือนกัน แต่หลงแบบผู้ดีหน่อย จิตหลงไปก็หลงแบบผู้ร้าย
หลวงพ่อมีหลานคนหนึ่งนะ เล็กๆ แล้วมันบอกว่า มันเห็นแล้วล่ะว่า จิตเผลอกับจิตเพ่งเนี่ย จิตเพ่งเนี่ยเป็นจิตหลงแบบมีปัญญา เด็กใช้คำอย่างนี้นะ หลงแบบฉลาด หลงแบบคนฉลาด แต่ก็ยังหลง มันเห็นอยู่แล้วแบบนี้ยังหลงอยู่
เพราะฉะนั้นเรามาคอยรู้ทันจิตที่หลงบ่อยๆ พุทโธไปจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไปเพ่งจิตรู้ทัน หายใจไปจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไปเพ่งลมหายใจรู้ทัน ดูท้องพองยุบนะจิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไปเพ่งท้องรู้ทัน เดินจงกรมยกเท้าย่างเท้าอยู่ จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตไปเพ่งเท้ารู้ทัน หรือเดินจงกรมแล้วรู้ร่างกายทั้งร่างกายอยู่ จิตหนีไปคิดรู้ทัน จิตเพ่งร่างกายทั้งร่างกาย ก็รู้ทันอีก จิตเผลอก็รู้ จิตเพ่งก็รู้ ฝึกซ้อมตัวนี้ให้มากเลย เป็นพื้นฐานที่สำคัญ
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชSee More
มุตโตทัย โดย หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต (พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๙๒)
อกิริยาเป็นที่สุดโลก สุดสมมติบัญญัติ
สัจจานํ จตุโร ปทา ขีณาสวา ชุติมันโต เต โลเก ปรินิพพุตา...
สัจธรรมทั้ง ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ยังเป็นกิริยา
เพราะแต่ละสัจจะๆ ย่อมมีอาการต้องทำ คือ
ทุกข์ ต้องทำการกำหนดรู้
สมุทัย ต้องละ
นิโรธ ต้องทำให้แจ้ง
มรรค ต้องเจริญให้มาก
ดังนี้ ล้วนเป็นอาการที่จะต้องทำทั้งหมด
ถ้าเป็นอาการที่จะต้องทำ ก็ต้องเป็นกิริยา
เพราะเหตุนั้นจึงรวมความได้ว่า สัจจะทั้ง ๔ เป็นกิริยา
จึงสมกับบาทคาถาข้างต้นนั้น
ความว่า สัจจะทั้ง ๔ เป็นเท้า
หรือเป็นเครื่องเหยียบก้าวขึ้นไปหรือก้าวขึ้นไป ๔ พัก จึงจะเสร็จกิจ
ต่อจากนั้นจึงเรียกว่า อกิริยา
อุปมาดังเขียนเลข ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐
แล้วลบ ๑ – ๙ ทิ้งเสียเหลือแต่ ๐ (ศูนย์) ไม่เขียนอีกต่อไป
คงอ่านว่า ศูนย์แต่ไม่มีค่าอะไรเลย
จะนำไปบวกลบคูณหารกับเลขจำนวนใดๆ ไม่ได้ทั้งสิ้น
แต่จะปฏิเสธว่าไม่มีหาได้ไม่เพราะปรากฏอยู่ว่า ๐ (ศูนย์)
นี่แหละคือ ปัญญารอบรู้
เพราะทำลายกิริยา คือความสมมติ
หรือว่า ลบสมมติลงเสียจนหมดสิ้น
ไม่เข้าไปยึดถือสมมติทั้งหลายSee More
เรื่องราวทั้งหลายไม่ว่าเรื่องอะไร ก็ทำให้คนเราเกิดความรู้สึกเพียง 3 ชนิด คือ สุข ทุกข์ เฉยๆ
ถ้าไปพิจารณาที่ความคิดก็จะพบว่ามีร้อยแปดพันเก้าหลายหลายสารพัดเรื่อง แต่หากระลึกรู้ที่ความรู้สึกจะพบว่ามีแค่ 3 ชนิดเท่านั้น
คนเรามักวุ่นวายอยู่กับความคิด การปรุงแต่งเรื่องราวต่างๆเสียส่วนใหญ่ จึงทำให้รู้สึกว่าเรื่องราวปัญหาต่างๆนั้นมีมากมาย...
แต่หากฝึกฝนการมีสติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อมให้มากไว้ จะพบว่าการสังเกตชนิดของอารมณ์ความรู้สึก จะทำให้เข้าใจปัญหาต่างๆในชีวิตได้ดีขึ้น
เพราะความรู้สึก สุข ทุกข์ หรือ เฉยๆ ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่ว่าเป็นความคิดเรื่องใด แต่ขึ้นอยู่ที่ลักษณะของจิตเข้าไปยึดมั่นถือมั่นกับความคิดนั้นๆ
หากจิตเข้าไปยึดในลักษณะดึงดูดเคลิบเคลิ้มเพลิดเพลิน ก็คือ "สุข"
หากจิตเข้าไปยึดถือในลักษณะของ การผลักออก ความต้องการที่จะสลัดหลุดพ้นออกจากสภาวะนั้น ก็คือ "ทุกข์"
ส่วนจิตที่เข้าไปยึดในลักษณะนิ่งสงบอยู่ด้วยความไม่รู้ ก็คือ "เฉยๆ"
การมีสติสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อม ปล่อยวางเรื่องราวต่างๆ ปล่อยวางสุขและทุกข์ไป จิตก็จะค่อยๆน้อมเข้าสู่ความรู้สึก "เฉยๆ"
แต่ความรู้สึก "เฉยๆ" ในตอนแรกนั้น ยังเป็นเฉยแบบไม่รู้ เฉยแบบยังมี "อวิชชา" อยู่ ซึ่งเราต้องอาศัยความเพียร อาศัยสติ และ ปัญญาเข้ามาช่วย
หากสติปัญญาในการสังเกตสภาวะ พิจารณาเรื่องราวต่างๆจนเกิดญาณปัญญาเกิดวิชชาขึ้นมาแล้ว จากเฉยๆไม่รู้ ก็จะกลายเป็นเฉยเพราะรู้แจ้งเห็นจริงแทนSee More
"สมาธิจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเราหมดความตั้งใจ วิปัสสนาจะเกิดขึ้นมาได้ต่อเมื่อเราหมดความคิด หมดความตั้งใจ คือ ความว่างของจิต สมาธิก็เกิด การหมดความคิดก็คือความว่างของจิต วิปัสสนาคือปัญญาก็เกิด"...หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วิธีใช้ปัญญาอบรมสมาธิ
ปัญญาที่อบรมสมาธิ เป็นอุบายวิธีที่ช่วยย่นเวลาทำสมาธิได้อย่างดี
วิธีใช้ปัญญาอบรมสมาธินั้น...
ถ้าใครสามารถแยกจิตกับอารมณ์ออกจากกันได้ชำนาญแล้ว
จะรู้สึกว่าทำสมาธิได้ง่ายมาก คือแทบไม่ต้องทำอะไรเลย
เพียงแต่ระลึกรู้นิวรณ์ธรรมที่กำลังปรากฏกับจิต
แล้วเห็นว่านิวรณ์ไม่ใช่จิต จิตเป็นกลาง นิวรณ์ก็จะดับจากจิต
จิตเข้าถึงรู้ ที่เป็นกลาง และสงบเพราะพ้นจากความรบกวนของนิวรณ์ต่างๆ
ถ้าย้อนออกมารู้ภายนอก ก็เป็นการใช้งานของขณิกสมาธิ
ถ้าจะรู้ธรรมละเอียดภายใน ก็ดำเนินไปในอุปจารสมาธิ
หากจะเข้าอัปปนาสมาธิต่อ ก็ทำสติระลึกรู้ลมหายใจต่อไปเลย
หรือถ้าจะเข้าอรูปฌาน ก็ทำสติระลึกรู้ความว่างของจิตต่อไปเลย
เมื่อจิตเคล้าเคลียกับลมหายใจ หรือความว่าง โดยไม่มีการควบคุมแล้ว
จิตก็จะเข้าถึงอัปปนาสมาธิเอง
เป็นภาวะที่เหลือแต่รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้เพียงอันเดียว
จิตจะสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
แต่ทำอะไรไม่ค่อยได้ครับ ดูจะเป็นที่พักเอากำลังเสียมากกว่า
มีอีกวิธีหนึ่งคือ การใช้ความคิดพิจารณาธรรมเอาตรงๆ นี่แหละครับ
เช่นพิจารณาร่างกาย ให้เห็นเป็นธาตุ เป็นอสุภะ หรือพิจารณาความตาย
เมื่อพิจารณาไปแล้ว ถ้าจิตเกิดสลด หรือจิตเห็นจริงในระดับหนึ่ง(ไม่ถึงขั้นเห็นแจ้ง)
จิตจะวางการพิจารณา แล้วรวมสงบเข้ามาเป็นสมาธิเป็นคราวๆ ไป
แต่สมาธิด้วยวิธีนี้มักจะไปได้เพียงอุปจารสมาธิ
และใช้เวลามากกว่าวิธีแรกที่แยกอารมณ์อันเป็นศัตรูของสมาธิออกไปเลย
โดยคุณ สันตินันท์
หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำอย่างไรจิตจะตั้งมั่น จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว ? (ถ้าไม่ได้อ่านคงต้องเสียดายมากครับ ความเห็นผู้โพสต์ครับ)
จิตใจจะตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัวได้ มีวิธีฝึกอันแรก ฝึกสมถะ ฝึกสมถะไปนะ พุทโธๆไปก็ได้ หายใจไปก็ได้ แล้วคอยรู้ทันจิตไว้ พุทโธ พุทโธ พุทโธไป แล้วคอยรู้ทันจิตไปเรื่อย อย่างนี้เป็นสมถะแบบง่ายๆ แบบง่ายๆที่พวกเราพอจะทำได้ เพราะฉะนั้นเราหัดพุทโธไป หัดหายใจไป พอจิตเราเคลื่อนไหว เ...รารู้ทัน จิตเคลื่อนไหว รู้ทัน ในที่สุดจิตจะสงบ จิตจะตั้งมั่น ไม่หนีไปแล้ว เพราะหนีไปทีไรถูกรู้ทุกที
จิตนี้เหมือนเด็กซน สติเหมือนพ่อแม่ พอเด็กจะหนีออกจากบ้าน พ่อแม่หันมาดูนะ เด็กมันกลับมาไม่กล้าไปเที่ยว เนี่ยสติก็เหมือนกัน มันคอยดู ดูจิตใจอยู่ พอจิตใจจะหนีไปคิดนะ สติรู้ทันไปเรื่อย จิตใจก็ไม่หนีไป จิตใจก็สงบ จิตใจก็ตั้งมั่นอยู่กับเนื้อกับตัวได้ นี่ก็วิธีหนึ่งนะ ไม่ยาก อันนี้ง่ายๆ ใครๆก็ทำได้ เพราะฉะนั้นพวกเราทั้งหลายนะ ลองดู หายใจเข้าหรือพุทโธเข้าก็ได้นะ แล้วก็คอยรู้ทันจิตไป พอจิตไหลไปแล้วรู้ ไหลไปแล้วรู้ ในที่สุดจิตจะตั้งมั่นขึ้นมา อันนี้เป็นวิธีทำสมถะที่ง่ายที่สุดแล้วนะ
สมถะอีกชนิดหนึ่งเป็นสมถะเต็มรูปแบบ อันนั้นทำยากแล้ว ในยุคนี้ที่มาเรียนกับหลวงพ่อ หลวงพ่อเห็นอยู่ไม่กี่คน มีไม่มากที่ทำสมถะเต็มรูปแบบได้ เห็นมีคุณดำเกิง มีอาจารย์วิชา อาจารย์วิชาเป็นลูกศิษย์อาจารย์วิริยังค์ทำอานาปานสติ คุณดำเกิงเป็นลูกศิษย์ท่านเจ้าคุณนรฯ ท่านก็ทำอานาปานสติเหมือนกัน พวกนี้เขาฝึกสมาธิ เขาฝึกกันทุกวัน หายใจไปนะ หายใจไป หัดใหม่ๆก็จะไปรู้ลมหายใจเข้า-ลมหายใจออก ลมหายใจเนี่ยเขาเรียกว่า “บริกรรมนิมิต” ไปรู้ลมหายใจ ไม่เอาสติไปที่อื่นแล้ว มีแต่สติอยู่กับลม แต่ว่าไม่เผลอตัว ไม่เคลิ้ม ไม่ลืมตัว รู้สึกตัวอยู่ แล้วก็เห็นร่างกายนี้หายใจ ใจเป็นคนดูอยู่ เห็นลมอยู่ เอาลมหายใจนี้เป็นอารมณ์
หายใจไปนะ ทีแรกลมหายใจจะยาว หายใจเป็นธรรมชาติเนี่ย เราจะหายใจยาว หายใจลึกนะ หายใจไปถึงท้องเลย ทีนี้พอเราหายใจไปเรื่อย จนเริ่มสงบ ลมหายใจจะสั้น สั้นๆนะ จนขึ้นมาอยู่ที่ปลายจมูกนี้หน่อยเดียว เพราะฉะนั้นพอลมมันละเอียด ลมมันสั้น ค่อยๆละเอียดๆนะ ใจนี้มันจะโล่งว่าง จะสว่าง มันจะรู้สึกสว่าง
ทำไมรู้สึกสว่าง เวลาคนนั่งสมาธินะ เลือดจะมาเลี้ยงสมองส่วนหน้านี้เยอะ ถ้าคนฟุ้งซ่าน เลือดจะไปเลี้ยงที่อื่น ไปเลี้ยงมือเลี้ยงเท้าบ้าง เลี้ยงปาก แต่พอจิตเริ่มสงบนะ เลือดมาอยู่ที่ตรงนี้เยอะ จะให้ความรู้สึกว่าสว่าง สบาย แต่ไม่ใช่ว่าสว่างขึ้นมาเพราะเลือดมาอยู่ที่หัวหรอกนะ อันนี้สำหรับมนุษย์นะ เทวดาเขาไม่มีเลือดนี่ เขานั่งสมาธิเขาก็สว่างได้เหมือนกัน พอจิตมันสงบมันก็จะสว่างขึ้นมา
ทีนี้สว่างทีแรกมันก็จะสว่างอยู่ตรงนี้ เป็นดวงขึ้นมา ให้เราดูดวงสว่างตรงนี้แทนลมหายใจ เพราะลมหายใจสั้น..จนลมหายใจหยุดไปแล้ว จะเป็นดวงสว่างขึ้นมา ใช้แสงสว่างตรงนี้แทนลมหายใจ ตัวนี้เรียกว่า “อุคคหนิมิต” ไม่ใช่บริกรรมนิมิตแล้ว ตัวลมเป็นแค่บริกรรมนิมิตนะ พอมันเป็นความสว่างเกิดขึ้น เป็นอุคคหนิมิต ใช้ความสว่างนี้เป็นอารมณ์กรรมฐาน หายใจไปเรื่อย..แต่มันไม่รู้สึกว่าหายใจเท่าไหร่ มันเหมือนหายใจทางผิวหนัง แต่ใจมันจะสว่าง รู้ในความสว่าง มันก็ใหญ่ๆขึ้นมาได้นะถ้าฝึกชำนาญ ถ้าไม่ชำนาญก็จะถลำลงไปในแสงแล้วก็เบลอไปเลย เคลิ้มๆไป ถ้าชำนาญก็จะขยับได้ ให้ใหญ่แค่ไหนก็ได้ ให้เต็มโลกก็ได้ จิตใจก็เริ่มมีปีติมีควาสุขขึ้นมา นี่ได้สมาธิ
พอมีสมาธิขึ้นมาแล้ว ก็ยังไม่หยุดอยู่แค่นั้น จิตมันยังตรึกมันยังตรองถึงดวงสว่างนี้อยู่ เรียกว่ามีวิตกมีวิจารอยู่ จิตยังไม่ละเอียดจริง เราเฝ้ารู้ไปนะ จิตมันสงบขึ้นมานี้ มันทิ้งการตรึกการตรองในตัวนิมิต ไม่เอานิมิตนะ มันกลับมารู้ที่จิตได้ จิตมันตั้งมั่นขึ้นมาเป็นตัวผู้รู้ขึ้นมา พอจิตตั้งมั่นเป็นตัวผู้รู้แล้ว มันจะเห็นว่ามีความสุขเกิดขึ้น มันมีความสุขอยู่แล้วล่ะ แต่ทีแรกมันหวือหวา มันไม่ดูความสุขนะ มันมัวแต่ไปดูนิมิต จิตมันเปลี่ยนจากการรู้นิมิตมาดูความสุขแทน ความสุขก็จะดับให้ดู เป็นอุเบกขาขึ้นมา มีปีติ มีสุข สุดท้ายจิตเป็นอุเบกขา แล้วทรงตัวเป็นผู้รู้อยู่ บางทีร่างกายหายไปเลย ไม่มีร่างกายแล้ว
ทีนี้พอออกจากสมาธิมาแล้วเนี่ย จิตที่ฝึกมาจนมีตัวผู้รู้นะ ตัวผู้รู้นี้ยังทรงอยู่ได้ บางคนทรงอยู่ได้นานเลย ถ้าสมาธิทำมานานนะ ทำมาปราณีตลึกซึ้ง ตัวผู้รู้จะทรงอยู่นาน ตัวผู้รู้ที่ทรงอยู่นานจะดูจิตไม่ได้ อย่าไปดูจิตนะเวลามันทรงตัวผู้รู้อยู่ มันจะไม่มีอะไรให้ดู มันจะว่างๆ ให้ดูกายไว้
เห็นร่างกายยืนเดินนั่งนอนนะ ใจเป็นคนดู มันจะดูได้ทั้งวันเลยคราวนี้ มันจะเห็นเหมือนคนอื่นเคลื่อนไหวตลอดวันตลอดเวลา มันจะรู้สึกอย่างนี้ อาจารย์เหน่งรู้สึกไหม มันจะรู้สึกเหมือนเห็นคนอื่นทั้งวัน ปัญญามันเริ่มเกิด จิตมีสมาธิเป็นผู้รู้ผู้ดู แล้วร่างกายเคลื่อนไหว สติรู้ทันความเคลื่อนไหวของกายด้วยจิตที่ตั้งมั่นเป็นแค่ผู้รู้ผู้ดู ปัญญาจะเกิด จะเห็นทันทีว่าร่างกายนี้ไม่ใช่ตัวเรา
เพราะฉะนั้นปัญญาเกิดได้ด้วย ๒ เหตุผล อันหนึ่งจิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู อันที่สองมีสติระลึกรู้ลงไปที่กายก็จะเห็นว่ากายไม่ใช่ตัวเรา สติระลึกรู้ในเวทนาก็จะเห็นเวทนาไม่ใช่เรา สติระลึกรู้จิตทีเป็นกุศลอกุศลนะ ก็จะเห็นว่าจิตก็ไม่ใช่เรา สติระลึกรู้ เป็นตัวผู้รู้อยู่
ถ้าประคองไว้มากนะ เหมือนตัวผู้รู้เด่นดวงอยู่อย่างนี้ จะเห็นว่าทุกอย่างในโลกธาตุนี้ไม่เที่ยง ยกเว้นผู้รู้ พวกนี้ยังเดินต่อไม่ได้จริง ยังยึดตัวผู้รู้อยู่ จะเห็นตัวผู้รู้เที่ยง หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ เคยสอนไว้นะ “ใครเห็นผู้รู้เที่ยง ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่” เพราะฉะนั้นตัวผู้รู้เราก็ไม่ประคองไว้ มีตัวผู้รู้ก็สักแต่ว่าอาศัยไปรู้กาย รู้เวทนา รู้สังขาร รู้อะไรไป แต่เราไม่ประคองตัวผู้รู้
ถ้าเราไม่ประคองตัวผู้รู้ไว้ เราจะพบปรากฏการณ์อันหนึ่งว่า ตัวผู้รู้ก็ไม่เที่ยง ตัวผู้รู้เองเดี๋ยวก็เป็นตัวผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นตัวผู้คิด ตัวผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นตัวผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นตัวผู้หลง เดี๋ยวก็เป็นตัวผู้รู้เดี๋ยวเป็นตัวผู้เพ่งนะ นี่มีความแปรปรวน ตัวผู้รู้เองไม่คงที่ ในที่สุดก็จะเห็นเลยนะว่า ขันธ์ทั้งหมดแม้กระทั่งตัวจิตเอง เกิดดับตลอด ไม่มีตัวไหนคงที่เลย
แต่การที่เราจะรู้ขันธ์ทั้งหลายแล้วเห็นความเกิดดับได้ จิตต้องตั้งมั่น จิตต้องเป็นกลาง ถ้าจิตถลำลงไปในอารมณ์ จะไม่เห็นหรอก ปัญญาจะไม่เกิด เพราะฉะนั้นจิตต้องตั้งมั่น บางคนถึงบอกว่าต้องทำสมาธิก่อน อันนี้ก็ถูกเหมือนกัน แต่ว่าไม่ใช่ ๑๐๐ เปอร์เซนต์ ไม่ใช่ทุกคนต้องทำสมาธิในรูปแบบก่อน บางคนทำไม่ได้ บางคนไม่มีวันทำได้นะ เพราะฉะนั้นบางคนต้องใช้ปัญญาก่อน ใช้ปัญญานำสมาธิ บางคนที่ทำสมาธิได้ก็ใช้สมาธินำปัญญา คนที่เชี่ยวชาญทั้งสมาธิและเชี่ยวชาญในการดูจิต จะใช้สมาธิและปัญญาควบกันได้ เพราะฉะนั้นมันมี ๓ แบบนะ การปฏิบัตินี้See More
สมถะและวิปัสสนา ล้วนมีส่วนเสริมกัน
ระหว่างเจริญวิปัสสนา กับสมถะ เจริญวิปัสสนาไปเยอะๆนั้นดีแน่เพราะได้ปัญญา การเจริญสมถะไปมากๆก็ดีทําให้มีสมาธิจิตตั้งมั่นอยู่กับตัวเรา แต่ถ้าเราเดินอย่างหนึ่งอย่างใดไปมากๆๆ โดยไม่มีอีกอันเสริมเลยจะหลุดในช่วงปลายๆ ที่ได้ฌาณหรือได้ญาณกันแล้ว เป็นผู้รู้แล้วแต่ยังไม่พ้นตน เรียกว่ารู้ระดับได้สภาวะหมดแล้วด้วย คนที่เจริญปัญญาทําวิปัสสนาไปมากๆจะหลุดเรื่องอารมณ์ ปัญญาญาณหยั...่งรู้แม้จะลอกอวิชชาไปเยอะแล้ว แต่อวิชชาตัวที่เหลือติดอยู่กลับมีแรงดึงให้เราหลุดเพิ่มขึ้นมากมายหลายเท่ากว่าเดิมมากนัก เช่น กาม ตัญหา แม้เราจะรู้หมดด้วยญาณแต่กามที่แทบจะร้อนเป็นไฟเผาร่าง ยิ่งถ้าไปเจออดีตคู่กรรมที่เคยร่วมกรรมกันมาผูกพันกันมากๆมา(แล้วโดนพบเจอแน่ๆ เพราะเป็นชาติท้ายๆของคุณแล้ว ยิ่งดึงให้มารีบเจอกันอีกก่อนอดเจอ เลยเจอบททดลองว่าผ่านไม่ผ่านไปในตัวอีกด้วย) ทําให้หลุดไปเริ่มใหม่กันไปก็เยอะ เพราะเราเชื่อมั่นในปัญญามากเกินไป โดยไม่เอาสมถะมาช่วยกํากับทําให้จิตตั้งมั่น "ไม่วอกแวกได้" สุดท้ายก็หลุดกันครับ ไปหัดเดินซํ้าวนกลับมาใหม่ซะ ส่วนในรายที่เน้นแต่สมถะเป็นหลักโดยไม่เอาวิปัสสนาไม่เอาปัญญาเลย จะเห็นได้เลยครับกลุ่มนี้ในช่วงปลายๆจะไม่ค่อยหลุดเรื่อง กาม ตัญหา เพราะกําลังของสมาธิที่มีมากๆๆแม้จะเป็นของชั่วคราว แต่กลุ่มนี้เจริญไปถึงจุดหนึ่งจะตันไปต่อไม่ได้อยู่กับสภาวะนิพพานเทียมว่างเทียม ว่างที่ไม่มีสติปัญญากํากับ ว่างแบบโล่งๆไม่มีอะไร เป็นว่างที่เกิดจากกําลังของสมถะซึ้งเสื่อมได้ หลงติดในสุขแห่งสมาธินั้น แต่จะไม่ได้มรรคผล และอวิชชาก็ไม่ได้หลุดออกไปจากจิตเลย ปัญญาญาณไม่สามารถทําหน้าที่ได้เพราะคลุมไปด้วยอวิชชา ยังหลงทางอยู่ ถ้าเอาวิปัสสนามาเสริมกลุ่มนี้ได้ จะเดินหน้าได้เร็วมากครับ
จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย
ผลอันเกิดจากจิตที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค
ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ
...
จิตปรุงกิเลส คือ การที่จิตบังคับให้กาย วาจา ใจ กระทําสิ่งภายนอก ให้มี ให้เป็น ให้เลว ให้เกิดวิบากได้ แล้วยึดติดอยู่ว่า นั่นเป็นตัว นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา, กิเลสปรุงจิต คือการที่สิ่งภายนอกเข้ามาทําให้จิตเป็นไปตามอํานาจของมัน แล้วยึดว่ามีตัว มีตนอยู่ สําคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่รํ่าไป
...หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
"นิพพาน คืออะไร?"
หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
"นิพพาน ว่าโดยย่อ หมายถึง
"ความพยศหมดไป"...
หรือความมีมานะทิฎฐิหมดไป
หรือความมีโทสะ โมหะ โลภะ หมดไป
หรืออีกคำหนึ่งว่า กิเลส ตัณหา อุปาทาน หมดไป
มีแต่ "ความเป็นปกติหรือว่างๆ"
นี่แหละ คือ "นิพพาน"
"นิพพาน" แปลว่า หมดความร้อน
มีแต่ "ความเย็นอกเย็นใจ" ไม่ใช่อื่นไกล
นิพพานมีอยู่ในคนทุกคนไม่ยกเว้น
จะเป็นผู้หญิง
ก็มีนิพพานอยู่เช่นกัน
จะเป็นผู้ชาย
ก็มีนิพพานอยู่เช่นกัน
จะเป็นพระสงฆ์องค์เณร
ก็มีนิพพานอยู่เช่นกัน
คนไทย จีน คนฝรั่งเศส คนอังกฤษ คนอเมริกา
คนเขมร คนญวน คนลาว
ก็มีนิพพานเช่นเดียวกัน
จะนับถือศาสนาไหน ลัทธิอะไรก็ตาม
มีนิพพานเช่นเดียวกัน
นิพพานคือ ความร้อนดับหมด
มีแต่ความเย็นอกเย็นใจ
คนโบราณจึงพูดว่า
"สวรรค์อยู่ในอก นรกอยู่ในใจ"
พระนิพพานก็อยู่ในใจ
เพียงแต่ว่าคนนั้นแหละ
จะทำให้มรรค ผล นิพพาน
ปรากฏขึ้นหรือไม่เท่านั้นเอง"
ให้รับสัมผัสถึงสิ่งต่างที่มากระทบกาย(เอาแค่หมวดกายพอ) แค่ให้รู้ เช่นเดินไปธรรมดาปกติ เวลาเท้ากระทบพื้น ก็ให้รู้สึกตัวเป็นสติ "แค่รู้" เวลาลมพัดผ่านกายก็ให้รู้ จุดที่ต้องรู้นี้สําคัญมากๆๆๆๆ ให้รู้แค่รู้ถึงความรู้สึกที่กายถูกโดนลมเท่านั้น อย่า!!!!! ไปให้ความหมายใดๆๆ อย่าไปคิด แค่รู้ว่ารับรู้ถึงความรู้สึกตัว โดยไม่มีอะไรต่อ ไม่คิดต่อ ไม่มีความหมายต่อ เช่นลมพัดกระทบกาย แค่ รู้ แต่ไม่ไปคิดแปรความหมายว่...าลมแรงลมช้าลมร้อนลมเย๊น "แค่รู้สึกตัว" อย่าไปให้ความหมายแม้แต่ไปคิดว่าเป็นลมด้วย!!!! นี้หล่ะคือการรับรู้ ถึงความรู้สึกตัวที่มันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เป็นสติที่บริสุทธิ์ ปราศจากความคิด เป็นการเจริญวิปัสสนา แบบสติปัฏฐาน4 ในหมวดกาย ครับ ทําอันนี้ให้ได้กันทุกคนนะ สิ่งนี้เมื่อทําบ่อยๆแล้วจะทําให้สติมีกําลังมากขึ้นมาเรื่อยๆ จนก้าวหน้าในวิปัสสนาอย่างมากๆๆๆๆๆ หลังจากที่ รู้สึกในชีวิตประจําวันได้บ่อยแล้ว และให้ดีให้ทําควบคู่ไปกับการตามรู้ลมหายใจ ไปในชีวิตประจําวันด้วย ให้ทําบ่อยๆในทุกวันที่นึกได้ ให้ทําไปเรื่อยๆ อย่าไปเพ่งอย่าไปเกร็ง ทําไปเรื่อยๆเล่นๆ อย่าอยากได้สภาวะ แล้วจะได้เองโดยไม่รู้ตัว ถ้าไปอยากได้ไปคิดมากไปลังเลสับสนตอนทํา มันจะไม่ได้อะไร ให้ทําไปเลย ทําเล่นๆ ทําได้อย่างนี้ มรรคผลก็ไม่ไกลแล้วครับ
ให้รู้แค่ความรู้สึกตัวไปเรื่อยๆครับ เมื่อไหร่เผลอ!!! ก็ให้รู้ตัว ให้กลับมา รู้ความรู้สึกตัวพอ การรู้ความรู้สึกตัวจะค่อยๆเด่นชัดขึ้นไปเรื่อยๆ เป็นการเจริญสติวิปัสสนา จาก" ตอนแรกที่รู้แค่แว๊ปเดี๋ยว " แค่แว๊ปเดียว!!!! เท่านั้นนะ ไม่ต้องไปพยายามรักษาความรู้สึกตัว ถ้าไปพยายามให้รู้สึกตัวต่อไปนานๆ จะกลายเป็นการพยายามไปรู้สึกตัว จะไม่ใช่ความ" รู้สึกตัวที่บริสุทธิ์ " จะเป็น" การคิดรู้สึกตัวแทน " แยกดีดีนะครับ ตรงนี้หล่ะ ที่ไปสับสนกันทําผิดกันมาก ทําให้วิปัสสนาไม่เจริญ ปัญญาญาณที่จะรู้ธรรมจึงไม่เกิดกันครับ
การเดินจงกรม
ให้เดินสบายๆแบบเบาๆโล่งๆไม่ได้คิดอะไรไม่ได้ให้ความหมายใดๆ " รับรู้ความรู้สึกได้ที่กาย " เช่นเท้ากระทบพื้นก็ให้รู้แล้วจบ (ไม่ใช่ไปตามรู้เท้าก้าว กลายเป็นไปคิดเพ่งเท้าก้าวไป จะกลายเป็นสมถะ) ทําอย่างนี้ถึงเป็นการเจริญวิปัสสนาครับ หรือรู้วูบๆวาบๆแว๊ปเดียว ตอนลมพัดผ่านกาย หรืออยู่เฉยๆวูบผ่านกายผ่านกระประสาทกระแสเลือดในกาย แค่รู้ นั้นหล่ะ รู้ความรู้สึกตัวแล้ว
การเดินจงกรมถ้าจะทําสมถะในการเดินจงกรมให้เพ่งไปที่การก้าวย่างของเท้าก็จะได้สมถะเหมือนกันครับ เช่นตามรู้การก้าวย่างของขาเท้า จะได้สมถะครับ แต่ถ้าไม่ตามดูตามรู้ แต่แค่รู้แว๊ปๆๆ ตอนเท้ากระทบพื้น เกิดรู้ความรู้สึกตัว จะเป็นการเจริญสติความรู้สึกตัว จะเป็นการเจริญวิปัสสนาญาณเพื่อจะเอาปัญญาญาณในการรู้ธรรมได้เอง เพื่อเอามรรคผลครับ แต่สรุปทําอะไรแล้วดีแล้วชอบ ทําไปก่อนเลยครับไม่เป็นไร พอสมถะเข้มแข็งขึ้นมากๆ เดี๋ยวพอมาเจริญวิปัสสนามันก็จะไปได้เร็วมากๆครับ แต่ถ้าจะเอาแต่สมถะแล้วไม่เอาวิปัสสนามาช่วยในตอนท้าย ปฏิบัติไปมากๆก็ไปได้แค่พรหมครับ ไม่ถึงนิพพาน
ธรรมสนทนาของหลวงปู่ดูลย์
(ท่านมีอายุได้ ๙๐ ปี และได้เข้าพักที่ พระตำหนักทรงพรต วัดบวรฯ)
ถาม : พุทโธ เป็นอย่างไร
หลวงปู่ : เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้...อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย
ถาม : การภาวนาเข้าไปเห็นจิตผู้รู้นั้น ทำอย่างไรครับ
หลวงปู่ : ทำให้มากๆ ทำให้บ่อยๆ
ถาม : เห็นจิตครั้งเดียวนี้ ใช้ได้ไหมครับ
หลวงปู่ : เห็นครั้งเดียวถ้าชัดเจนแล้วไม่ลืม ทำให้ชำนาญ เมื่อเกิดความสงบแล้วก็พิจารณาความสงบ หัดเข้าหัดออกให้ชำนาญ เมื่อเวลาภาวนา จิตสงบแล้ว พิจารณา รู้ว่าเป็นอย่างนี้ๆ เมื่อถึงเวลาคับขัน สิ่งที่พร้อมอยู่แล้วมันก็ย่อมเป็นไปเอง ก็มีเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรมากมาย
ถาม : ในเวลาคับขันเกิดจะตายขึ้นมากะทันหัน และเราเข้าสมาธิไม่ทัน จะทำอย่างไรครับ
หลวงปู่ : นั่นแหละ ต้องหัดเข้าให้ชำนาญ ถ้าชำนาญแล้วอะไรมาปิดบังไม่ได้หรอก
ถาม : หลวงปู่ครับ ความสงบนั้นเราจะทำอย่างไรให้มีตลอดไป
หลวงปู่ : ความสงบ รึ ภาวนานั่นเอง ภาวนาให้จิตเกิด
ถาม : การงดเว้นจากการทำภาวนา จิตเราจะเสื่อมไหมครับ
หลวงปู่ : ถ้าหากเรารู้ถึงความเป็นจริงแล้ว ไม่เสื่อม ถ้ารู้ไม่ถึงความเป็นจริงมักจะเสื่อม
ถาม : คิดๆ ไป ทั้งที่คิดไปเห็นแต่กลับไม่เห็นอีก
หลวงปู่ : มันจะเห็นมาจากไหน ไปหาให้มันเห็น มันไม่เคยให้ใครเห็นหรอก เลิกหา เลิกคิดของเก่าที่เคยเห็น ทำเอาใหม่ ให้เลิกอยากรู้อยากเห็นของเก่า ทำใหม่อีกมันก็เกิดใหม่อีก อย่าไปยึดสิ่งที่เคยเป็นแล้วเกิดใหม่อีก ทำใหม่อีก ดูแต่จิตอย่างเดียว อะไรๆ ออกจากจิตอย่างเดียวเท่านั้น
ถาม : ดูจิตแล้วเห็นปรุงแต่งเรื่องราวมากมาย ไม่ชนะ จะตามดับ
หลวงปู่ : ต้องลำบากไปตามดับมันทำไม ดูแต่จิตอย่างเดียวมันก็ดับไปเอง มันออกไปปรุงแต่งข้างนอก มันเกิดจากต้นตอที่จิตทั้งนั้นหาแต่ต้นตอให้พบ ก็จะรู้แจ้งหมด อะไรก็ไปจากนี้ อะไรๆ ก็มารวมอยู่ที่นี้ทั้งหมด (ท่านพูดพลางเอาหัวแม่มือชี้ที่หน้าอก) สิ่งที่ได้รู้ได้เห็น แล้วอยากรู้อยากเห็นอีก นั่นแหละคือตัวกิเลส
ถาม : เมื่อถึงโลกุตตระแล้ว มีเมตตา กรุณาอะไรไหมครับ
หลวงปู่ : ไม่มีหรอก ความเมตตา กรุณา อยู่เหนือสิ่งเหล่านี้ทั้งหมด เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา อยู่ในโลกทั้งหมด จิตสูงสุดหลุดพ้น อยู่เหนือโลกทั้งหมด
ถาม : ไม่มีเมตตาหรือครับ
หลวงปู่ : มีก็ไม่ว่า ไม่มีก็ไม่ว่า เลิกพูดเลิกว่า เลิกอะไรๆ ทั้งหมด มันเป็นเพียงคำพูดแท้ๆ ให้ดูจิตอย่างเดียวเท่านั้น ความเป็นจริงแล้ว เป็นแต่เพียงคำพูด สลัดทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งเป็นมายาออกเสีย ตัวผู้ที่รู้และเข้าใจอันนี้แหละคือตัว พุทธะ หมดภารกิจ หมดทุกอย่างที่จะทำอะไรต่อไปอีก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รวมลงอยู่ที่นี่ จบอยู่ที่นี่ ไม่มียาวต่อไปอีกไม่มีเล็ก...ใหญ่...หญิง...ชาย...อยู่ว่างเปล่า ไม่มีคำพูด เปล่า เปล่า บริสุทธิ์
(เสียงระฆังวัดบวรฯ ทำวัตรเย็นดังขึ้น รับประโยคสุดท้ายของหลวงปู่)
ดังนั้นคำภาวนา "พุทโธ" ของชีวิตแต่ละคนอาจจะมีเป็นแสนเป็นล้าน ๆ ครั้ง แต่จะมีเพียงหนึ่ง "พุทโธ" ครั้งสำคัญที่พลิกชีวิตให้กระจ่างในธรรมตลอดไปSee More
บันได 4 ขั้น ที่จะนำพาชีวิตเรา
ให้ผ่านพ้นปัญหาไปได้ คือ
"เผชิญหน้า" อย่างมีสติ
"น้อมรับ" ด้วยความเต็มใจ
"จัดการแก้ไข" ไปทีละเปลาะอย่างใจเย็น...
และเมื่อทำทุกอย่างดีที่สุดแล้ว
ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร...
สุดท้ายคือ..."ปล่อยวาง"...
อย่าปล่อยเวลาให้หมดไปโดยเป
ล่าประโยชน์
"เรานักปฏิบัติทั้งหลาย อย่าปล่อยเวลาให้หมดไปโดยเป
ล่าประโยชน์ ให้หมั่นภาวนาไว้ตลอดเวลา พอลืมตาตื่นก็ให้ภาวนาไปจนถ
ึงเวลานอน ให้คำภาวนานั้นหายไปพร้อมกั
บการหลับ ทำเช่นนี้ให้เคยชิน ไม่ว่าขณะนั้นกำลังทำอะไรอย
ู่ก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในรถ ในเรือ หรือเดินอยู่ ก็ต้องภาวนา อย่าประมาท การภาวนานี้นอกจากจะเป็นบุญ
และทำให้จิตได้ทำงานแล้ว ยังช่วยให้เราไม่ประมาทในคว
ามตายด้วย เพร
...าะไม่มีใครรู้หรอกว่า ตัวเองจะตายเมื่อไหร่ นอกจากพระอรหันต์ท่านเท่านั้น ฉะนั้น จงภาวนาไป ไม่เสียหาย ไม่เสียตังมีแต่กำไร..."
"...การภาวนานั้น ต้องเอาจิตจับองค์พระตลอดเวลา พระองค์ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป หรือพระอริยสงฆ์ องค์ใดก็ได้ที่เรานับถือ ที่เราคุ้นเคย เวลาตายจะได้มีที่ไป คือไปกับพระ เพราะจิตเราจะระลึกแต่พระตลอดเวลาจนเคยชิน ตัวอย่างมีให้ดูตั้งมากมาย เห็นไหมเวลาคนใกล้ตาย เขาจะมีคนไปคอยบอกอยู่ข้างหูว่า ให้คิดถึงพระเข้าไว้ ให้ภาวนา หรือไม่ก็สวดมนต์ พยายามทำทุกวิถีทางให้จิตของคนที่ใกล้ตาย คิดอยู่แต่เรื่องพระ เรื่องกุศล เพราะอะไร ก็เพราะว่าจิตของคนเราตอนที่ใกล้จะดับนี้แรงนัก ถ้าจิตตอนนั้นคิดแต่เรื่องดีๆ ในที่นี้หมายถึงเรื่องบุญ พอตายไปก็เสวยสุข ไม่ต้องไปนรก ถ้าคิดถึงเรื่องบาป ก็โน่น ไปเลยนรก ไปรับกรรมที่ตัวก่อ จำไว้ให้ดี แล้วก็ไปเลือกเอา จะภาวนาตอนนี้หรือจะรอใกล้ตายค่อยภาวนา ถึงตอนนั้นก็ตัวใครตัวมัน ถือว่าบอกแล้ว..."
เรียบเรียงจากคติธรรมคำสอนโดย
พระอาจารย์ วรงคต วิริยธโร (หลวงตาม้า)
วัดพุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะ)
ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่See More