GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL

GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL
LONG LIVE THE KING BHUMIBHOL

วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2557

สมมุติ วิมุตติ โดยหลวงพ่อชา "วัดหนองป่าพง"

หลวงพ่อชา ฝึกหัดเปลียนนิสัย
สมมุติ วิมุตติ โดยหลวงพ่อชา "วัดหนองป่าพง"


สิ่งทั้งหลายในโลกล้วนแต่เป็นสิ่งสมมุติ ที่เราสมมุติกันขึ้นมาเองทั้งสิ้น สมมุติแล้วก็หลงสมมุติของตัวเอง เลยไม่มีใครวาง มันเป็นทิฐิ มันเป็นมานะ ความยึดมั่นถือมั่น อันความยึดมั่นถือมั่นนี้ ไม่ใช่เรื่องที่จะจบได้ มันจบลงไม่ได้เสียที เป็นเรื่องวัฏสงสารที่ไหลไปไม่ขาด ไม่มีทางสิ้นสุด ทีนี้เมื่อเรารู้จักสมมุติแล้ว ก็รู้จักวิมุตติ ครั้นรู้จักวิมุตติก็รู้จักสมมุติ ก็จะรู้จักธรรมะอันหมดสิ้นได้

พระพุทธองค์ของเราท่านสอนสมมุติ แล้วทรงสอนให้รู้จักแก้สมมุติ อย่าไปยึดมั่นถือมั่น อย่าไปหลงสมมุติ ท่านว่ามันเป็นทุกข์ เรื่องสมมุติ เรื่องบัญญัตินี้เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ถ้าคนไหนปล่อย คนไหนวางได้ มันก็หมดทุกข์ มันก็เป็นวิมุตติ ที่ชื่อว่าวิมุตติ ก็สมมุตินี้แหละเรียกขึ้นมา

สมมุตินี้ก็มีประโยชน์ คือ ประโยชน์ที่สมมุติขึ้นมาให้เราใช้กัน เช่นชื่อคน ภาษา จะได้พูดกันรู้เรื่อง จะได้ปฏิบัติ หรือนำไปใช้ให้ถูกต้อง เมื่อสมมุติขึ้นมาแล้ว มันก็เป็น แต่ว่าจะเปลี่ยนให้เป็นวิมุตติ

อย่างสกนธ์ร่างกายของเรานี้ก็เหมือนกัน ไม่ใช่ของเราหรอก มันเป็นของสมมุติ จริงๆ แล้วจะหาตัวตนเราเขาแท้มันไม่มี มีแต่ธรรมธาตุอันหนึ่งเท่านั้นแหละ มันเกิดขึ้นมาแล้ว ก็ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป ทุกอย่างมันก็เป็นอย่างนี้ ไม่มีเรื่องอะไรเป็นจริงเป็นจังของมัน แต่ว่าสมควรที่เราจะใช้มัน

เรื่องสมมุติกับวิมุตติมันก็เกี่ยวข้องกันอย่างนี้เรื่อยไป ฉะนั้นถ้าหากว่าจะใช้สมมุติอันนี้อยู่ อย่าไปวางอกวางใจว่ามันเป็นของจริง จริงโดยสมมุติเท่านั้น ถ้าไปยึดมั่นถือมั่น มันก็เกิดทุกข์ขึ้นมา เพราะเราไม่รู้เรื่องอันนี้ตามความเป็นจริง เรื่องมันจะถูกจะผิดก็เหมือนกัน บางคนเห็นผิดเป็นถูก เห็นถูกเป็นผิด เรื่องผิด เรื่องถูกไม่รู้ว่าเป็นของใคร ต่างคนต่างสมมุติขึ้นมาว่าถูก ว่าผิดอย่างนี้แหละ เรื่องทุกเรื่องก็ควรให้รู้

รวมแล้วส่วนสมมุติก็ดี ส่วนวิมุตติก็ดี ล้วนแต่เป็นธรรมะ แต่ว่ามันเป็นของยิ่งหย่อนกว่ากัน แต่มันเป็นไวพจน์ซึ่งกันและกัน เราจะรับรองแน่นอนว่า อันนี้ เป็นอันนี้ จริงๆ อย่างนั้นไม่ได้






“ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก มันถูกต้องอยู่แล้ว มีแต่ความเห็นของเราเท่านั้นที่ผิด โลกอันนี้ไม่ต้องแก้ปัญหาอะไรให้มันมากมาย มาแก้ความเห็นของเรา มาแก้ความคิดของเรา มาแก้ทิฏฐิของเรา ให้มีความเห็นอันถูกต้องเป็นสัมมาทิฏฐิเท่านั้น

โลกที่มันตั้งอยู่มันก็ตั้งอยู่ตามสภาพของมัน เพราะเราไปหลงโลก มันจึงทุกข์ โลกนั้นมันไม่ทุกข์ โลกนั้นมันไม่ยาก เราเป็นคนยาก โลกไม่ได้ทำให้เราทุกข์ เราทุกข์เอง ฉะนั้น จึงมาแก้ที่เรา ใจเรานี้มันหลงโลก ไม่ใช่โลกหลงเรา เรามันหลงโลก”











 พระพุทธเจ้าของเราท่านสอนว่าให้มันว่าง ความว่างนี้อย่าไปฟังผิดนะ ถ้าฟังผิดละก็อะไรก็ว่างไปหมด จะได้อะไร ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรจะเอา คือปฏิบัติเพื่อละเพื่อวาง ถ้าเราเอาอะไรทุกอัน เรามีอะไรไหม เรามีอะไรมันก็ข้องอยู่อันนั้นแหละ มีลูกมันก็ข้องอยู่กับลูก มีหลานมันก็ข้องอยู่กับหลาน มีเรือกสวนไร่นามันก็ข้องอยู่ตรงนั้นแหละ ทำไม...จะไม่ให้มันมีหรือ ไม่ใช่อย่างนั้น เพราะเราทำที่ไม่มีให้มันมี เราก็ต้องทำที่มัน...มีให้เหมือนกับไม่มี มันเป็นคนละเรื่องกัน ที่เราร่ำที่เรารวยหรือชีวิตที่เกิดขึ้นมานี้ เราอยู่กับการปล่อยวาง อยู่ด้วยปัญญา เราไม่ได้อยู่ด้วยความโง่ อยู่กับใครก็ได้ มีเงินเยอะก็ได้ มีทองเยอะก็ได้ มีผัวก็ได้ มีเมียก็ได้ ขอให้เรามีปัญญา อยู่อย่างปล่อยวาง อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมัน

เหมือนกับขันตักน้ำนั่นนะ โอ่งน้ำและขันตักน้ำ มีโอ่งอย่างหนึ่ง มีขันตักน้ำอย่างหนึ่ง และก็มีน้ำอย่างหนึ่งอยู่รวมกันนั่น เมื่อเราจะดื่มน้ำเราก็เดินไปที่โอ่ง ไปที่โอ่งเราก็จะไปพบน้ำกับขันน้ำที่ลอยอยู่ เราจะดื่มน้ำจะทำอย่างไร ก็เอาขันตักเอาน้ำมาดื่มเท่านั้น เราก็เอาขันวางไว้เอาโอ่งวางไว้ แล้วก็จากไป ไม่ใช่ว่าเราจะดื่มขัน ไม่ใช่ว่าเราจะดื่มโอ่ง โอ่งนั้นสำหรับบรรจุน้ำไว้ให้เราดื่ม เมื่อเราดื่มเสร็จแล้วเราก็ปล่อยโอ่งไว้ ปล่อยขันไว้ เราก็จากไป ไม่ใช่ว่าเราจะหอบเอาขันไปด้วย ไม่ใช่ว่าเราจะแบกเอาโอ่งไปด้วย ไม่ใช่อย่างนั้น อันนี้ก็เหมือนกัน อันนี้บ้านเรา อันนี้เรือนเรา อันนี้ลูกเราเมียเราหลานเรา ทุกอย่างเป็นของเรา สักแต่ว่าสมมติ ไม่ใช่ของจริง ความจริงนั้นเราไปดื่มน้ำ ถ้าเราไปดื่มโอ่งน้ำจะสบายไหม ไปดื่มเอาขันมันจะสบายไหม คงจะไม่มีผู้ใดไปดื่มโอ่งดื่มขัน คงไม่มีนะ เอาโอ่งวางไว้อย่างเก่า เอาขันวางไว้อย่างเก่า เราก็จากไป เรามีของอะไรต่างๆ ของที่เรามีมันก็มีอยู่แล้วในโลก เราเห็นว่าตัวเรานี้ก็ไม่ใช่เรา ของนั้นก็ไม่ใช่ของเรา แต่เป็นเครื่องสัมพันธ์กันอยู่ มีก็ใช้ไปเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่กาย แต่ความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ





ปัจจัตตัง โดย หลวงพ่อชา

ที่พระพุทธเจ้าของเราท่านสอนเป็นอนัตตธรรม ธรรมอันไม่ตาย มองโลกให้เป็นของว่าง ว่างจากการเป็นตัวตน เรา...เขา ว่างจากความโลภ ว่างจากความโกรธ ว่างจากความหลง ท่านจึงให้ทำให้ว่าง ว่างจากสิ่งที่มันมีอยู่ ไม่ใช่ละของที่มันไม่มี ปัญหาทั้งหลายมันจะรู้ว่าเรากำลังทำมันอยู่ จี้มันอยู่ รู้จักมัน ปัญหาทั้งหลายมันจะเกิดขึ้นเราก็รู้ทัน รู้สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ บางทีเราเห็นว่ามันเป็นของว่างแล...้วก็ไม่สบายใจ ไม่ค่อยสบายใจ ความเป็นจริงนั้นอย่าไปยึดมั่น อย่าไปยึดมั่นถือมั่น อย่าไปยึดมั่นว่าเราว่าเขา ว่าของเราของเขา ทำไปด้วยปัญญาของเราอย่างนั้น อันนี้มันเป็นเรื่องพูดฟังยาก...พูดก็ยากฟังก็ยาก ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ที่พระพุทธเจ้าของเราท่านสอนไว้ ไม่ใช่เป็นคำสอนที่พูดให้คนเข้าใจได้โดยง่าย ไม่ใช่จะตรัสรู้ได้เพราะการฟังธรรม เพราะความเข้าใจในคำพูดนี้ มันเป็นเช่นนั้น มันเป็นปัจจัตตัง รู้เฉพาะตนเอง พระพุทธเจ้าไม่สรรเสริญหรอก คนที่เชื่อคนอื่นจนเกินไป พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเราตรัสรู้ก็เพราะตนเอง เป็นปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ รู้ด้วยตนเอง เห็นด้วยตนเอง เหมือนกับที่โยมมาวันนี้ ต่างคนต่างไม่เคยมาวัดหนองป่าพง แต่รู้เรื่องวัดหนองป่าพงอยู่ คนอื่นเขาเคยมาก็สักแต่ว่าถามเขา วัดหนองป่าพงเป็นอย่างไร อะไรอย่างนี้ เขาก็ตั้งใจเล่าให้ฟัง วัดหนองป่าพงอยู่ตรงโน้น เป็นอย่างนั้นๆ ฟังก็พอเข้าใจแต่ไม่รู้ เข้าใจอยู่แต่ไม่รู้ หรือรู้อยู่แต่ไม่เข้าใจจริง คือรู้ไม่ถึง มีคนเคยมาวัดอีกก็ถามเขาอีกละ วัดหนองป่าพงอยู่ไกลเท่าไหร่ เป็นอย่างไร ปัญหาไม่จบลง เพราะอะไร เพราะเราไม่เห็นเอง เราไม่เป็นปัจจัตตัง

โยมที่มาวันนี้ปัญหาที่จะถามคนอื่นว่าวัดหนองป่าพงเป็นอย่างไร คงจะไม่มีอีกแล้ว ท่านอาจารย์เป็นอย่างไรก็คงไม่เป็นปัญหา ที่มันจบลงนี่เพราะอะไร เพราะเรามาเห็นด้วยตนเอง ปัญหาก็คงไม่ต้องถาม ถ้าโยมไม่ได้มาคงจะถามตลอดเวลา วัดหนองป่าพงเป็นอย่างไร ท่านอาจารย์เป็นอย่างไร ถามตลอดเวลา เพราะอะไร เพราะไม่เห็นด้วยตนเอง การไปถามคนอื่นก็ไม่มีแล้ว ไม่สงสัย นี้ฉันใด.... อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ไม่แปลกอะไรกับธรรมะที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านสอน

เรื่องการปฏิบัตินี้มันเป็นเรื่องที่จะต้องทำ เห็นแล้วไม่ปฏิบัติรู้แล้วไม่ปฏิบัติ ก็ไม่ได้เรื่องได้ราว จะเปรียบง่ายๆ อาหารที่มีรสเอร็ดอร่อย เอามาวางไว้ข้างๆ รู้ไหมว่ามันอร่อย มันเกิดประโยชน์ไหม นี่ท่านเรียกว่ารู้เฉยๆ ไม่ได้ปฏิบัติ คนรู้ธรรมะไม่เท่าคนผู้เห็นธรรมะ คนเห็นธรรมใจมันเป็นธรรม ธรรมะเกิดขึ้นกับจิต อันนี้ก็เหมือนกันฉันนั้น ปฏิบัติจริงอย่าไปอาศัยสิ่งอื่นมากมาย ปฏิบัติให้รู้ด้วยตนเองนี้ เมื่อจิตมันสงบแล้วสบาย มันจะมาของมัน





ทุกวันนี้ปรากฏว่ามีชาวพุทธมากมายที่ถือว่าความร่ำรวย
การมีอำนาจ ชื่อเสียง ยศฐาบรรดาศักดิ์
ความพรั่งพร้อมด้วยวัตถุ คือยอดความสุขของฆราวาส
ความคิดอย่างนี้ท่านเรียกว่า "มิจฉาทิฐิ"
เพราะจะเป็นเหตุของการประพฤติที่เป็นพิษเป็นภัยแก่ตนเอ...
ต่อสังคม และต่อสิ่งแวดล้อม มันไม่เป็นความจริง
ความสุขดังกล่าวเป็นแค่ความสุขระดับล่าง
ย่อมมีทุกข์ไม่มากก็น้อยเจือปนอยู่เสมอ

ลองถามตนเองซิว่าความสุขคืออะไร
อะไรคือสิ่งที่เราต้องการมากที่สุดในชีวิต
เวลาเราสวดมนต์ว่า อะหัง สุขิโต โหมิ
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขๆ เถิด
หรือ สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ
ขอให้สรรพสัตว์ทั้งหลายจงถึงความสุขๆ เถิด
ความสุขที่เราหวังที่เราอยากได้นั้นคืออะไร
ความสุขที่เราอยากให้สรรพสัตว์ทั้งหลายคืออะไร
มันน่าคิดนะ ถ้าคำตอบยังเป็นเรื่องกิน กาม เกียรติ
นับว่าเรายังไม่เป็นมิตรแท้ของตนเองและของเพื่อนร่วมโล
เพราะความคิดยังต่ำไป

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ





ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็น "เอหิปัสสิโก"
คือชวนมาดู ทนต่อการพิสูจน์ ท่านไม่ต้องการให้เราเชื่ออะไรง่ายๆ ท่านต้องการให้เราเอาคำสอนไปดู เทียบเคียงกับชีวิตของเราว่าจริงไหม อย่างเช่น ท่านสอนว่าทุกวันนี้เราเป็นทุกข์เพราะความยึดมั่นถือมั่น ความผูกพัน การหวังความสุขแต่จากสิ่งนอกตัว ยึดมั่นถือมั่นมากก็ทุกข์มาก ยึดมั่นถือมั่นน้อยก็ทุกข์น้อย ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นเลยก็ไม่ทุกข์เลย คำสอนลักษณะอย่างนี้ไม่ใช่ทฤษฎีที่ผู้มีศรัทธาต้องเชื่อ หากเป็นเรื่องประสบการณ์ของมนุษย์แท้ๆ

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ


เคยมีคนเรียนถามท่าน อ. ปสันโน ว่าทำไม วัดหนองป่าพงสายท่านอาจารย์ ชา ถึงเพิ่งไปเผยแพร่ที่สหรัฐ ท่านตอบว่าการเผยแพร่ในอเมริกานั้นเป็นเรื่องใหญ่มาก ทางคณะกรรมการวัดหนองป่าพง และพระฝรั่งผู้ใหญ่หลายท่านหนักใจกันมาก เพราะพวกท่านกลัวว่าคนอเมริกันจะยึดถือพุทธศาสนาในลักษณะ FAD ซึ่งเป็นกระแสที่ลามไปเร็วมากเหมือน HIPPY ในช่วงปี 50-70 หรือพวกเห่อ โยคี มหาริชชี และกูรู พวกฮเร-กฤษณะ ที่เกิดในช่วงปี 70 ต่อ 80 ซึงส่วนใหญ่เป็นพวกหลงผิด ไม่ได้ของแท้ ต้องการเพียงแค่สิ่งยึดเหนียว ถือเป็นแฟชั่น และที่สำคัญคือพวกนักตีความซึ่งในอเมริกามีมากเหลือเกิน ดังนั้นวัด อภัยคีรี จึงเพิ่งเริ่มก่อตั้งขึ้นได้ไม่ถึง 10 ปี โดยมีท่าน( อ.ปสันโน) เป็นพระผู้ใหญ่ไปบุกเบิก จริง ๆ แล้วเมื่อท่านไปท่านไม่ยอมพูด ไม่ยอมบอก เพราะท่านได้อาจารย์ดี ๆ อย่าง หลวงปู่ชา ที่เน้นการปฎิบัติเรียนรู้ด้วยตัวเอง มากกว่าที่บอกเล่าให้ฟัง ให้เชื่อ แต่จะต้องทดสอบเรียนรู้ ด้วยตัวเอง

ซึ่งการที่ไปเผยแพร่พุทธศาสนาในต่างประเทศ ได้รับความสำเร็จอย่างดียิ่ง นับวันจะมีคนจากประเทศต่าง ๆ แทบทุกชาติมาบวชกันเยอะขึ้นเรื่อย ๆ มาจาก อิสราเอล แอฟริกาใต้ อินเดีย ก็มี ล้วนแต่มีการศึกษาสูง ๆ ทั้งนั้นเลย และน้อยคนที่จะลาสิกขาบทออกไป ทั้งยังเป็นครูที่ดีอีกด้วย ซึ่งก็ตรงแนวทางศาสนาพุทธที่ว่า การเผยแพร่ศาสนาพุทธนั้น ให้มุ่งไปที่คุณภาพ มากกว่าการเน้นไปที่ปริมาณ



คำสอน โดย หลวงพ่อชา

"ความทุกข์ทั้งหลายนั้นก็เรานั่นแหละสร้างขึ้นมา...แต่ให้อดทน เห็นอยู่ว่าตรงนี้มันหนัก แต่เราอยากได้มัน ไปยกมันก็หนักจริงๆ เมื่อหนักก็ต้องอดทน มันก็เป็นอยู่อย่างนี้

อย่างเราเมื่อศึกษามา เมื่อเราเป็นนักเรียน เห็นผู้ใหญ่ดูเหมือนจะสบายเห็นคนนี้ทำอย่างโน้นอย่างนี้ เห็นจ้าวนายครูบาอาจารย์ ก็นึกในใจว่าจะสบาย เราก็อยากเป็นอย่างนั้นบ้าง...เลยพยายามจนเป็นขนาดนี้แล้วยังมีทุกข์อยู่ ยังมี...ความลำบากอยู่ คือมันยังไม่พ้น อยู่ข้างนี้ก็ยังไม่พ้นอีก ก้าวไปข้างหน้าอีกก็ดูมันจะพ้นแต่ไปอีกยิ่งหนักเข้าไปเรื่อยๆ

เหมือนกับคนแก่เราน่ะมันคิดไม่มากหรอก โตขึ้นมามันคิดกว้างคิดมาก มีความฉลาดมาก ไป ช่วยเขาหมด ทั้งนั้นแหละ คนทั้งบ้านน่ะเราฉลาดคนเดียว ก็เลยทุกข์คนเดียว ความคิดของคนก็ต้องเป็นอย่างนั้นคือหมายความว่ามีมากก็ต้องแบกมากยึดมาก 


 ความเป็นจริงนั้นการกระทำอะไรทุกอย่าง ถ้าให้รู้จักหน้าที่กันทุกคน แล้วมันก็ไม่มีเรื่องอะไรนะ สบาย ความสบายมันมีอยู่

แต่อยู่ในคนส่วนมากมันก็ต้องเป็นอย่างนี้ สถานที่นี้ท่านเรียกว่าโลก โลกท่านแปลว่า ความมืด โลกเจริญก็คือมืดเจริญนั่นเอง แหม...โลกมันเจริญ เจริญมันก็มืดเจริญขึ้น

อย่างวัดอาตมาแต่ก่อนไฟฟ้าไม่มี ก็ไม่เห็นว่ามันสว่างหรือมันมืดนะ ถ้ามีไฟฟ้ามาแล้วเห็นจะสบาย มีน้ำก็สบาย โอ้...ไฟฟ้ามันก็ไม่เกิดมาเองหรอกนะ ก่อนจะมีไฟฟ้ามันต้องเสียอะไรมากๆ ก่อนจะมีน้ำมันก็ต้องเสียอะไรไปมากๆ จะต้องลงทุนทั้งหมด มันก็เกิดจากความลำบาก

ที่มันสว่างแล้วน่ะมันก็ยังไปปิดใจของเราให้มืดอีก ที่มันสะดวกแล้วมันก็ไปปิดใจให้เรามันมืดอีก คนเราถ้ามันสะดวกสบายแล้วยิ่งมักง่าย

สมัยก่อนบ้านเมืองเราก็ยังไม่เจริญ ทำส้วมอยู่โน้นในป่า...อุตส่าห์ไป เดี๋ยวนี้ไม่ได้ ที่นอนอยู่นั่น ต้องทำส้วมอยู่ที่นั้น ขนาดนั้นก็ยังไม่สบายอยู่อีก จะให้มันสบาย สะดวก มันก็ไม่สะดวกนะ มันสบายมากเกินไป ก็เลยประมาทกันเสีย อยากจะให้มันยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก มันก็ไม่พอสักที แล้วก็บ่นว่ามันทุกข์ ทุกข์ใครสร้างขึ้นมามองไม่เห็น ว่ามันเป็นเพราะอันนั้นๆ มันเป็นเพราะอันนี้ (หลวงพ่อท่านเอามือชี้ที่ตัวของท่านประกอบ) ไม่เคยชี้เข้ามาเลย ต้นตออยู่ตรงนี้ไม่เคยชี้เข้ามา มันก็ไม่กระจ่างเท่านั้นแหละ ว่าแต่คนโน้นๆ ชี้ออกไปทางโน้น ก็ไปเห็นของข้างนอกโน้น ไปแต่งของข้างนอกเรื่อยๆไป อันนี้ไม่ค่อยแต่ง จิตใจไม่ค่อยแต่งกัน"
ดูเพิ่มเติม







ในครั้งแรกของการไปเผยแผ่พุทธธรรมยังต่างประเทศ ชาวอังกฤษบางคนเรียนถาม หลวงพ่อชาว่า "ชีวิตของพระเป็นอย่างไร?... ทำไมชาวบ้านถึงได้เลี้ยงดู โดยที่พระไม่ได้ทำอะไร?"

หลวงพ่อชาตอบแบบอุปมาว่า...

"ถึงบอกให้ก็ไม่รู้หรอก มันเหมือนกับนกที่อยากรู้เรื่องของปลาในน้ำ ถึงปลาบอก ความจริงว่า อยู่ในน้ำเป็นอย่างไร นกก็ไม่มีทางจะรู้ได้ ตราบใดที่นกยังไม่เป็นปลา"

พวกเขาเหล่านั้นพอใจในคำตอบของหลวงพ่อชามาก หลังจากกลับสู่เมืองไทยแล้ว ในปี พ.ศ. 2520 หลวงพ่อชาจึงได้รับหนังสือจาก บี.บี.ซี. แห่งประเทศอังกฤษ ติดต่อขอเข้าถ่ายทำภาพยนต์เกี่ยวกับพุทธศาสนาที่วัดหนองป่าพง ตอนท้ายของหนังสือติดต่อฉบับนั้น มีข้อความอยู่ประโยคหนึ่ง ซึ่งเขาเน้นว่า "หวังว่าท่านอาจารย์ คงจะเป็นปลาที่เห็นประโยชน์ (เกื้อกูล) แก่นก"





มนุษย์อยากสุขแต่ไม่รู้จักสุข
อยากหนีทุกข์แต่ไม่รู้จักทุกข์
สุ่มสี่สุ่มห้าเดินคลำไปคลำมาในความมืด
เอาความหวังในความสุขข้างหน้าเป็นที่ปลอบใจ
บางคนอ้อนวอนสิ่งศักดิ์สิทธิ์...
ให้ช่วยเนรมิตให้ความมืดกลายเป็นความสว่าง
แต่พระพุทธศาสนาสอนว่า
" โยม มันสว่างอยู่แล้ว
ไม่ต้องไปบนบานศาลกล่าวที่ไหนหรอก
ลืมตาก็จะเห็นเอง "

พระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ



ปฏิบัติเพื่อละ อย่าปฏิบัติเพื่อสะสม เมื่อเราปฏิบัติธรรมเราเข้าใจอันนี้ เราก็ปล่อยวางได้ ดังนั้นก็ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า ไม่ให้ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด

ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในใจเรา ในจิตเรา ในร่างกายของเรา มีแต่ความแปรเปลี่ยนไปทั้งนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนไม่ให้ยึดมั่นถือมั่น พระองค์ทรงสอนพระสาวกของพระองค์ให้ปฏิบัติเพื่อละ เพื่อถอน ไม่ให้ปฏิบัติเพื่อสะสม

ถ้าเราทำตามคำสอนของพระองค์ เราก็ถูกเท่านั้นแหละ
เราอยู่ในทางที่ถูกแล้ว แต่บางทีก็ยังมีความวุ่นวายเหมือนกัน ไม่ใช่คำสอนของพระองค์ทำให้วุ่นวาย
กิเลสของเรานั้นแหละที่มันทำให้วุ่นวาย
มันมาบังคับความเข้าใจอันถูกต้องเสีย ก็เลยทำให้เราวุ่นวาย

ความจริงการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น
ไม่มีอะไรลำบาก ไม่มีอะไรยุ่งยาก
การปฏิบัติตามทางของพระองค์ไม่มีทุกข์
เพราะทางของพระองค์คือ "ปล่อยวาง" ให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง..

หลวงปู่ชา สุภัทโท..

ถ้าไปตะครุบมันอยู่อย่างนี้ ความสงบตอนนั้นไม่รู้เรื่องเสียแล้ว เป็นความสงบที่ไม่แน่นอนเช่นว่า หูของเรามีอยู่ เครื่องรับมีอยู่เมื่อยังไม่มีใครมาพูด มาด่าให้เราได้ยิน เราก็ยังสบายยังสงบอยู่ อีกวันหนึ่งพอมีเรื่องเข้าไปทางหูเท่านั้นมันก็เกิดความไม่สงบขึ้นมาแล้วฉะนั้น ความสงบนั้นจึงเป็นความสงบเพราะมันปราศจากอารมณ์ต่าง ๆ มันก็สงบเฉย ๆ อยู่ในอารมณ์อันเดียว แต่เมื่อมีอารมณ์ต่าง ๆ ผ่านมาเป็นเหตุเป็นปัจจัยก..ก็มีความเกิดขึ้นมาเกิดดีใจเกิดเสียใจขึ้นมา เกิดชอบใจไม่ชอบใจขึ้นมาเลยวุ่น อันนี้เพราะความสงบนั้นเป็นเรื่องของสมถกรรมฐานไม่ใช่เรื่องของปัญญามันสงบเหมือนกันแต่ว่ามันไม่เด็ดขาดคือ มันไม่ได้สงบเพราะรู้ตามความเป็นจริงเหมือนใบไม้บนต้นไม้เมื่อไม่ลมมาพัด มันก็สงบนิ่ง แต่ถ้ามีลมมาพัดก็กวัดแกว่ง ความสงบอันนี้มันจึงมีอายุสั้นที่มันสงบอยู่ก็เพราะอาศัยอารมณ์ที่มันไม่เปลี่ยนแปลงท่านเรียกว่า สงบจิตไม่ใช่ว่าสงบกิเลส"


"สมาธินี้มีหน้าที่อย่างหนึ่ง ศีลนี้ก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง ปัญญาก็มีหน้าที่อย่างหนึ่ง อาการที่เรากำหนดในที่นั้นมันจะเป็นวงกลมอย่างนี้ ตามที่ปรากฏอยู่ในใจเรามันจะมีศีลอยู่ตรงนี้มีสมาธิอยู่ตรงนี้มีปัญญาอยู่ตรงนี้ เมื่อจิตเราสงบแล้ว จะมีการสังวรสำรวมเข้าด้วยปัญญา ด้วยกำลังสมาธิเมื่อสำรวมเข้า ละเอียดเข้ามันจะเป็นกำลังช่วยศีลให้บริสุทธิ์ขึ้นมาก เมื่อบริสุทธิ์ขึ้นมามากก็จะช่วยให้สมาธิเกิดขึ้นมามากให้ดีขึ้นมาก เมื่อสมาธิเต็มที่แล้วจะช่วยปัญญาจะช่วยกันเป็นไวพจน์ซึ่งกันและกัน อย่างนี้จนกว่ามรรคคือ ศีล สมาธิ ปัญญา รวมกันเป็นก้อนเดียวกันอย่างนี้แล้วจะทำสม่ำเสมอเราจะต้องรักษากำลังอย่างนี้อันนี้เป็นกำลังที่จะทำให้เกิดวิปัสสนาคือปัญญา"

อาจารย์ชา สุภัทโท









MANA PRADITKET

MANA PRADITKET
Handpainted oil painting by Mana Praditket

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
Original handpainted oil painting by Niran Paijit

PRAYAD TIPPAWAN

PRAYAD TIPPAWAN
ORIGINAL IMPRESSIONAL OIL PAINTING BY PRAYAD TIPPAWAN

Achara 34 (24x36)

Achara 34 (24x36)
ORIGINALl OIL PAINTING

Amornsak Livisit 74 (24x36)

Amornsak Livisit 74 (24x36)
ORIGINAL OIL PAINTING, Impressionist style

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)
Original handpainted oil painting abstract style

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
ORIGINAL ABSTRACT STYLE OIL PAINTING BY NIRAN PAIJIT

Chavalit (Pong)

Chavalit (Pong)
PINTO Horses

Komez 78 (22x30)

Komez 78 (22x30)
Original handpainted pastel painting on paper

KOMES

KOMES
Handpainted pastel painting by Komez

PRATHOUN

PRATHOUN
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY PRATHOUN

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
ORIGINAL OIL PAINTING BY THAVORN IN-AKORN (SIZE 20x30")

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
Original oil painting by Thavorn In-akorn

Facebook


ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING

PHOTO GALLERY

PHOTO GALLERY

Facebook

PHOTO GALLERY