สงสัยมานานหลายปีแล้วว่าเหตุใดสื่อยักษ์ใหญ่ของตะวันตก รวมไปถึงโทรทัศน์บีบีซี.ของอังกฤษ สถานีข่าวซีเอ็นเอ็นของสหรัฐ ตลอดจนสำนักข่าวไม่ว่าจะเป็นเอพี,เอเอฟพีและรอยเตอร์ ซึ่งในช่วงหลังมีสำนักข่าวซินหัวของจีนและอัลจาซีราในกาตาร์เข้ามาเกาะกลุ่มอยู่ด้วย จึงมักจะนำเสนอภาพของประเทศไทยในมุมมองที่เต็มไปด้วยอคติหรือมีธงอยูในใจ ภาพลักษณ์ของประเทศไทยจึงบูดเบี้ยวไม่ตรงกับความเป็นจริง ไม่สมกับเป็นสื่อยักษ์ใหญ่ที่คุยว่ามีเครือข่ายกว้างขวางครอบคลุมไปทั่วทุกมุมโลกแม้แต่นิดเดียว
ตัวอย่างล่าสุดที่เห็นได้ชัดก็คือการนำเสนอตัวเลขจำนวนของคนที่เข้าร่วมการเดินขบวนครั้งใหญ่สุดเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา จากภาพถ่ายดาวเทียมล้วนแต่ระบุตรงกันว่าจำนวนผู้ประท้วงมีมากกว่าหนึ่งล้านคน และมากกว่าจำนวนผู้ชุมนุมเมื่อวันที่ 24 พ.ย. ซึ่งในครั้งนั้น มีการคำนวณตามหลักมาตรฐานสากลแล้วได้ตัวเลขคร่าวๆว่ามีผู้เข้าร่วมราว 1 ล้าน 2 แสนคน
แต่การชุมนุมเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ซึ่งมีคนมากกว่าอย่างเห็นได้ชัด สื่อต่างประเทศต่างอ้างตัวเลขของรัฐบาลว่ามีแค่ 1 แสน 5 หมื่นคน โดยสื่อเหล่านั้นไม่คิดจะออกไปดูด้วยตาตัวเองแล้วรายงานตามสถานการณ์ที่เป็นจริงให้สมกับเป็นสื่อมืออาชีพแม้แต่น้อย
ยิ่งกว่านั้น สื่อต่างประเทศยังจงใจนำเสนอแต่ข่าวการแถลงของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มากกว่าจะไปสัมภาษณ์ความเห็นของแกนนำการประท้วงหรือผู้ประท้วงว่าเหตุใดจึงออกมาชุมนุมมากผิดปรกติเช่นนี้ หรือไม่มีการวิเคราะห์สาเหตุที่คนไทยนับล้านๆ คนรวมไปถึงนักวิชาการชื่อดังต่างปฏิเสธรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ มุ่งแต่นำเสนอว่าคนไทยควรจะไปเลือกตั้ง ราวกับว่าการเลือกตั้งจะช่วยแก้ปัญหาได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็ไม่ปาน โดยไม่พยายามวิเคราะห์ว่าสาเหตุใดจึงมีกระแสเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองและพรรคการเมืองก่อนมีการเลือกตั้ง
อคตินี้ยิ่งเห็นได้ชัดเมื่อสหรัฐประกาศสนับสนุนให้คนไทยไปเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. กลับตาลปัตรกับการประกาศสนับสนุนให้ชาวยูเครนซึ่งกำลังประท้วงขับไล่รัฐบาลด้วยวิธีการรุนแรงให้ออกไปล้มรัฐบาลให้ได้เพียงเพราะรัฐบาลนี้เตรียมจะผละจากอกประชาคมยุโรป (อียู) หันไปซบออกรัสเซียแทน
ส่วนหนึ่งของคำตอบจึงมาถึงบางอ้อว่าเป็นเพราะรัฐบาลประเทศมหาอำนาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ในไทยและยังเดินหน้าในนโยบายสองมาตรฐานหรืออีกนัยหนึ่งไร้มาตรฐานบนเวทีโลกอยู่เหมืนเดิม
เหนืออื่นใด เป็นความสำเร็จของนโยบาย "โลกล้อมประเทศไทย" ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่ฟอกตัวเองและรัฐบาลของน้องสาวผ่านบริษัทโฆษณาชื่อดังแห่งหนึ่งของอังกฤษที่ช่วยเป็นสื่อกลางทำประชาสัมพันธ์ให้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์จนภาพลักษณ์ออกมาดูดี ทั้งๆ ที่คนไทยต่างเห็นกันทั่วว่าเธอให้สัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษฟังแล้วแทบไม่รู้เรื่อง แต่สื่อตะวันตกส่วนใหญ่กลับสามารถเขียนข่าวจนออกมาดูดีได้อย่างไม่น่าเชื่อ
เครื่องมือสำคัญของของพ.ต.ท.ทักษิณในการล้อมประเทศไทยให้อยู่หมัดก็คือการจ้างบริษัท เบลล์ พ็อตทิงเจอร์ (Bell Pottinger) บริษัทพีอาร์ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของอังกฤษให้ช่วยทำหน้าที่ปั้นภาพลักษณ์ของตัวเองและรัฐบาลยิ่งลักษณ์ให้ดูดีในสายตาของชาวโลก
เมื่อเร็วๆ นี้ เว็บไซต์หนังสือพิมพ์การ์เดียนของอังกฤษได้นำเสนอบทความพิเศษชิ้นหนึ่งของแอนดี้ เบคเค็ตต์ว่าด้วยประวัติความเป็นมาและปรัชญาการทำงานของบริษัทเบลล์ พ็อตทิงเจอร์ ซึ่งนอกจากจะช่วยทำพีอาร์ให้กับพ.ต.ท.ทักษิณแล้ว ยังรับจ้างทำประชาสัมพันธ์เพื่อช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับบรรดาเผด็จการ ทรราช ทั้งในอดีตและปัจจุบันอีกนับไม่ถ้วน อาทิ รัฐบาลศรีลังกาในช่วงที่จะเปิดเจรจากับนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ มีทั้ง(อดีต) ประธานาธิบดีผิวขาว เอฟ ดับเบิลยู เดอ เคิลร์กแห่งแอฟริกาใต้ช่วงที่กำลังหาเสียงแข่งกับนายเนลสัน แมนเดลา ผู้นำขบวนการต่อต้านนโยบายเหยียดผิว มีทั้งนางอัสมา อัล อัสซาด สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งแห่งซีเรีย รวมไปถึงนายอเล็กซานเดอร์ ลูคาเชนโก เผด็จการแห่งเบลารุส มีนางรีเบคาห์ บรู้กส์ ที่เข้ามาใช้บริการหลังเกิดคดีอื้อฉาวเรื่องการดักฟังทางโทรศัพท์
นอกจากนี้ก็ยังเป็นตัวแทนรัฐบาลบาห์เรนและอิยิปต์ เป็นตัวแทนของการบริหารของสหรัฐที่ยึดครองอิรัก ตัวแทนบริษัทน้ำมันทราฟิกุรา ต้นเหตุของการปล่อยมลภาวะ ตัวแทนบริษัทคัวดริลลา ที่กำลังมีปัญหาอย่างหนัก
เป็นตัวแทนของออสการ์ พิสตอเรียส นักกีฬาที่ถูกฟ้องในข้อหาฆาตกรรม เป็นตัวแทนของมูลนิธิปิโนเชต์ระหว่างรณรงค์คัดค้านกรณีอังกฤษกักขังอดีตเผด็จการของชิลีผู้นี้ รวมทั้งยังเป็นตัวแทนของบริษัทอาวุธยักษ์ใหญ่ บีเออี ซิสเต็มส์ ที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปทั่ว ฯลฯ
บทความชิ้นนี้เริ่มด้วยการโปรยหัวว่า "จากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีไปจนถึงบริษัทคัวดริลลาและอัสมา อัล อัสซัด“ ที่กำลังมีปัญหา ล้วนแต่เป็นลูกค้าชื่อกระฉ่อนของบริษัทเบลล์ พ็อตทิงเจอร์ บริษัทพีอาร์ที่ประสบความสำเร็จในธุรกิจนี้ และ ทิม เบลล์ ผู้วางแผนรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งให้กับนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษได้เผยถึงเบื้องหลังความสำเร็จของธุรกิจนี้"
ทิม เยลล์ หรือ ลอร์ด เบลล์ แห่งเบลกราเวีย ซึ่งได้รับยศนี้เมื่อปี 2533 จากการเสนอของนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ ซึ่งเป็นลูกค้าเก่าแก่มายาวนานไม่นับรวมเรื่องที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองเหมือนกัน แม้จะมีอายุ 72 ปีแล้ว แต่ก็ยังทำงานเต็มเวลาและก็ยังแต่งตัวเหมือนกับนักพีอาร์รุ่นเก่าผู้สามารถสร้างความเป็นกันเองด้วยรอยยิ้มง่ายๆ
มาร์ค บอร์คอฟสกี นักพีอาร์ชื่อดังและนักประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมการประชาสัมพันธ์ในอังกฤษให้ความเห็นว่าลอร์ดเบลล์ ถือเป็นคนต้นแบบของธุรกิจนี้ มีคนจำนวนมากพยายามจะเขียนข่าวมรณกรรมหรืออีกนัยหนึ่งความล้มเหลวของเขา แต่พวกนั้นประเมินความมุ่งมั่นดุจเหล็กกล้าของลอร์ด เบลล์ต่ำไป เขามีเครือข่ายที่ทรงพลังมาก มีการติดต่อกับทั่วทุกมุมโลก เปรียบไปแล้วเบลล์ พ็อตทิงเจอร์ เป็นคนหลากหลายเชื้อชาติที่มีอำนาจน่ากลัวมาก เป็นเวลานานหลายๆปีมาแล้วที่ลอร์ด เบลล์ จะทำงานอยู่หลังฉาก เป็นเหมือนกับตัวแทนของกลุ่มอิทธิพลต่างๆ"
น้อยครั้งนักที่เบลล์จะยอมให้สัมภาษณ์และปรกติจะให้สัมภาษณ์เฉพาะหนังสือพิมพ์เอียงขวาหรือคนดังในวงการหนังสือพิมพ์ที่ตัวเองชื่นชอบเท่านั้น
"ผมเองก็หากินกับรัฐบาลของแทตเชอร์ สิ่งที่ผมทำให้เธอนั้นบางคนก็ว่าเกินจริงอย่างเห็นได้ชัด บางคนก็ว่าประเมินต่ำเกินไปอย่างเห็นได้ชัดเช่นกัน" จากหนังสือเรื่อง "The Ultimate Spin Doctor" ของมาร์ค ฮอลลิงเวิร์ธ ว่าด้วยชีวประวัติของเบลล์ เผยว่า เบลล์ได้แนะนำเธอทุกอย่างตั้งแต่วิธีการผ่อนคลายเพื่อจะละลายท่าทางที่แข็งมะรือทื่อของเธอ ไปจนถึงกลวิธีโจมตีพรรคเลเบอร์ ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลในขณะนั้น ด้วยการจัดทำโปสเตอร์ชุด "Labour Isn't Working" ซึ่งโด่งดังไปทั่ว เป็นภาพคนตกงาน (ซึ่งอันที่จริงเป็นเด็กหนุ่มสังกัดพรรคอนุรักษ์นิยมที่ยืมตัวมาเข้าฉาก)ที่ต่อแถวยาวเหยียดสุดลูกหูลูกตาอยู่หน้าสำนักจัดหางาน โปสเตอร์นี้มีส่วนทำให้คะแนนนิยมของรัฐบาลฮีธ วิลสัน คัลลาฮานในช่วงปลายทศวรรษ 2513 ลดลงฮวบฮาบ ก่อนที่ชาวอังกฤษจะตระหนักหลังจากนั้นไม่นานนักว่า รัฐบาลแทตเชอร์ทำให้คนตกงานมากยิ่งกว่า
"สิ่งที่ผมเชื่อมั่นมากที่สุดก็คือคำเพียงไม่กี่คำที่สามารถสร้างภาพที่แจ่มชัด ก็สามารถเปลี่ยนแปลงการคิดของคนได้" ลอร์ด เบลล์ ซึ่งได้ร่วมก่อตั้งบริษัทเบลล์ พ็อตทิงเจอร์เมื่อปี 2541 กล่าวถึงหลักการทำงานของบริษัทนี้ว่า "เราจะบอกเรื่องราวต่างๆ ซึ่งไม่ได้หมายถึงการโกหก เราทำงานให้กับคนที่ต้องการจะบอกเรื่องราวในแง่มุมของเขา"
ขณะที่อเลค แมตทินสัน ผู้ช่วยบรรรณาธิการนิตยสาร "พีอาร์วีค" ให้ความเห็นว่า "บรรดาคนที่เกี่ยวข้องอย่างมากกับสถานการณ์พิเศษนั้นๆ เป็นทั้งชื่อเสียงและวิกฤติของการพีอาร์ ในแง่ของชื่อเสียงก็คือพวกเขาสามารถหาบริษัทที่พร้อมจะรับงานให้ ขณะที่บริษัทอื่นๆไม่กล้ารับงานนั้น"
จากนโยบายนี้ทำให้บริษัทเบลล์ พ็อตทิงเจอร์ตกเป็นเป้าโจมตีหลายครั้ง อาทิ ถูกสำนักตรวจสอบด้านการหนังสือพิมพ์ของอังกฤษประณามว่าปกปิดข้อมูลหรือนำเสนอข้อมูลด้านเดียวระหว่างเป็นพีอาร์ให้กับรัฐบาลศรีลังกาช่วงที่พบเจรจกับนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ จนนำมาซึ่งการประท้วงหน้าสำนักงานแห่งนี้
เช่นเดียวกับที่ชาวชิลีและนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนต่างไม่พอใจที่เบลล์ พ็อตทิงเจอร์ รับทำโฆษณาให้กลุ่มผู้สนับสนุนอดีตเผด็จการมือเปื้อนเลือดปิโนเชต์ที่ต้องการให้อังกฤษปล่อยตัวเผด็จตัวผู้นี้ และเบลล์ได้โหมโฆษณาด้วยข้อความว่า "ปรองดองไม่ใช่แก้แค้น" ฟังแล้วคล้ายๆกับที่นางสาวยิ่งลักษณ์พูดไว้ขณะได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ๆว่า "มุ่งแก้ไขไม่แก้แค้น" พร้อมกับนำเสนอภาพปิโนเช์ที่ดูอ่อนล้า ไม่มีแรงเนื่องจากป่วยเรื้อรังทำให้คนสงสาร
สุดท้ายอังกฤษก็ยอมปล่อยตัวปิโนเชต์ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่าเป็นกระบวนการปลอกต้มที่ไม่โปร่งใส
อย่างไรก็ดี ลอร์ด เบลล์ยืนยันว่าบริษัทนี้เป็นพลังในด้านดี "เราต้องเรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด เหตุผลที่เรารับงานของลูคาเชนโกแห่งเบราลุส เป็นเพราะเจ้าตัวออกปากเองว่า"เราต้องการก้าวไปสู่ประชาธิปไตย และเราก็ได้ปล่อยนักโทษการเมืองแล้ว 6 คน"
ขณะที่ เจมส์ เฮนเดอร์สัน หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ซึ่งเพิ่งมาอยู่ที่บริษัทนี้แค่ 3 ปี และมีบุคลิกของนักพีอาร์รุ่นใหม่ยืนกรานว่า ขณะนี้บริษัทไม่รับลูกค้าที่มีปัญหาชื่อเสียงฉาวโฉ่อีกแล้ว อาทิได้ปฏิเสธไม่รับข้อเสนอของนายโรเบิร์ต มูกาเบ เผด็จการแห่งซิมบับเว เป็นต้น ด้านเว็บไซต์ของบริษัทนี้ก็เอ่ยชื่อลูกค้าที่ไม่มีชื่อเสียงฉาวโฉ่ ส่วนใหญ่จะเน้นลูกค้าประเภทบริษัทน้ำมันและแก๊สธรรมชาติ บริษัทเหมืองแร่ สถาบันการเงินและรัสเซีย เป็นต้น
แมตทินสันแห่ง"พีอาร์วีค"ก็ยอมรับเช่นกันว่าแนวคิดที่จะรับงานบริษัทหรือลูกค้าที่มีปัญหานั้นเป็นเรื่องผิดพลาดของบริษัทพีอาร์ เบลล์ พ็อตทิงเจอร์
ในส่วนของผู้อ่านบทความชิ้นนี้ ได้เข้าไปแสดงความคิดเห็นและวิจารณ์การทำงานของเบลล์ พ็อตทิงเจอร์ จำนวนไม่ใช่น้อย
ชิ้่นหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการแสดงความคิดเห็นว่า อนาคตของโลกจะเป็นเช่นใดขึ้นอยู่กับมุมมองและการประชาสัมพันธ์ ซึ่งเนื้อแท้ก็คือการโฆษณาชวนเชื่อ ที่เข้าไปมีบทบาทแทนที่รัฐสภาและโครงการต่างๆ บางความเห็นก็เตือนบริษัทพีอาร์ให้คำนึงเรื่องของจริยธรรมและเรื่องของเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราวต่างๆ
จาก กปปส.เยอรมัน
แมกกาซีนที่อิตาลีเปรียบเที