GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL

GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL
LONG LIVE THE KING BHUMIBHOL

วันพฤหัสบดีที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557

กลโกงจำนำข้าวแบบเคลียร์ๆ ในแบบ อ.วีระ ธีรภัทร






อึ้ง!! กลโกงจำนำข้าว เอื้อให้โกงกันทุกขั้นตอน !!!!!
MThai News

หลายคนคงสงสัย ขบวนการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว จะมีวิธีการ กลโกงอย่างไร ช่องโหว่ รูรั่ว เริ่มต้นเกิดขึ้นจากจุดไหน อย่างไร มาฟังคำอธิบาย ชัดๆ เคลียร์ๆ แบบไม่ต้องปีนบันได จาก อ.วีระ ธีรภัทร คอลัมนิสต์ และ นักจัดรายการวิทยุชื่อดัง… แล้วคุณจะอึ้งกับ พฤติกรรมความชั่วของกลุ่มคนที่เกินจะบรรยาย…


ชาวนาไม่ได้เงินค่าจำนำข้าว ใครต้องรับผิดชอบ?


ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(TDRI) เขียนบทความที่ดีมากเรื่อง “ทำไมชาวนาจะยังไม่ได้เงินค่าจำนำข้าวครบตามที่รัฐบาลสัญญา : ใครต้องรับผิดชอบ?” ควรแก่การเผยแพร่อย่างครบถ้วน ผมจึงขออนุญาตท่านผู้อ่านประจำของผม เรียนรู้จาก “ผู้รู้เรื่องข้าว” ท่านหนึ่งของเมืองไทย แล้วเอาใจช่วยชาวนาของเรา มิให้ตกเป็นเหยื่อทางการเมืองของนักเลือกตั้ง ที่สักแต่เอานโยบายประชานิยมเข้าล่อ โดยไม่มีความสามารถที่จะบริหารจัดการโครงการรับจำนำข้าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ กลายเป็นปัญหาที่อาจนำสู่ความ “ล้มละลาย” ของประเทศชาติได้ แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือ ทุกข์เฉพาะหน้าของชาวนาเวลานี้ รัฐบาลนางยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จะรับผิดชอบอย่างไร







ดร.นิพนธ์เขียนบทความเอาไว้ ดังนี้ครับ
ณ วันที่ 8 มกราคม 2557 ชาวนาได้นำข้าวมาขายให้โครงการรับจำนำปีการผลิต 2556/57 เป็นมูลค่าตามใบประทวนประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ได้รับเงินไปแล้ว 0.35 แสนล้าน ชาวนาจึงยังไม่ได้รับเงินอีก 1.246 แสนล้านบาท มาแรมเดือนแล้ว นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ชาวนาทั่วประเทศขายข้าวแล้วไม่ได้เงิน
ปัญหานี้ทำให้นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ปฏิบัติหน้าที่รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการหาเงินเพิ่มเติมมาจ่ายให้ชาวนาที่ได้นำข้าวมาเข้าโครงการจำนำแล้ว คาดว่าชาวนาจะได้รับเงินครบภายในวันที่ 25 มกราคม 2557
เพื่อมิให้สูญเสียฐานเสียงชาวนา ฝ่ายการเมืองจึงต้องหันมากดดันเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังและธ.ก.ส. ให้หาเงินมาจ่ายชาวนาก่อนจะมีการเลือกตั้ง หนังสือพิมพ์และแหล่งข่าวกระทรวงการคลังรายงานว่า มีความพยายามจะหาเงินมาจ่ายชาวนาหลายวิธี อาทิ การใช้สภาพคล่องของธ.ก.ส. (แต่ถูกสหภาพแรงงานธ.ก.ส. สตง.และนักวิชาการคัดค้าน) การบังคับให้ธ.ก.ส.ปรับโครงสร้างหนี้ที่จะถึงกำหนดปี 2558-2560 การขอให้กองทุนของหน่วยงานรัฐโยกเงินมาฝากกับธ.ก.ส. ตลอดจนให้ธ.ก.ส.กู้เงินเพิ่มขึ้นโดยลดวงเงินกู้โครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ วิธีการเหล่านี้ล้วนแต่สุ่มเสี่ยงต่อการผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ทำลายวินัยทางการคลัง และกระทบความมั่นคงทางการเงินของธ.ก.ส.
แม้กระทรวงการคลังพยายามทุกวิถีทางที่จะหาเงินมาจ่ายชาวนา แต่ผมคิดว่ารัฐบาลคงไม่สามารถจ่ายเงินให้ได้ตามสัญญา ยกเว้นว่ารัฐบาลจะกล้าเสี่ยงทำผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ผมจึงขออนุญาตใช้พื้นที่สื่อมวลชนอธิบายให้พี่น้องชาวนาได้รับรู้เหตุผลแท้จริงที่ชาวนาอาจจะได้เงินค่าขายข้าวไม่ครบภายในวันที่รัฐบาลสัญญา และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องผู้ที่ต้องรับผิดชอบต่อปัญหาดังกล่าวเพื่อให้ท่านใช้ประกอบการตัดสินใจในการเลือกตั้งว่า นโยบายที่พรรคการเมืองหาเสียงจะมีผลดีผลเสียอย่างไรต่อตัวท่านและต่อประเทศอย่างไร
ก่อนอื่น ผมขอบอกพี่น้องชาวนาก่อนว่า ผมต้องการให้ท่านได้รับเงินค่าขายข้าวจากรัฐบาลโดยเร็วที่สุด และด้วยวิธีที่ถูกกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายรัฐธรรมนูญ
รัฐบาลบอกว่าจะหาเงินมาจาก 3 แหล่ง แหล่งแรก คือ เงินของกระทรวงการคลัง (ซึ่งจริงๆ แล้ว คือ เงินของประชาชน) เงินยืม
จากธ.ก.ส. และเงินที่ได้จากการขายข้าวของกระทรวงพาณิชย์
เงินของกระทรวงการคลังคือ เงินบรรดากองทุนต่างๆของหน่วยราชการ โดยกระทรวงการคลังจะบังคับหน่วยราชการผู้บริหารกองทุนเหล่านั้นให้โอนเงินมาฝากธ.ก.ส. มีเงื่อนไขพิเศษเรื่องกำหนดระยะเวลาการฝาก คือ ไม่ให้ถอนก่อนที่กระทรวงการคลังจะหาเงินจากแหล่งอื่นมาคืนธ.ก.ส. กองทุนเหล่านี้เช่น กองทุนสลากกินแบ่งรัฐบาล กองทุนสำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ ฯลฯ ศูนย์ข่าวอิศรารายงานว่ากระทรวงการคลังอาจจะหาเงินฝากได้ 55,000 ล้านบาท ธ.ก.ส.ก็สามารถนำสภาพคล่องนี้จ่ายให้เกษตรกรได้ร้อยละ 88-94 ของเงินฝาก หรือประมาณ 48,400-51,700 ล้านบาท ซึ่งยังไม่พอจ่ายให้ชาวนา
เงินก้อนที่สองคือ รัฐบาลต้องขอกู้จากธ.ก.ส.หรือให้ธ.ก.ส.กู้แล้วรัฐบาลค้ำประกัน แต่เนื่องจากข้อจำกัดเพดานการกู้เงินและการค้ำประกันเงินกู้ตามกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556/57 กระทรวงการคลังเลยต้องไปบังคับรัฐวิสาหกิจอื่นๆ ที่มีแผนกู้เงินโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ให้ระงับหรือลดการกู้ลง แล้วโอนเงินกู้ดังกล่าวให้ธ.ก.ส.กู้แทน(โดยรัฐบาลเป็นผู้ค้ำประกัน) ไทยพับบลิก้ารายงานว่ารัฐวิสาหกิจที่ถูกขอร้องแกมบังคับให้ลดวงเงินกู้ลง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ(ลดวงเงินกู้ลง 120,000 ล้านบาท) การทางพิเศษฯ (8,000 ล้านบาท) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (10,000 ล้านบาท) รวม 138,000 ล้านบาท วงเงินกู้ที่ลดลงนี้มีมูลค่าสูงกว่าวงเงินที่ต้องการให้ ธ.ก.ส.กู้เพื่อนำไปจ่ายให้ชาวนา (130,000 ล้านบาท) ถ้าได้วงเงินกู้ก้อนนี้ก็จะมีเงินพอจ่ายให้ชาวนา แต่ปัญหาคือ เงินทั้งสองก้อนนี้อาจใช้ไม่ได้ เพราะผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะขออธิบายภายหลัง
ส่วนเงินก้อนที่สาม จากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์จะมีจำนวนเท่าไรเป็นเรื่องไม่แน่นอน และไม่มีใครรู้ว่าภายในสิ้นมกราคม 2557 นี้ จะขายข้าวได้อีกเท่าไร จะส่งเงินคืนธ.ก.ส.ได้เท่าไร แม้กกต.มีมติให้พาณิชย์ระบายข้าวได้ตามปกติแล้วตั้งแต่ 7 มกราคม 2557 ก็ตาม ผมคาดว่าเงินขายข้าวที่จะส่งคืนธ.ก.ส.คงได้ไม่มาก อย่างมากพาณิชย์คงส่งเงินค่าระบายข้าวเดือนมกราคมให้ธ.ก.ส.ได้แค่ 10,000- 15,000 ล้านบาท แต่น่าแปลกใจว่าชาวนาไม่เคยเดินขบวนทวงถามเงินระบายข้าวจากกระทรวงพาณิชย์ ตลอดเวลามีแต่ข่าวว่ากระทรวงการคลังและธ.ก.ส.ไม่มีเงินจ่ายค่าข้าวชาวนา ทั้งที่กระทรวงพาณิชย์ต้องเป็นผู้รับผิดชอบมากที่สุด เพราะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวทุกเม็ดในโครงการฯ พี่น้องชาวนาครับ ถ้าท่านจะทวงถามเงินค่าข้าวของท่าน จะต้องถามกระทรวงพาณิชย์ครับไม่ใช่ธ.ก.ส.หรือกระทรวงการคลังที่ต้องหาเงินกู้จนตัวโก่ง บากหน้าไปขายพันธบัตรให้ใครในตลาดเงินก็ไม่มีเอกชนคนใดอยากซื้อ ยิ่งเวลานี้กำลังถูกแรงกดดันทางการเมืองให้ต้องเสี่ยงทำผิดกฎหมาย ยิ่งน่าเห็นใจเดชะบุญที่ประเทศไทยสร้างระบบและกติกาการคลังที่มีวินัยไว้ตั้งแต่ 53 ปีก่อน และกระทรวงการคลังยังมีข้าราชการส่วนใหญ่ที่ทนเห็นความเหลวแหลกของนักการเมืองบางคนไม่ได้
วิธีการหาเงินของกระทรวงการคลังสองวิธีแรกสุ่มเสี่ยงที่จะผิดกฎหมายอย่างไร
ขออนุญาตเท้าความหน่อย เมื่อเริ่มมีโครงการรับจำนำข้าวทุกเม็ด ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 มา ข้าราชการกระทรวงการคลังเริ่มตระหนักว่า โครงการนี้จะก่อภาระหนี้สินจนเสี่ยงเกิดวิกฤติการคลังของประเทศได้ รมว.คลังจึงทำเรื่องเสนอให้รัฐบาลกำหนดวงเงินค้ำประกันเงินกู้เพื่อใช้ในโครงการรับจำนำผลผลิตการเกษตร เพราะแต่ละปีงบประมาณกระทรวงการคลังจะสามารถค้ำประกันเงินกู้ของหน่วยราชการทั้งหมดได้จำกัดไม่เกิน 20% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี และงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม หากปล่อยให้มีการใช้เงินโครงการรับจำนำมากขึ้น รัฐก็ต้องลดวงเงินกู้ส่วนที่จะนำไปลงทุนพัฒนาประเทศ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2555 และ 10 มิถุนายน 2556 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติกำหนดเพดานการกู้เงินเพื่อใช้จำนำข้าวจนถึงสิ้นปี 2556 ว่า ต้องอยู่ภายใต้กรอบเงินกู้ 410,000 ล้านบาท และเงินทุนธ.ก.ส. 90,000 ล้านบาท รวม 500,000 ล้านบาท และให้นำเงินจากการระบายข้าวมาใช้หมุนเวียนจำนำข้าว สังคมไทยต้องขอบคุณรัฐมนตรีและข้าราชการกระทรวงคลังที่นำเสนอเรื่องนี้ต่อรัฐบาล
ในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกตลอดปีการผลิต 2556/57 คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ 3 กันยายน 2556 ว่า จะใช้วงเงิน 270,000 ล้านบาท และวงเงินนี้จะต้องอยู่ภายใต้กรอบสินเชื่อ410,000 ล้านบาท และเงินทุนธ.ก.ส. 90,000 ล้านบาท ตามที่เคยมีมติอนุมัติ
มตินี้สำคัญมากด้วย 2 เหตุผล ข้อแรก หากโครงการรับจำนำข้าวในปี 2556/57 มีเงินพอจ่ายให้ชาวนา เงินส่วนใหญ่ก็ต้องมาจากการระบายข้าวของกระทรวงพาณิชย์ เพราะการจำนำตลอดสองปีได้ใช้เงินกู้ไปเกือบเต็มวงเงินค้ำประกัน 500,000 ล้านบาทแล้ว ไม่สามารถกู้เพิ่มเติมได้ ทว่า กระทรวงพาณิชย์กลับไร้ความสามารถในการขายข้าว ตลอด 2 ปีที่มีการจำนำข้าว (ตุลาคม 2554-22 ธันวาคม 2556) กระทรวงพาณิชย์ส่งเงินค่าระบายข้าวเพื่อใช้หนี้ธ.ก.ส. แค่ 146,507 ล้านบาท ทั้งๆ ที่ธ.ก.ส. จ่ายเงินสดค่าจำนำข้าวให้ชาวนาไปแล้ว 707,734 ล้านบาท
ความสำคัญข้อสอง คือ มติกำหนดกรอบวงเงินโครงการจำนำปี 2556/57 เมื่อ 3 กันยายน 2556 เกิดขึ้นหลังจากมีการผ่านกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2556/57 ไปแล้ว รัฐบาลไม่สามารถกู้เงินเกินเพดาน 500,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจำนำข้าว
ปี 2556/57 หรือถ้าต้องการกู้เงินเพิ่ม ครม.ก็ต้องมีมติแก้ไขมติเดิม 3 กันยายน 2556 และลดวงเงินกู้โครงการพัฒนาของหน่วยงานรัฐอื่นๆ ลงหมายความว่าโครงการจำนำข้าวจะส่งผลลบต่อการพัฒนาประเทศแต่รัฐบาลก็ไม่ได้มีมติอย่างไร จนกระทั่งยุบสภา
การประท้วงของชาวนาที่ไม่ได้รับเงินค่าข้าว ทำให้รัฐเกรงสูญเสียฐานเสียงใหญ่ของชาวนา นักการเมืองจึงกดดันให้เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังและธ.ก.ส.หาช่องทางหลีกเลี่ยงกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 181 (3), (4) โดยรัฐบาลส่งเรื่องให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ตีความว่า การกู้เงิน 130,000 ล้านบาท หรือให้ธ.ก.ส.นำเงินฝากหน่วยงานรัฐมาจ่ายค่าจำนำข้าวให้ชาวนาขัดกับหลักเกณฑ์ของกกต.หรือไม่ รัฐบาลเชื่อว่าไม่ขัดหลักเกณฑ์เพราะป็นนโยบายต่อเนื่องที่ผ่านการอนุมัติของครม.แล้วเมื่อ 3 กันยายน 2556 (ถ้ากกต.มีมติว่าทำไม่ได้ ผมหวังว่ารัฐบาลจะไม่โยนความผิดให้กกต.)
รัฐธรรมนูญมาตรา 181 (3) กำหนดว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรจะไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
จริงอยู่การสลับวงเงินค้ำประกันเงินกู้โดยลดการกู้ของ 3 รัฐวิสาหกิจ เพื่อให้ธ.ก.ส.สามารถกู้เงิน 130,000 ล้านบาท มีผลให้ยอดหนี้สาธารณะรวมไม่เพิ่มขึ้น และอาจลดลง 8,000 ล้านบาท แต่อย่าลืมว่าเมื่อ 3 กันยายน 2556 คณะรัฐมนตรีเคยมีมติว่าวงเงินโครงการจำนำข้าวปี 2556/57 ต้องอยู่ในกรอบวงเงินค้ำประกันของกระทรวงการคลัง 500,000 ล้านบาท แม้คณะกรรมการนโยบายและกำกับบริหารหนี้สาธารณะจะมีมติว่ากรอบวงเงิน 270,000 ล้านบาท สำหรับการจำนำปี 2556/57 เป็นกรอบใหม่ ไม่เกี่ยวกับกรอบวงเงิน 500,000 ล้านบาทเดิม และจะเสนอมตินี้ให้ครม.รับทราบ แต่มตินี้เกิดขึ้นเมื่อ 3 มกราคม 2557 หลังจากการยุบสภา คณะกรรมการนโยบายฯและครม.รักษาการไม่มีอำนาจเพิ่มกรอบวงเงินกู้โครงการจำนำข้าวได้ เพราะจะเป็นภาระผูกพันต่อรัฐบาลชุดใหม่
แม้ยอดหนี้สาธารณะของประเทศไม่เพิ่มขึ้น แต่ลำพังเฉพาะให้ธ.ก.ส.กู้เพิ่มอีก 130,000 ล้านก็เป็นการสร้างภาระผูกพันให้ครม.ชุดต่อไป เพราะการกู้ต้องทำนิติกรรม ผู้ที่จะใช้หนี้เงินกู้ดังกล่าวจึงเป็นรัฐบาลชุดต่อไป รัฐบาลรักษาการไม่มีอำนาจการกู้เพิ่มเติมจาก มติครม.เมื่อ 3 กันยายน 2556
ปัญหาประการสุดท้าย คือ การบังคับให้หน่วยงานรัฐโยกเงินฝากจากสถาบันการเงินอื่นมาฝากกับธ.ก.ส.โดยมีเงื่อนไขพิเศษในการฝาก แล้วให้ธ.ก.ส.นำเงินฝากดังกล่าวไปจ่ายแก่ชาวนาที่ได้รับใบประทวนแล้ว วิธีนี้ดูแนบเนียนดีเพราะธ.ก.ส.เอาสภาพคล่องส่วนเกินมาให้ชาวนากู้ ภาระหนี้ของรัฐบาลไม่ได้เพิ่มขึ้น คำถามคือ วิธีนี้จะมีปัญหาอะไร
การจ่ายเงินค่าข้าวให้ชาวนาที่นำข้าวมาจำนำกับรัฐบาลก็คือการให้ชาวนากู้เงิน หากครบกำหนด 4 เดือน ชาวนาไม่มาไถ่ถอนข้าวคืน(ซึ่งคงไม่มีใครมาไถ่ถอน) ข้าวก็ตกเป็นของรัฐ หนี้ของชาวนาก็จะกลายเป็นหนี้ของรัฐบาลชุดต่อไปที่ต้องหาเงินมาชำระคืนแก่ธ.ก.ส. ฉะนั้นวิธีนี้จึงขัดกับมาตรา 181 (3) เช่นกัน
ส่วนประเด็นที่ว่าวิธีเหล่านี้จะขัดกับมาตรา 181 (4) ที่ระบุว่าไม่ให้ครม.รักษาการใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง หรือไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบที่ กกต.กำหนด เป็นอำนาจการวินิจฉัยของกกต.ผมไม่อยู่ในฐานะให้คำตอบได้
พี่น้องชาวนาครับ เหตุผลที่ผมเขียนบทความฉบับนี้ มิได้มีเจตนาที่จะขัดขวางการจ่ายเงินค่าข้าวให้แก่ท่าน ตรงกันข้ามผมต้องการให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบต่อชาวนาด้วยวิธีที่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ใช้วิธีหาเสียงทางการเมืองโดยอาศัยวิธีการแบบศรีธนญชัย พยายามเลี่ยงกฎหมายโดยไม่สนใจว่าวิธีเหล่านี้จะมีผลเสียหายต่อฐานะการคลังของประเทศ และต่อธ.ก.ส.อย่างไร
ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นขณะนี้ คือ เราไม่รู้ว่าจะได้รัฐบาลใหม่เมื่อใด ทำให้ไม่รู้ว่าเมื่อไรชาวนาจะได้รับเงินคืน สิ่งที่ทำได้ในวันนี้มี 3 ประการ คือ (ก) กดดันให้กระทรวงพาณิชย์ขายข้าว และทวงเงินจากบริษัทพรรคพวกนักการเมืองที่ได้สิทธิซื้อข้าวราคาต่ำ เพื่อนำเงินมาคืนชาวนาให้เร็วที่สุด (ข) พรรคเพื่อไทยและคุณทักษิณ ชินวัตร เจ้าของความคิดนโยบายจำนำข้าวทุกเม็ด ต้องแสดงความรับผิดชอบ นำเงินของพรรคมาคืนเป็นค่าดอกเบี้ยให้ชาวนา ไม่ใช่มาล้วงกระเป๋าผู้เสียภาษี (ค) กลุ่มพี่น้องชาวนา ควรถอดบทเรียนจากประสบการณ์อันเจ็บปวดจากนโยบายการจำนำข้าวครั้งนี้ บทเรียนสำคัญ คือ นโยบายนี้ก่อความเสียหายอย่างไรทั้งต่อชาวนาและต่อประเทศชาติ มีใครที่อยู่เบื้องหลังการทุจริตโดยเฉพาะการขายข้าว จนทำให้ไม่มีเงินค่าข้าวให้ชาวนา

MANA PRADITKET

MANA PRADITKET
Handpainted oil painting by Mana Praditket

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
Original handpainted oil painting by Niran Paijit

PRAYAD TIPPAWAN

PRAYAD TIPPAWAN
ORIGINAL IMPRESSIONAL OIL PAINTING BY PRAYAD TIPPAWAN

Achara 34 (24x36)

Achara 34 (24x36)
ORIGINALl OIL PAINTING

Amornsak Livisit 74 (24x36)

Amornsak Livisit 74 (24x36)
ORIGINAL OIL PAINTING, Impressionist style

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)
Original handpainted oil painting abstract style

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
ORIGINAL ABSTRACT STYLE OIL PAINTING BY NIRAN PAIJIT

Chavalit (Pong)

Chavalit (Pong)
PINTO Horses

Komez 78 (22x30)

Komez 78 (22x30)
Original handpainted pastel painting on paper

KOMES

KOMES
Handpainted pastel painting by Komez

PRATHOUN

PRATHOUN
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY PRATHOUN

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
ORIGINAL OIL PAINTING BY THAVORN IN-AKORN (SIZE 20x30")

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
Original oil painting by Thavorn In-akorn

Facebook


ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING

PHOTO GALLERY

PHOTO GALLERY

Facebook

PHOTO GALLERY