GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL

GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL
LONG LIVE THE KING BHUMIBHOL

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

หลวงปู่มั่น/หลวงปู่เทสก์/หลวงปู่สิม/ท่านพุทธทาส/หลวงปู่ดู่-ความหมายของ "กรรมฐาน"





สมัย ที่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พักอยู่บน ดอยปะหร่อง (จังหวัดเชียงใหม่) กับ พระอาจารย์มนู ตอนเช้า เที่ยวบิณฑบาต พอให้พรเสร็จ ท่านได้สอนให้ชาวบ้าน กล่าวสาธุ พร้อมกันด้วยเสียงสูง ท่านพระอาจารย์มั่น เล่าเป็นเชิงตลกว่า

มือทั้งสองข้างของเขา ชูขึ้นข้างบนเหมือนบั้งไฟ จะขึ้นสู่ท้องฟ้า ว่างั้น วันหนึ่ง ท่านนั่งพักในส่วนที่ทำเป็นที่พักกลางวัน มีเทพพวกหนึ่ง มาจาก เขาคิชฌกูฏ มาถามท่านว่า

" เสียงสาธุ สาธุนั้น สาธุอะไร สะเทือนสะท้าน ทุกวัน พวกเทพทั้งหลาย ได้ฟัง มีความสุข ไปตามๆ กัน "

ท่านมาพิจารณาว่า เสียงอะไร ที่ไหน จึงระลึกได้ว่า เสียงสาธุการของชาวบ้าน ตอนถวายทาน นั่นเอง พอรับทราบแล้ว พวกเทพก็กล่าวว่า

" เขาก็สาธุการด้วย "

แล้วทำ ประทักษิณ เวียนขวา ลากลับไป ส่วนมาก พวกเทพเขาจะทำอย่างนั้น ท่านพระอาจารย์มั่น เลยมาพิจารณาต่อ ได้ความว่า พุทธมนต์นั้น ใครสวดก็ตาม
จะเป็นกิจวัตรของ พระสงฆ์ เช้า-เย็น หรือ ชาวพุทธทุกคน

- สวดมนต์ระลึกในใจ มีอานุภาพแผ่ไปได้ หมื่นจักรวาล
- สวดออกเสียงพอฟังได้ มีอานุภาพแผ่ไปได้ แสนจักรวาล
- สวดมนต์เช้าเย็นธรรมดา มีอานุภาพแผ่ไปได้ แสนโกฏิจักรวาล
- สวดเต็มเสียงสุดกู่ มีอานุภาพแผ่ไปได้ อนันตจักรวาล

แม้สัตว์ที่อาศัยอยู่ในสามภพ และที่สุด อเวจีมหานรก ยังได้รับความสุข เมื่อแว่วเสียงพุทธมนต์ ผ่านลงไปถึง ชั่วขณะชั่วครู่หนึ่ง ดีกว่า หาความสุขไม่ได้เลย ตลอดกาล นี้คือ อานิสงส์ของพระพุทธมนต์
 
ชาวเขามาขอคาถากันผีไล่ผีจากหลวงปู่มั่น

คืนหนึ่งมีพวกชาวเขาพูดกันว่า ตุ๊เจ้าหลวง (หลวงปู่มั่น) ที่มาพักอยู่กับพวกเรา ท่านจะมีคาถากันผีขับไล่ผีหรือเปล่าก็ไม่ทราบ พรุ่งนี้พวกเราลองพากันออกไปขอท่านดู ท่านจะพอมีให้พวกเราบ้างไหม ?

พอตื่นเช้ามา ท่านอาจารย์มั่นก็รีบบอกกับพระทันทีว่า คืนนี้นั่งภาวนาอยู่ได้ยินพวกชาวเขาในหมู่บ้านนี้พูดกันว่า พวกพระเราจะมีคาถากันผีไล่ผีบ้างไหม เขาจะมาขอคาถานั้นกับพวกเรา ถ้าเขา มาขอคาถาดังที่ว่านั้น ให้เอาคาถา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ให้เขาไปภาวนา คาถานี้กันผีดีนัก ผีในโลกนี้กลัวแต่ พุทโธ ธัมโม สังโฆ เท่านั้น ไม่มีผีตัวใดจะกล้าต่อสู้กับธรรมเหล่านี้ได้

พอตอนเช้าพวกชาวเขาพากันมาจริง ๆ ดังที่ท่านบอกไว้ และพร้อมกันมาขอคาถากันผีไล่ผี กับท่านจริงๆ ท่านก็บอกคาถา พุทโธ ธัมโม สังโฆ ให้แก่เขาไป โดยบอกวิธีทำให้เขา คือนึกพุทโธ ธัมโม สังโฆ บทใดบทหนึ่งไว้ในใจ และบอกว่าผีกลัวนักหนา พอเขาได้พุทโธ ธัมโม สังโฆไปแล้ว ต่างก็เริ่มทำพิธีกันผีตามที่ท่านสั่ง โดยที่เขาไม่รู้ว่าท่านให้เขาภาวนา พอเขาพากันทำแบบที่ท่านสั่งสอน ใจเลยรวมสงบลงเป็นสมาธิในขณะนั้น รุ่งเช้าเขาก็รีบออกมาหาท่านและเล่าอาการที่เป็นให้ท่านฟัง ท่านบอกว่านั่นเป็นวิธีที่ถูกต้องแล้ว ผีแถว ๆ นี้จะต้องกลัวและพากันวิ่งหนีหมด อยู่ที่นี่ต่อไปไม่ได้ เพราะธรรมของพวกแกแก่กล้าแล้ว ต่อไปพวกแกไม่ต้องกลัวผีอีกแล้ว แม้พวกที่ภาวนากันผียังไม่เป็น ผีก็เริ่มกลัวอยู่แล้ว

จากนั้นท่านสอนให้เขาทำทุกวัน ตามปกติคนชาวเขาเป็นคนซื่อสัตย์สุจริตมาดั้งเดิมจึงสั่งสอนง่ายอยู่บ้าง เขาพากันทำทุกวันอย่างเอาจริงเอาจัง ต่อมาไม่ช้าคนในบ้านนั้นบางคนภาวนาเป็นจริง ๆ จนจิตเกิดความสว่างไสวสามารถรู้จิตใจของคนอื่นได้ ตลอดจิตพระที่อยู่ในวัด เช่นเดียวกับคนบ้านเสือเย็นที่กล่าวผ่านมาแล้ว

เวลาเขาออกมาวัด มาเล่าเรื่องภาวนาให้พระอาจารย์ฟัง และเรื่องที่จิตสามารถรู้เห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างน่าจับใจนั้น พระในวัดเกิดความอัศจรรย์และกลัวเขาจะรู้เห็นจิตของตัวที่คิดไปต่าง ๆ พระบางองค์ที่มีนิสัยขี้ขลาด แต่อยากรู้เรื่องต่าง ๆ อดทนไม่ได้ก็ถามเขา เขาก็เล่าให้ฟังตามเป็นจริง ยังทนต่อความอยากถามไม่ได้อีก พยายามแคะไค้ไล่เบี้ยสอบถามเขาเข้ามาหาเรื่องของตัวโดยจะขาดทุนก็ไม่ยอม รู้สึกตัว ราวกับใจมีฝาปิดไว้ร้อยชั้นอย่างมิดชิด ไม่มีอะไรจะสามารถเอื้อมเข้าไปสัมผัสแตะต้องได้

พอถามเขา เขาก็บอกอย่างตรงไปตรงมาตามภาษาของคนป่าซึ่งไม่สนใจกับสังคมว่านิยมกันอย่างไร พระที่ฟังแล้วชอบใจว่า ถูกกับปมด้อยของตัว และกลัวในเวลาคิดปรุงไปต่าง ๆ ว่า เขาจะรู้ทำนองที่เขาเคยรู้แล้วนั้น

นอกจากเขาจะรู้สิ่งต่าง ๆ ดังที่ว่านั้น เขายังพูดกับท่านพระอาจารย์มั่นอย่างหน้าตาเฉยด้วยว่า

จิตตุ๊เจ้าหลวง เฮาก็ฮู้ก๊า (เรารู้ครับ) เพราะเฮาดูและฮู้จิตตุ๊เจ้าหลวงก่อนใคร ๆ

ท่านก็ถามบ้างว่า จิตเราเป็นอย่างไร กลัวผีไหม?

เขายิ้มแล้วก็ตอบท่านว่า จิตของตุ๊เจ้าหลวงหมดดวงสมมุติแล้ว เหลือแต่นิพพานในร่างมนุษย์อย่างเดียว และไม่กลัวอะไรเลย จิตตุ๊เจ้าวิเศษสุดแล้ว

เรื่องผีสางอะไรเขาเลยไม่กล่าวถึง แม้คนในบ้านนั้นก็หันมาเลื่อมใสศาสนาและท่านพระอาจารย์มั่นเสียหมด ไม่สนใจกับผีกับสางอะไรอีกต่อไป เพราะคนที่ภาวนาเก่งคนนั้นเป็นผู้ประกาศให้ชาวบ้านทราบเรื่องของศาสนา และเรื่องของท่านพระอาจารย์อยู่ทุกวัน

เวลาใส่บาตรเขาพร้อมกันมารวมใส่ในที่แห่งเดียว พอเสร็จจากการใส่บาตร เวลาจะอนุโมทนา ท่านพระอาจารย์บอกให้เขาพร้อมกันสาธุดัง ๆ เผื่อเทวดาจะได้อนุโมทนาด้วย เขาจะมีส่วนบุญกับพวกเราอีกส่วนหนึ่ง เขาเชื่อท่านพร้อมกันสาธุดัง ๆ ทุกวัน

ที่ท่านให้เขาสาธุดัง ๆ นี้ ทราบว่าเวลากลางคืนยามดึกสงัด มักมีเทวดามาเยี่ยมและฟังเทศน์ท่านเสมอ บางพวกก็บอกว่า ได้ยินเสียงสาธุดังไปถึงเขา เขาจึงทราบว่าพระคุณเจ้าพักอยู่ที่นี่ ถึงได้พากันมาเยี่ยม


 
 
คาถากันภัยของหลวงปู่มั่น ท่านกำหนดจิตจึงได้มา และให้ไว้กับพระสยามเทวาธิราชเพื่อปัดเป่าเหตุร้ายเมื่อคราวบ้านเมืองมีภัยสงคราม "นะโมวิมุตตานัง นะโมวิมุตติยา" ท่องทุกครั้งที่ไปชุมนุมหรือมีเหตุการณ์ไม่ดี ช่วยส่งต่อพี่น้องคนอื่นด้วย จะได้มีความปลอดภัยและประสพความสำเร็จ


 พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

 
ทำอย่างไรจึงจะเห็นจิต ถ้ามิฉะนั้น จิตก็จะพาเราว่อนอยู่อย่างนั้นแหละ เที่ยวเหนือล่องใต้ไปทั่วทุกทิศ ทุกทาง ถ้าเราคุมจิตไม่อยู่ รักษาจิตไม่ได้ ก็จะพาให้เราทุกข์เร่าร้อน เศร้าโศกเสียใจ อาลัยอาวรณ์ ถ้าไม่มีจิตแล้ว ตัวของเราก็เหมือน กับท่อนไม้ท่อนฟืน ใครจะสับจะบั่น ใครจะเผาจะอะไรๆ ต่างๆ ไม่รู้สึกทั้งนั้น การปรากฏเห็นภาพทางตา เขาเรียกว่า จิต แต่คนไม่เห็นตัวจิต คือตาเห็นภาพนั่นน่ะ เข้าใจว่าจิตเห็น ไม่ใช่จิต ตาเห็นต่างหาก แสงกระทบเข้ามาก็เห็นเท่านั้น หูได้ยินเสียงก็เหมือนกัน เสียงมาเข้าหูกระทบกันเข้ามันก็ได้ยิน จมูกสูดกลิ่น ลิ้นถูก รส กายสัมผัสอะไรต่างๆ อันนั้นไม่ใช่ตัวจิต เป็นเรื่องกระทบกันต่างหาก กระทบกันแล้วก็หายไป

ถ้าเช่นนั้น จิตมันอยู่ที่ไหน ให้ลองหาดูในตัวเรานี่แหละ หาให้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง ดูว่าจิตแท้มันอยู่ที่ไหนกัน เมื่อหาจิตไม่เห็นแล้ว

คนที่หาน่ะไม่เห็น คนไหนเป็นคนหา มันยังมีซ้อนอีก ใครเป็นคนค้นหา สิ่งที่ไปหานั้นเห็น แต่ผู้หาไม่เห็น อย่างว่าเห็นรูป รูปนั้นเห็นแล้ว

แต่ผู้เห็นน่ะใครเป็นคน เห็น มันต้องหาตัวนั้นซีจึงจะเห็


 

หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
 
กมฺมโยนิ กรรมเป็นกำเนิดให้เกิดมา
กมฺมพนฺธุ มันติดพันเรามาตลอดเวลา
กมฺมปฏิสรณา เราอาศัยกรรมอยู่เดี๋ยวนี้

ทุกสิ่งทุกประการมันจะหมดสิ้นอย่างไรได้ ?
มันจะหมดสิ้นก็ต่อเมื่อสิ้นสังขารร่างกายนี้
พระพุทธเจ้าก็ดี สาวกทั้งหลายก็ดี ท่านบำเพ็ญเพียรถึงที่สุดแล้ว
สังขารร่างกายนี้แตกดับ

กรรมตามไม่ทันแล้วคราวนี้
กรรมอันนี้เรียกวิบากขันธ์
วิบากนี้ต้องตามทันอยู่ตลอดเวลา

ส่วนจิตนั้นตามไม่ทัน จิตใจของพระองค์หมดจดบริสุทธิ์ จิตใจของสาวกหมดจดบริสุทธิ์แล้ว คราวนี้แหละกรรมตามไม่ทัน

กรรมที่ตามไม่ทันเพราะจิตใจหลุดพ้น เพราะจิตปราศจากความกังวลเกี่ยวข้อง

จิตที่เป็นหนึ่ง








คราวนี้มาพูดกันถึงเรื่อง จิต กับ ใจ ให้เข้าใจกนก่อนจึงค่อยพูดกันถึงเรื่องกิเลส อันเกิดจากจิตต่อไป



จิต คือผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง สังขาร สัญญาอารมณ์ทั้งหมดเกิดจากจิต เมื่อพูดถึงจิตแล้วไม่นิ่งเฉยได้เลย แม้ที่สุดเรานอนอยู่ก็ปรุงแต่ง ไปร้อยแปดพันเก้า อย่างที่เราเรียกว่า ฝัน นั่นเอง จิตไม่มีการนิ่งอยู่เฉยได้ จิตนอนหลับไม่เป็น แลไม่มีกลางคืน กลางวันเสียด้วย ที่นอนหลับนั้นมิใช่จิต กายต่างหาก มันเหนื่อยจึงพักผ่อนจิต เป็นของไม่มีตัวตน แทรกซึมเข้าไปอยู่ได้ในที่ทุกสถาน แม้แต่ภูเขาหนาทึบก็ยังแทรกเข้าไป แทรกทะลุปรุโปร่งได้เลย จิต นี้มีอภินิหารมาก เหลือที่จะพรรณนาให้สิ้นสุดได้

ใจ คือผู้เป็นกลางๆ ในสิ่งทั้งปวงหมด ใจก็ไม่มีตัวตนอีกนั่นแหละ มีแต่ผู้รู้อยู่เฉยๆ แต่ไม่มีอาการไป อาการมา อดีตก็ไม่มีอนาคตก็ไม่มี บุญแลบาปก็ไม่มี นอกแลในก็ไม่มี กลางอยู่ตรงไหนใจ ก็อยู่ตรงนั้น ใจ หมายความเป็นกลางๆ ดังภาษาชาวบ้านเขาเรียกกันว่า ใจมือ ก็หมายเอาท่ามกลางมือ ใจเท้า ก็หมายเอาท่ามกลางเท้า แม้ที่สุดเมื่อถามถึงใจคนเรา ก็ต้องชี้เข้าท่ามกลางหน้าอก แต่แท้จริงแล้วที่นั้นไม่ใช่ใจนั่นเป็นแต่หทัยวัตถุ เครื่องสูบฉีดเลือดที่เสียแล้วกลับเป็นของดีให้ไปหล่อเลี้ยงสิ่งต่างๆ ในสรรพางค์ร่างกายเท่านั้น ตัวใจแท้มิใช่วัตถุ เป็นนามธรรม
 
พระพุทธศาสนาสอนให้ละชั่วทำดี เมื่อเราเห็นจิตอยู่อย่างนั้นแล้ว คิดนึกอะไรต่าง ๆ รู้สึกอยู่ ตลอดเวลา จิตมันละอายละคราวนี้ มันค่อยวางค่อยทิ้งไป

ที่เราวุ่นวี่วุ่นวายอยู่นี่ก็เรื่องไม่เห็นจิตนั่นเอง

คิดดู ความโกรธ เราไม่รู้จักความโกรธ มันโกรธแล้วจึงค่อยรู้จัก รู้จักแต่โกรธ ไม่รู้จักตัวโกรธ รู้จักแต่คำว่าโกรธ ไม่รู้จักผู้โกรธ คือจิตนั่นเอง

ถ้าเข้าไปรู้จักตัวผู้โกรธนั่นแหละหายทันที อย่างนี้ เป็นต้น

จึงให้พิจารณาให้เห็นจิต เมื่อพิจารณาควบคุมจิตได้อยู่อย่างนี้ เรื่องการฝึกหัดปฏิบัติไม่ต้อง เอาที่อื่น เอาสติควบคุมจิตไว้ตลอดเวลาก็พอ

ฌาน และ สมาธิ มีลักษณะและคุณวิเศษผิดแปลกกันโดยย่ออย่างนี้ คือ


ฌาน ไม่ว่าหยาบและละเอียด จิตเข้าถึงภวังค์แล้วเพ่งหรือยินดีอยู่แต่เฉพาะความสุขเลิศอันเกิดจากเอกัคคตารมณ์อย่างเดียว สติสัมปชัญญะหายไป ถึงมีอยู่บ้างก็ไม่สามารถจะทำองค์ปัญญาให้พิจารณาเห็นชัดในอริยสัจธรรมได้ เป็นแต่สักว่ามี ฉะนั้น กิเลสทั้งหลายมีนิวรณ์ ๕ เป็นต้น จึงยังละไม่ได้ เป็นแต่สงบอยู่

ส่วน สมาธิ ไม่ว่าหยาบแลละเอียด เมื่อเข้าถึงสมาธิแล้ว มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ตามชั้นแลฐานะของตน เพ่งพิจารณาธรรมทั้งหลายอยู่ มีกายเป็นต้น ค้นคว้าหาเหตุผลเฉพาะในตน จนเห็นชัดตระหนักแน่วแน่ตามเป็นจริงว่า สิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เป็นต้น ตามชั้นตามภูมิของตน  ฉะนั้น

สมาธิจึงสามารถละกิเลส มีสักกายทิฏฐิเสียได้ สมาธินี้ถ้าสติอ่อน ไม่สามารถรักษาฐานะของตนไว้ได้ ย่อมพลัดเข้าไปสู่ภวังค์เป็นฌานไป ฌานถ้ามีสติสัมปชัญญะแก่กล้าขึ้นเมื่อไร ย่อมกลายเป็นสมาธิได้เมื่อนั้น ในพระวิสุทธิมรรคท่านแสดงสมาธิเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับฌาน เช่นว่า สมาธิกอปรด้วยวิตก วิจาร ปีติ เป็นต้น ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นเหตุของฌาน เช่นว่าสมาธิเป็นเหตุให้ได้ฌานชั้นสูงขึ้นไป ดังนี้ก็มี บางทีท่านแสดงสมาธิเป็นฌานเลย เช่นว่าสมาธิเป็นกามาพจร รูปาพจร อรูปาพจร ดังนี้ก็มี แต่ข้าพเจ้าแสดงมานี้ก็มิได้ผิดออกจากนั้น เป็นแต่ว่าแยกแยะสมถะฌาน สมาธิ ออกให้รู้จักหน้าตามันในขณะที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้าเท่านั้น สำหรับผู้ฝึกหัดเป็นไปแล้วจะไม่งง ที่ท่านแสดงไว้แล้วนั้นเป็นการยืดยาว ยากที่ผู้มีความทรงจำน้อยจะเอามากำหนดรู้ได้
นิมิต เมื่ออธิบายมาถึง ฌาน สมาธิ ภวังค์ ดังนี้แล้ว จำเป็นจะลืมเสียไม่ได้ซึ่งรสชาติอันอร่อย (คือ นิมิต) ซึ่งเกิดขึ้นในระยะของสิ่งเหล่านั้น ผู้เจริญพระกรรมฐานย่อมปรารถนาเป็นอย่างยิ่งแทบทุกคนก็ว่าได้ ความจริงนิมิตมิใช่ของจริงทีเดียวทั้งหมด นิมิตเป็นแต่นโยบายให้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงก็มี ถ้าพิจารณานิมิตนั้นไม่ถูกก็เลยเขวไปก็มี ถ้าพิจารณาถูกก็ดีมีปัญญาเกิดขึ้น นิมิตที่เป็นของจริงคือนิมิตเป็นหมอดูไม่ต้องใช้วิพากษ์วิจารณ์อย่างนี้ก็มี นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้ เมื่อจะเกิด เกิดจากเหตุ ๒ ประการ คือเกิดจากฌาน ๑ สมาธิ ๑ เมื่ออบรมและรักษาธรรม ๒ ประการนี้ไว้ไม่ให้เสื่อมแล้ว นิมิตทั้งหลายย่อมเกิดขึ้นเองอุปมาดังต้นไม้ที่มีดอกและผล ปรนปรือปฏิบัติรักษาต้นมันไว้ให้ดีเถิด อย่ามัวขอแต่ดอกผลของมันเลย เมื่อต้นของมันแก่แล้ว มีวันหนึ่งข้างหน้าไม่ช้าคงได้รับดอกแลผลเป็นแน่นอน ดีกว่าจะไปมัวขอผลแลดอกเท่านั้น
นิมิต ที่เกิดจากฌานนั้น เมื่อจิตตกเข้าถึงฌานเมื่อไรแล้ว นิมิตทั้งหลายมีอสุภเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นในลำดับดังได้อธิบายมาแล้วในข้างต้นว่า จิตเมื่อเข้าจะเข้าถึงฌานได้ย่อมเป็นภวังค์เสียก่อน ภวังค์นี้เป็นเครื่องวัดของฌานโดยแท้ ถ้าเกิดขึ้นในลำดับของภวังคบาต เกิดแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วนิมิตนั้นก็หายไปพร้อมทั้งภวังค์ด้วย ถ้าเป็นภวังคจลนะ พอเกิดขึ้นแล้วภวังค์นั้นก็เร่ร่อนเพลินไปตามนิมิตที่น่าเพลิดเพลินนั้นโดย สำคัญว่าเป็นจริง ถ้านิมิตเป็นสิ่งที่น่ากลัว กลัวจนตัวสั่น เสียขวัญ บางทีก็รู้อยู่ว่านั่นเป็นนิมิตมิใช่ของจริง แต่ไม่ยอมทิ้งเพราะภวังค์ยังไม่เสื่อม ภวังคจลนะนี้เป็นที่ตั้งของวิปัสสนูปกิเลสทั้ง ๑๐ มีโอภาโส แสงสว่างเป็นต้น ถ้าไม่เข้าถึงภวังค์ มีสติสัมปชัญญะแก่กล้าเป็นที่ตั้งของปัญญาได้เป็นอย่างดี มีวิปัสสนาปัญญาเกิดขึ้นในที่นี้เอง นิมิตนั้นเลยกลายเป็นอุปจารสมาธินิมิตไป ส่วนภวังคุปัจเฉทะไม่มีนิมิตเป็นเครื่องปรากฏ ถ้ามีก็ต้องถอยออกมาตั้งอยู่ในภวังคจลนะเสียก่อน ตกลงว่านิมิตมีที่ภวังคจลนะอยู่นั่นเอง
นิมิตที่เกิดในสมาธิ เมื่อเกิดขึ้นในภูมิของขณิกสมาธิ วับแวบขึ้นครู่หนึ่งแล้วก็หายไป อุปมาเหมือนกันกับบุคคลผู้เป็นลมสันนิบาตมีแสงวูบวาบเกิดขึ้นในตา หาทันได้จำว่าเป็นอะไรต่ออะไรไม่ ถึงจะจำได้ก็อนุมานตามทีหลังคล้ายๆ กับภวังคบาตเหมือนกัน ถ้าเกิดในอุปจารสมาธินั้น นิมิตชัดเจนแจ่มแจ้งดี เป็นที่ตั้งขององค์วิปัสสนาปัญญา เช่นเมื่อพิจารณาขันธ์ ๕ อยู่ พอจิตตกลงเข้าถึงอุปจารสมาธิแล้ว หรือเข้าถึงอัปปนาสมาธิแล้วถอนออกมาอยู่ในอุปจารสมาธิ นิมิตปรากฏชัดเป็นตามจริงด้วยความชัดด้วยญาณทัสสนะในที่นั้น
เช่น เห็นรูปขันธ์เป็นเหมือนกับต่อมน้ำ ตั้งขึ้นแล้วก็ดับไป เห็นเวทนาเป็นเหมือนกับฟองแห่งน้ำ เป็นก้อนวิ่งเข้ามากระทบฝั่งแล้วก็สลายเป็นน้ำตามเดิม เห็นสัญญาเป็นเหมือนพยับแดด ดูไกลๆ คล้ายกับเป็นตัวจริง เมื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของมันจริงๆ แล้ว พยับแดดนั้นก็หายไป เห็นสังขารเหมือนกับต้นกล้วยซึ่งหาแก่นสารในลำต้นสักนิดเดียวย่อมไม่มี เห็นวิญญาณเปรียบเหมือนมายาผู้หลอกให้จิตหลงเชื่อ แล้วตัวเจ้าของหายไปหลอกเรื่องอื่นอีก ดังนี้เป็นต้น เป็นพยานขององค์วิปัสสนาปัญญาให้เห็นแจ้งว่า สัตว์ที่มีขันธ์ ๕ ต้องเหมือนกันดังนี้ทั้งนั้น ขันธ์มีสภาวะเป็นอยู่อย่างนี้ทั้งนั้น ขันธ์มิใช่อะไรทั้งหมด เป็นของปรากฏอยู่เฉพาะของเขาเท่านั้น ความถือมั่นอุปาทานย่อมหายไป มิได้มีวิปลาสที่สำคัญว่าขันธ์เป็นตนเป็นตัว เป็นอาทิ

สมาธินี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๓ ชั้นคือ
ขณิก สมาธิ สมาธิที่เพ่งพิจารณาพระกรรมฐานอยู่นั้น จิตรวมบ้าง ไม่รวมบ้าง เป็นครู่เป็นขณะ พระกรรมฐานที่เพ่งพิจารณาอยู่นั้นก็ชัดบ้าง ไม่ชัดบ้าง เปรียบเหมือนสายฟ้าแลบในเวลากลางคืนฉะนั้น เรียกว่า ขณิกสมาธิ
อุปจารสมาธิ นั้นจิตค่อยตั้งมั่นเข้าไปหน่อยไม่ยอมปล่อยไปตามอารมณ์จริงจัง แต่ตั้งมั่นก็ไม่ถึงกับแน่วแน่เป็นอารมณ์อันเดียว ถึงเที่ยวไปบ้างก็อยู่ในของเขตของจิต อุปมาเหมือนวอก เจ้าตัวกลับกลอกถูกโซ่ผูกไว้ที่หลัก หรือนกกระทาขังไว้ในกรงฉะนั้น เรียกว่าอุปจารสมาธิ
อัปปนาสมาธิ นั้นจิตตั้งมั่นจนเต็มขีด แม้ขณะจิตนิดหน่อยก็มิได้ปล่อยให้หลงเพลินไปตามอารมณ์ เอกัคคตารมณ์จมดิ่งนิ่งแน่ว ใจใสแจ๋วเฉพาะอันเดียว มิได้เกี่ยวเกาะเสาะแส่หาอัตตาแลอนัตตาอีกต่อไป สติสมาธิภายในนั้น หากพอดีสมสัดส่วน ไม่ต้องระวัง ไม่ต้องตั้งสติรักษา ตัวสติสัมปชัญญะสมาธิ มันหากรักษาตัวมันเอง อัปปนาสมาธินี้ละเอียดมาก เมื่อเข้าถึงที่แล้ว ลมหายใจแทบจะไม่ปรากฏ ขณะมันจะลง ทีแรกคล้ายกับว่าจะเคลิ้มไป แต่ว่าไม่ถึงกับเผลอสติเข้าสู่ภวังค์ ขณะสนธิกันนี้ท่านเรียกว่า โคตรภูจิต ถ้าลงถึงอัปปนาเต็มที่แล้วมีสติรู้อยู่ เรียกว่า อัปปนาสมาธิ ถ้าหาสติมิได้ ใจน้อมลงสู่ภวังค์เข้าถึงความสงบหน้าเดียว หรือมีสติอยู่บ้างแต่เพ่งหรือยินดีชมแต่ความสุขอันเกิดจากความสงบอันละเอียด อยู่เท่านั้น เรียกว่า อัปปนาฌาน
อัปปนาสมาธินี้มีลักษณะคล้ายกับผู้ที่เข้าอัปปนาฌานชำนาญแล้ว ย่อมเข้าหรือออกได้สมประสงค์ จะตั้งอยู่ตรงไหน ช้านานสักเท่าไรก็ได้ ซึ่งเรียกว่าโลกุตรฌาน อันเป็นวิหารธรรมของพระอริยเจ้า อัปปนาสมาธิเมื่อมันจะเข้าทีแรก หากสติไม่พอเผลอตัวเข้า กลายเป็นอัปปนาฌานไปเสีย

สมถะ สมถะเมื่อแยกออกไปแล้ว มี ๒ ประเภทคือ สมถะทำความสงบเฉยๆ ๑ สมถะที่ประกอบด้วยองค์ฌาน ๑
สมถะทำความสงบเฉยๆ นั้น จะกำหนดพระกรรมฐานหรือไม่ก็ตาม แล้วทำจิตให้สงบอยู่เฉยๆ ไม่เข้าถึงองค์ฌาน อย่างนี้เรียกว่า ตัตรมัชฌัตตุเปกขา ย่อมมีแก่ชนทั่วไปในบางกรณี ไม่จำกัดมีได้เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น
ส่วนสมถะที่ประกอบไปด้วยองค์ฌานนั้น มีได้แต่เฉพาะผู้เจริญพระกรรมฐานเท่านั้น เมื่อถึงซึ่งความสงบครบด้วยองค์ฌานแล้ว เรียกว่า ฌานุเปกขา ฌานุเปกขานี้ท่านจำแนกไว้เป็น ๒ ประเภท คือฌานุเปกขาที่ปรารภรูปเป็นอารมณ์ เอารูปเป็นนิมิต เรียกว่ารูปฌาน ๑ อรูปฌาน ปรารภนามนามเป็นอารมณ์ เอานามเป็นนิมิต ๑ แต่ละประเภทท่านจำแนกออกไว้เป็นประเภทละ ๔ รวมเรียกว่ารูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ จึงเป็นสมาบัติ ๘
ฌานนี้มีลักษณะอาการให้เพ่งเฉพาะในอารมณ์เดียว จะเป็นรูปหรือนามก็ตาม เพื่อน้อมจิตให้สงบปราศจากกังวลแล้วเข้าถึงเอกัคคตารมณ์ มีความสุขเป็นที่นิยมแลปรารถนา เมื่อสมประสงค์แล้วก็ไม่ต้องใช้ปัญญาวิพากษ์วิจารณ์ในสังขารทั้งหลายมีกาย เป็นต้น ดังแสดงมาแล้วนั้นก็ดี หรือจะพิจารณาใช้แต่พอเป็นวิถีทางเดินเข้าไปเท่านั้น เมื่อถึงองค์ฌานแล้วย่อมมีลักษณะแลรสชาติ สุข เอกัคคตา และเอกัคคตา อุเบกขา เสมอเหมือนกันหมด
ฉะนั้น ฌานนี้จึงเป็นของฝึกหัดได้ง่าย จะในพุทธกาลหรือนอกพุทธกาลก็ตาม ผู้ฝึกหัดฌานนี้ย่อมมีอยู่เสมอ แต่ในพุทธศาสนา ผู้ฝึกหัดฌานได้ช่ำชองแล้ว มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครองฌานอยู่ เนื่องด้วยอุบายของพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเป็นเครื่องส่องสว่างให้ จึงไม่หลงในฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้นฌานของท่านเลยเป็นวิหารธรรม เครื่องอยู่ของท่านผู้ขีณาสพ เรียกว่า โลกุตรฌาน ส่วนฌานที่ไม่มีวิปัสสนาปัญญาเป็นเครื่องคุ้มครอง เรียกว่า โลกิยฌาน เสื่อมได้ และเป็นไปเพื่อก่อภพก่อชาติอีก ต่อไปนี้จะได้แสดงฌานเป็นลำดับไป
รูปฌาน ๔ เมื่อผู้มาเพ่งพิจารณาพระกรรมฐานบทใดบทหนึ่งอยู่ มีกายคตาเป็นต้น จนปรากฏพระกรรมฐานนั้นชัดแจ่มแจ้งกว่า อนุมานทิฏฐิ ซึ่งได้กำหนดเพ่งมาแต่เบื้องต้นนั้น ด้วยอำนาจของจิตที่เปลี่ยนจากสภาพเดิม อันระคนด้วยอารมณ์หลายอย่าง และเป็นของหยาบด้วย แล้วเข้าถึงซึ่งความผ่องใสในภายในอยู่เฉพาะอารมณ์อันเดียว เรียกง่ายๆ ว่า ขันธ์ทั้งห้าเข้าไปรวมอยู่ภายในเป็นก้อนเดียวกัน ฉะนั้น ความชัดอันนั้นจึงเป็นของแจ้งชัดกว่าความแจ้งชัดที่เห็นด้วยขันธ์ ๕ ภายนอก พร้อมกันนั้น จิตจะมีอาการวูบวาบรวมลงไป คล้ายกับจะเผลอสติแล้วลืมตัว บางทีก็เผลอสติแล้วลืมตัวเอาจริงๆ แล้วเข้าไปนิ่งเฉยอยู่คนเดียว
ถ้าหากผู้สติดีหมั่นเป็นบ่อยๆ จนชำนาญแล้ว ถึงจะมีลักษณะอาการอย่างนั้นก็ตามรู้ตามเห็นอยู่ทุกระยะ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่า "จิตเข้าสู่ภวังค์" เป็นอย่างนั้นอยู่ขณะจิตหนึ่งเท่านั้น แล้วลักษณะอย่างนั้นหายไป ความรู้อยู่หรือจะส่งไปตามอาการต่างๆ ของอารมณ์ก็ตามเรื่อง บางทีจะแสดงภาพให้ปรากฏในที่นั้นด้วยอำนาจของสังขารขันธ์ภายใน ให้ปรากฏเห็นเป็นต่างๆ เช่น มันปรุงอยากจะให้กายนี้เป็นของเน่าเปื่อยปฏิกูล หรือสวยงามประการใดๆ ภาพก็จะปรากฏขึ้นมาในที่นั้นโดยไม่รู้ตัว ดังนี้เป็นต้น แล้วขันธ์ทั้งสี่มีเวทนาขันธ์เป็นอาทิก็เข้ารับทำหน้าที่ตามสมควรแก่ภาวะของ ตนๆ เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต บางทีส่งจิตนั้นไปดูสิ่งต่างๆ ที่ตนต้องการแลปรารถนาอยากจะรู้ ก็ได้เห็นตามเป็นจริง บางทีสิ่งเหล่านั้นมาปรากฏขึ้นเฉยๆ ในที่นั้นเอง พร้อมทั้งอรรถแลบาลีก็มีได้ ลักษณะอย่างนี้เรียกว่าใช้ขันธ์ภายในได้
ยังอีก ขันธ์ภายในจะต้องหลอกลวงขันธ์ภายนอก เช่น บางคนซึ่งเป็นคนขี้ขลาดมาแล้วแต่ก่อน พอมาอบรมถึงจิตในขณะนี้เข้าแล้ว ภาพที่ตนเคยกลัวมาแล้วแต่ก่อนๆ นั้น ให้ปรากฏขึ้นในที่นั้นเอง สัญญาที่เคยจำไว้แต่ก่อนๆ ที่ว่าเป็นของน่ากลัวนั้นก็ยิ่งทำให้กลัวมากขึ้นจนขวัญหนีดีฝ่อ ด้วยสำคัญว่าเป็นของจริงจังอย่างนี้เรียกว่าสังขารภายในหลอกสังขารภายนอก เพราะธรรมเหล่านี้เป็นสังขตธรรม ด้วยอำนาจอุปาทานนั้นอาจทำผู้เห็นให้เสียสติไปได้ ผู้ฝึกหัดมาถึงขั้นนี้แล้วควรได้รับคำแนะนำจากท่านผู้รู้ผู้ชำนาญ
เมื่อผ่านพ้นในตอนนี้ไปได้แล้ว จะทำหลังมือให้เป็นฝ่ามือได้ดี เรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย มีความมุ่งหมายเป็นส่วนมาก ผู้ที่ยังไม่เคยเป็น แต่เพียงได้ฟังเท่านั้น ตอนปลายนี้ชักให้กลัวเสียแล้วไม่กล้าจะทำต่อไปอีก ความจริงเรื่องเหล่านี้ผู้เจริญพระกรรมฐานทั้งหลาย เมื่อทำถูกทางเข้าแล้วย่อมได้ประสบทุกคนไป แลเป็นกำลังให้เกิดวิริยะได้อย่างดีอีกด้วย ภวังค์ชนิดนี้เป็นภวังค์ที่นำจิตให้ไปสู่ปฏิสนธิเป็นภพชาติ ไม่อาจสามารถจะพิจารณาวิปัสสนาชำระกิเลสละเอียดได้ ฉะนั้น ท่านจึงจัดเป็นอุปกิเลส
ฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ท่านแสดงองค์ประกอบไว้เป็นชั้นๆ ดังจะแสดงต่อไปนี้ แต่เมื่อจะย่นย่อใจความเพื่อให้เข้าใจง่ายๆ แล้ว ฌานต้องมีภวังค์เป็นเครื่องหมาย ภวังค์นี้ท่านแสดงไว้มี ๓ คือ ภวังคบาต ๑ ภวังคจลนะ ๑ ภวังคุปัจเฉทะ ๑
ภวังคบาต เมื่อจิตตกลงสู่ภวังค์นั้นมาอาการให้วูบวาบลง ดังแสดงมาแล้วในข้างต้น แต่ว่าเป็นขณะจิตนิดหน่อย บางทีแทบจะจำไม่ได้เลย ถ้าหากผู้เจริญบริกรรมพระกรรมฐานนั้นอยู่ ทำให้ลืมพระกรรมฐานที่เจริญอยู่นั้น แลอารมณ์อื่นๆ ก็ไม่ส่งไปตามขณะจิตหนึ่ง แล้วก็เจริญ
 
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี




 
 

ให้พากันตั้งใจฟังด้วยดี จึงจะได้ปัญญ ความโลภในจิตใจของคนเรา ไม่มีที่พอที่เต็มได้เลย ต่อให้ดอยสุเทพหมดทั้งลูกกลายเป็นทองคำ
จิตของคนเราก็จะยังไม่พอ

ทางที่ดีให้ตั้งจิตอยู่ในภาวนา ตั้งจิตดวงนี้ให้เต็มในขั้นสมถกรรมฐาน พร้อมกับวิปัสสนากรรมฐาน ให้แจ่มแจ้งในดวงใจทุกคนเท่านั้นพอ

เพราะว่าเมื่อเราเกิดมา ทุกคนก็ไม่ได้มีอะไรติดมา ครั้นเมื่อเราทุกคนตายไปแล้ว แม้สตางค์แดงเดียวก็เอาไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ จงพากันนั่งสมาธิภาวนาให้เต็มที่ จนกิเลสโลภะอันมันนอนเนื่องอยู่ในจิตนี้ ให้หมดเสียวันนี้ๆ

ถ้ากิเลสความโลภนี้ยังไม่หมดจากจิต
ก็ยังไม่ให้หยุดยั้งภาวนาจนวันตายโน้น
ที่สมมุติว่าเป็นชาย ก็โดยสมมติ ความจริง เป็นหญิงมันก็เป็นอันเดียวกับชาย เป็นชายมันก็เป็นตัวของหญิง อันเดียวกัน เพราะว่าพ่อแม่ของเราทุกคนก็เป็นหญิงเป็นชาย

ถ้าเราลืมกำหนดพิจารณาสิ่งเหล่านี้ ปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ทับถมจนกระทั่งเห็นเป็นของสวยของงาม มั่นคงถาวร เพลิดเพลินไปตามการอยู่การกิน แล้วจิตใจก็วุ่นวายว้าวุ่น

ฉะนั้น ต่อไปให้กำหนด เกศา โลมา นขา ทันตา ตโจ ของตัวเองให้เห็น ไม่เห็นอย่าไปมัวนิ่งนอนใจ ให้กำหนดพิจารณาลงไป ให้มันเห็นเป็นเพียงธาตุดิน เป็นเพียงธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ทรงอยู่ได้ชั่วระยะ ไม่ถึงร้อยปีก็จะแตกจะดับแล้ว

อย่าพากันมาหลงหนาวหลงร้อนอยู่ มาห่มผ้าให้สังขาร

แต่จิตใจไม่ภาวนา ไม่ได้ หลงทาง
นี่เป็นอุบายธรรมอันหนึ่งในทางพระพุทธศาสนา
  
บริกรรมพุทโธในใจ จนจิตใจสงบระงับได้ทุกวันทุกคืนไม่ให้ขาดระยะ อันนั้นจึงชื่อว่าเป็นคนตั้งใจ เอาใจใส่ในข้อวัตรปฏิบัติที่ตนประกอบอยู่ กระทำอยู่ เราก็ต้องตั้งใจต่อมาจนถึงปัจจุบันนี้

เราคิดดู รู้ได้ เข้าใจในใจของเราอย่างไร
ก็มีสติประจำใจอยู่
มีสมาธิประจำใจอยู่
มีปัญญา วิชชา ความรู้ประจำใจนี้อยู่
เรียกว่า "อยู่ในใจ"

นั่งก็อยู่ในใจ
นอนก็อยู่ในใจ
ยืนก็มีอยู่ในใจ
เดินไปมาที่ไหนก็มีอยู่ในใจของตัวเอง
ไม่ใช่ใจของผู้อื่น

ใจผู้อื่นคนอื่นเป็นเรื่องของเขา ไมใช่ของเรา

ใจของเรามีอยู่ภายในหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดรอบนี้


 


ใจเป็นธาตุรู้มีอยู่ในใจทุกๆคน

การภาวนาไม่ใช่ว่าเรามาภาวนามาปรุงมาแต่งเอาใจใหม่ มันไม่ใช่อย่างนั้น

ใจมันมีอยู่แล้ว จิตมันมีอยู่แล้ว แต่จิตนี้เป็นจิตที่หลงใหลไปตามจิตสังขาร จิตวิญญาณ

จิตกิเลส จิตตัณหา มันดิ้นรนวุ่นวายไปตามกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหาตลอดเวลา หาเวลาสงบระงับไม่ได้

ท่านจึงสอนว่า ให้สงบจิตสงบใจลงไป ภาวนาพุทโธ ให้จิตใจมาจดจ่อในพุทโธ สงบระงับลงไป

ไม่ต้องไปตามอารมณ์อะไรของใครทั้งหมด

เรื่องราวอดีตอนาคตมันอยู่ข้างหน้า อนาคตกาลก็อย่าไปเป็นทุกข์เป็นร้อน อดีตที่มันล่วงมาแล้ว สิ่งเหล่านั้นมันก็ล่วงมาแล้ว จิตอย่าไปหลงไปยึดเอามา เดี๋ยวนี้เวลานี้ ดวงจิตดวงใจภาวนาอยู่ที่นี้ นั่งอยู่ที่นี้บริกรรมอยู่ที่นี้

จิตอย่าวุ่นวายไปที่อื่น ให้รวมจิตใจเข้ามา ตั้งให้มั่น เอาให้มันจริง




เมื่อเราภาวนาจริงๆ รวมจิตรวมใจเข้ามาจริงๆแล้ว ปล่อยวางอารมณ์ภายนอก ไม่เก็บเอาอารมณ์อดีต อนาคตมายุ่งเหยิงในอารมณ์ปัจจุบัน

จิตใจปัจจุบันภาวนาติดต่ออยู่ทุกขณะทุกเวลา
จิตใจดวงนี้ก็จะสงบตั้งมั่น จะมีสติ สมาธิ ปัญญา ขึ้นมา

เมื่อจิตมีปัญญาก็จะรู้จัก รู้แจ้ง รู้จริงว่า
คนเราเกิดมามันตายได้ไหม
มันแก่ได้ไหม
มันเจ็บได้ไหม
มันพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นจริงไหม

เหล่านี้ก็คือว่า ปัญญา ปัญญาก็คือว่า จิตนั้นแหละ

ความสว่างแจ้ง ความเห็นจริง ความรู้จักไม่มืดมนนั่นแหละเรียกว่า ปัญญา เฉลียวฉลาดสามารถเฉียบแหลม ไม่ท้อแท้อ่อนแอในดวงใจ





คำว่าเอาจิตที่รู้อยู่นั้นคือว่ามันมีอยู่แล้ว ความจริงจิตของคนเราจริง ๆ มันไม่ได้ไปไหน คิดไปปรุงไปอันนั้นเป็นเรื่องสังขาร มันปรุงมันแต่งไปเอง เป็นเรื่องสังขาร เป็นเรื่องสัญญาอารมณ์ เป็นเรื่องกิเลสที่มันดิ้นรนวุ่นวาย กามตัณหามันไป

เมื่อจิตใจผู้ภาวนาไม่หลงไปตามไป มันก็ดับไปเอง ไม่มีใครส่งเสริมต่อเติมมันก็ดับ แต่จิตผู้ใดหลงไป ส่งเสริมต่อเติมให้มันก็ไม่มีที่จบที่สิ้น เป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไม่มีที่จบที่สิ้น ละวางเสีย หยุดเสีย สงบเสียได้ ขณะนี้

เวลานี้มันก็มีเท่านี้ นั่งอยู่ก็พุทโธจิตใจดวงผู้รู้อยู่อย่างนี้ ยืนอยู่ก็พุทโธจิตดวงผู้รู้นี้ เดินไปมาก็จิตดวงนี้ มานั่งมานอนก็จิตดวงนี้แหละ

ก็ไม่ต้องหาที่ไหนแล้ว รวมกำลังตั้งมั่นรวมไปในจิตใจดวงผู้รู้อยู่ตลอดเวลา
 

 หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

 
 ภาพที่หาดูยาก อนุโมทนาสาธุ!!!






Photo: สูตรทำบุญไม่เสียเงินของ หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ

พอตื่นเช้ามาขณะล้างหน้า หรือดื่มน้ำให้ว่า “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมังสรณัง คัจฉามิ สังฆังสรณัง คัจฉามิ” ก่อนจะกินข้าว ก็ให้นึกถวายข้าวพระพุทธ (เป็นอนุสสติอย่างหนึง) ออกจากบ้านเห็นคนอื่นเขากระทำความดี เป็นต้นว่า ใส่บาตรพระ จูงคนแก่ข้ามถนน ข่าวงานบุญต่างๆ ฯลฯ ก็ให้นึก อนุโมทนา กับเขา

ผ่านไปเห็นดอกไม้ที่ใส่กระจาดวางขายอยู่ หรือดอกบัวในสระข้างทาง ก็ให้นึกอธิฐานถวายเป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัย โดยว่า “พุทธัสสะ ธัมมัสสะ สังฆัสสะ ปูเชมิ” แล้วต้องไม่ลืมอุทิศบุญให้แม่ค้าขายดอกไม้ หรือรุกขเทวดาที่ดูแลสระบัวนั้นด้วย ตอนเย็นนั่งรถกลับบ้าน เห็นไฟข้างทางก็ให้นึกน้อมบูชาพระรัตนตรัยโดยว่า “โอม อัคคีไฟฟ้า พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา” (เป็นการบูชาระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ก่อเกิดอานิสงค์แห่งบุญในดวงจิต) เวลาไปที่ไหนเห็นข่าว คนตาย คนเจ็บ คนป่วย คนที่กำลังมีความทุกข์ ก็ดี ผ่านจุดที่คนตายบ่อยๆ เห็นศาลเจ้า ศาลพระภูมิ ก็ดี ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า บารมีรวมของครูบาอาจารย์ อันมีหลวงปู่ดู่เป็นที่สุด แผ่บุญไป (เป็นการเจริญเมตตา ฝึกให้จิตมีพรหมวิหาร เป็นการบำเพ็ญบุญ)

ก่อนนอนก็นั่งสมาธิ เอนตัวนอนลง ก็ให้นึกคำบริกรรมภาวนาไตรสรณะคมนี้จนหลับ ตื่นขึ้นมาก็บริกรรมภาวนาต่ออีกตลอดวัน

เหล่านี้คือตัวอย่างเทคนิคการตะล่อมจิตให้อยู่แต่ในบุญกุศลตลอดวัน และได้บุญมากกว่าการทำทาน โดยไม่เสียเงินแม้แต่บาทเดียว เป็นการทำให้ดวงจิตเราเกิดแสงแห่งบุญทุกขณะลมหายใจเข้าออก สะสมบุญได้ตลอดทั้งวัน

เวลาทำบุญ ควรอธิษฐานอย่างไร

คนส่วนใหญ่เวลาทำบุญมักอธิษฐานว่า ขอให้รวย ขอให้สุขภาพแข็งแรง ขอให้ได้ยศตำแหน่ง ฯลฯ แต่ที่จริงแล้วมีคำอธิษฐานที่ง่าย สั้น ครบวงจรเป็นประโยชน์ครบถ้วนกว่ามาก

หลวงปู่ดู่เคยสอนไว้ว่า เวลาทำบุญให้อธิษฐานสั้นๆไปเลยว่า "ขอให้ประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์" เพราะคำว่า ความดี นั้นรวมครบหมด ทั้งรวย สุขภาพดี มียศตำแหน่ง มีคนรักเมตตา ฯลฯ ส่วนปราศจากความทุกข์ก็ตัดสิ่งไม่ดีหมดทุกอย่าง ไม่มีทุกข์ ไม่มีโรคภัย ไม่มีอุปสรรค ไม่มีศัตรู ฯลฯ

ที่สำคัญคือ การ "พบแต่ความดี" นั้นสำคัญมาก เพราะแม้เราจะขอพรจนร่ำรวยจริง แต่ไม่ดี เงินนั้นเราอาจเอาไปเล่นพนัน ไปซื้อยาบ้า สุดท้ายก็พาไปนรก แม้จะมียศตำแหน่งแต่ปราศจากความดี ก็อาจเอาตำแหน่งไปข่มเหงคนอื่น คดโกงประเทศชาติ ก็มีนรกเป็นที่ไป แม้จะมีแต่ใครๆก็รักเมตตา แต่หากเราไม่ดี เราก็อาจกลายเป็นคนเจ้าชู้ หลอกคนนี้ให้รัก คนนั้นให้หลง สุดท้ายก็ทะเลาะตบตีกัน และไปนรกกันทั้งหมู่

"การขอให้พบความดี" จึงถือเป็นพรอันสำคัญที่สุด เพราะผู้ที่จะทำความดี ต้องมีปัญญาพอที่จะรู้ว่าความดีมีประโยชน์เช่นใด ดังนั้นเมื่อมีปัญญา แม้จะเกิดมาจน ก็ใช้ปัญญาหาเงินจนรวยได้ แม้จะเกิดมาต่ำต้อย ก็ใช้ปัญญาทำงานหายศตำแหน่งมาได้ไม่ยาก แม้เกิืดมาไม่มีใครรัก แต่หากมีปัญญารู้จักพูดจา ใครๆก็จะหันมารัก ที่สำคัญคือเมื่อมีปัญญา ก็รู้ว่าความชั่วไม่มีประโยชน์ ไม่ควรทำ ความดี มีแต่ประโยชน์และควรทำ ดังนั้นจึุงเป็นผู้มีความสุขทั้งโลกนี้ และโลกหน้า มีแต่สุคติเป็นที่ไป นรกไม่ได้เยี่ยมเยือน ใครอยู่ใกล้ก็มีความสุข

ดังนั้น เวลาทำบุญครั้งใด อธิษฐานง่ายๆก็ได้เช่นกันว่า "ขอให้พบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์..."

หลวงปู่สอนเรื่องการจบของทำบุญ - อธิษฐานรับพร

พวกเราในเพจวัดถ้ำเมืองนะล้วนแล้วแต่ชอบการทำบุญและไปทำบุญตามที่ต่างๆกันบ่อยมาก บางคนสงสัยว่าควรจะอธิษฐานอย่างไรในการทำบุญ เลยขอนำข้อมูลที่หลวงปู่ดู่ท่านเคยสอนลูกศิษย์มาเป็นแนวทางให้กับทุกคนลองนำไปใช้ดู

ก่อนที่ท่านมีศรัทธาทั้งหลาย จะถวายของแก่พระภิกษุสงฆ์ มักจะมีการอฐิษฐานหรือที่เรียกว่า จบของ บางคนจบนาน บางคนจบช้า หลวงพ่อท่านให้ข้อคิดว่า "ก่อนที่เราจะถวาย ให้จบมาเสียก่อนจากบ้าน เนื่องจากพอมาถึงวัด มักจะจบไม่ได้เรื่อง คนมากมายเดินไปเดินมา จะหาสมาธิมาจากไหน เราจะทำอะไรก็ตามอธิษฐานไว้เลย เวลาถวายจะได้ไม่ช้า เสียเวลาคนอื่นเขาอีกด้วย บางคนก็ขอไม่รู้จบให้ตัวเองไม่พอให้ลูกให้หลาน จิตเลยส่ายหาบุญไม่ได้"

การที่หลวงพ่อให้จบก่อนนั้น มีความประสงค์ให้ตั้งเจตนาให้ดี บุญที่ได้รับจะมีผลมาก ญาติโยมจึงกราบเรียนถามหลวงพ่อว่า "ควรอธิษฐานอย่างไร" หลวงพ่อตอบว่า "อธิษฐานให้พ้นทุกข์ หรือขอให้พบแต่ความดีตลอดไปจนพ้นทุกข์ ถ้าเป็นภาษาบาลี ก็ว่า สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสวะขะ ยาวะหัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ คนเราจะพ้นทุกข์ได้ ต้องพบกับความดี มีความสุขใช่ไหม ไม่ต้องอธิษฐานยืดยาวหรอก"

เมื่อทำบุญแล้ว มักจะมีการรับพรจากพระ มีการกรวดน้ำ บางทีไม่ได้เตรียมไว้ต้องวิ่งหากันวุ่นวาย หลวงพ่อบอกว่า "ใช้น้ำใจ น้ำจิต ของเรากรวดก็ได้ เขาเรียกกรวดแห้ง ไม่ต้องกรวดเปียก เรื่องการกรวดเปียก เขาเริ่มมาจากสมัยพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อถวายของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านกรวดน้ำให้เปรต ญาติพี่น้องที่มาร้องขอบุญจากท่าน ตอนแรกท่านไม่รู้ เลยทูลถามพระพุทธเจ้า ที่เขาเรียกว่า ทุสะนะโส คือ หัวใจเปรตนั่นแหละ" หลวงพ่อท่านตอบเพื่อให้คลายกังวล สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลากรวดน้ำเช่น คนที่รีบใส่บาตรก่อนจะไปทำงาน เป็นต้น

ส่วนการอธิษฐานรับพรนั้น ท่านแนะนำว่า ตั้งจิตว่า "ข้าพเจ้าขอรับพรที่ได้นี้ขอให้ติดตามข้าพเจ้าตลอดไปในชาตินี้ชาติหน้า" แล้วก็อธิษฐานเรียกพระเข้าตัว เวลาเขามีพิธีอะไร อย่างเช่น เวลาเขาปลุกเสกพระ เราก็สามารถรับพรจากพระองค์ไหน ๆ ก็ได้ทั้งนั้น


สูตรทำบุญไม่เสียเงินของ หลวงปู่ดู่ พฺรหฺมปัญโญ วิธีการตะล่อมจิตเข้าสู่โหมด "จิตบุญกุศล" พอตื่นเช้ามาขณะล้างหน้า หรือดื่มน้ำให้ว่า “พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมังสรณัง คัจฉามิ สังฆังสรณัง คัจฉามิ” ก่อนจะกินข้าว ก็ให้นึกถวายข้าวพระพุทธ (เป็นอนุสสติอย่างหนึง) ออกจากบ้านเห็นคนอื่นเขากระทำความดี เป็นต้นว่า ใส่บาตรพระ จูงคนแก่ข้ามถนน ข่าวงานบุญต่างๆ ฯลฯ ก็ให้นึก อนุโมทนา กับเขา ผ่านไปเห็นดอกไม้ที่ใส่กระจาดวางขายอยู่ หรือดอกบัวในสระข้างทาง ก็ให้นึกอธิฐานถวายเป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัย โดยว่า “พุทธัสสะ ธัมมัสสะ สังฆัสสะ ปูเชมิ” แล้วต้องไม่ลืมอุทิศบุญให้แม่ค้าขายดอกไม้ หรือรุกขเทวดาที่ดูแลสระบัวนั้นด้วย ตอนเย็นนั่งรถกลับบ้าน เห็นไฟข้างทางก็ให้นึกน้อมบูชาพระรัตนตรัยโดยว่า “โอม อัคคีไฟฟ้า พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา” (เป็นการบูชาระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย ก่อเกิดอานิสงค์แห่งบุญในดวงจิต) เวลาไปที่ไหนเห็นข่าว คนตาย คนเจ็บ คนป่วย คนที่กำลังมีความทุกข์ ก็ดี ผ่านจุดที่คนตายบ่อยๆ เห็นศาลเจ้า ศาลพระภูมิ ก็ดี ให้ระลึกถึงพระพุทธเจ้า บารมีรวมของครูบาอาจารย์ อันมีหลวงปู่ดู่เป็นที่สุด แผ่บุญไป (เป็นการเจริญเมตตา ฝึกให้จิตมีพรหมวิหาร เป็นการบำเพ็ญบุญ) ก่อนนอนก็นั่งสมาธิ เอนตัวนอนลง ก็ให้นึกคำบริกรรมภาวนาไตรสรณะคมนี้จนหลับ ตื่นขึ้นมาก็บริกรรมภาวนาต่ออีกตลอดวัน เหล่านี้คือตัวอย่างเทคนิคการตะล่อมจิตให้อยู่แต่ในบุญกุศลตลอดวัน และได้บุญมากกว่าการทำทาน โดยไม่เสียเงินแม้แต่บาทเดียว เป็นการทำให้ดวงจิตเราเกิดแสงแห่งบุญทุกขณะลมหายใจเข้าออก สะสมบุญได้ตลอดทั้งวัน เวลาทำบุญ ควรอธิษฐานอย่างไร คนส่วนใหญ่เวลาทำบุญมักอธิษฐานว่า ขอให้รวย ขอให้สุขภาพแข็งแรง ขอให้ได้ยศตำแหน่ง ฯลฯ แต่ที่จริงแล้วมีคำอธิษฐานที่ง่าย สั้น ครบวงจรเป็นประโยชน์ครบถ้วนกว่ามาก หลวงปู่ดู่เคยสอนไว้ว่า เวลาทำบุญให้อธิษฐานสั้นๆไปเลยว่า "ขอให้ประสบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์" เพราะคำว่า ความดี นั้นรวมครบหมด ทั้งรวย สุขภาพดี มียศตำแหน่ง มีคนรักเมตตา ฯลฯ ส่วนปราศจากความทุกข์ก็ตัดสิ่งไม่ดีหมดทุกอย่าง ไม่มีทุกข์ ไม่มีโรคภัย ไม่มีอุปสรรค ไม่มีศัตรู ฯลฯ ที่สำคัญคือ การ "พบแต่ความดี" นั้นสำคัญมาก เพราะแม้เราจะขอพรจนร่ำรวยจริง แต่ไม่ดี เงินนั้นเราอาจเอาไปเล่นพนัน ไปซื้อยาบ้า สุดท้ายก็พาไปนรก แม้จะมียศตำแหน่งแต่ปราศจากความดี ก็อาจเอาตำแหน่งไปข่มเหงคนอื่น คดโกงประเทศชาติ ก็มีนรกเป็นที่ไป แม้จะมีแต่ใครๆก็รักเมตตา แต่หากเราไม่ดี เราก็อาจกลายเป็นคนเจ้าชู้ หลอกคนนี้ให้รัก คนนั้นให้หลง สุดท้ายก็ทะเลาะตบตีกัน และไปนรกกันทั้งหมู่ "การขอให้พบความดี" จึงถือเป็นพรอันสำคัญที่สุด เพราะผู้ที่จะทำความดี ต้องมีปัญญาพอที่จะรู้ว่าความดีมีประโยชน์เช่นใด ดังนั้นเมื่อมีปัญญา แม้จะเกิดมาจน ก็ใช้ปัญญาหาเงินจนรวยได้ แม้จะเกิดมาต่ำต้อย ก็ใช้ปัญญาทำงานหายศตำแหน่งมาได้ไม่ยาก แม้เกิืดมาไม่มีใครรัก แต่หากมีปัญญารู้จักพูดจา ใครๆก็จะหันมารัก ที่สำคัญคือเมื่อมีปัญญา ก็รู้ว่าความชั่วไม่มีประโยชน์ ไม่ควรทำ ความดี มีแต่ประโยชน์และควรทำ ดังนั้นจึุงเป็นผู้มีความสุขทั้งโลกนี้ และโลกหน้า มีแต่สุคติเป็นที่ไป นรกไม่ได้เยี่ยมเยือน ใครอยู่ใกล้ก็มีความสุข ดังนั้น เวลาทำบุญครั้งใด อธิษฐานง่ายๆก็ได้เช่นกันว่า "ขอให้พบแต่ความดี ปราศจากความทุกข์..." หลวงปู่สอนเรื่องการจบของทำบุญ - อธิษฐานรับพร พวกเราในเพจวัดถ้ำเมืองนะล้วนแล้วแต่ชอบการทำบุญและไปทำบุญตามที่ต่างๆกันบ่อยมาก บางคนสงสัยว่าควรจะอธิษฐานอย่างไรในการทำบุญ เลยขอนำข้อมูลที่หลวงปู่ดู่ท่านเคยสอนลูกศิษย์มาเป็นแนวทางให้กับทุกคนลองนำไปใช้ดู ก่อนที่ท่านมีศรัทธาทั้งหลาย จะถวายของแก่พระภิกษุสงฆ์ มักจะมีการอฐิษฐานหรือที่เรียกว่า จบของ บางคนจบนาน บางคนจบช้า หลวงพ่อท่านให้ข้อคิดว่า "ก่อนที่เราจะถวาย ให้จบมาเสียก่อนจากบ้าน เนื่องจากพอมาถึงวัด มักจะจบไม่ได้เรื่อง คนมากมายเดินไปเดินมา จะหาสมาธิมาจากไหน เราจะทำอะไรก็ตามอธิษฐานไว้เลย เวลาถวายจะได้ไม่ช้า เสียเวลาคนอื่นเขาอีกด้วย บางคนก็ขอไม่รู้จบให้ตัวเองไม่พอให้ลูกให้หลาน จิตเลยส่ายหาบุญไม่ได้" การที่หลวงพ่อให้จบก่อนนั้น มีความประสงค์ให้ตั้งเจตนาให้ดี บุญที่ได้รับจะมีผลมาก ญาติโยมจึงกราบเรียนถามหลวงพ่อว่า "ควรอธิษฐานอย่างไร" หลวงพ่อตอบว่า "อธิษฐานให้พ้นทุกข์ หรือขอให้พบแต่ความดีตลอดไปจนพ้นทุกข์ ถ้าเป็นภาษาบาลี ก็ว่า สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสวะขะ ยาวะหัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ คนเราจะพ้นทุกข์ได้ ต้องพบกับความดี มีความสุขใช่ไหม ไม่ต้องอธิษฐานยืดยาวหรอก" เมื่อทำบุญแล้ว มักจะมีการรับพรจากพระ มีการกรวดน้ำ บางทีไม่ได้เตรียมไว้ต้องวิ่งหากันวุ่นวาย หลวงพ่อบอกว่า "ใช้น้ำใจ น้ำจิต ของเรากรวดก็ได้ เขาเรียกกรวดแห้ง ไม่ต้องกรวดเปียก เรื่องการกรวดเปียก เขาเริ่มมาจากสมัยพระเจ้าพิมพิสาร เมื่อถวายของพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านกรวดน้ำให้เปรต ญาติพี่น้องที่มาร้องขอบุญจากท่าน ตอนแรกท่านไม่รู้ เลยทูลถามพระพุทธเจ้า ที่เขาเรียกว่า ทุสะนะโส คือ หัวใจเปรตนั่นแหละ" หลวงพ่อท่านตอบเพื่อให้คลายกังวล สำหรับผู้ที่ไม่มีเวลากรวดน้ำเช่น คนที่รีบใส่บาตรก่อนจะไปทำงาน เป็นต้น ส่วนการอธิษฐานรับพรนั้น ท่านแนะนำว่า ตั้งจิตว่า "ข้าพเจ้าขอรับพรที่ได้นี้ขอให้ติดตามข้าพเจ้าตลอดไปในชาตินี้ชาติหน้า" แล้วก็อธิษฐานเรียกพระเข้าตัว เวลาเขามีพิธีอะไร อย่างเช่น เวลาเขาปลุกเสกพระ เราก็สามารถรับพรจากพระองค์ไหน ๆ ก็ได้ทั้งนั้น



 
 

ความหมายของ"กรรมฐาน" ที่ควรรู้
คำว่า กรรมฐาน ก็หมายถึงที่ตั้งของการกระทำ หรือว่าการกระทำทางจิตใจ ซึ่งรวมแล้วก็มี 2 อย่างด้วยกันคือ

1.สมถกรรมฐาน
2.วิปัสสนากรรมฐาน

ฉะนั้นถ้าหากว่า เรียกคำว่า กรรมฐาน ก็มีความหมายรวมถึงสมถะและวิปัสสนาทั้ง 2 อย่าง แต่ถ้าหากว่าจะบอกเจาะจงลงไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ต้องเรียกให้ชัดลงไปว่า เจริญสมถกรรมฐาน หรือ เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าบอกเพียงว่าปฏิบัติกรรมฐาน ความหมายก็จะคลุมไปทั้งหมด ทั้งสมถะและวิปัสสนา

การเจริญสมถะ ก็คือการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งความสงบ
วิปัสสนานั้นปฏิบัติเพื่อให้เกิดปัญญา ความสงบกับปัญญาเป็นคนละอย่างกัน แต่ก็เป็นผลของการกระทำทางจิตเหมือนกัน
การได้ฌานในระดับไหนก็เอาองค์ฌานนั้นมาพิจารณา

เช่นมีปิติ ก็กำหนดรู้ปิติมีความสุขก็รู้ กำหนดรู้ความสุข มีสมาธิ มีเอกัคคตาก็กำหนดรู้เอกัคคตาที่ตั้งมั่นอยู่กำหนดฌานจิต กำหนดผู้รู้ผู้ดู เมื่อน้อมมาพิจารณาที่จิตใจ องค์ฌานที่ประกอบกับจิตใจบ่อยๆเนืองๆได้ก็จะเห็นความเปลี่ ยนแปลง เห็นความเกิดดับ เห็นสภาพความไม่ใช่ตัวตน ปิตินี่ก็เปลี่ยนแปลง ความสุขก็เปลี่ยนแปลง สมาธิก็เปลี่ยนแปลง ฌานจิตก็เปลี่ยนแปลง สติที่ระลึกรู้ก็เปลี่ยนแปลง มีความเกิด มีความดับ มีความหมดไปดับไป
บังคับไม่ได้ เห็นสภาพแห่งความบังคับไม่ได้ ก็เกิดฌาน เกิดปัญญา เห็นวิปัสสนา เห็นความเป็นจริง ว่าทุกสิ่งเป็นเช่นนั้นเอง
ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวเราของเรา ที่สุดก็จะสามารถก้าวขึ้นสู่วิมุติ ความหลุดพ้น บรรลุมรรคผลนิพพาน 


ข้อดี ข้อเสีย ของสมถะกับวิปัสสนา

เหมือนการเดินทาง คนเจริญวิปัสสนาก็เหมือนเดินทางไปกลางแดด ไม่มีที่พัก มันก็ร้อนหน่อย คนเจริญสมถะก็เหมือนกับว่าเดินทางไป มีศาลาพักร้อน หลบร้อนเย็นสบาย แต่ถ้าไม่เดินต่อไปก็ไม่ถึงเป้าหมายที่หมายเหมือนกัน จะติดอยู่ที่ศาลาพักร้อนชมนกชมไม้ ชมแม่น้ำลำธาร เหมือนคนที่เจริญสมถะพอได้สมาธิก็ติดสมาธิ ติดในความสุข ติดในความสงบ ก็หยุดแค่นั้น ไม่ได้ปัญญา ได้แต่ความสงบ


ฉะนั้น ถ้าจะเจริญสมถะก่อนก็อย่าหยุดยั้งแค่ความสงบเท่านั้น ก็ต้องต่อให้ขึ้นสู่วิปัสสนา หรือ จะเจริญวิปัสสนาไปเลย ไม่ต้องไปหันทำฌานก่อนก็ได้เหมือนกัน แต่ก็ย่อมมีนิวรณ์รบกวนอยู่ ก็ต้องมีความฉลาด คือเมื่อกิเลส เกิดนิวรณ์อันใด เอานิวรณ์หรือเอากิเลสนั้นน่ะเป็น กรรมฐาน คือเป็นที่ตั้งของสติ เอาสติกำหนดรู้ เกิดโลภะ โทสะ โมหะ ก็เอาโลภะ โทสะ โมหะเป็นกรรมฐาน กรรมฐานก็คือที่ตั้งของสติ ก็กลายเป็นประโยชน์ได้


 






การปฏิบัติในขณะที่มีแต่ความว่างอยู่นั้น สติก็ต้องกลับระลึกรู้เข้ามาที่ จิต ระลึกเข้ามาที่อาการในจิต ตัวสติก็เกิดกับจิต เรียกว่าจิตต้องรู้จิต จิตก็คือสภาพรู้อารมณ์ ก็คือ รู้ต้องดูตัวรู้ รู้ต้องย้อนมาที่สภาพรู้ คือต้องย้อนมาที่ผู้รู้ ถ้ามันย้อนมาไม่เป็น มันปรับตัวเองไม่ถูก มันรู้สึกตัวเองไม่ได้ มันก็ขยายไปรู้แต่ความว่าง มันก็เลยไม่มีอะไร ทั้งๆที่ยังมีตัวดูตัวรู้สึกอยู่ แต่ไม่เห็นเหมือนตัวเองหาอะไรต่ออะไรอยู่ แต่ไม่เคยหาตัวเอง คนบางคนบางที่เดินหาโน่นหานี่ หาอะไรก็ไม่มี แต่ที่จริงแล้วตัวเองก็มีอยู่ไม่ได้หันมาดู ถ้าจะรู้จักตัวเองก็ต้องรู้สึกตัวขึ้น จิตก็เหมือนกัน จิตจะรู้จักตัวเองก็ต้องรู้สึกตัวมันเอง(ต้องรู้ตัวมันเอง) จิตต้องทวนกระแสทั้งหมด มันมีกระแสที่จะขยายออกไปนอกตัว ก็ต้องปรับทวนกระแสเข้ามาหาตัว เองจึงจะรู้จักตัวมัน เห็นตัวมัน ตัวก็ไม่ใช่ตัวตนอะไร ไม่ใช่หุ่น ไม่มีสรีระรูปร่าง จิตเป็นเพียงธาตุรู้ สภาพรู้ คำว่า "รู้" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงปัญญา แต่เป็นการรู้อารมณ์ เมื่อมันรับรู้อารมณ์แล้วก็ดับไป แต่มันเกิดดับรวดเร็วมาก


ถ้าย้อนรู้เป็นจะพบว่ามีสภาวะอยู่ตลอดเวลาไม่มีว่างเว้น มีจิตรับรู้อยู่ตลอด ตัวสติเป็นตัวระลึก ตัวสัมปชัญญะเป็นตัวพิจารณา หรือจะรวมเรียกว่าตัวดู ตัวดูบอกว่าไม่มีอะไรแต่ที่จริงก็มีตัวเองอยู่ คือตัวผู้ดู ก็ต้องดูที่ตัวเอง ก็เห็นตัวเองมีลักษณะที่ดูแล้วก็หมด รู้แล้วก็หมด นี่เป็นส่วนสำคํญสำหรับนักปฏิบัติวิปัสสนาที่จะต้องก้าวเข้ามาจุดนี้ให้เป็น ก็จะทำให้การปฏิบัตินั้นไม่ไปตันอยู่ที่ความว่าง ความไม่มีอะไร เพราะวิปัสสนาก็ต้องมีรูปมีนามหรือสภาวะปรมัตถ์ฺที่ปรากฏเกิดขึ้นให้รับรู้อยู่ตลอดเวลา



บางท่านปฏิบัติไป ไม่ได้เคร่งเครียดเคร่งตึง จิตใจมีความสงบดี ดื่มด่ำเป็นสุข แต่ทำไปแล้วว่างๆ ไม่มีอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างว่างเปล่า จิตใจสงบเป็นสุข แต่ก็อยู่อย่างนั้น ไม่ไปไหน เรียกว่า เกิดสมาธิ เกิดความสงบ สภาวธรรมต่างๆ มีความละเอียด ลมหายใจละเอียด ความรู้สึกทางกายละเอียด ก็จับอะไรไม่ได้ สติระลึกรู้สภาวะไม่ออก ก็กลายเป็นความว่าง จิตไปรับรู้อยู่ที่ความว่างเปล่าไม่มีอะไรอยู่อย่างนั้น เป็นสุขอยู่อย่างนั้น วิปัสสนาก็ไม่ก้าวหน้า ไปติดอยู่แค่ความสงบสุข ไม่เกิดปัญญา ไม่เห็นความเกิดดับ ไม่เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เพราะว่าสติไม่ได้รู้อยู่ที่สภาวะ แต่ไปรู้ที่ความว่างเปล่า ซึ่งไม่ใช่ปรมัตถธรรม มันจึงไม่มีการเกิดดับให้ดู จึงไม่เกิดปัญญา หรือ วิปัสสนาญาณ


การเจริญวิปัสสนาที่แท้จริงแล้วไม่มีการหลบเลี่ยงอะไรทั้งหมด ไม่มีคำบริกรรมอะไรทั้งหมด เพียงรับรู้รับทราบสภาวะที่เกิด ขึ้นด้วยความปล่อยวาง ด้วยความปกติ วางเฉย เช่น ตึง ก็รับรู้ว่าตึง รับรู้กายรับรู้ใจ แต่ไม่ฝืนไม่บังคับ ไมหลบไม่หนี ไม่ยินดียินร้าย ก็จะเป็นวิปัสสนาไปในตัว เรียกว่ามีสติกำหนดดูสภาพธรรม ความตึง ความแข็ง ความทุกขเวทนาเหล่านั้น แต่ก็วางเฉยได้ สิ่งเหล่านั้นก็คลี่คลายพร้อมด้วยปัญญาที่เกิดขึ้น คือ เห็นความจริงของสิ่งเหล่านั้นว่า มีความเปลี่ยนแปลง มีความเกิด มีความดับ มีสภาพบังคับบัญชาไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน




การเจริญวิปัสสนาต้องเจริญทุกขณะ พยายามใส่ใจ พยายามกำหนด พยายามพิจารณา เดินไปที่ไหนก็ตาม นั่งอยู่ที่ไหนก็ตาม นอนอยู่ที่ไหนก็ตาม กำลังทำอะไรอยู่ก็ตาม พยายามใส่ใจด้วยสติ

สัมปชัญญะ พิจารณาลงไปในกระแสของธรรม เห็นสภาวะรูปนามเปลี่ยนแปลงเกิด ดับ อยู่ทุกขณะ นี่แหละเป็นทางแห่งความดับทุกข์


เราปฏิบัติเพื่อต้องการให้เห็นความจริง ละความเห็นผิดต่างๆ ที่เคยยึดถือว่าเป็นตัวเราของเรา เป็นของเที่ยง เป็นของสวยงาม เป็นสุข สิ่งเหล่านี้ต้องถอนออก ถอนโดยการรู้แจ้งแทงตลอด ว่าสภาวะต่างๆ มันไม่เที่ยงจริงๆ บังคับไม่ได้จริงๆ เกิดดับเป็นทุกข์จริงๆ เมื่อเห็นประจักษ์ด้วยจิตใจของตัวเองแล้ว มันก็จะถอนคือปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นได้ ซึ่งจะเป็นหนทางสู่ความดับทุกข์ได้อย่างแท้จริง 
แก้ไขอาการง่วงนอน

หากมันเกิดความง่วงก็ให้ลืมตาปฏิบัติ ถ้าเรานั่งหลับตาไป รู้สึกว่าสู้ไม่ไหว หลับตาจะสัปหงก ก็ให้ลืมตาขึ้น ลืมตาเจริญ ทำความระลึกรู้สึกตัวในขณะลืมตา หรือว่าลุกขึ้นเดินถ้านั่งแล้วง่วงอยู่ก็ให้ลุกขึ้นเดิน เดินจงกรม ถ้าเดินแล้วยังรู้สึกง่วงอยู่ก็ให้มองแบบสบายๆ ให้ทอดสายตามองไปข้างหน้าสบายๆมองเป็นธรรมดา บางทีเราจดจ้องที่เดียวมันง่วง เราก็ปรับมองแบบธรรมชาติ มองแบบธรรมดา

ทีนี้ถ้าหากว่าเราจะปฏิบัติเดินหน้าทั้งที่ง่วงอยู่ ไม่หลบไม่หนี ไม่ใช้อุบายอื่นก็ได้ ก็คือการกำหนดรู้อาการของความง่วงที่เกิดขึ้น หรือ ว่าสิ่งที่มันท้อถอยท้อแท้ สติสัมปชัญญะเข้าไประลึกสังเกตุอาการของความท้อถอยหรือว่าทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น มันง่วง มันมีทุกข์ตรงไหน เช่น สมองมันล้า มึน ซึม เอาสติสัมปชัญญะเข้าไปกำหนดรู้ที่มันล้า ที่มันทุกข์ หรือ มันจะมึนซึมที่ศรีษะ ก็กำหนดดูไป ดูไป ดูไปเรื่อยๆ จิตรวมตัวเป็นสมาธิก็จะทำลายอาการของความง่วงนั้นกระจายไป
พระครูเกษมธรรมทัต (หลวงพ่อสุรศักดิ์เขมรังสี)
เจ้าอาวาสวัดมเหยงคณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา
จากหนังสือที่ระลึกในงานพิธีเบิกฤกษ์เสาเข็มมหามงคล
ก่อสร้างอุโบสถปราสาทพระบรมธาตุเจดีย์มหาวิหาร วัดมเหยงคณ์



 ...โอกาสที่จะบรรลุธรรม
เป็นพระอรหันต์  มี
๕ โอกาส ด้วยกัน คือ
.๑.เมื่อฟังธรรม.
.๒.เมื่อแสดงธรรม.
.๓.เมื่อสาธยายธรรม.
(.คือการสวดมนต์)
.๔.เมื่อตรึกตรองธรรม
หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
.๕.เจริญวิปัสนาญาน


การสวดมนต์นับเป็นการ
ดีพร้อมซึ่งประกอบไปด้วย
องค์ 3 นั่นคือ

กาย มีความสงบเรียบร้อย
และสำรวม

ใจ มีความเคารพนอบน้อม
ต่อคุณพระรัตนตรัย

วาจา เป็นการกล่าว
ถ้อยคำสรรเสริญถึง
พระพุทธคุณ ถึง
พระคุณอันประเสริฐ
ในพระคุณทั้งสาม

พร้อมเป็นการขอขมา ในการผิดพลาด  หากมี
การกล่าวสักการะเทิดทูน
สิ่งสูงยิ่ง ซึ่งเรียกได้ว่า
เป็นการสร้างกุศล ซึ่ง
เป็นมงคลสูงสุดทีเดียว...

ธรรมเทศนาโดย
เจ้าประคุณสมเด็จ
พระพุฒาจารย์(โต)
"พรหมรังษี"
*********************
         ว้นนี้วันพระ
    น้อมนำธรรมะสู่ชีวิต

ธรรมะสวัสดี วันวิสาขบูชา







"...ศีล เป็นเหตุแห่ง สมาธิ
สมาธิ เป็นเหตุแห่ง ปัญญา
ปัญญา เป็นเหตุแห่ง วิมุตติ...

สมาธิ เป็นสิ่งสำคัญ เพราะ
เป็นที่ตั้งแห่ง ปัญญา และญาณ
อันเป็นองค์สำคัญของ มรรค

ถ้าขาดสมาธิแล้ว ก็ได้แต่คิดๆ นึกๆ เอา
ฟุ้งซ่านไปต่างๆ ปราศจากหลักฐานที่สำคัญ

สมาธิ เปรียบเหมือน ตะปู
ปัญญา เปรียบเหมือน ค้อนที่ตอกตะปู
ถ้าตะปูเอียงไป ค้อนก็ตีผิดๆ ถูกๆ
ตะปูนั้นก็ไม่ทะลุกระดานนี้ ฉันใด
ใจเราจะบรรลุธรรมชั้นสูง ทะลุโลกได้
ก็จะต้องมีสมาธิเป็นหลักก่อน ฉันนั้น

เมื่อมีสมาธิแล้วจึงเกิด ญาณ
ญาณนี้จะได้แต่คนทำสมาธิเท่านั้น
ส่วนปัญญาย่อมมีอยู่ทั่วไปแก่คนทั้งหลาย
แต่ก็ไม่พ้นจากโลกได้ เพราะขาดญาณ

ฉะนั้น ท่านทั้งหลายควรสนใจ สมาธิ
อันเป็นทางพ้นทุกข์ ถึงสุขอันไพบูลย์เถิด.."

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร







MANA PRADITKET

MANA PRADITKET
Handpainted oil painting by Mana Praditket

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
Original handpainted oil painting by Niran Paijit

PRAYAD TIPPAWAN

PRAYAD TIPPAWAN
ORIGINAL IMPRESSIONAL OIL PAINTING BY PRAYAD TIPPAWAN

Achara 34 (24x36)

Achara 34 (24x36)
ORIGINALl OIL PAINTING

Amornsak Livisit 74 (24x36)

Amornsak Livisit 74 (24x36)
ORIGINAL OIL PAINTING, Impressionist style

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)
Original handpainted oil painting abstract style

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
ORIGINAL ABSTRACT STYLE OIL PAINTING BY NIRAN PAIJIT

Chavalit (Pong)

Chavalit (Pong)
PINTO Horses

Komez 78 (22x30)

Komez 78 (22x30)
Original handpainted pastel painting on paper

KOMES

KOMES
Handpainted pastel painting by Komez

PRATHOUN

PRATHOUN
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY PRATHOUN

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
ORIGINAL OIL PAINTING BY THAVORN IN-AKORN (SIZE 20x30")

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
Original oil painting by Thavorn In-akorn

Facebook


ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING

PHOTO GALLERY

PHOTO GALLERY

Facebook

PHOTO GALLERY