GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL

GREAT KING OF THAILAND, KING BHUMIBHOL
LONG LIVE THE KING BHUMIBHOL

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

วันอัฎฐมีบูชา คือ วันอะไร?/"ชีวิตคนเราจะมีสิบปีสักกี่ครั้งกัน"-โกวเล้ง





ขอส่งท้ายวันวิสาขบูชา ด้วยปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้า

...ย่างเข้าปัจฉิมยาม ณ ใต้ต้นสาละคู่แห่งกุสินารานคร
มีพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงปรินิพพานอยู่ในที่นั้น
และพรั่งพร้อมด้วยพุทธบริษัทเนืองแน่นเป็นปริมณฑลทอดไกลสุดสายตา...
พระธรรมที่พระองค์ทรงพร่ำสอนมาตลอดพระชนมชีพ
ว่าสัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นที่สุดนั้น
เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่าสิ่งทั้งปวงมีเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด ”

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ทำวันนี้เยี่ยงเป็นวันสุดท้ายของชีวิต
นั่นคือ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด เพื่อจะได้ไม่เสียใจ หากไม่มีพรุ่งนี้
ถ้าเราถามตัวเองว่า ถ้าเราตายวันนี้เราจะเสียใจไหม
ถ้ามีคำตอบว่าเรายังอยากทำอะไรอีก
พึงทำแต่วันนี้ เตรียมให้พร้อม ทำให้เสร็จ...
เพราะทุกสิ่งนี้ ล้วนสิ้นไปเป็นธรรมดา
See More

 


เป็นวันอัฏฐมีบูชา คือ วันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 8 วัน

วันอัฏฐมีบูชา คือวันอะไร ตรงกับวันที่เท่าไหร่ ปัจจุบันแทบไม่เห็นปรากฎบนปฏิทิน ทำให้ วันอัฏฐมีบูชา นับวันยิ่งถูกลืม ...

ทั้งที่ วันอัฏฐมีบูชา เป็น วันสำคัญทางพุทธศาสนา ที่นับจาก วันวิสาขบูชา ไปเพียง 8 วัน หรือกล่าวคือ วันอัฏฐมีบูชา ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ทั้งนี้ หากปีใดมีอธิกมาส หรือมี 366 วัน วันอัฏฐมีบูชา ก็จะถูกเลื่อนไปตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 7 แทน นั่นเอง

วันอัฏฐมีบูชา คือวันอะไร มีความสำคัญอย่างไร

สำหรับ วันอัฏฐมีบูชา หรือ วันอัฏฐมี คือ วันคล้ายวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 8 วัน โดยมีการทำพิธี ณ มกุฏพันธนเจดีย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ ประเทศอินเดีย ซึ่งเมื่อครั้งโบราณกาล วันอัฏฐมีบูชา นับเป็นวันที่ชาวพุทธมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากต้องสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง

ด้วยเหตุนี้ เมื่อ วันอัฏฐมีบูชา เวียนมาบรรจบในแต่ละปี พุทธศาสนิกชนจึงพร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาขึ้นเป็นการเฉพาะเมื่อวันสำคัญนี้ เพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ

ประวัติ วันอัฏฐมีบูชา

ตามประวัติ วันอัฏฐมีบูชา ระบุไว้ว่า หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละ ในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6 พวกเจ้ามัลลกษัตริย์ก็จัดพิธีบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ในเมืองกุสินาราตลอด 7 วัน และให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวายพระเพลิง

จากนั้น ก็ให้พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า 4 คน พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ ทั้งที่ได้ทำตามคำของพระอานนท์เถระ ที่ให้ห่อพระสรีระพระพุทธเจ้าด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า 500 คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด

ในการนี้ พระอนุรุทธะ จึงแจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ 500 รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ทั้งนี้ เนื่องจากเทวดาเหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี และเมื่อภิกษุหมู่ 500 รูป โดยมีพระมหากัสสปะเ ป็นประธานเดินทางมาพร้อมกัน ณ ที่ถวายพระเพลิงแล้ว ไฟจึงลุกโชนขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครจุด

หลังจากที่พระเพลิงเผาไหม้พระพุทธสรีระพระบรมศาสดาดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่าง ๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตร อัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตร เป็นต้น

และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่าง ๆ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่ง พระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตน แต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกัน แต่ในสุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลาย เนื่องจาก "โทณพราหมณ์" พราหมณ์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยประกาศว่า

"พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทรงสรรเสริญขันติ สรรเสริญสามัคคีธรรม การที่เราจะมาประหัตประหารเพราะแย่งชิง พระบรมสารีริกธาตุ ของพระองค์ผู้ประเสริฐ ย่อมไม่สมควร ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงยินดีในการที่จะแบ่งกันไปเป็น 8 ส่วน และนำไปบูชายังบ้านเมืองของท่านทั้งหลายเถิด เพราะผู้ศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีมาก"

เมื่อ โทณพราหมณ์ ได้เสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่า ๆ กัน กษัตริย์แต่ละเมืองก็ยอมรับแต่โดยดี และกลับไปสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามเมืองของตัวเอง ดังนี้

1.   กษัตริย์ลิจฉวี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวสาลี

2.   กษัตริย์ศากยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกบิลพัสดุ์

3.   กษัตริย์ถูลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองอัลลกัปปะ

4.   กษัตริย์โกลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองรามคาม

5.   มหาพราหมณ์ สร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวฏฐทีปกะ

6.   กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองปาวา

7.   พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองราชคฤห์

8.   มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกุสินารา

9.   กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร (อังคารสถูป) ที่เมืองปิปผลิวัน

10. โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกุสินารา (ทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุแจก, คำว่า ตุมพะ แปลว่า ทะนาน, บางทีเรียกสถูปนี้ว่า ตุมพสถูป)

การประกอบพิธี วันอัฏฐมีบูชา

ปัจจุบันการประกอบพิธี วันอัฏฐมีบูชา ในประเทศไทย มีเพียงบางวัดเท่านั้นที่จะที่จัดให้มีการทำพิธีบำเพ็ญกุศลในวันนี้ เช่น วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น โดยการบำเพ็ญกุศลในวัน อัฏฐมีบูชา จะปฏิบัติอย่างเดียวกันกับการประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาวันอื่น ๆ ที่มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และมีการเวียนเทียนในตอนค่ำ




"...ให้พิจารณาว่า
เราต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจเป็นธรรมดา
เรามีอะไรอยู่ก็ใช้ไปเถอะ
แต่บอกตัวเองว่า ใช้ไม่เท่าใดดอกมันจะจากเราไป
ไม่เท่าใดดอก เราจะต้องจากมันไป ...
ไม่มีอะไรจะอยู่กับเราตลอดไ
บอกไว้อย่างนั้นเตรียมเนื้อเตรียมตัว บอกตัวเองไว้ล่วงหน้า
พอมีเหตุการณ์พลัดพรากเกิดขึ้น
เราก็ร้องอ๋อ ! ได้ เออ? กูว่าไว้นานแล้ว ว่ามันจะเป็นอย่างนั้น
เราก็ไม่ต้องเป็นทุกข์มากเกินไป

...คนเราเวลาเกิดไม่ได้เอาอะไรมา เวลาไปก็ไม่ได้เอาอะไรไป
สิ่งทั้งหลายที่เราได้ใช้ได้กินอยู่ในชีวิตประจำวันนี้
ถือว่าเป็นของยืมมาทั้งนั้น ยืมมาชั่วคราว
ยืมแล้วต้องส่งคืนเอาไปไม่ได้ พอเราจะไปก็ส่งคืนเขา
ทรัพย์สมบัติก็ส่งคืนธรรมชาติ ร่างกายก็ส่งคืนธรรมชาติ
ไม่มีอะไรที่เรียกว่าเป็นเนื้อแท้
เรานึกอย่างนั้น ใจก็ไม่ยึดมากเกินไป
มีทรัพย์สมบัติก็ใช้ไปตามหน้าที่ บำรุงศาสนา บำรุงสาธารณกุศล
อะไรพอจะช่วยได้ก็ช่วยไปตามเรื่อง
ใช้สมบัติให้เป็นประโยชน์แก่ตัวแก่ท่านตามสมควรแก่ฐานะ
พอถึงบทที่เราจะจากไป เราก็อย่าไปอาลัยอาวรณ์
ว่าเออ เสียดายสิ่งนั้น เสียดายสิ่งนี้ ไม่เข้าเรื่องเป็นทุกข์เปล่าๆ"
(ส่วนหนึ่งของปาฐกถาธรรม : หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ)



โกวเล้งเขียนในนิยายตอนหนึ่งว่า
"ชีวิตคนเราจะมีสิบปีสักกี่ครั้งกัน"

ถ้าคนเราอายุเฉลี่ย 70 ปี
เราก็มี 10 ปีแค่ 7 ครั้ง...

๐ สิบปีแรก..หมดไปกับความไร้เดียงสา

๐ สิบปีต่อมา..หมดไปกับการศึกษาเล่าเรียน

๐ สิบปีต่อมา.หมดไปกับการทำงานและการใช้ชีวิต

๐ สิบปีต่อมา..หมดไปกับการสร้างฐานะ สร้างครอบครัว

๐ สิบปีต่อมา..หมดไปกับการลงหลักปักฐาน รักษาสิ่งที่สร้างมา

๐ สิบปีต่อมา..หมดไปกับการดูแลรักษาสุขภาพกาย-ใจให้แข็งแรง

๐ สิบปีสุดท้าย..หมดไปกับการปล่อยวางทุกสิ่ง รอคอยการกลับบ้าน

แต่ละสิบปีผ่านไป...ไวเหมือนโกหก อีกไม่นานปีนี้ก็จะผ่านไป มีอะไรที่เราทำไปแล้วมากมาย และก็ยังมีอะไรอีกมากมายที่เรายังไม่ได้ทำ

เรารู้ว่าเราใช้ "สิบปี" ของเราไปกี่ครั้งแล้ว
แต่เราไม่อาจรู้ว่า...เราจะใช้ "สิบปี" ที่เหลือของเราได้ครบมั้ย?

แต่นั่นก็ไม่สำคัญเท่ากับว่าเราใช้เวลาสิบปีของเราไปคุ้มค่าหรือเปล่า?

เมื่อเราหันหลังกลับมาขอให้พูดได้เต็มปากว่าเราใช้มันไปอย่างไม่น่าเสียดาย

ชีวิตคนเราจะมี "สิบปี" สักกี่ครั้งกัน
ใช้สิบปี ทั้งเจ็ดครั้งของเราให้คุ้มค่า


 

MANA PRADITKET

MANA PRADITKET
Handpainted oil painting by Mana Praditket

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
Original handpainted oil painting by Niran Paijit

PRAYAD TIPPAWAN

PRAYAD TIPPAWAN
ORIGINAL IMPRESSIONAL OIL PAINTING BY PRAYAD TIPPAWAN

Achara 34 (24x36)

Achara 34 (24x36)
ORIGINALl OIL PAINTING

Amornsak Livisit 74 (24x36)

Amornsak Livisit 74 (24x36)
ORIGINAL OIL PAINTING, Impressionist style

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)

Suwan Khanboon 11 (24x24 inches)
Original handpainted oil painting abstract style

NIRAN PAIJIT

NIRAN PAIJIT
ORIGINAL ABSTRACT STYLE OIL PAINTING BY NIRAN PAIJIT

Chavalit (Pong)

Chavalit (Pong)
PINTO Horses

Komez 78 (22x30)

Komez 78 (22x30)
Original handpainted pastel painting on paper

KOMES

KOMES
Handpainted pastel painting by Komez

PRATHOUN

PRATHOUN
ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING BY PRATHOUN

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
ORIGINAL OIL PAINTING BY THAVORN IN-AKORN (SIZE 20x30")

THAVORN IN-AKORN

THAVORN IN-AKORN
Original oil painting by Thavorn In-akorn

Facebook


ORIGINAL HANDPAINTED OIL PAINTING

PHOTO GALLERY

PHOTO GALLERY

Facebook

PHOTO GALLERY