สตง แจ้งความเห็นว่า ระบบท่อส่วนที่ ปตท โอน 16,176.22 ล้านบาทนั้น -- ยังไม่ครบถ้วน --
ปตท รับทราบความเห็นนี้ ตั้งแต่ 10 ตุลาคม 2551
แต่ทำไมในคำร้องต่อศาลวันที่ 25 ธันวาคม 2551 จึงไม่แจ้งให้ศาลรับทราบ???
มีการปกปิดข้อมูล หรือไม่
------------------------------------------
คำร้องของ ปตท ต่อศาลวันที่ 25 ธันวาคม 2551
ข้อ 4 อ้างว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ดำเนินการ และปฏิบัติตามคำพิพากษาแล้ว
อ้างอย่างนี้ ทั้งๆ ที่ สตง แจ้งก่อนหน้า ว่าโอนท่อไม่ครบถ้วน เป็นการอ้างเท็จหรือไม่
------------------------------------------
สตง มีหนังสือแจ้ง ปตท 26 ธันวาคม 2551 ยืนยันว่าโอนท่อไม่ครบ ลงนามโดยคุณหญิงจารุวรรณอีกครั้ง
ทำไม ปตท ไม่นำไปแจ้งศาล
เนื่องจาก สตง ตรวจสอบบัญชี ปตท มานับยี่สิบปีก่อนแปรรูป สตง จึงรู้ดีที่สุด ว่าระบบท่อที่ควรโอนให้รัฐเป็นเท่าใด มากกว่าส่วนราชการอื่นๆ ทั้งหมด
ปตท มีเจตนาปิดบังข้อมูลสำคัญที่ได้รับจาก สตง ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ ปิดบังแก่ศาลหรือไม่
------------------------------------------
11 สิงหาคม 2553 สตง มีหนังสือแจ้งประธานวุฒิสภา ว่า ปตท ยังโอนท่อไม่ครบ ลงนามโดยคุณหญิงจารุวรรณอีกแล้ว
------------------------------------------
2 พฤษภาคม 2554 สตง มีหนังสือแจ้งปลัดกระทรวงการคลัง ว่า ปตท ยังโอนระบบท่อไม่ครบ ลงนามโดยคุณหญิงจารุวรรณเจ้าเก่า
------------------------------------------
2 พฤษภาคม 2554 สตง มีหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร แจ้งว่า ปตท โอนระบบท่อยังไม่ครบ
คุณหญิงจารุวรรณเป็นผู้ลงนามอย่างไม่ลดละ
ที่จริง โดยทั่วไป คนจะต้องถือคำสั่งศาลว่าเหนือกว่าความเห็น สตง
แต่กรณีนี้ ความเห็น สตง ซึ่งควรจะเป็นองค์ประกอบหลักในการพิจารณาของศาล ได้ถูกปกปิดต่อศาล หรือไม่
หากมีการปกปิด คำสั่งศาลน่าจะมีปัญหา และสั่งไปในทางผิดหรือไม่
ข้อมูลจากเพจของ Thirachai Phuvanatnaranubala

ประกาศเลิกบิดเบือนราคาพลังงาน
ต่อมาเวลา 12.15 น. ร่วมหารือระหว่างอาหารกลางวัน ภายใต้ประเด็นการเสริมสร้างความเชื่อมโยงอย่างครอบคลุมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ก่อนร่วมประชุมผู้นำเอเปกช่วงที่ 2 เมื่อเวลา 14.00 น. โดย พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวถ้อยแถลงที่ประชุมเอเปกช่วงที่ 2 หัวข้อ การส่งเสริมการพัฒนาอย่าง มีนวัตกรรม การปฏิรูปเศรษฐกิจ และการเจริญเติบโต โดยสรุปว่า รัฐบาลไทยเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนา โดยเฉพาะการพัฒนาที่เน้นคุณภาพ ลดความยากจน และความเหลื่อมล้ำในสังคม ตนขอสนับสนุนเอเปกในการส่งเสริมการศึกษาข้ามพรมแดน โดยเฉพาะการกำหนดเป้าหมายแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาจำนวน 1 ล้านคน ระหว่างสมาชิกเอเปกภายในปี ค.ศ.2020 สำหรับความมั่นคงทางพลังงาน ที่ผ่านมาหลายประเทศรวมทั้งไทยต้องรับผลกระทบจากการบิดเบือนราคาในตลาดพลังงาน ดังนั้น ไทยจึงปรับปรุงโครงสร้างราคาพลังงาน ให้เอื้อต่อการใช้พลังงานอย่างเหมาะสม ร่วมมือกับเพื่อนบ้านสำรวจและพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ๆ ให้ความสำคัญกับนโยบายประหยัดพลังงาน การพัฒนาพลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียน ขอสนับสนุนความร่วมมือของเอเปกในการส่งเสริมการค้าและการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน และพลังงานสะอาด
ไทยรัฐ 12 พฤศจิกายน 2557
“ธีระชัย” แฉแหลก “ปิยสวัสดิ์” ร่วมมือแม้วเอื้อ “เพิร์ลออย” ฮุบพลังงานไทย?
|
|