"บิ๊กตู่" อึ้งคนไทยที่สหรัฐฯต้อนรับ-บอกเป็นความหวังครั้งสุดท้าย ตอบกลับติดตลก-ขณะไปถกยูเอ็น
วันที่ 25 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 10.45 น. วันที่ 24 ก.ย. (ตามเวลาท้องถิ่นซึ่งช้ากว่าเวลาประเทศไทย 11 ชั่วโมง) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยนางนราพร จันทร์โอชา ภริยา และคณะ เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติจอห์น เอฟ เคเนดี้ นครนิวยอร์ก โดยมีนายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก และภริยาให้การต้อนรับ จากนั้นนายกฯ และคณะได้เดินทางมายังโรงแรมวัน ยูเอ็น นิวยอร์ก เมื่อมาถึงมีคนไทยในสหรัฐฯ รอให้การต้อนรับ มอบหนังสือให้นายกฯและมอบดอกไม้ให้ภริยานายกฯและกล่าวให้กำลังใจ มีบางคนระบุว่านายกฯ เป็นความหวังครั้งสุดท้าย ซึ่งนายกฯ ถึงกับอึ้ง แต่ก็กล่าวติดตลกว่า "ทำให้ผมรู้สึกกดดัน และขอขอบคุณทุกคนที่มาให้กำลังใจ เพราะทุกคนที่สนับสนุนผมหรือไม่สนับสนุนผม ต่างก็เป็นคนไทยด้วยกัน"
ต่อมานายกฯเป็นประธานการประชุมเพื่อมอบนโยบายให้กับทีมประเทศไทยในสหรัฐฯ โดยนายพิศาล มาณวพัฒน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน กล่าวรายงานว่า มีความซาบซึ้งใจที่นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญ ด้วยการเลือกให้นโยบายกับทีมประเทศไทยในสหรัฐฯ เป็นวาระแรกในงานของนายกฯ เพื่อให้เรามีโอกาสรับฟังรายงานจากนายกฯโดยตรง มั่นใจว่าเมื่อกลับเมืองไทย ก็จะไม่มีโอกาสรับฟังอย่างใกล้ชิดขนาดนี้ ซึ่งทีมประเทศไทยในสหรัฐฯทั้งหมด 82 คน เป็นพลเรือน 65 คน และทหาร 17 คน
พล.ต.วีรชน สุคนธปฎิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ เผยว่า นายพิศาล รายงานถึงความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐฯ และความร่วมมือระหว่างกันว่ามีทิศทางที่ดีขึ้นเป็นสัญญาณทางบวก ดูจากความร่วมมือต่าง ๆ ที่มีมากขึ้นเกือบเท่าระดับปกติ ทั้งความร่วมมือด้านการศึกษา พาณิชย์ ความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคง ซึ่งนายกฯพร้อมจะแก้ข้อขัดข้องต่าง ๆ และให้ความช่วยเหลือแก้ไขปัญหาทั้งด้านการค้าการลงทุน การศึกษา การเกษตรอุตสาหกรรม รวมทั้งส่งเสริมปัจจัยต่าง ๆ ที่เอื้อต่อความสัมพันธ์ไทยกับสหรัฐฯ
สำหรับการประชุมสหประชาชาติระดับผู้นำ เพื่อรับรองวาระการพัฒนา ภายหลังปี ค.ศ. 2015 และการประชุมสมัชสหประชาชาติ สมัยสามัญครั้งที่ 70 ในวันที่ 25 ก.ย. เวลา 10.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น นายกฯจะร่วมรับฟังการกล่าวปราศรัยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ที่ General Assembly Hall สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ จากนั้นเป็นพิธีเปิดการประชุมเต็มคณะ การประชุมสหประชาชาติระดับผู้นำเพื่อรับรองวาระการพัฒนา ภายหลังปี ค.ศ. 2015
ในช่วงบ่าย นายกฯจะกล่าวถ้อยแถลงในการเสวนา Interactive Dialogue 1 หัวข้อ "Ending Poverty and Hunger" และเยี่ยมชมนิทรรศการเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจัดแสดงนิทรรศการไว้ภายในสำนักงานใหญ่สหประชาชาติ และช่วงค่ำนายกฯ พบปะผู้แทนระดับสูงจากบริษัทต่าง ๆ และจากสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา.....ที่มา : ข่าวสดออนไลน์
ทางสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการแล้วว่านายกลิน ทาวน์เซนด์ เดวีส์เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศคนใหม่ได้เดินทางมาถึงประเทศไทยและจะเข้าปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการทำให้สถานการณ์การเมืองของไทยตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไปจะต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวของเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศคนนี้รวมถึงท่าทีของสหรัฐอเมริกาว่าจะเดินหน้าไปในทิศทางไหนอย่างไร?
โดยถ้าหากย้อนกลับไปตรวจสอบพฤติกรรมของเอกอัครราชทูตรวมไปถึงอุปทูตก่อนหน้านี้ก็จะพบว่าล้วนแต่ถูกจัดวางบทบาทของการทำงานสอดประสานกับฝ่ายระบอบทักษิณและพยายามที่จะโจมตีรัฐบาล คสช. มาโดยตลอด หลังจากที่ นายกลิน ทาวน์เซนด์ เดวีส์ วัย 58 ปี เข้าพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนใหม่อย่างเป็นทางการแล้ว
เมื่อวันที่ 14 กันยายนที่ผ่านมา ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา หลังวุฒิสภาลงมติรับรองนายเดวีส์ เมื่อเดือนก่อน ทำให้การว่างเว้นของตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยมานานกว่า 10 เดือนสิ้นสุดลงนับตั้งแต่นางคริสตี เคนนีย์เอกอัครราชทูตคนก่อนหน้านี้หมดวาระดำรงตำแหน่งไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ขณะที่ ล่าสุด สถานทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยได้ แจ้งผ่านเฟซบุ๊กว่า"สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยมีความยินดีแจ้งให้ทราบว่า เอกอัครราชทูตกลิน ทาวน์เซนด์ เดวีส์ ว่าที่เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยคนใหม่ได้เดินทางถึงไทยแล้ว"
โดยประวัติของนายเดวีส์ว่า เป็นนักการทูตอาชีพลำดับชั้นอัครราชทูตที่ปรึกษา ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ พ.ศ.2557 จนถึงปัจจุบัน
ซึ่งก่อนหน้านั้น นายเดวีส์เคยเป็นผู้แทนพิเศษด้านนโยบายเกาหลีเหนือระหว่าง พ.ศ.2555-2557 และปฏิบัติราชการในตำแหน่งผู้แทนสหรัฐอเมริกาประจำสหประชาชาติ ณ กรุงเวียนนา และทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ระหว่างปี พ.ศ.2552-2555
นายเดวีส์เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มรองผู้ช่วยรัฐมนตรีและเป็นรองผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ.2549-2552 ทั้งยังเป็นที่ปรึกษาอาวุโสประจำ Leadership and Management School แห่ง Foreign Service Institute (FSI) เมื่อ พ.ศ.2548-2549 รักษาการผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชนและแรงงาน กระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ.2548 รองผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการยุโรประหว่างปี พ.ศ.2547-2548 และผู้อำนวยการฝ่ายการเมืองในวาระที่สหรัฐอเมริกาเป็นประธานกลุ่ม G-8 ระหว่างปี พ.ศ.2546-2547 และช่วงปี พ.ศ.2542-2546 นายเดวีส์รับตำแหน่งอัครราชทูตที่ปรึกษาของสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ณ กรุงลอนดอน
นอกจากนี้ ยังเคยเป็นผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ.2540-2542 รองโฆษกกระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกาและรองผู้ช่วยรัฐมนตรีฝ่ายกิจการสาธารณะระหว่าง พ.ศ.2538-2540 และผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ (Operations Center) กระทรวงต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่าง พ.ศ.2535-2537 และเคยถูกส่งไปประจำการในหลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส และซาอีร์ (ปัจจุบันคือคองโก)
นายเดวีส์จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการต่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ในปี 2522 และปริญญาโทด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ จากมหาวิทยาลัยการป้องกันประเทศ ที่วอชิงตัน ดี.ซี. เขาสมรสกับนางแจ๊กเกอลีน เอ็ม. เดวีส์ซึ่งเป็นทนายความ มีบุตรสาว 2 คน และหลานสาวอีก 3 คน
หลังจากนี้อีกไม่นานนัก เราก็คงจะได้เห็นฝีไม้ลายมือของเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทยคนใหม่ ว่าจะทำได้ดีเพียงใดภายใต้สถานการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศตกอยู่ในสถานะที่ไม่ค่อยปกติสักเท่าใดนักในปัจจุบัน พิจารณาจากภูมิหลังของเกล็น เดวีส์ เห็นได้ชัดว่า นี่คือนักการทูตระดับลายคราม
นั่นนำไปสู่คำถามที่ต้องควานหาคำตอบกันต่อไปว่า ทำไมสหรัฐอเมริกาส่งมือการทูตระดับนี้มาประจำประเทศไทย
ทั้งนี้นับตั้งแต่ที่นางคริสตี เคนนีย์เอกอัครราชทูตคนเดิมได้พ้นวาระออกไป และก่อนที่นายเดวีส์จะเข้ามาทำหน้าที่แทน ตำแหน่งรักษาการในที่นี้ตกเป็นของนายดับเบิลยู แพทริค เมอร์ฟี อุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย
ซึ่งก็เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนว่ายื่นอยู่เคียงข้างระบอบทักษิณและบ่อยครั้งที่มักจะสื่อสารตำหนิคสช.เกี่ยวกับเรื่องการละเมิดสิทธิและเสรีภาพ
ล่าสุดนายดับเบิลยู แพทริค เมอร์ฟี อุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย โพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์ ระบุว่า ยังมีความกังวลต่อข้อจำกัดเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพในประเทศไทย และข้อจำกัดเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุมโดยสงบ
ประกอบกับเมื่อวานประชาธิปไตยสากลที่ผ่านมา เครือข่ายคนเสื้อแดงก็ได้ทำการเผยแพร่ภาพอันเป็นที่น่ายินดีของฝ่ายตนเองโดยระบุว่าสถานทูตอเมริกาเผย "รังสิมันต์ โรม" จิบชาสนทนากับอุปทูต พร้อมตัวแทนภาคประชาสังคมเนื่องในวัน ประชาธิปไตยสากล
ประกอบกับเมื่อวานประชาธิปไตยสากลที่ผ่านมา เครือข่ายคนเสื้อแดงก็ได้ทำการเผยแพร่ภาพอันเป็นที่น่ายินดีของฝ่ายตนเองโดยระบุว่าสถานทูตอเมริกาเผย "รังสิมันต์ โรม" จิบชาสนทนากับอุปทูต พร้อมตัวแทนภาคประชาสังคมเนื่องในวัน ประชาธิปไตยสากล
ทั้งนี้อุปทูต ดับเบิลยู. แพทริค เมอร์ฟี เป็นนักการทูตอาชีพระดับอาวุโสที่ได้เข้ารับตำแหน่งอุปทูตรักษาการแทนเอกอัครราชทูต ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 นายเมอร์ฟีปฏิบัติหน้าที่อัครราชทูตที่ปรึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ก่อนเดินทางมาประจำในประเทศไทย นายเมอร์ฟีเคยปฏิบัติหน้าที่รักษาการผู้แทนพิเศษและผู้ประสานงานด้านนโยบายระหว่างสหรัฐฯ กับพม่าระหว่างปี พ.ศ. 2555-2556
ก่อนหน้านั้น นายเมอร์ฟีเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการภาคพื้นทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (พม่า กัมพูชา ลาว ไทย และเวียดนาม) รองผู้แทนพิเศษของสหรัฐฯ ในประเทศพม่า หัวหน้าคณะทำงานระหว่างหน่วยงานเพื่อการฟื้นฟูเขตการปกครองนิเนเวห์ (Ninewa Provincial Reconstruction Team) ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของอิรัก อัครราชทูตที่ปรึกษาประจำสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงมาเซรู ราชอาณาจักรเลโซโท และที่ปรึกษาฝ่ายการเมืองและเศรษฐกิจประจำสถานทูตสหรัฐฯ ในนครย่างกุ้ง นับตั้งแต่เริ่มรับราชการในกระทรวงการต่างประเทศเมื่อ พ.ศ. 2535 นายเมอร์ฟียังได้ไปปฏิบัติราชการในจีน กินี และมาลีอีกด้วย
ขณะประจำที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. อุปทูต เมอร์ฟีเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโสฝ่ายการเมืองของคณะทำงานเพื่อเฮติ (Haiti Working Group) และเจ้าหน้าที่ดูแลกิจการประเทศพม่าและลาว อีกทั้งเคยเป็นอาสาสมัครหน่วยสันติภาพสหรัฐอเมริกาในประเทศแคเมอรูน
นายเมอร์ฟีสำเร็จปริญญาโทสาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจาก Johns Hopkins University (SAIS) และสาขายุทธศาสตร์ความมั่นคงจากวิทยาลัยป้องกันประเทศด้วยผลการเรียนดีเด่น (เกียรตินิยม) นายเมอร์ฟีจบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์และแคนาดาศึกษาจาก University of Vermont และศึกษาสาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศที่ European Institute ในเมืองนีซ ประเทศฝรั่งเศส
ก่อนเข้ารับราชการในกระทรวงการต่างประเทศ อุปทูต เมอร์ฟีเคยเป็นนักเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรของกองทุนสัตว์ป่าโลก และเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายของสำนักงานสภาเพื่อการพัฒนาในต่างประเทศ
นายเมอร์ฟีมีความรู้ภาษาต่างประเทศหลายภาษา ได้แก่ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาจีนกวางตุ้งและภาษาพม่า อุปทูต เมอร์ฟีสมรสกับนางแคธลีน ทั้งคู่มีบุตรชายหนึ่งคนชื่อเชมัส และบุตรสาวสองคนชื่อ เมกันและจิลเลียน และเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าการที่สหรัฐอเมริกาเลทอกนายกลิน ทาวน์เซนด์ เดวีส์ มาปฏิบัติหน้าที่ต่อจากนางคริสตี้ เคนนี่ย์ ก็เพื่อเหตุผลทางการเมืองและภารกิจสำคัญบางอย่างในการเผชิญหน้ากับคสช. และรักษาผลประโชยน์ทางการเมืองร่วมกับระบอบทักษิณก็จะได้ย้อยกลับไปพิจารณาจากผลงานของนางคริสตี้ เคนนี่ย์ที่เคยฝากเอาไว้ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไร ติดตามจากรายงานพิเศษชิ้นนี้