By Danai Chanchaochai
ทำไมต้องสมาธิก่อนนอนหรือตอนเช้ามนุษย์สามารถสร้างอำนาจจิตของตนโดยพลังของผู้อื่นได้สามวิธีคือ
1) การอนุโมทนา
2) การเสริมสร้างพลังโดยมนุษย์ผู้ทรงพลัง
3) การรับพลังทิพย์จากต่างมิติ
1) การอนุโมทนา
ในทุกวัน ทุกเวลานาที รังสีจิตทั้งหลายในบรรยากาศจะมีทั้งรังสีหยาบ ละเอียด ดี ชั่ว วิธีที่จะเลือกดูดซับรังสีจิตที่ดีและประณีตเข้ามาในตนทำได้สามประการ คือ
1. เข้าใกล้ผู้มีพลังจิตที่ประเสริฐ
ทันทีที่เราเข้าใกล้ผู้มีพลังจิตอันประเสริฐ ด้วยความชื่นชม ยินดี อนุโมทนา อานุภาพจิตของท่านจะเหนี่ยวนำเราให้ปรับสภาวะเข้าสู่ความประเสริฐดั่งท่าน ด้วย เสมือนเหล็กธรรมดา ที่เข้าไปอยู่ในรัศมีสนามแม่เหล็ก ย่อมถูกเหนี่ยวนำให้เป็นแม่เหล็กอ่อนๆ ได้ด้วยกระนั้น
ด้วยเหตุนี้พระพุทธเจ้าบรมครูจึงตรัสว่า การพบเห็นสมณเป็นมงคลแห่งชีวิตประการหนี่ง
ในขณะเดียวกันถ้าจิตยังไม่ยิ่งใหญ่ ควรหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับคนที่มีอำนาจจิตทรามด้วย ดังคำสอนเรื่องมงคลแห่งชีวิตประการแรกที่ว่า ชีวิตจะได้ดีนั้น สิ่งแรกเลยที่จะต้องทำให้ได้ คือ อย่าส้องเสพสมาคมกับคนชั่ว คนพาล จงเสวนาสมาคมกับบัณฑิต
เมื่อทำได้ดังนี้ ความดีอื่นๆ ในชีวิตก็จะตามมาอีกมากมาย
2. ในทุกขณะจะมีคนทำความดีอยู่เสมอ
พึงระลึกถึงบุคคลเหล่านั้น แล้วอนุโมทนาสาธุ
การอนุโมทนากับภาวะที่ดีใดจะทำให้ท่านยกระดับจิตของตนให้ใกล้เคียงกับภาวะ นั้นด้วย และหากเขาเหล่านั้นอุทิศส่วนกุศลให้เป็นการทั่วไป ซึ่งมีอยู่ตลอดเวลา เมื่อท่านอนุโมทนา ท่านก็จะได้ดูดซับพลังแห่งคุณความดีเข้าไว้ในตนทันที เป็นการทำบุญทางลัดอย่างหนึ่ง
บุคคลที่ทำความดีมหาศาลที่เราพึงระลึกเสมอๆ คือ พระพุทธเจ้า พระสงฆ์ พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ เพื่อเป็นแบบอย่าง เป็นอาทิ
3. จัดเวลาฝึกตนให้สอดคล้องกับท่านผู้มีอำนาจจิต หรือชนส่วนใหญ่
จากการวิจัยพบว่าเมื่อคนหลายคนมาฝึกจิตร่วมกัน ในทิศทางการฝึกเดียวกัน อานุภาพจิตโดยรวมในบรรยากาศจะมีพลังมาก อย่างน้อยเท่ากับกำลังสองของจำนวนคน
เช่น ฝึกจิตร่วมกัน 9 คน พลังรวมของรังสีจิตในบรรยากาศจะเท่ากับ 9 * 9 = 81 คน เป็นต้น
ดังนั้นจะเป็นการฉลาดที่จะฝึกตนให้ตรงกับที่คนส่วนใหญ่ในสังคมฝึก หรือตรงกับที่ท่านผู้ทรงพลังจิตฝึก
ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นช่วง 1 ทุ่มถึง 3 ทุ่ม
และ ตี 3 ถึง 6 โมงเช้า
ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าว พลังจิตชั่วร้ายในบรรยากาศจะมีน้อยมาก และพลังจิตอันประเสริฐจะเข้มข้นมาก เพราะเป็นช่วงที่ผู้คนทั้งหลายพักกิจกรรมและพักผ่อนแล้ว และผู้ฝึกตนกำลังฝึกจิตกันอยู่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนตี 3 ถึง 6 โมง คนส่วนใหญ่ยังหลับอยู่ มีเฉพาะผู้ฝึกตนเท่านั้นที่กำลังทำกิจฝึกจิตกันอยู่ ในเวลาดังกล่าว ถ้าท่านตื่นขึ้นมาฝึกตน ท่านจะได้รับพลังจิตอันประเสริฐอย่างมากมาย
จากหนังสือการเสริมสร้างพลังจิต
อาจารย์ไชย ณ พล

" ฟุ้งเพราะเกิดปิติ และมีความยินดีติดในปิตินั้น "
เมื่อจิตยึดติดอยู่ในอารมณ์ปิติที่รู้ที่เห็นแล้วไม่ยอมละทิ้งอารมณ์นั้น เรียกว่า ยึดติดอารมณ์ ความฟุ้งประเภทนี้มักจะทำให้ผู้ปฏิบัติอยากสอนคนทั่วไป อยากบอกคนนั้นคนนี้ให้มาปฏิบัติเหมือนกับตนเอง บางท่านพบกับความสงบ หรือพบกับอารมณ์บางอย่างที่ไม่เคยพบ และติดใจอยากให้เกิดอีก แต่ไม่สามารถทำได้อีกเพราะเกิดตัณหา คือความอยาก ทำให้นึกคิดไปต่าง ๆ นานา อารมณ์ฟุ้งประเภทนี้นับว่า เป็นอันตรายมาก เพราะจะทำให้เลิกปฏิบัติหรือไม่ก็เป็นมิจฉาทิฐิ คือ คิดว่าตนสำเร็จ บางท่านปฏิบัติจนจิตเข้าสู่อุปจารสมาธิ จิตอยู่ในสภาพครึ่งหลับครึ่งตื่น และเข้าติดต่อกับแดนวิญญาณได้ คือบางครั้งได้ยินเสียงกระซิบที่หู บางครั้งเห็นรูปละเอียด ผู้ปฏิบัติที่ตกอยู่ในช่วงนี้นับว่ามีอันตรายมาก เพราะส่วนมากมักจะเข้าใจผิดกันเสมอ คิดว่า ตนสำเร็จแล้ว แต่ความจริงไม่ใช่ แต่แค่ตกอยู่ในอุปจารสมาธิ เป็นอารมณ์ที่ผู้ปฏิบัติต้องผ่านเท่านั้น
"วิธีแก้ไข"
เมื่อปฏิบัติไปแล้วเกิดอะไรขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความว่าง ความสงบ หรือความสุขกายสุขใจก็ตาม ไม่ควรยินดีติดใจในอารมณ์เหล่านี้ เพราะเมื่อเกิดความยินดีขึ้นเมื่อใดจิตก็จะเคลื่อนออกจากสมาธิ ผู้ปฏิบัติจะต้องเข้าใจว่า สภาวธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อมีการเกิดก็ต้องมีการดับเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรยินดีกับอารมณ์ที่ดี ยินร้ายกับอารมณ์ที่ไม่ดี การยินดีในอารมณ์ดีนั้นเมื่ออารมณ์ดี คือปิติดับหมด จะทำให้ผู้ปฏิบัติเกิดความท้อแท้ จึงไม่ควรยินดียินร้ายในอารมณ์ทั้งปวงที่เกิดขึ้น ส่วนการได้ยินเสียงมากระซิบที่หูนั้น ผู้ปฏิบัติจะต้องเลิกฟังเลิกสนใจ เพราะถ้าสนใจฟัง เมื่อนานเข้าก็จะไม่สามารถแก้ไขได้ และกลายเป็น คนวิกลจริตไปในที่สุด ผู้ปฏิบัติจะต้องรีบละอารมณ์นี้ให้ได้ ถ้าหากเลิกสนใจแล้ว แต่ยังเห็นรูปละเอียดและได้ยินเสียงอยู่ ผู้ปฏิบัติจะต้องหันมากำหนดทุกข์ที่กาย พิจารณากายในอาการ 32 หรือ พิจารณาในธาตุ 4 ขันธ์ 5 เพื่อให้จิตละเสียงและรูปละเอียดที่ได้ยินได้เห็น การกำหนดทุกข์ด้วยการพิจารณาที่ผัสสะ จึงมีประโยชน์มาก เพื่อให้เห็นถึงความไม่เทียงแท้แน่นอนในการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ในอารมณ์ อาการต่างๆ เป็นสิ่งที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป เพื่อให้เรารู้เมื่อรู้แล้วก็ต้องวางเฉย เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นของธรรมดาๆเท่านั้น
................................. วิมุตติ ธรรม.......................... วชิรเจต วิริยังคาจารย์
เมื่อจิตยึดติดอยู่ในอารมณ์
"วิธีแก้ไข"
เมื่อปฏิบัติไปแล้วเกิดอะไร
..........................
" จิตที่หลุดพ้นจากกิเลส "
ความหลุดพ้นในที่นี้หมายถึงการพ้นจากกิเลส พ้นจากอุปาทาน พ้นจากความไม่รู้ หากตามรู้สภาพจิต แล้วรู้แจ้งขึ้นมาว่าความรู้สึกในตัวตนนี้มีเพราะจิตยังไม่หลุดพ้น ต่อเมื่อเจริญสติจนจิตถอยห่าง และกระทั่งพรากออกมาจากอาการยึดมั่นกายใจอย่างสิ้นเชิง จึงจะถึงความหลุดพ้นอย่างเด็ดขาด ปัจจุบันยังไปไม่ถึงก็เพราะกำลังยังไม่พอ ผู้มีจิตเห็นจิตเป็นผู้ใกล้ต่อการหลุดพ้น เพราะจิตเป็นที่ตั้งสำคัญที่สุดของความรู้สึกในตัวตน เมื่อรู้สภาพจิตต่างๆจนเห็นความไม่เที่ยงของจิต ก็เหมือนไม่เหลือที่ตั้งให้อุปาทานอีกต่อไป ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ประทับใจสิ่งใดแค่ไหน ก็จะเห็นว่าสักแต่เป็นความรู้สึกหนึ่ง หรือเป็นปรากฏการณ์ทางจิตเท่านั้น หาได้มีความน่าประทับใจอยู่จริงไม่ เพียงต่างวันความรู้สึกก็ต่างไปแล้ว มาถึงตรงนี้เราจะพร้อมดูกายใจ
โดยสักว่าเป็นสภาวธรรม เป็นของอื่น ของแปลกปลอม ไม่ใช่เรา ไม่ใช่บุคคล
จะเป็นรูปก็ดี นามก็ดี ของใหญ่ก็ดี ของย่อยก็ดี ทั้งหมดทั้งปวงสักแต่เกิดขึ้นแล้วดับลง ให้ระลึกว่าไม่ใช่เราเท่านั้้น
ความหลุดพ้นในที่นี้หมายถึง