สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด
หลวงพ่อปราโมทย์ : ตรงที่เราบอกว่าเราฟังธรรมเข้าใจเนี่ย ความจริงไม่ได้เข้าใจด้วยการฟัง แต่เข้าใจด้วยการคิดเอาเอง การคิดเอาเองของเราเนี่ย คิดถูกก็ได้ คิดผิดก็ได้ งั้นธรรมที่ฟัง ๆ เอานะยังใช้ไม่ได้ ฟังเอาพอเป็นแนว เพื่อจะมารู้กาย รู้ใจ ศัตรูของการรู้กาย รู้ใจ เบอร์หนึ่งเลยคือการที่เราหลงไปอยู่ในโลกของความคิด ลืมกาย ลืมใจที่เป็นปัจจุบัน รู้สึกไหม ขณะที่เราคิดไปเนี่ย เรานั่งอยู่เราก็ลืมไป จิตใจเราเป็นสุข เป็นทุกข์ เป็นกุศล อกุศล เราก็ไม่รู้ นึกออกไหม เนี่ยอย่างขณะนี้ลืมกาย ลืมใจแล้ว ตรงที่ไหลแว๊บไป
เพราะฉะนั้นตราบใดที่คุณยังคิดไม่เลิกนะ คุณไม่ได้ทำวิปัสสนาแน่นอน แล้วมันเป็นศัตรูด้วย หลวงพ่อเลยไม่ส่งเสริมให้มานั่งคิดนั่งถามนะ ที่สงสัยได้เพราะคิดมาก คิดมากก็สงสัยมาก สงสัยแล้วอยากถาม ถามไปแล้วก็จำเอาไว้แล้วหรือเอาไปคิดต่อ นะ มันจะเวียนไปอย่างนี้เรื่อย ๆ วิปัสสนาจริง ๆ ไม่ใช่การคิด วิปัสสนาจริงๆ ในอภิธรรมสอนนะเริ่มจากตัวอุทยัพพยญาณ อุทยัพพยญาณเนี่ยมันเห็นความเกิดดับของรูปนามนะ แล้วระบุไว้ด้วยว่า ต้องพ้นจากความคิดด้วย ถ้ายังเห็นไตรลักษณ์ด้วยการคิดเอา เช่นคิดเอาว่าจิตตะกี้กับจิตเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนกัน เนี่ยแสดงว่าเป็นไตรลักษณ์ นี่ได้แค่สัมมสนญาณ ยังไม่ขึ้นวิปัสสนา เพราะฉะนั้นยังตราบใดที่ยังคิดอยู่ไม่ใช่วิปัสสนา
หลวงพ่อพุธเคยสอนนะบอกว่า “สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด” ความคิดเนี่ยคือศัตรูเบอร์หนึ่งเลย มันทำให้เราลืมกายลืมใจตัวเอง ส่วนศัตรูเบอร์สองคือการที่บังคับกาย บังคับใจ นักปฏิบัติเกือบร้อยละร้อยคือนักบังคับกาย บังคับใจ เพ่งเอา ๆ นะ กำหนดเอา ๆ กายก็ทื่อ ๆ ใจก็ทื่อ ๆ ถ้าเราบังคับกาย บังคับใจ จนมันทื่อ ๆ ไปแล้วไตรลักษณ์มันจะไปอยู่ที่ไหน มันไม่แสดงตัวขึ้นมา
ศัตรูของผู้ปฏิบัติวิปัสสนาอันแรก หลงไป เผลอไป ขาดสติ ลืมเนื้อ ลืมตัว ตามใจกิเลสไปนี้เรียกว่า อกุศลาภิสังขารมั่ง อปุญญาภิสังขารมั่ง เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยคบ้าง มีหลายชื่อ
ศัตรูหมายเลขสองคือการเพ่งกาย เพ่งใจ บังคับกาย บังคับใจ กำหนดกาย กำหนดใจ ควบคุมไว้ ทำกายทำใจให้ลำบากอันนี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร ความปรุงแต่งฝ่ายที่เป็นบุญ เรียกว่า กุศลาภิสังขาร ความปรุงแต่งที่เป็นกุศลเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค การบังคับตัวเอง
เนี่ยสองทางนี้แหละเป็นทางสุดโต่งสองด้านที่พระพุทธเจ้าห้าม ถ้าเรายังไปทำส่วนใหญ่ไปทำอย่างนั้นเองคือไปเพ่งเอา กำหนดเอา ใจแข็ง ทื่อ ๆ จ้องเอาไว้ ๆ นั่นไม่ใช่การเจริญสติ
การปฎิบัติธรรมสายสติปัฏ ฐาน๔ คือการรู้กายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต และธรรมในธรรม สรุปคือ รู้รูปกับนามนั่นเอง กาย จัดว่าเป็นรูป ส่วนเวทนา จิต และธรรมจัดเป็นนาม รูปกับนามแยกออก เป็นขันธ์๕ก็ได้คือ รูปก็จัดเป็นรูป หรือร่างกาย.. ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ จัดเป็นนาม หรือจิต ดังนั้นเรื่องของรูป -นาม, เรื่องของกาย-จิต, เรื่องขันธ์๕,และเรื่องของส ติปัฏฐาน๔จึงเป็นเรื่องเดีย วกัน และมีหลักปฎิบัติอย่างเดียว กันคือศึกษาให้รู้ แล้วก็วางเช่น ศึกษาให้รู้เรื่องรูปก็สักแ ต่ว่ารูป ไม่ยินดียินร้ายอะไรแล้วก็ว างไป ศึกษาให้รู้ว่านามก็สักแต่ว ่านาม ไม่ได้ยินยินร้ายอะไรแล้วก็ วางไป สำหรับการศึกษาก็ไม่ต้อง มีอุปกรณ์อะไรมากมาย มีแต่กายกับจิตของตัวเราเอง ก็สามารถศึกษาได้จบหลักสูตร ไม่ต้องเรียนอะไรนอกกายไปจน ถึงนอกโลกหรอก เรียนในกายที่กว้างหนึ่งศอก ยาวหนึ่งวา หนาหนึ่งคืบนี่แหละก็เอาตัว รอดได้
ธาตุ 4 คือ ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม ที่ประชุมรวมกันเป็น กาย ของเรา
ขันธ์ 5 คือ ว่าโดยย่อ กองแห่ง รูป คือ ร่างกาย และ นาม คือ เวทนา (สุข ทุกข์ กลางๆ) สัญญา( ความจำได้หมายรู้) สังขาร (การปรุงแต่งจิต ความคิด) วิญญาณ (ความรู้สึกต่างๆที่เกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้นกายใจ สัมผัสทั้งหลาย) โดยย่อคือ รูปและนาม
อายตนะ 6 คือ ตา หุ จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่สัมผัสกระทบกับสิ่งต่างๆ เช่น ตา เห็นสิ่งที่ชอบและไม่ชอบ หูได้ยินสิ่งที่อยากได้ยิน หรือไม่อยากได้ยิน เป็นต้น ทุกๆการสัมผัส ทุกๆความคิด ทุกอารมณ์ ความเจ็บปวด สดใส ใจเราดวงเดียวเป็นผู้รับภาระ กลไกการแก้ทุกจึงต้องแก้ที่ใจ เป็นอันดับแรก โดยมีปัจจัยสนับสนุนว่าจะได้ผลดีแค่ใหน อย่างไร ขึ้นอยู่กับ กรรม ความเพียร กัลยาณมิตร และ สติปัญญาที่สั่งสมมาของแต่ละบุคคล ขอทุกๆท่าน จงเจริญในธรรม ยิ่งๆขึ้นไป
หลวงพ่อปราโมทย์ : มีพระสูตรอยู่พระสูตรหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าท่านไล่ขันธ์ ๕ ลงเป็นไตรลักษณ์ ชื่อพระสูตรอะไรอะไรเอ่ย? ฮึ ดังๆซิ โอ้.. มีคนตอบได้หลายคน “อนัตตลักขณสูตร” อนัตตลักขะ ลักขณะ ลักษณะ ของความไม่ใช่ตัวตน ท่านไล่เลย ตั้งแต่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง เห็นมั้ย ไล่จากความเที่ยงหรือไม่เที ่ยง พระปัญจวัคคีย์ตอบว่า ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า ท่านก็ถามต่อ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ทุกข์คือความทนอยู่ไม่ได้ ของไม่เที่ยงน่ะทนอยู่ได้มั ้ย เนี่ย..ถ้าพูดภาษาไทย ทนอยู่ไม่ได้ ของไม่เที่ยงทนอยู่ไม่ได้ ของที่ทนอยู่ไม่ได้นั้นน่ะ ควรเห็นว่าเป็นตัวเรามั้ย? มีอัตตาตัวตนถาวรมั้ย มีความเป็นอมตะมั้ย ก็ไม่มีความเป็นตัวตนถาวร เวทนาเที่ยงหรือไม่เที่ยง ไม่เที่ยง ของไม่เที่ยงนั้นน่ะ เป็นของที่ทนอยู่ได้ตลอดไปม ั้ย ก็ทนอยู่ไม่ได้ ของที่ทนอยู่ไม่ได้ หมายถึง มันเคยมีแล้ววันหนึ่งมันก็ไ ม่มี มันก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เนี่ย ท่านไล่ขันธ์ ๕ อย่างนี้นะ ทั้ง รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไล่ด้วยการตั้งคำถาม เพราะฉะนั้นบางครั้งพระพุทธ เจ้าท่านสอนด้วยการตั้งคำถา ม วิธีสอนของพระพุทธเจ้ามีหลา ยอย่างนะ ใช้บรรยายก็ได้ใช้ถามก็ได้ ใช้ช็อคเอาก็ได้นะ
ทางบรรลุธรรม เมื่ออริยมรรคเกิด อริยผลเกิด จิตจะสัมผัสพระนิพพาน หลวงพ่อปราโมทย์ : ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงวิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้ แล้วอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ นี้ ถูกอริยมรรคแหวกออก แหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียว ขาดเลย มันคล้ายๆ เปิดสวิทช์ไฟปั๊บ สว่างวูบเดียว ความมืดหายไปเลยนะ ในพริบตานั้นเลย จิตถัดจากนั้นนะ จะเห็นพระนิพพานอีก ๒ – ๓ ขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็น ๒ ขณะ บางคนเห็น ๓ ขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆ ก็เห ็น ๓ ขณะ พวกอินทรีย์ไม่กล้ามาก ก็เห็น ๒ ขณะ
เพราะฉะน้้นพระอริยะในภูมิเด
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา
ศรีราชา ชลบุรี
พระอริยสงฆ์คือใคร : พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์
1. พระโสดาบัน ผู้เข้าถึงกระแสคือเข้าสู่ม รรค เดินทางถูกต้องอย่างแท้จริง หรือปฏิบัติถูกต้องตามอริยม รรคอย่างแท้จริง เป็นผู้รักษาศีลให้สมบูรณ์ม ิให้ศีลขาดหรือด่างพร้อย ทำได้พอประมาณในสมาธิ (คือทำได้ยังไม่เต็มที่เหมื อนรักษาศีล) และทำให้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์กิเลสได้ 3 คือ สักกายทิฏฐิ (ความเห็นว่าเป็นตัวของตน) วิจิกิจฉา (ความสงสัย) สีลัพพตปรามาส (ความถือมั่นในศีลและข้อวัต รอย่างงมงาย)
2. พระสกทาคามี ผู้จะกลับมาสู่โลกนี้อีกครั ้งเดียว ก็จะกำจัดทุกข์ได้หมดสิ้น เป็นผู้รักษาศีลให้บริบูรณ์ ทำได้พอประมาณในสมาธิ ทำได้พอประมาณในปัญญา ละสังโยชน์กิเลส 3 ข้อ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส และทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลงด้วย
3. พระอนาคามี ผู้จะปรินิพพานในที่ที่ผุดข ึ้น ไม่เวียนกลับมาอีก เป็นผู้รักษาศีลให้บริบูรณ์ ทำสมาธิให้บริบูรณ์ได้เต็มท ี่ แต่ทำได้พอประมาณในปัญญา (มีใจเป็นสมาธิ แต่ยังไม่เห็นแจ่มแจ้ง) ละสังโยชน์ได้อีก 2 คือ กามราคะ (ความกำหนัดในกาม) และ ปฏิฆะ (ความขุ่นเคืองใจ) รวมเป็นละสังโยชน์เบื้องต่ำ ได้ 5 ข้อ
4. พระอรหันต์ ผู้ควรแก่ทักษิณาหรือการบูช าพิเศษ หรือผู้หักกำแห่งสังสารจักร ได้แล้ว เป็นผู้สิ้นอาสวะ เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกข าทั้ง 3 คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และละสังโยชน์กิเลสเบื้องสู งได้อีก 5 ข้อ คือ รูปราคะ (ความติดใจปรารถนาอยู่ในรูป ภพ) อรูปราคะ (ความติดใจปรารถนาอยู่ในอรู ปภพ) มานะ (ความถือตัว) อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน) อวิชชา (ความไม่รู้อริยสัจจ์) รวมละสังโยชน์ได้ 10 ข้อ
1. พระโสดาบัน ผู้เข้าถึงกระแสคือเข้าสู่ม
2. พระสกทาคามี ผู้จะกลับมาสู่โลกนี้อีกครั
3. พระอนาคามี ผู้จะปรินิพพานในที่ที่ผุดข
4. พระอรหันต์ ผู้ควรแก่ทักษิณาหรือการบูช
สิ่งที่มีรากเหง้ามาจากตัณห า ( ตัณหามูลธรรม) ๙ ประการ...
๑. มีตัณหา (ความอยาก)
๒. เมื่อแสวงหาก็ได้มา (ลาภะ)
๓. เมื่อได้มาแล้วก็ได้มีการกะ กำหนด (วินิจฉัย)
๔. เมื่อมีการกะกำหนด ก็มีความรักใคร่พอใจ (ฉันทราคะ)
๕. เมื่อมีความรักใคร่พอใจ ก็มีความฝังใจ (อัชโฌสานะ)
๖. เมื่อมีความฝังใจ ก็มีความหวงแหน (ปริคคหะ)
๗. เมื่อมีความหวงแหน ก็มีความตระหนี่ (มัจฉริยะ)
๘. เมื่อมีความตระหนี่ ก็มีความปกป้อง (อารักขา)
๙. เมื่อมีการปกป้อง ก็มีการถือไม้, มีด, การทะเลาะ, แก่งแย่ง, ขึ้นมึงกู, ส่อเสียด, มุสาวาท อกุศลธรรมทั้งหลายก็เกิดมีข ึ้น...
จาก คำบรรยายพระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย
โดย ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
๑. มีตัณหา (ความอยาก)
๒. เมื่อแสวงหาก็ได้มา (ลาภะ)
๓. เมื่อได้มาแล้วก็ได้มีการกะ
๔. เมื่อมีการกะกำหนด ก็มีความรักใคร่พอใจ (ฉันทราคะ)
๕. เมื่อมีความรักใคร่พอใจ ก็มีความฝังใจ (อัชโฌสานะ)
๖. เมื่อมีความฝังใจ ก็มีความหวงแหน (ปริคคหะ)
๗. เมื่อมีความหวงแหน ก็มีความตระหนี่ (มัจฉริยะ)
๘. เมื่อมีความตระหนี่ ก็มีความปกป้อง (อารักขา)
๙. เมื่อมีการปกป้อง ก็มีการถือไม้, มีด, การทะเลาะ, แก่งแย่ง, ขึ้นมึงกู, ส่อเสียด, มุสาวาท อกุศลธรรมทั้งหลายก็เกิดมีข
จาก คำบรรยายพระไตรปิฎก : พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย
โดย ศาสตราจารย์พิเศษ เสฐียรพงษ์ วรรณปก
"เห็นธรรมะ คือ เห็นตัวเอง" เขมานันทะ (อ.โกวิท เอนกชัย)การเห็นธรรมะนั้นคือเห็นตัว
เห็นตัวเอง คือเห็นไม้เห็นมือกำลังยกไป ยกมา ถามว่าเห็นด้วยอะไร ไม่ใช่ด้วยตาเนื้อ ตาเนื้อมันเห็นอะไรไม่ค่อยได้มาก มันเห็นเฉพาะรูปที่มันอยากจ ะเห็น ขอบเขตมันมีอยู่ แต่ “เห็น” ด้วยความรู้ตัว รู้ตัวว่ากำลังนั่ง กำลังเดิน โดยไม่มีความคิดเกี่ยวกับกา รเดิน มีแต่ความรู้สึกสัมผัสล้วนๆ สิ่งนี้เป็นจริงได้ในที่ทุก แห่ง เราสามารถเห็นตัวเราเองได้ กำลังเดินอยู่ ถ้าเห็นตัวเองอย่างนี้ อะไรที่มันผิดเพี้ยนมันจะเห ็นก่อน เช่น โทสะเกิด มันจะหยุดตรงนั้น "พอรู้ตัวได้ ... มันก็ตกไป สิ้นไป ดับไป"
การเห็นตัวเองได้อย่างสมบูร ณ์นั้นคือการอยู่เหนือความค ิด โดยปกติคนเรานั้นมักจะคิดถึ งตัวเอง คิดถึงคนที่เรารัก แล้วก็ใช้ความคิด คิดถึงความคิดอื่นๆ เช่น นักภาวนา นักปฏิบัติ คิดว่า เอ๊ะ! ความคิดคืออะไร นั่นคือความคิด ความคิดนั่นแหละคิดถึงความค ิด เราไม่ควรปฏิบัติเช่นนั้น ถ้าเราสำรวมสัมปชัญญะ สมปฤดีทั้งหมดมาที่การเคลื่ อนไหว แล้วก็ “ปล่อยให้มันคิด แต่อย่าไปคิดกับมัน” ถ้อยคำเหล่านี้ดูชอบกล คือปล่อยให้มันคิด แต่อย่าไปคิดกับมัน แสดงว่าเราเป็นตัวสัมปชัญญะ “คิดก็คิด มันคิดของมัน แต่เราไม่ได้คิดด้วย” ทำอยู่อย่างนี้ ไม่ช้าไม่นานจะเห็นแจ้งด้วย ปัญญา เห็นความต่างระหว่างความคิด กับ ความรู้สึก ความคิดนั้นอย่างหนึ่ง ความรู้ตัวอีกอย่างหนึ่ง
การเห็นตัวเองได้อย่างสมบูร
หลงยึดตํารา หรือ หลงที่จะไม่ยึดตํารา ตํารานั้นดีอยู่แล้วไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี หากแต่เป็นตัวเราเองต่างหากที่ไปยึดถือเอาไว้แบบไม่ยอมปล่อย ความเป็นอิสระแห่งจิตจึงไม่บังเกิดแก่ตน ความหลุดพ้นจึงไม่มี หลงยึดธรรมจึงมีธรรมและมีตน หลงที่จะไม่ยึดตําราก็ยังมีตนเพราะไปยึดที่จะไม่ยึดตํารา หากแต่ความจริงแล้วไม่มีสิ่งใดผิดเลย นอกจากตัวเราที่ไปหลงยึดเอาไว้อยู่ ทําให้มีตัวมีตนขึ้นมา ภพชาติจึงไม่จบสิ้น ภพชาติแม้เพียงเวลาชั่วลัดนิ้วมือเดียว พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงสรรเสริญ เพียรรักษาใจตน อย่าเผลอ
สัจจธรรมที่ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย นั้นมีอยู่แล้วในกายใจตน หมั่นคอยดูกายดูใจตน(สติปัฏฐาน4) จะเห็นสัจจธรรมที่ไม่ใช่ตัวหนังสือ ปรากฏแจ้งแก่ใจตน ดีกว่าที่จะเอาปัญญาความคิดที่ยังยึดติดกับอวิชชา มาตีความตํารา ให้เป็นไปตามความคิดของตน แล้วมานั่งถกเถียงกันด้วยความคิดแบบโลกๆ ปัญญาแบบโลกๆ มันไม่แจ้งในอริยะมรรคอริยะผล เหมือนดังปัญญาญาณ ญาณแห่งการตรัสรู้ธรรม ธรรมนั้นจะแจ้งแก่จิตตน
พระพุทธองค์ทรงสอนพวกเราว่า...
1. ไม่ว่าเราได้พบเจอใคร เขาเหล่านั้นคือคนที่เราจะต้องได้พบเจอ ไม่มีใครเข้ามาในชีวิตเราด้วยเหตุบังเอิญ
2. ไม่ว่าจะเกิดเรื่องราวใดๆขึ้นในชีวิตเรา มันเป็นเรื่องที่จะต้องเกิด ไม่ว่าเรื่องนั้นจะดีหรือร้าย ไม่มีเรื่องใดที่บังเอิญ เพราะเราก็เคยทำอย่างนี้กับเขามาก่อนเมื่ออดีตชาติ
3. เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดเมื่อไหร่ ที่ไหน เวลาใด นั่นคือเวลาที่เหมาะสมที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรที่ไม่ควรเกิด เพราะมันต้องเกิด ต่อให้คุณเตรียมตัวหรือไม่ได้เตรียมตัว เมื่อปัจจัยถึงพร้อม สิ่งเหล่านั้นก็จะเกิดขึ้นในทันที
4. เมื่อปัจจัยจบ ต้องยอมรับว่าจบ อย่าเหนี่ยวรั้ง อย่าเอาแต่อาลัยอาวรณ์ ขอให้รู้ว่าเมื่อสุดมือสอยก็ให้ปล่อยมันไป กล้าเผชิญในสิ่งที่เกิดขึ้น เรื่องดีๆกำลังรอคุณอยู่ข้างหน้า
5. ทำความดีในปัจจุบันให้มากที่สุด แล้วไม่ต้องสนใจว่า เราเคยทำกรรมอะไรมาบ้าง เพราะคิดไปก็เปล่าประโยชน์ เราทำอะไรกรรมเก่าไม่ได้แล้ว แต่ผู้มีปัญญาจะคิดว่า กรรมใหม่ดีๆมีอะไรที่ยังไม่ได้ทำ และควรทำได้บ้าง แล้วจึงทำ สรุป กรรมดีในปัจจุบันสำคัญที่สุด!!!
1. ไม่ว่าเราได้พบเจอใคร เขาเหล่านั้นคือคนที่เราจะต้องได้พบเจอ ไม่มีใครเข้ามาในชีวิตเราด้วยเหตุบังเอิญ
2. ไม่ว่าจะเกิดเรื่องราวใดๆขึ้นในชีวิตเรา มันเป็นเรื่องที่จะต้องเกิด ไม่ว่าเรื่องนั้นจะดีหรือร้าย ไม่มีเรื่องใดที่บังเอิญ เพราะเราก็เคยทำอย่างนี้กับเขามาก่อนเมื่ออดีตชาติ
3. เรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดเมื่อไหร่ ที่ไหน เวลาใด นั่นคือเวลาที่เหมาะสมที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรที่ไม่ควรเกิด เพราะมันต้องเกิด ต่อให้คุณเตรียมตัวหรือไม่ได้เตรียมตัว เมื่อปัจจัยถึงพร้อม สิ่งเหล่านั้นก็จะเกิดขึ้นในทันที
4. เมื่อปัจจัยจบ ต้องยอมรับว่าจบ อย่าเหนี่ยวรั้ง อย่าเอาแต่อาลัยอาวรณ์ ขอให้รู้ว่าเมื่อสุดมือสอยก็ให้ปล่อยมันไป กล้าเผชิญในสิ่งที่เกิดขึ้น เรื่องดีๆกำลังรอคุณอยู่ข้างหน้า
5. ทำความดีในปัจจุบันให้มากที่สุด แล้วไม่ต้องสนใจว่า เราเคยทำกรรมอะไรมาบ้าง เพราะคิดไปก็เปล่าประโยชน์ เราทำอะไรกรรมเก่าไม่ได้แล้ว แต่ผู้มีปัญญาจะคิดว่า กรรมใหม่ดีๆมีอะไรที่ยังไม่ได้ทำ และควรทำได้บ้าง แล้วจึงทำ สรุป กรรมดีในปัจจุบันสำคัญที่สุด!!!