Menu Bar

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

องคมนตรีชี้ "คอร์รัปชั่น" มะเร็งระยะ 4



'องคมนตรี'ชี้คอร์รัปชั่น-มะเร็งระยะ4 !!!!!
คมชัดลึกออนไลน์

'องคมนตรี' เทียบทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นมะเร็งระยะ 4 วอนทุกฝ่ายช่วยกันผ่าตัดใหญ

2 พ.ค. 57 เมื่อเวลา 09.30 น. คณะกรรมการปัองกันและปราบปรามการทุจริตแห่งขาติ (ป.ป.ช.) มีพิธีเปิดการอบรมหลักสูตร นักบริหารยุทธศาสตร์การป้องกันและการปราบปรามการทุจริตระดับสูง (นยปส.) รุ่นที่ 5 โดยมีศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมกล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "คุณธรรม จริยธรรม ผู้บริหาร" ตอนหนึ่งว่า

ตอนนี้สถานการณ์ของประเทศไทยในเรื่องการทุจริต คอร์รัปชั่น ฉ้อราษฎร์บังหลวง เปรียบเหมือนกับเป็นมะเร็ง ระยะที่ 4 ซึ่งอย่าสิ้นหวัง เพราะในอดีตมีประเทศที่นำตัวเองพ้นจากวิกฤติก็มีมาก ในอดีต 30-40 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเป็นเบอร์ 1

แต่เวลานี้เรากลายเป็นตัวตลกของอาเซียน ดังนั้นอย่าปล่อยให้โรคร้ายกินไปเรื่อยๆ เพราะจะเห็นได้จากการจัดลำดับตัวเลขต่างๆ อะไรที่ดีๆ ประเทศไทยจะอยู่ท้ายๆ แต่อะไรชั่วๆ เรานำเขาหมด ซึ่งพวกเราจะต้องช่วยกันกลับลำดับตรงนี้ โดยทำทั้ง 2 เรื่องเป็นการเร่งด่วน คือ

1. ขจัดคอร์รัปชั่นให้เหลือน้อยที่สุด และ

2. ช่วยกันฉีดวัคซีนคุณธรรมให้เร็วที่สุด ทั้งนี้อยากฝากผีฝากไข้ช่วยกัน เพราะเชื่อว่าประเทศไทยเรา สามารถฟื้นได้ จะผ่าตัด ให้ยา ให้คีโมก็ต้องทำ ช่วยกันระงับมะเร็งร้าย และตนเชื่อว่าเราทำได้

นพ.เกษม กล่าวต่อว่า สังคมปัจจุบัน คนในสังคมไทยยอมคนรวยมากกว่าคนดี มีวัฒนธรรมที่เกรงใจคนโกง อุปถัมภ์คนผิด ภาคธุรกิจกลายเป็นความนิยมในเรื่องวัตถุนิยมมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ โดยมีการเปรียบเทียบว่าเป็น "ทุนสามานย์" ที่จ้องเอาเปรียบ เราจึงต้องเปลี่ยนเป็น "ทุนนิยมคุณธรรม" โดยจะต้องหมุนกงล้อที่เป็นลักษณะความเสื่อมให้เป็นคุณธรรม

"ผมอยากจะมาเชิญชวนผู้ใหญ่ในบ้านเมือง ช่วยกันปลุกจิตสำนึกความเป็นชาติ เพื่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น เพื่อลูกหลานในอนาคต โดยระบบตำรวจต้องเป็นกลาง และเป็นที่พึ่งของประชาชน ไม่ใช่เป็นเครื่องมือของนักการเมือง ซึ่งตอนนี้ก็ลามไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอแล้ว ขณะที่อัยการ ต้องเชื่อถือได้ ตรงไปตรงมา ยอมตายกับความศักดิ์สิทธิ์ได้ และศาลก็ถือว่ามีความสำคัญมาก ในขณะที่สื่อมวลชนต้องมั่นคง ไม่ถูกซื้อขาย อุทิศชีวิตให้ประเทศชาติ และที่สำคัญประเทศต้องมีฝ่ายค้านที่เก่ง เข้มแข็ง ถึงจะต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นได้"


 

  
 แผนกินรวบประเทศไทยของทักษิ
โดยการแต่งตั้งคนของตัวเองเข้าไปดำรงตำแหน่งต่าง
เมื่อปฎิรูปประเทศแล้วควรยกเลิกนักการเมือง..เข้ามายุ่งเกี่ยวกับธุรกิจกิจการของรัฐ

 

 

 










 










vilaiwan

ผู้นำแรงงาน ฉะรัฐเบี้ยวจ่ายสมทบประกันสังคมสะสมรวมกว่า 7 หมื่นล. 
‘วิไลวรรณ แซ่เตีย’ เผยกังวลรัฐค้างจ่ายเงินสมทบ 7 หมื่นล้านบ. กระทบกองทุนประกันสังคม ระบุเคยทวงถาม ก.แรงงาน-สปส. แต่ไม่ได้รับความใส่ใจ ด้านรองเลขาธิการ สปส.ปัดให้ตัวเลข ขอเช็คข้อมูลก่อน แต่ยอมรับมีการค้างจ่ายจริง 

วันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี ถือเป็นวันแรงงานแห่งชาติและวันกรรมกรสากล โดยในปีนี้คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ร่วมกับสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เป็นผู้แทนเครือข่ายภาคแรงงาน จัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์และนำเสนอข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ณ บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา ภายใต้แนวคิด ‘สามัคคีกรรมกร ต้านทุนนิยมครอบโลก สร้างสังคมใหม่ประชาธิปไตยประชาชน’
ทั้งนี้ หนึ่งในข้อเรียกร้องมีเรื่องการให้รัฐและรัฐสภาเร่งรัดการปฏิรูประบบประกันสังคมให้มีความอิสระ ตรวจสอบได้ ผู้ประกันตนมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับสังคม ซึ่งที่ผ่านมามีความพยายามเคลื่อนไหวให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นดังกล่าวหลายปี แต่ดูเหมือนจะไม่ได้รับความใส่ใจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
น.ส.วิไลวรรณ แซ่เตีย รองประธาน คสรท. ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ในโอกาสนี้ถึงสาเหตุการเร่งรัดปฏิรูประบบประกันสังคมว่า เครือข่ายภาคแรงงานเริ่มมีการพูดคุยกันตั้งแต่ปี 2551 เนื่องจากขณะนั้นสำนักงานประกันสังคม (สปส.) มีการใช้จ่ายงบประมาณไม่โปร่งใส นำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ โดยไม่คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน เช่น กรณีการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ 2,800 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณที่สูงเกินไป กระทั่งเมื่อมีการร้องเรียนไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ให้ตรวจสอบ และเมื่อปี 2552 ได้มีการชี้มูลให้ สปส.มีความผิด
นอกจากนี้ด้านสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน โดยเฉพาะสิทธิรักษาพยาบาลมักเกิดปัญหาด้านประสิทธิภาพบ่อยครั้ง ตลอดจนไม่ครอบคลุมแรงงานทุกกลุ่มรายได้ที่เท่าเทียมกัน ทั้งที่ สปส. มีเงินกองทุนมากกว่า 1 ล้านล้านบาท เทียบเท่าสถาบันการเงินแห่งหนึ่งได้เลย
รองประธาน คสรท. กล่าวต่อว่า เครือข่ายภาคแรงงานจึงเรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปขึ้น โดยให้กองทุนประกันสังคมขยายครอบคลุมทุกกลุ่มรายได้ เพิ่มสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ปรับเปลี่ยนสถานะ สปส. จากหน่วยงานภาครัฐเป็นองค์การมหาชน พร้อมกับให้มีคณะกรรมการบริหารที่มาจากการเลือกตั้งตามสัดส่วนที่เหมาะสม มีความเป็นมืออาชีพ และต้องมีกระบวนการตรวจสอบการทำงานที่โปร่งใสด้วย
ฉะนั้นจึงมีการรวบรวมรายชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันสังคม พ.ศ. ... ที่เสนอโดยประชาชน จนท้ายที่สุด สภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่รับร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว ซึ่งแสดงถึงความไม่จริงใจของรัฐบาล ปฏิเสธประชาชนที่มีสิทธิขั้นพื้นฐานตามกรอบรัฐธรรมนูญ
จึงตั้งคำถามมาตลอดว่า รัฐธรรมนูญให้สิทธิประชาชนในการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย แต่สภาผู้แทนราษฎรกลับละเมิดสิทธินั่นเสียเอง สิ่งเหล่านี้เรียกว่าประชาธิปไตยหรือ ?
น.ส.วิไลวรรณ ระบุถึงความคืบหน้าปัจจุบันด้วยว่า เมื่อรัฐบาลประกาศยุบสภาร่างกฎหมายฉบับรัฐบาลและฉบับนายเรวัติ อารีรอบ ส.ส.ภูเก็ต พรรคประชาธิปัตย์ก็ตกไปเช่นกัน จึงต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด เมื่อเป็นเช่นนี้เครือข่ายภาคแรงงานจึงประชุมหารือปรับรายละเอียดบางอย่างในร่างกฎหมายฉบับประชาชนที่ถูกตีตกไป โดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน ก่อนจะเสนอต่อรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป
“เราไม่รู้ว่ารัฐบาลใหม่จะเหมือนเดิมหรือไม่ ถ้าเหมือนเดิมคงต้องคิดหนัก เพราะสุดท้ายเมื่อไม่ได้รับความใส่ใจประชาชนก็ไม่รู้จะไปพึ่งใคร” รองประธาน คสรท. กล่าว และว่าคงต้องพึ่งตนเอง โดยการรวมพลังกันให้เกิดการมีส่วนร่วมสู่การขับเคลื่อน เพื่อสร้างอำนาจการต่อรอง พร้อมตำหนิการทำงานของรัฐบาลชุดก่อนว่าแย่และเผด็จการ เห็นตัวอย่างได้ชัดจากกรณีประกันสังคม
น.ส.วิไลวรรณ ยังเสนอมุมมองว่า ประชาธิปไตยต้องกินได้ ต้องเห็นหัวคนจน และเกิดการมีส่วนร่วมของทุกกลุ่ม มิใช่การเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ซึ่งที่ในอดีตไม่ใช่อย่างที่กล่าวมาข้างต้นเลย คนจนยังไม่สามารถเข้าถึงประชาธิปไตยได้
เมื่อถามถึงกรณีรัฐบาลค้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคม รองประธาน คสรท. ให้ข้อมูล ตัวเลขล่าสุดอยู่ที่ประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ทำให้สูญเสียดอกผลถึง 800 ล้านบาท ซึ่งยอมรับรู้สึกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะหากอนาคตเรายังปล่อยให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ อาจส่งผลกระทบต่อกองทุนประกันสังคมได้ อย่างไรก็ตาม เครือข่ายภาคแรงงานพยายามติดตามทวงถามไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสปส.อย่างต่อเนื่อง แต่กลับไม่ได้รับการใส่ใจและแก้ไขเลย
“เราก็พยายามพูดคุยเมื่อทราบว่ามีการค้างจ่ายเงินสมทบประกันสังคมขนาดนี้ แต่ก็รู้อยู่ว่ารัฐบาล ‘ถังแตก’ ประสบปัญหาเรื่องงบประมาณ ชุลมุนวุ่นวายไปหมด อีกทั้งอยู่ในสถานะทำอะไรไม่ได้ ข้อเสนอของเครือข่ายภาคแรงงานก็ทำได้เพียงเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนเท่านั้น ดังนั้นหากอนาคตกองทุนประกันสังคมได้รับผลกระทบ รัฐบาลจะต้องรับผิดชอบ” น.ส.วิไลวรรณ กล่าว
ด้านดร.อารักษ์ พรหมมณี รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กล่าวถึงรัฐค้างจ่ายสปส. โดยขอไปดูตัวเลขก่อน ซึ่งที่ผ่านมายอมรับว่า รัฐค้างจ่ายทุกปี โดยจัดสรรงบประมาณให้ส่วนหนึ่ง และติดค้างอีกส่วนหนึ่งจริง
"คนที่ไม่ให้คือสภาฯ ไม่ใช่รัฐบาล เพราะเวลางบประมาณเข้าสภาฯ สภาฯ จะกลั่นกรองให้เท่าไหร่ไม่ให้เท่าไหร่ ดังนั้น การค้างจ่ายเงินสมทบให้สปส.จึงทำให้ สปส.เสียโอกาสนำเงินดังกล่าวไปลงทุน หรืออาจเห็นว่า สปส.มีเงินในกองทุนมากอยู่แล้ว จึงนำเงินไปทำอย่างอื่นก่อน"