Menu Bar

วันจันทร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2557

กปปส.เห็นพ้องปฏิรูปตำรวจ-ยุติถูกการเมืองแทรกแซง !!!!!



วงเสวนา กปปส.เห็นพ้องปฏิรูปตำรวจ-ยุติถูกการเมืองแทรกแซง !!!!!
เดลินิวส์ออนไลน์

วงเสนวนา กปปส.ครั้งที่ 4 เห็นพ้องปฏิรูปโครงสร้างตำรวจ กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ให้เป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง อดีตรอง ผบ.ตร.เสนอให้ ปชช.ร่วมตรวจสอบตำรวจ
...
เมื่อวันที่ 17 มี.ค. ที่อาคารศูนย์เยาวชนสวนลุมพินี กปปส. ได้จัดเวทีระดมความคิดเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 4 เรื่อง “ปฏิรูประบบตำรวจและกระบวนการยุติธรรม” โดยมี ปรีชา วัชราภัย อดีตเลขาธิการ ก.พ.เป็นประธานในการเสวนา โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ได้เดินทางมากล่าวเปิดการเสวนาตอนหนึ่งว่า

การเสวนาวันนี้เป็นเรื่องที่ประชาชนรอคอยที่จะปฏิรูป เนื่องจากปัญหาของตำรวจและความสัมพันธ์ระหว่างตำรวจกับประชาชนนั้น เป็นเรื่องที่ประชาชนคาดหวัง ทั้งนี้มีการศึกษาแนวทางวิธีการไว้มากมาย แต่ยังไม่มีโอกาสที่จะทำให้สำเร็จอย่างที่ประชาชนหวัง ดังนั้นการที่มวลมหาประชาชนได้ประกาศให้การปรับโครงสร้างตำรวจเป็นหนึ่งในการปฏิรูปประเทศ จึงทำให้คาดหวังว่าการปฏิรูปตำรวจจะสำเร็จตามที่คาดหวังได้ แต่มีคนนำการปฏิรูปตำรวจไปบิดเบือน และทำให้เกิดความสับสน อย่างไรก็ตามเชื่อว่าข้อสรุปในการเสวนาวันนี้จะทำให้ประชาชนและตำรวจมีความพึงพอใจทั้งสองฝ่าย

โดยพล.ต.อ.ไกรสุข สินศุข อดีตรอง ผบ.ตร. กล่าวตอนหนึ่งว่า องค์กรตำรวจเป็นองค์กรหนึ่งที่แปลงจากนโยบายรัฐไปปฏิบัติโดยมีภารกิจหลักในการรักษากฎหมาย และการรักษาความปลอดภัยให้ประชาชน

ทั้งนี้ระบบตำรวจมีการปฏิรูปมาแล้วหลายครั้ง แต่การปฏิรูปกรมตำรวจเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กลับกลายเป็นการรวบอำนาจที่ส่วนกลาง ไม่มีการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ทำให้สายการบังคับบัญชายาว เกิดอุปสรรค์หลายอย่างเป็นรูปแบบที่ล้าหลัง ดังนั้นการปฏิรูปตำรวจจึงเป็นการปฏิรูปสินค้าผูกขาดให้ดีขึ้น

ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่จะต้องปฏิรูป ทั้งนี้แนวทางกว้าง ๆ ที่จะปฏิรูปคือ

1.โครงสร้างตำรวจเพื่อให้สอดคล้องกับการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น ควรแยกกองบัญชาการตำรวจภูธรทั้ง 9 ภาค และกองบัญชาการตำรวจนครบาล ออกจากส่วนกลาง เพื่อให้สามารถจัดสรรงบประมาณซื้ออุปกรณ์ที่จำเป็นต่อพื้นที่นั้น ๆ และให้มีความเป็นนิติบุคคล ซึ่งจะเป็นการลดสายการบังคับบัญชาให้สั้นลง

2.การบริหารปัจจุบันมีการแทรกแซงในเรื่องการแต่งตั้งตำรวจ ทำให้เกิดการเบี่ยงเบน สร้างปัญหาในการบริหาร ดังนั้นกฎหมายตำรวจจึงต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อให้มีความเป็นอิสระจากฝ่ายการเมือง

3.การทำงาน โดยในการปฏิบัติงานของตำรวจที่ยังรวมหน้าที่สืบสวนสอบสวนไว้ด้วยกัน ทั้งจับเอง สอบสวนเอง ทำให้กลายเป็นขี้ปากชาวบ้าน ดังนั้นควรใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการหาตัวคนร้าย และควรทำตามหลักสากล

4.ควรยกเลิกตำแหน่งที่มีหน่วยงานอื่นรับผิดชอบอยู่แล้ว อาทิ ตำรวจที่ดิน กรมที่ดิน ก็สามารถทำแทนได้ ตำรวจรถไฟ และตำรวจป่าไม้ เป็นต้น เพื่อเพิ่มกำลังในงานที่สำคัญ

5.ที่สำคัญคือการได้มาของตำรวจ ที่แต่เดิมมาจากโรงเรียนรวมเหล่าทหารตำรวจและการสอบเข้าจากคนที่จบมหาวิทยาลัย ซึ่งในการปฏิรูปควรคิดเรื่องนี้ว่าการได้มาของตำรวจควรเป็นอย่างไร เพื่อให้ได้ตำรวจที่ดี และมีประสิทธิภาพ และ

6.การตรวจสอบตำรวจที่ผ่านมามีคณะกรรมการตำรวจ (กตร.) โดยมีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน แต่ก็ไม่ได้ผล ดังนั้นควรมีองค์กรของประชาชนเข้าร่วมด้วย

ด้านนายคมสัน โพธิ์คง นักวิชาการจากกลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ กล่าวว่า ระบบงานตำรวจมีปัญหาเรื่องโครงสร้าง ถ้าเรามองดูจะพบว่าการบริการงานตำรวจเป็นแบบระบบรวมศูนย์บริหารอำนาจ อีกทั้งปัญหาเชิงโครงสร้างอีก และยังมีปัญหาเรื่องการสอบสวนที่ยังขาดอิสระทั้งจากภายในองค์กร และการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง

นอกจากนั้นยังมีปัญหาอีกมาก ทั้งเรื่องการวิ่งเต้น เรื่องการซื้อตำแหน่ง อีกทั้งตำรวจชั้นประทวนมีความรู้น้อย ไม่สอดคล้องกับพื้นที่ประชาชน ขอเสนอให้ตำรวจกระจายอำนาจ ทำให้ภูธรมีอำนาจ อาจจะมีอธิบดีภาคเป็นผู้ดูแล ส่วนเรื่องระบบตำรวจแบบกึ่งทหาร ต้องพิจารณาใหม่ รวมทั้งเรื่องความเป็นมืออาชีพ ต้องให้ตำรวจเป็นมืออาชีพ ส่วนด้านการผลิตตำรวจนายร้อย ผู้สอนบางคนยังมีความรู้ไม่ตรงส่วน เรื่องนี้ต้องปรับและการผลิตตำรวจชั้นประทวนต้องให้มีความรู้เทียบเท่าอนุปริญญา

นายภิญโญ ทองชัย อดีตเลขาธิการ ป.ป.ท.กล่าวว่า เราต้องเข้าใจกระบวนการยุติธรรมที่เป้าหมายใหญ่คือการเอาคนเข้าคุก ซึ่งเราทำมาเป็นร้อยปี และเราพบว่ากฎหมายอาญามีมากกว่า 350 ฉบับ เพราะฉะนั้นไม่ต้องแปลกใจ การสอบสวนจึงเน้นไปทางนี้ทั้งหมด และจากงานวิจัยพบว่ากฎหมายอาญาเน้นจำคุกมากกว่าปรับ

ขณะที่ในต่างประเทศศึกษาการใช้โทษจำคุก เป็นการเพิ่มภาระให้แก่รัฐ ถ้าเป็นโทษปรับรัฐไม่ต้องเสียอะไรเลย ทั้งนี้ขอเสนอแนวทางในการปฏิรูป คือ

1.นำหลักกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ โดยเน้นการไกล่เกลี่ยเพื่อยุติข้อพิพาทในระดับชุมชนก่อนคดีขึ้นสู่ศาล

2.ปรับกระบวนการยุติธรรมที่เน้นปราบเป็นป้องปราม

โดยพิจารณาบทลงโทษให้เหมาะสม โดยอาจปรับการบริการสังคม และคุมประพฤติเป็นหลักแทนการจำคุก ซึ่งจะใช้เป็นมาตรการสุดท้าย เพื่อให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษที่เหมาะสมและเป็นภาระแก่รัฐน้อยลง

3.เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย โดยปฏิรูปโครงสร้างและระบบงานสืบสวนของตำรวจ และปฏิรูประบบพิจารณากลั่นกรอง และการฟ้องคดีของอัยการ รวมทั้งให้มีการตรวจสอบซ้ำ และ

4.จัดตั้งองค์กร และกลไกให้ความช่วยเหลือประชาชนในทางกฎหมายและการฟ้องร้องคดี โดยกระทรวงยุติธรรมควรจัดองค์กรดังกล่าวในทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น





ร่วมด้วยช่วยแชร์ //อย่าให้พวกมันมีที่ยืนในสังคมไทย
มีเสื้อแดงที่ใหน บ้านเมืองฉิบหายที่นั่น ,พวกมันแดงใจทรามถึงขนาด หมายหัว ท่านอาจารณ์ ว. วชิรเมธี